ReadyPlanet.com
dot dot
bulletBUDDHISM to the NEW WORLD ERA
bullet1.Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Luxemberg-ลักเซมเบิร์ก
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet117.Lukanda-ลูกันดา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี
bulletMystery World Report รายงานการศึกษาโลกลี้ลับ
bulletสารบาญโหราศาสตร์
bulletหลักโหราศาสตร์ว่าด้วยดวงกำเนิดและดวงฤกษ์รวมคำตอบคลี่คลายปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำนายชะตาชีวิต
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบนี้(เริ่ม ก.พ.55)
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น1
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น 11
bulletทุกความคิดเห็นจากหน้า1(ก่อน ก.พ.55)
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบบอร์ด(ถึงก.พ.55)
bulletภาค 11
bulletภาค 12
bullet54.Hmong ม้ง
bullet133.แอลเบเนีย
bullet133.แอลเบเนีย
bulletหน้าที่เก็บไว้




6.4..บทนำแห่งธรรมะ ถวายแด่วันสวรรคตของพระองค์ ปัญจักขันธา (เรื่องราวของชีวิตหนึ่ง) บทธรรมะอันละเอียดอ่อนที่บอกเหตุผลอย่างชัดเจนชัดแจ้ง

 

 

บทนำแห่งธรรมะ  ถวายแด่วันสวรรคตของพระองค์

ปัญจักขันธา (เรื่องราวของชีวิตหนึ่ง)

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย  เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี]  

ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา  ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช, กรุงเทพมหานคร ขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี  ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก

นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา  รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์

ปัญจักขันธา ๑. 

รูปักขันโธเวทนากขันโธสัญญากขันโธวิญญานักขันโธสังขารักขันโธ 

คนเรานี้คือกองสังขาร5 กองประกอบกันเป็นหนึ่ง   การได้เป็นคน มีชีวิตขึ้นมา จนอยู่ไปตามลำดับแห่งชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ได้มาเพราะการประกอบกันของกองขันธ์ 5 กอง   คือ

1.   รูปขันธ์  ได้แก่ รูป ร่างกาย พร้อมอวัยวะ 32 อย่าง อวัยวะภายนอก  และ  อวัยวะภายใน(นับแต่ หัว หู หน้า ตา หน้าผาก คอ บ่าไหล่  แขน ลงมาถึงหน้าอก ท้อง ขา เท้า และทั้งอวัยวะภายใน มีตับ ปอด หัวใจ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศ ฯลฯ หรือในยุควิทยาศาสตร์ ด้วยวิชาวิทยาศาสตร์จะทราบรายละเอียดของร่างกายคนนี้อย่างมากมายกว่า32อย่าง เป็น 100 เป็น 1000 อย่าง ...แต่ก็เป็นรูปขันธ์เหมือนกัน) ทางภาษาสากลให้ความหมายว่า   the body,   natural state, form, figure, shape, image, characteristic.  Skt. rupa

2.  เวทนากขันโธ  เวทนาขันธ์  กองแห่งเวทนา  ธรรมชาติอันเสวยอารมณ์ ความเสวย คือรู้รสอารมณ์  ได้แก่ความรู้สึกต่าง ๆ  มาทางอารมณ์  ที่เป็นทั้งสุข และทุกข์ ทั้งความเจ็บปวดและความสุขใจ อิ่มใจ   the aggregate of feeling,  pain,  suffering, sensation, perception 

3.  สัญญากขันธโธ  ได้แก่ ความคิด ความจำได้ หมายรู้ความจงใจ ตั้งใจนึกคิด, จำ, สำคัญ, ชื่อ, ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต   thought,  sense, memory, perception, intellect,  sign, gesture, name  

4.  วิญญานักขันโธ ได้แก่ความรู้สึก ใจ  ที่ผ่านมาทางอายตน 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย และ สัมผัสทางใจ    intelligence,  knowledge, consciousness,  thought,  mind  (ในพุทธธรรม คำว่าวิญญาณนี้  ไม่ใช่ดวงวิญญาณ ที่ล่องลอยออกไปจากร่างเมื่อเวลาสิ้นชีวิต หรือสิ่งที่เป็นดวงจิตที่อาจจะล่องลอยไปไหนมาไหนก็ได้  และไม่ได้หมายถึงภูติ ผี ปีศาจ เทพ หรือ เทวดา)

