ReadyPlanet.com


MY TEMPLE วัดของฉัน


MY TEMPLE 
วัด  ของฉัน

 
 
                                                                                  
 
 
My Temple. We manage it to be a temple for all. Every one could come and see . My Temple includes the two websites: www.newworldbelieve.com,www.newworldbelieve.net and facebook.com Phayap Panyatharo, Nantasarn Sisalab, Somjitr Korptosatham and Patchara Korptosatham.  In its early targets, we think about a newworld Buddhism and ofcourse newworldbelieves. But what we mind is the people. The people should have their temple which could be called My Temple. The people comes to be delighted for the people need not pay. This is a free temple for all. The people could get everything as well as they could get from any temple in the world. Let’s try.        
 
 
วัดของฉัน เราตั้งใจไว้ว่าจะให้เป็นวัดสำหรับทุกคน ทุก ๆ คนสามารถเข้ามาดูเยี่ยมชมได้ วัดของฉัน รวมเอาเวบไซต์สองเวบไซต์คือ www.newworldbelieve.com , www.newworldbelieve.net และ เฟสบุค Phayap Panyatharo พร้อมเพื่อน ๆ ที่รัก มี นันทสาร สีสลับ, สมจิตร  กอปรทศธรรม และ พัชรา กอปรทศธรรม เป็นต้นไว้ด้วย. เป้าหมายต้น ๆ ของเรา คิดว่าเป็นเรื่องพุทธศาสนาสำหรับโลกใหม่ และแน่นอนเป็นเรื่องความเชื่อใหม่ แต่สิ่งที่เราเอาใจใส่ก็คือประชาชน ประชาชนควรจะได้มีวัดของพวกเขา วัดที่พวกเขาเรียกได้ว่า วัดของฉัน ประชาชนมาวัดแล้วมีความยินดีสบายใจ เพราะไม่จำเป็นต้องจ่าย นี่คือวัดที่ให้เปล่าแด่ทุก ๆ คน ประชาชนสามารถเอาทุกสิ่งทุกอย่างจากวัดนี้ได้พอ ๆ กับเอาจากวัดอื่น ๆ ทั่วโลกได้   มาลองทำดูครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ร.อ. พยับ เติมใจ (ปัญญาธโรภิกขุ) :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-10 08:32:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3334294)

เปิดทีวีดาวเทียมหลายช่องเห็นแต่พระภิกษุจำนวนมากมุ่งไปในทางสร้างวัตถุมงคล ไม่ก็บอกบุญสร้างพระพุทธรูป แล้วเมื่อไรจึงจะมีทีวีที่พูดถึงวัดจริงๆเสียที วัดที่มิใช่ถาวรวัตถุแต่เป็นวัดแห่งการเดินทางไปสู่เสรีภาพทางใจ เท่ากับเป็นการสะท้อนถึงปัญหาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

ผู้แสดงความคิดเห็น กระจกเงา วันที่ตอบ 2012-05-22 01:31:39


ความคิดเห็นที่ 2 (3337584)

 

The 6 Educations 
 
 
My Temple will present the 6 educations with a special one included.
These are the 6 Educations  :- 


1.    My Samadhi or Meditation 
2.    My Kasinam  
3.    My Vipassana Nanadassanam  
4.    My Panam     
5.    My Jhanam 
6.    My Nirvana
 
 
 
 การศึกษาวิชา 6 ประการ
 
วัดของฉันจะเสนอการศึกษาวิชา 6 ประการ และวิชาพิเศษอีก 1 วิชา
ต่อไปนี้ก็คือหลักวิชาทั้ง 6 ประการ   ดังนี้

1.    สมาธิ 
2.    กสิณ 
3.    วิปัสสนาญาณ  
4.    ปราณ  
5.    ฌาน  
6.    นิพพาน  
 
 
  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ - อรบุศป์ ละอองธรรม วันที่ตอบ 2012-06-26 21:08:31


ความคิดเห็นที่ 3 (3337915)

