การอธิบาย ยากจะเข้าใจ ต้องสังเกตเอาเอง ใน2 เรื่องแรก (1.) เมื่อมีความหยากเกิดขึ้นแล้ว ดวงจิตเราระงับไม่อยู่ ระงับไม่ได้ จิตก็พอง ก็ แฟบ ร้อนรนไปตามความอยาก จะเห็นชัดในเรื่อง อยากในกามรส หลงไปในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือ ถูกครอบด้วยกามตัณหาอยากในกามรส กามกิเลสนั่นเอง นั่นแหละ จิตเสื่อมลง และหากไม่รู้จักยับยั้ง ให้เป็นไปตามเหมาะตามควร หรือไม่มีวิธีการกำจัดความหยากเสียแล้ว มันก็จะอยากมากไปเรื่อย ๆ ความหยากมันจะโตไปเรื่อยๆ ต้องจัดการให้เกิดความพอดีแก่ชีวิต หรือหากอยากจะหลุดพ้นบรรลุอริยมรรคอริยผล ก็ฆ่าความหยากนี้ให้ตายไปจากดวงจิตให้ได้
ไม่งั้น หากไม่รู้จัดการกับความอยากนี้ จิตก็จะเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ ไม่รู้หยุด และแล้วก็จะเกิดโทษขึ้น ดังจะเห็ฯปัญหาเรื่องความรัก ปัญหาชีวิตครอบครัว ผัวเมียซึ่งมาจากเรื่องความหยากนี้เอง เด็กวัยรุ่นจึงจะเจอปัญหานี้และก่อโทษทุกข์มากเพราะความหยาก ความหิว แล้วไม่เข้าใจจัดการกับดวงจิตของตน ให้เผชิญสิ่งเหล่านี้อย่างพอดี ไม่ให้เป็นอันตราย ให้พอแก่ความอยู่ได้ มีชีวิตต่อไปได้ ความหยากอย่างอื่นก็มีเยอะ ที่ล้วนแต่จะทำให้ดวงจิตตกต่ำ เสื่อมทรามลงไป เช่นความอยากใหญ่ อยากโต อยากเอาชนะคนอื่นแบบผิด ๆ ไม่ไปตามกติกา นี่แหละเป็นเหตุให้เกิดเรื่องต่อยตีกัน มีอันธพาลตามท้องถนนหนทาง หรือ ในสังคม ในบ้าน โรงเรียน ในมหาวิทยาลัย ในรัฐสภา ในพรรคการเมือง ในประเทศเต็มไปหมด เหล่านี้แหละ ลักษณะความเสื่อมของจิตอันเนื่องมาจากความอยากหรือ กิเลส ตัณหา นั่นเอง (2.) เกี่ยวกับความร้อนและความเย็น เมื่อเรามีความมีตัวมีตน แล้วไม่รู้ระวังความมีตัวตนของเรา มันก็จะเป็นไปใหญ่เกินความพอดี เมื่อมันก็จะเท่ากับเปลวเพลิง ได้เชื้อมากขึ้น ก็ร้อนรุ่ม ซึ่งแปรสภาพไปเป็นสิ่งอันตรายในดวงใจของเรา ซึ่งความจริงที่ควรรู้ก็คือ ข้างในร่างกายเราหรือในอกเรานั้น โดยฐานะปุถุชนนั้น จะมีดวงอาทิตย์ อยู่กลางอก หากเรามีอัตตาตัวตนขึ้นเมื่อใด ดวงอาทิตย์ในอกเราก็จะพลุ่งโพลงขึ้น ก็ทำให้ร้อนขึ้น กลายเป็นความโกรธ ความแค้นขึ้นมา เหมือนเพลิงกองใหญ่ ที่ยากจะดับมันลง ความโกรธความไม่พอใจคนอื่นก็จะมีขึ้นง่ายๆ ความอาฆาต พยาบาท จองเวร รังเกียจเดียดฉันคนอื่นรุนแรง ก่อปัญหาขึ้นได้ง่ายๆ มีสิทธิ์ทำให้จิตเสื่อมได้ทั้งนั้น เราก็ไปดูทางตรงกันข้าม คือจิตเจริญ นั่นก็เกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญาตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเอง ในลักษณะสูงสุด คือศีล ก็ดี สมาธิก็ดี เสมือนเรือ ที่พาเราไปถึงฝั่ง ฝั่งนั้นคือปัญญา นั้นเอง เมื่อถึงฝั่งปัญญาแล้ว ก็จะรู้หมด รู้เรื่องที่ถามมานี้เป็นต้น แล้วก็รู้เส้นทางอริยสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้เป้าหมายของทางอริยมรรค คือ มรรค ผล นิพพาน รู้วิธีการ หรือ ทางปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ นั้นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ เร่ิมด้วยจิตใจ และรู้การบริหารจิตใจ ไม่ให้จิตใจเสื่อมทรามลงไปเพราะกิเลส ตัณหาอุปาทาน เพราะความหยากในกามกิเลศ ภวะตัณหา วิภวะตัณหา นั้นเอง รู้วิถีทางบำรุงจิตใจให้เจริญไปเรื่อย ๆ จนถึงฝั่งแห่งมหาปัญญา มหาวิมุติ โลกนิพพานที่สิ้นทุกข์สิ้นปัญหา มีแต่ความสุขนิรันดร นั่นเอง จึงขอให้พยายาม หยุด อย่าทำความเสื่อมแก่จิตใจเราพยายามยกจิตใจเราให้สูงขึ้น ๆแบบดอกบัวให้จงได้นั้นแหละถึงฝั่งนิพพาน บานเด่นดังดอกบัวในที่สุด