5.  สังขารักขันโธ  ธรรมอันปัจจัยตกแต่ง, ความแต่งความอบรม, สังขาร, ปัจจัยประชุมเกิด ได้แก่ความคิดปรุงแต่งจิตใจให้เป็นไป ทั้งดี ทั้งชั่ว หรือเป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นปัจจัยตกแต่ง  ความปรุง  ความอบรม การปรุงแต่งของภาคนามธรรมกับรูปธรรม   constructing,   preparing, perfecting, embellishing, aggregation, matter, Karma

กองทั้ง 5 กองขันธ์นี้ ก็แบ่งเป็น 2 ลักษณะ มีลักษณะ 2 อย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ มีรูปธรรมหนึ่ง  กับ  นามธรรมหนึ่ง  คือ

1.   รูปธรรม   กองที่เป็นรูปร่าง เป็นตัวตน มองเห็นได้ สัมผัสถูกต้องได้ คือ  รูปักขันโธ นั่นเอง  หรือเรียกว่า  ส่วนกาย (ตรงกับภาษาสากลว่า body )

2.   นามธรรม   คือ เวทนาขันโธสัญญาขันโธวิญญานขันโธสังขารขันโธ  4  รวมกัน  เป็นส่วนที่มองด้วยตาไม่เห็น สัมผัสถูกต้องไม่ได้  เรียกว่า  นามธรรม ( mind)  

รูปธรรม1กอง ฝ่ายกาย[body] และนามธรรม4กองที่ประสานกันเป็นฝ่ายจิตใจ[mind]นี้แหละ ประกอบกันแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขาร คือร่างกาย จิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดเป็นคน ที่มีรูปร่าง หน้าตา และจิตใจขึ้นมา

สัจธรรมตรงนี้ก็คือ   คน  ไม่ว่าคนใด คนไหน  คนอย่างไร  คนใหญ่  คนโต  คนล้นด้วยบารมี อำนาจ คนจนต่ำต้อย  คนด้อยวาสนา คนรวย  เศรษฐี มหาเศรษฐี ข้าราชการ  กรรมกร ชาวนา   ประชาชนหรือกษัตริย์  มหากษัตริย์ มหาราช นายกรัฐมนตรี นายพลเอก นายพลโท หรือพลทหาร ก็เหมือนกัน  ในแง่ที่ว่า  เกิดมา  อยู่  เป็น ไปได้ด้วยปัญจักขันธา รวม 5 องค์ประกอบนี้ ....เหมือนกัน  เป็นคนเหมือนกันหมด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสิ่งที่เป็นความรู้อย่างยิ่ง(อุตตริมนุสสธรรม)ก็คือตรัสเกี่ยวกับเรื่องรูปธรรมนามธรรม หรือ กองขันธ์ทั้ง 5 หรือสังขาร หรือคนเรานี้เอง   ให้คนรู้ว่า  สัจธรรมของสังขาร หรือ คน เรานั้นคืออะไร  สัจธรรมที่ควรรู้คืออะไร อย่างไร  หากหมั่นพิจารณาอยู่บ่อย ๆ  เป็นประจำ ก็จะเกิดปัญญาแจ่มแจ้ง นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้  

ดังตัวอย่างหมู่พระสาวก สงฆ์ สามเณร  ที่มีวัตรสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น เป็นประจำทุกวัน ๆ ตลอดชีวิตนักบวช เน้นลงไปที่สัจธรรมที่ทรงบอกไว้  นั้น ๆ ล้วนแต่เพื่อชี้ นำทางคนทั้งหลาย ไปสู่มรรคผล  นิพพาน    เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น ทั้งทางกายและทางใจ  หรือหากนับเป็นทรัพย์  นั่นคือ  อริยทรัพย์ ที่ประมาณค่าไม่ได้ (คือได้ความเป็นอริยชนผู้ประเสริฐ ผู้เสวยซึ่งมรรค ผล นิพพาน แล้วอิ่มไปนิรันดร)