ฉันก็ยินดีและสบายใจทุกครั้งที่ได้พบกับโลกแห่งสัจจะ ได้เข้าถึงความสุขที่ปลอดพ้นจากลาภ ยศ สรรเสริญ แต่ครั้งใดที่เหลียวมาดูโลกแห่งสมมุติที่ทุกชีวิตดิ้นรนอยู่ไม่เว้นแม้แต่ข้าพเจ้า ได้เห็นเพื่อนร่วมชาติ เพื่อนร่วมโลกที่ถูกอำนาจอยุติธรรมเข้าย่ำยี คนพาลขึ้นมามีอำนาจและใช้อำนาจไปอย่างมัวเมาโดยไม่คำนึงถึงความถูกผิดก็อดลำคาญใจหดหู่ใจไม่ได้ เมื่อไรหนอโลกแห่งสมมุตินี้จะพบกับสันติสุข หรือนี่คือความจริงอันเจ็บปวดว่า ทุกชีวิตเกิดมาเพื่อพบกับความทุกข์ ปัญญาญาณเท่านั้นจึงจะนำพาเขาออกจากทุกข์ นี่กระมังคือวัดของฉัน วัดที่ต้องสลัดพ้นจากสังโยชน์เครื่องผูกพันจึงจะรอดพ้นจากบ่วงทุกข์ ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นปัจจัตตัง

ผู้แสดงความคิดเห็น กระจกเงา วันที่ตอบ 2012-06-29 20:29:24


ความคิดเห็นที่ 4 (3344408)

 

CHAPTER 1 SMATHI (MEDITATION)
บทที่ 1 สมาธิ
 
 
 
loves praying, loves meditating, and loves vipassanakammatan - vipassnananadhassanam ; for to love preying make gratitude, to love in meditating makes a delighted heart, to love in vipassanakammatan makes intelligence. According to my view meditation is a long way and in fact, in it is all long ways you climb up meditation way to see no end. I mean the strength and the great of smathi never reduce or decline but can grow stronger and stronger. But its highest point includes every scienses of human insight man can"t see by his bear eyes. You know it includes the way of all black magics and all occultism - occult scienses.
 
 
รักในการสวดสาธยายมนต์ รักในการฝึกทำสมาธิ และรักในการเจริญวิปัสนากรรมฐาน เพราะเหตุว่า รักในการสวดสาธยายมนต์เป็นเหตุให้เกิดความกตัญญู รักในการฝึกทำสมาธิเป็นเหตุให้ดวงจิตแจ่มใสชื่นบาน รักในวิปัสนากรรมฐานเป็นเหตุให้เฉลียวฉลาดมีปัญญาเจริญดี ตามทัศนะความเห็นของข้าพเจ้า สมาธิเป็นเส้นทางที่ยาวมาก และในความเป็นจริง ในสมาธินั้นรวมเอาเส้นทางทุกเส้นทางไว้ด้วยกัน เมื่อคุณปีนป่ายไปตามทางของสมาธิคุณจะมองไม่เห็นจุดที่สิ้นสุดของเส้นทางนั้น ผมหมายความว่า ความเข้มแข็ง แกร่งกล้าของสมาธิไม่มีวันถอยด้อยลง มันสามารถเพิ่มความเข้มแข็งแกร่งกล้าไปได้เรื่อย ๆไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในจุดที่สูงสุดของสมาธินั้น มันรวมเอาศาสตร์ที่ว่าด้วยภาคภายในของมนุษย์ไว้แทบทุกศาสตร์ที่มนุษย์ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า คุณรู้ไหมว่ามันรวมเอาวิถีทางแห่งมนต์ดำและไสยศาสตร์ทั้งหมดไว้ด้วย
 
  • จาก facebook.com phayap panyatharo
    August 3,2012[2555]
ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา - อรบุศป์ วันที่ตอบ 2012-09-08 20:48:46


ความคิดเห็นที่ 5 (3344409)
 
 
 
This woman is praying in Mahaviharn watMahaBuddharam evening AsalahaPucha day. She has never been tiresome. She loves in praying in meditating and vipassanakammathan, the same with the others.
 
สตรีผู้นี้ เธอกำลังสวดมนต์อยู่ในมหาวิหารวัดมหาพุทธาราม ในเย็นวันสาสาฬหบูชา เธอรักในการสวดมนต์ รักในการฝึกทำสมาธิ และรักในการเจริญวิปัสนากรรมฐาน เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ
  • จาก facebook.com phayap panyatharo
    August 3, 2012[2555]
ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา - อรบุศป์ วันที่ตอบ 2012-09-08 21:03:13


ความคิดเห็นที่ 6 (3358998)

 

CHAPTER 2 KASINAM
บทที่ 2 กสิณ
 
 
 
To kill wants to be with  kasinam. Asubhakasinam is introduced. When you go to meditate but can not arrive meditation. It may be caused by a lacking of  kasinam. Asubha kasinam is welknown in the buddhist monks. They can not go well with their duties if asubha kasinam is not attended. Their monkhood would be short or uncompleted if they do not realize asubha kasinam. 
 