ตัวอย่างเช่นที่ปรากฎในธัมมะนิยามะสุตตัง ว่า

สัพเพ สังขารา อนิจจาติ   สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป  unstable, not lasting, transitory, perishable

สัพเพ สังขารา ทุกขาติ   ลำบาก  นำมาซึ่งทุกข์  สังขารคือร่างกายจิตใจ, แลรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นทุกข์ทนยาก, เพราะเกิดขึ้นแล้ว, แก่ เจ็บ ตายไปpainful, grievous, unpleasant, difficult

สัพเพธัมมา อนัตตาติ  ใช่อาตมา, ใช่ของอาตมา, สิ่งทั้งหลายทั้งปวง, ทั้งที่เป็นสังขาร แลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น  ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา  ว่าของเรา  ว่าตัวว่าตนของเรา  not a self,  not a soul

ดังมีส่วนขยายความเข้าใจออกไปอีกโดยการเจริญวิปัสนาตามไปตามบทสวดของพระสาวก ว่า ....

ชาติปิ ทุกขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์)   

ชะราปิ ทุกขา (แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์)

มะระณัมปิ ทุกขัง, (แม้ความตายก็เป็นทุกข์)

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, (แม้ความแห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจและคับแค้นใจก็เป็นทุกข์)

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข (ความประสบความเห็นสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์)  

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง  (ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังก็เป็นทุกข์)

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา (ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์...... การยึดขันธ์ห้าว่าเป็นเราก็เป็นทุกข์)

เสยยะถีทัง  ได้แก่สิ่งเหล่านี้.......นี้อย่างไร

รูปูปาทานักขันโธ, (การหลงยึดเอารูปว่าเป็นของเรา)

เวทะนูปาทานักขันโธ,( การหลงยึดเอาเวทนาว่าเป็นของเรา)

สัญญูปาทานักขันโธ, (การหลงยึดเอาสัญญาว่าเป็นของเรา)

สังขารูปาทานักขันโธ,( การหลงยึดเอาสังขารว่าเป็นของเรา...ปรุงแต่งอะไรขึ้นมาก็ว่าเป็นของเรา)

วิญญาณูปาทานักขันโธ ( การหลงยึดเอาวิญญาณว่าเป็นของเรา)   

[อุปาทานํ   ความถือมั่น, ความเข้าไปถือเอา, ถือมั่น(ผ); เชื้อไฟ หรือฟืน(ชิน.๓๖/๑๒);ตัณหา (ม.นิท. อ/กาม ๘) สํ. อุปาทาน.  attachment, clinging to existence; firewood, fuel.]     ทำความเข้าใจโดยหลักสนธิไทย  รูป+อุปาทาน+ก  = รูปูปาทานักขันโธ 

เยสังปริญญายะ,   ธะระมาโนโส  ภะคะวาเอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังดำรงพระชนม์อยู่ ย่อมแนะนำสาวกทั้งหลาย เพื่อให้รู้ซึ่งอุปาทานขันธ์(เพื่อให้รู้ซึ่งการหลงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา) ทั้งหลายอย่างนี้ เป็นอันมาก  

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี  พะหุลา ปะวัตตะติ,

ก็แลการพร่ำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีส่วนอย่างนี้ เป็นไปมากในหมู่สาวกทั้งหลาย

รูปัง อะนิจจัง,   (รูปไม่เที่ยง)

เวทะนา อนิจจา,   (เวทนาไม่เที่ยง)

สัญญา อะนิจจา,  (สัญญาไม่เที่ยง)

สังขารา อะนิจจา,  (สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง...ปรุงแต่งเป็นนั่นเป็นนี่แล้วก็ไม่เที่ยงหรอก)

วิญญาณัง อะนิจจัง,   (วิญญาณไม่เที่ยง)

รูปัง อะนัตตา,   (รูป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา  ว่าของเรา  ว่าตัวว่าตนของเรา

เวทะนา อะนัตตา,  (เวทนา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา  ว่าของเรา  ว่าตัวว่าตนของเรา

สัญญา  อะนัตตา,  (สัญญาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา  ว่าของเรา  ว่าตัวว่าตนของเรา

สังขารา อะนัตตา,  (สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา  ว่าของเรา  ว่าตัวว่าตนของเรา

วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน, ไม่ควรถือว่าเรา  ว่าของเรา  ว่าตัวว่าตนของเรา

สัพเพ สังขารา  อนิจจา,(สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง...มันเปลี่ยน แปรไปตลอดเวลา)

สัพเพ ธัมมา  อะนัตตาติ, (ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมิใช่ตัวมิใช่ตนของเรา[...มันไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่ของของใครเลย] ดังนี้แล) 

เมื่อเราเจริญความคิด เจริญวิปัสสนาไป จนเห็นความจริงว่า ตัวเราเอง เป็นเพียงปัญจักขันธา  รูปธรรม นามธรรม  หรือ  กองขันธ์ทั้ง 5 มารวมกันเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่าคน หรือ มนุษย์   รูปธรรม นามธรรมนี้   ก็ย่อมไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตา  ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเราเลย  (มันไม่อยู่ในอาณัติของเราเลย ถึงเวลาของมัน ๆ ก็เป็นไป ตามธรรมชาติของมัน เช่นมีเกิด  มีแก่  มีเจ็บ  มีตาย ลำดับไปเองเป็นธรรมดา)  ก็จะพ้นทุกข์ เกิดวิปัสสนาญาณ นำไปสู่มรรคผล ทางสู่โลกนิพพาน  ตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

จิระปะริพิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คะตา ,

เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น  เป็นสรณะ

ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ ,      ถึงพระธรรมด้วย  ถึงพระสงฆ์ด้วย

ตัสสะ  ภะคะวะโต  สาสะนัง  ยะถาสะติ  ยะถาพะลัง  มะนะสิกะโรมะ  อะนุปะฏิปัชชามะ ,

จักทำในใจอยู่  ปฏิบัติตามอยู่  ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น  ตามสติกำลัง

สา  สา  โน  ปะฏิปัตติ ,   

ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย

อิมัสสะ  เกวะลัสสะ  ทุกขักขันธัสสะ  อันตะกิริยายะ  สังวัตตะตุ ,

จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เทอญ

***************************************

พระครูพุทธิพงศานุวัตร

วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง

อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

17  ต.ค. 2559 เวลา 20:30:30 น.

**********

•      เอกสารอ้างอิง  ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY  ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบ ๕ รอบ  หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ  วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒

***************************************

บทนำแห่งธรรมะ ถวายแด่วันสวรรคตของพระองค์

ปัญจักขันธา ๒

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย  เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี]  

 ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา  ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช, กรุงเทพมหานครขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี  ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก

นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา  รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์

ปัญจักขันธา ๒

เรื่องราวของชีวิต ซึ่งแท้จริงคือสังขารที่ประกอบกันขึ้นจาก ขันธ์ทั้ง 5 ดังกล่าวมาแล้วนั้น เป็นมนุษย์ เป็นคน มีรูปธรรม นามธรรมประกอบกันเป็นสังขารนั้น แท้จริงคือ เรื่องราวของธรรมชาติ  ธรรมดา ๆ  ที่มีอยู่เอง  เป็นอยู่เองแปรเปลี่ยนไปเองของมัน มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว  แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสไว้อย่างตรงความจริง  ที่ว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น  มันเป็นอย่างนั้นของมันเอง  มีพระพุทธเจ้าหรือไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดมา  มันก็เป็นของมันเองอย่างนั้น  และประเด็นที่คนทั้งหลายไม่เคยรู้มาก่อนเลยก็คือสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง(คือสิ่งของทั้งหลายในโลกรวมเรียกว่าสรรพสิ่งนั้น) เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ของใครคนใดเลย ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งอาจยึดเอาเป็นของตนได้)

ดังปรากฏใน ธัมมะนิยามะสุตตัง ต่อไปนี้

ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญานัง ปุพเพ ปะวัตตะเต

ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา

อะนิจจะตา ทุกขะตะ จะ สัพเพสัง จะ อะนัตตะตา

ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตังยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง

สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง

โยนิโส ปะฏิปัตยัตถัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะเส ฯ

กฎ ธรรมชาติที่กำหนดแน่นอน สำหรับสรรพสัตว์ที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นวิสัยแห่งผู้ได้ญาณหยั่งรู้พระนิพพาน ที่มีมาแล้วในกาลก่อน พวกเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระสูตรนี้ อันประกาศสิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณอันพิเศษแก่เหล่าสาธุชน เพื่อประโยชน์ในการที่จะนำไปปฏิบัติ โดยอุบายอันแยบคายต่อไปเทอญ

อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ

ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

--------------------------------------------------------------

อนิจฺโจ  ไม่เที่ยง (ค.ธ.ป. ๒๐๔/๑๐๑) สํ  อ + นิตฺย. 