 
เพื่อที่จะฆ่ากิเลสเสีย จำเป็นต้องนำวิถีชีวิตไปพร้อมกับกสิณ ขอแนะนำอสุภกสิณ เมื่อคุณทำสมาธิ แล้วไม่สามารถเข้าสมาธิได้ตามที่ต้องการ นั้นอาจจะมีสาเหตุสำคัญมาจากการขาดคุณภาพทางอสุภกสิณนี่เอง  อสุภกสิณเป็นกสิณชนิดที่รู้จักดีในหมู่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ทั้งหลายจะไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้ดีหากเมินไม่เอาใจใส่ในเรื่องอสุภกสิณ อายุการเป็นนักบวชสงฆ์อาจจะสั้นหรือไม่สมบูรณ์ หากไม่เห็นความสำคัญของอสุภกสิณ  
ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา - อรบุศป์ วันที่ตอบ 2013-02-17 14:48:15


ความคิดเห็นที่ 7 (3359000)

 

A traing for a fire-kasinam in a graveyard BE. 2533[1990]
His Noble Heart : Panyatharo Bhikku [Captain Phayap Tirmjai]

ขณะกำลังฝึกกสิณไฟ(เตโชกสิณ) ในป่าช้าแห่งหนึ่ง ปี พ.ศ.2533(1990)
ของ เจ้าพระคุณท่านพระภิกษุพยับ ปัญญาธโร (ร.อ.พยับ เติมใจ)

ผู้แสดงความคิดเห็น อรบุษป์ - บุษบา วันที่ตอบ 2013-02-17 15:22:36


ความคิดเห็นที่ 8 (3359004)

 

Asubha   ศพ

Asubhakasinam to watch fixedly  or  to stare at asubha    อสุภกสิณ  เฝ้าดูศพอย่างไม่คลาดสายตา  เพ่งดูศพ

ผู้แสดงความคิดเห็น อรบุศป์ - บุษบา วันที่ตอบ 2013-02-17 19:26:44


ความคิดเห็นที่ 9 (3360678)

CHAPTER 3  VIPASSANA NANADASSANAM  
บทที่ 3  วิปัสสนาญาณ  

 

This is the effect of educations.  The old tree educations : Silam [Morality] Smadhi [Meditation] Panna [wisdom] or The Trisigkhas. But Vipassana Nanadassanam also comes from any systematic educations for example sciences and technology. It includes ownself education in any kind of education  by mean of research and exploror. 

สิ่งนี้เป็นผลมาจากการศึกษาหลายอย่าง  ได้แก่การศึกษาดั้งเดิม 3 อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา  ที่เรียกว่า ไตรสิกขา  แต่วิปัสสนาหรือปัญญามีที่มาจากการศึกษาที่จัดเป็นระบบการศึกษาอย่างอื่นด้วย เช่น การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทกโนโลยี  รวมถึงการศึกษาด้วยตนเองในสาขาอะไรก็ได้ โดยวิธีการทำวิจัยและการสำรวจ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น อรบุศป์ - บุษบา วันที่ตอบ 2013-03-09 22:00:29


ความคิดเห็นที่ 10 (3407602)

ข่าวดี !!!

 เรามีเรื่องราว ข่าวดี อีกมากมายเกี่ยวกับ MY TEMPLE : วัดของฉัน  หรือที่จริง  วัดของเรา  น่ะครับ  เรื่อง วิชา 6 ประการ ( สมาธิ  วิปัสนา  กสิณ  ฌาน   ปราณ  และ  นิพพาน )   เราก็ยังเดินไปไม่จบ...........  แต่บัดนี้ท่านผู้อ่านสามารถจะติดตามไปได้แล้วครับ   เรามีข่าวดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

 

เราได้บอกว่า  วัดใดใดในโลก มีอะไรที่ท่านอยากรู้ อยากได้ ในเรื่องอันสูงสุด ประเสริฐ เลิศในพระพุทธศาสนา   ที่ วัดของเรา นี้ก็มีให้หมดแหละครับ  ไม่น้อย  ไม่ด้อย  ไปกว่าวัดใดใดในโลกนี้ และในยุคนี้เลย 

 หากสนใจก็โปรดติดตาม ด้วยการคลิกเพื่อติดตามต่อไปได้เลยครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น อรบุศย์ - บุษบา วันที่ตอบ 2015-10-07 07:59:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.