Annicco  (adj.)  unstable,  not lasting, transitory, perishable.  Skt. A + nitiya.

ธาตุ   กระดูก (ชิน. ๒๗๘/๘๓ ) ; เป็นไปในอรรถคือ ๑. เสมฺหาทิ (โทษมีเสลดเป็นต้น)  ๒. รสรตฺตาทิ (รโส-รส, รตฺตํ-โลหิต, มํสํ เนื้อ, เมโท-น้ำมันข้น, อฏฺฐิ-กระดูก, สุกฺกํ น้ำสัมภวะ, มิญฺชํ-เยื่อ ) ๓. มหาภูติ ( มหาภูตรูป)  ๔. ปภาทิ (วิสยธาตุ มีรูปธาตุ คือ แสงสว่างเป็นต้น ) ๕. อัฐิธาตุ  ๖.  จกํขาทิ ( วิสยีธาตุมีจักษุเป็นต้น ) ๗. ภวาทิ ( ธาตุมีดินสอพองหรือแร่ต่าง ๆเป็นต้น )  ( ชิน. ๘๑๗/๒๕๗ ).  สํ.  ธาตุ

Dhatu  (m..& f.)  primary or elementary ; principle, element, material;  a property  of a primary substance as colour, teste, sound; an organ of sense; a bodily principle or humour of which there are three, phlegm, wind and bile; a constituent of the body such as flesh, blood, bones; a sacred relic; a fosil; a metal. Skt. Dhatu.

-------------------------------------------------------------

อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ

ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์

------------------------------------------------------------

ทุกฺขํ  ธรรมชาติอันบุคคลทนยาก (ผ) ; ทุกข์ ( ชิน. ๘๙/๒๖). สํ.  ทุขะ.  

Dukkham  unsatisfactoriness,  pain,  suffering,  trouble, distress, difficulty.  Skt. Duhkha.

------------------------------------------------------------

อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิตวา อะภิสะเมตวา อาจิกขะติ เทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติ วิวะระติ วิภะชะติ อุตตานีกะโรติ สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ

------------------------------------------------------------

อนตฺตา  ใช่อาตมา  ใช่ของอาตมา ( บา.๖๘).  สํ.  อนุ + อาตฺมนฺ.  

Anatta   not a self,  not  a  soul.  Skt. An + atman.

------------------------------------------------------------

ภิกษุ ทั้งหลาย ทั้งที่พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุคือสิ่งทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น ดำรงอยู่ได้โดยธรรมดาของมันอย่างนั้น สิ่งที่ถูกกำหนดมาตามธรรมดาของมันว่า จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นตถาคต ตรัสรู้ธาตุนั้น ทรงรู้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา

อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ

ครั้ง พระพุทธองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ตรัสแสดงดังกล่าวมานี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีความซาบซึ้ง ยินดีเพลิดเพลินพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง

ครั้นหมู่พระสาวก หมู่ชนใด ได้บรรลุวิปัสสนาญาณ รู้แจ้งสัจธรรมแห่งไตรลักษณ์ ดังกล่าวนั้นแล้ว ย่อมบรรลุธรรม ตั้งแต่ขั้นล่าง ถึงขั้นสูงสุด คือ โสดาปัตติมรรคญาณ ไปถึง อรหัตตผลญาณ สูงสุด เข้าสู่โลกวิมุตติ  เข้าสู่โลกนิพพาน พ้นทุกข์ไปชั่วนิรันดร โดยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และ ความเป็นธรรมดานั้นไปชั่วนิรันดร

จึงทรงตรัสบอกพระภิกษุทั้งหลาย ดังปรากฏใน โอวาทปาฏิโมกขคาถา ไม่เพียงพระองค์โคดมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาของพวกเราเท่านั้น ที่ทรงตรัสบอก ว่า  นิพพานํ ปะระมัง วะทันฺติ พุทธา  ผู้รู้ทั้งหลาย (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กี่หมื่นกี่ล้านพระองค์ก็ตาม) กล่าวตรงกันว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง(ธรรมะที่สูงสุดเหนือธรรมะอื่นใด)   

และในพระสูตรต่าง ๆมากมาย มีว่า   นิพพานํ ปะระมัง สุขัง  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (เหนือความสุขของสวรรค์ชั้นใดใดในเทวภพทั้งสิ้น) และแท้จริงที่ควรรู้ ก็คือ มนุษย์และเทพเทวดา แม้กระทั่งพวกมาร  จึงต่างบำเพ็ญเพียร เพื่อเข้าสู่โลกสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น คือ โลกนิพพาน  นั่นเอง

***************************************

พระครูพุทธิพงศานุวัตร

วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง

ถนนขุขันธ์ ต.เมืองเหนือ

อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000

*****************

•      เอกสารอ้างอิง   ปทานุกรม  บาลี  ไทย  อังกฤษ  สันสกฤต    PALI –THAI –ENGLISH – SANSARIT   DICTIONARY ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบรอบ ๕ รอบ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ  วันที่ ๒๕ พฤสจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒

**************************************

นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา
รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์

ปัญจักขันธา 3

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มหาราชไทยลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี ประเทศไทย  เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก [ซึ่งกษัตริย์องค์รอง ลำดับการครองราชย์นานเป็นรอง ที่ 2 ก็คือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 (Queen Elizabeth 2 )แห่งสหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ ที่ทรงครองราชย์มาถึงวันเดียวกันนี้ 64 ปี] 

 ทรงมีพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470, เคมบริดจ์,รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐอเมริกา  ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559, เวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช,กรุงเทพมหานครขณะทรงพระชนมายุ 88 พรรษาและครองราชย์มา 70 ปี  ท่ามกลางความเศร้าโศกของพสกนิกรชาวไทย และชาวพุทธทั่วโลก

 นี่คือบทนำแห่งธรรมะ ในพระพุทธศาสนา  รจนาแด่การเสด็จสวรรคต ของพระองค์

ปัญจักขันธา 3

ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา    สังขาร   วิญญาณ  หรือ รูปธรรมและนามธรรม 2 หมู่  นั้น  ก่อเกิดรวมกันเป็น สังขาร คือร่างกายจิตใจของมนุษย์ขึ้นมา  แต่สัจธรรมที่พวกมนุษย์เราไม่เข้าใจ ไม่รู้มาก่อนก็คือ  สัพเพ สังขารา อนิจจาติ   สัพเพสังขารา  ทุกขาติ  สัพเพธัมมา อนัตตาติ  พระพุทธเจ้า ทรงให้พระสาวกของพระองค์รำลึกสัจธรรมนี้บ่อย ๆ เป็นประจำ  ดังปรากฏมาว่า พระสาวกได้นำบทไตรลักษณ์มาสวดบ่อย ๆ เป็นประจำ โดยจัดให้มีการสวด(ทำวัตร)เช้า (ทำวัตร)เย็น ทุกวัน ตราบที่ป็นสงฆ์อยู่  และมีบทพิเศษ เช่น ติลักขณะคาถา  ซึ่งเป็นบทหนึ่ง ที่พระสงฆ์ในวัดใช้สวดประจำในงานศพของชาวพุทธ ก่อนจะมีพิธีการเผาศพ (เป็นบทหนึ่งในบทสวดธรรมนิยาม)ทั่วประเทศพุทธศาสนา  ทั่วโลก  โดยมีข้อความสำคัญ เป็นบทสวด พร้อมคำแปลว่า

สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ     ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข       เอสะ มัคโค วิสุทธิยา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข     เอสะ มัคโค วิสุทธิยา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

ซึ่งตามบทสวดติลักขณะคาถานี้  มีบทเน้นไปตลอด ให้เข้าใจรู้แจ้งในลักษณะ 2 ประการ

ประการที่ 1 ย่อมเหนื่อยหน่าย  ดังบทสวดว่า

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

 ประการที่ 2  อานิสงส์ของการรู้แจ้ง และเหนื่อยหน่าย  นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด   ดังที่ปรากฏว่ามีบท เน้น ทบทวนบ่อย ๆ  ดังนี้

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

 พระนิพพานคืออะไร ?

เราชาวพุทธทั้งหลาย  ก็ได้ยิน ได้ฟังมาตลอดว่า  พระนิพพานนั้น  เป็นแดนของ พระพุทธเจ้า  เป็นแดนพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย   ชาวพุทธไทยย่อมคุ้นกับภาษา คำว่า  ปรินิพพาน  และ คำว่า นิพพาน  ซึ่งหมายถึง  การตายของพระพุทธเจ้าใช้คำว่า ปรินิพพาน  (การตายของพระอรหันต์ ใช้คำว่า นิพพาน)  

ในตอนที่แล้วคือ ปัญจักขันธา 2 เราได้ลงสัจธรรมบทจบไว้แล้วว่า

ครั้นหมู่พระสาวก หมู่ชนใด ได้บรรลุวิปัสสนาญาณ รู้แจ้งสัจธรรมแห่งไตรลักษณ์ ดังกล่าวนั้นแล้ว ย่อมบรรลุธรรม ตั้งแต่ขั้นล่าง ถึงขั้นสูงสุด คือ โสดาปัตติมรรคญาณ ไปถึง อรหัตตผลญาณ สูงสุด เข้าสู่โลกวิมุตติ  เข้าสู่โลกนิพพาน พ้นทุกข์ไปชั่วนิรันดร โดยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ และ ความเป็นธรรมดานั้นไปชั่วนิรันดร

จึงทรงตรัสบอกพระภิกษุทั้งหลาย ดังปรากฏใน โอวาทปาฏิโมกขคาถา ไม่เพียงพระองค์โคดมพุทธเจ้า พระมหาศาสดาของพวกเราเท่านั้น ที่ทรงตรัสบอก ว่า  นิพพานํ ปะระมัง วะทันฺติ พุทธา  ผู้รู้ทั้งหลาย (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กี่หมื่นกี่ล้านพระองค์ก็ตาม) กล่าวตรงกันว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง(ธรรมะที่สูงสุดเหนือธรรมะอื่นใด)  

และในพระสูตรต่าง ๆมากมาย มีว่า   นิพพานํ ปะระมัง สุขัง  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (เหนือความสุขของสวรรค์ชั้นใดใดในเทวภพทั้งสิ้น) และแท้จริงที่ควรรู้ ก็คือ มนุษย์และเทพเทวดา แม้กระทั่งพวกมาร  จึงต่างบำเพ็ญเพียร เพื่อเข้าสู่โลกสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น คือ โลกนิพพาน  นั่นเอง

นิพพาน  นั้นจึงเป็นสัจธรรมที่อยู่เหนือโลกทั้งปวง  เหนือโลกมนุษย์  เหนือโลกเทพ  เหนือโลกพรหม ...เป็นโลกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และโลกของพระอรหันต์ทั้งปวงนิพพาน  นั้นจึงเป็นสัจธรรมที่อยู่เหนือโลกทั้งปวง  เหนือโลกมนุษย์  เหนือโลกเทพ  เหนือโลกพรหม ...เป็นโลกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และโลกของพระอรหันต์ทั้งปวง

บทสวด ติลักขณะคาถา  จึงล้วนบอกทางไปสู่โลกนิพพานทั้งสิ้น  ไม่ได้บอกเราไปโลกมนุษย์อีก  ไม่ได้บอกเราไปโลกเทวดา  และไม่ได้บอกเราไปโลกพรหม  มหาพรหมแดนทวยเทพทั้งหลายนั้นเลย

ฉะนั้น   การรู้แจ้งในเรื่อง ปัญจักขันธา  รูปธรรม-นามธรรม หรือสังขารว่า  สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง   สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งหลายทั้งปวง(คือสิ่งที่เป็นสังขารทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้ง คน สัตว์ พืช และสรรพสิ่ง) เป็นอนัตตา  จึงเป็นทางไปสู่ที่ประเสริฐ  เหนือสวรรค์ชั้นเทพ   เหนือสวรรค์ชั้นพรหม  มหาพรหม เลยทีเดียว   ดังพุทธดำรัสว่า นิพพานํ ปะระมัง วะทันฺติ พุทธา  ผู้รู้ทั้งหลาย (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลาย กี่หมื่นกี่ล้านพระองค์ก็ตาม) กล่าวตรงกันว่า พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง(ธรรมะที่สูงสุดเหนือธรรมะอื่นใด=เรื่องราวที่สูงสุดเหนือเรื่องราวอื่นใด)   นิพพานํ ปะระมัง สุขัง  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (เหนือความสุขของสวรรค์ชั้นใดใดในเทวภพในพรหมภพ มหาพรหมภพทั้งสิ้น) และแท้จริงที่ควรรู้ ก็คือ มนุษย์และเทพเทวดา พรหม  แม้กระทั่งพวกมาร  จึงต่างบำเพ็ญเพียร เพื่อมุ่งเข้าสู่โลกสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น คือ โลกนิพพาน  นั่นเอง

มาดูเรื่องสวรรค์กันบ้าง

ตามคัมภีร์ของศาสนาคริสต์และอิสลาม กล่าวถึงสวรรค์ว่ามี 7 ชั้นเท่านั้นเอง  สวรรค์ชั้นที่ 7 เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด  ซึ่งตามคัมภีร์อิสลาม อัลกุรอาน พระเจ้าอัลเลาะห์ทรงประทับอยู่ที่สวรรค์ชั้นที่ 7 นั้น  ส่วนคัมภีร์ไบเบิล ระบุว่า  ชั้นสูงสุดของสวรรค์นั้น มีพระเจ้ายะโฮวา นั่งบนอาสนบัลลังก์ แล้วมีพระเยซู ซึ่งเป็นพระบุตรองค์เดียวที่ทรงโปรดปรานมากนั่งเคียงอยู่ข้าง ๆ  ส่วนคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา( ธัมมจักกัปปวัตนสูตร)  ระบุสวรรค์ไว้ถึง 21 ชั้นตามชื่อ  ดังนี้

1.จาตุมมะหาราชิกา เทวา

2.ตาวะติงสา เทวา

3.ยามา เทวา

4.ตุสิตา เทวา

5. นิมมานะระตี เทวา

6. ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา

7. พรัหมะปาริสัชชา เทวา

8.  พรัหมะปะโรหิตา เทวา

9. มะหาพรัหมา เทวา

10.  ปะริตตาภา เทวา

11. อัปปะมาณาภา เทวา

12. อาภัสสะรา เทวา

13.  ปะริตตะสุภา เทวา

14.  อัปปะมาณะสุภา เทวา

15.  สุภะกิณหะกา เทวา

16.  เวหัปผะลา เทวา

17.  อะวิหา เทวา

18.  อะตัปปา เทวา

19.  สุทัสสา เทวา

20.  สุทัสสี เทวา

21.  อะกะนิฏฐะกา เทวา

ชั้นที่ 1- 5 เป็นชั้นเทพ

ชั้นที่ 6-12 เป็นชั้นพรหม

ชั้น 13- 21 เป็นชั้นมหาพรหม 

ท่านจะเห็นว่า เทพพรหมทั้ง 21 ชั้นนี้  ครั้นได้ทราบว่า  พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมะ เรื่องแรกคือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแด่ปัญจวัคคีย์ เป็นผลให้ อัญญาโกณฑัญญะ บรรลุโสดาบัน  ซึ่งเป็นระดับต้นของมรรคผลแห่งโลกนิพพานเท่านั้นเอง  

โลกนิพพานมี 9 ชั้น 9 ระดับ คือ

1. โสดาบันมรรค

2. โสดาบันผล

3.  สกิทาคามีมรรค

4.  สกิทาคามีผล

5.  อนาคามีมรรค

6.  อนาคามีผล

7.  อรหันต์มรรค

8.  อรหันตผลและ สูงสุด 

9. พุทธภูมิ หรือ พุทธภาวะ   

เทพเทวา พรหม มหาพรหมทั้ง 21 ชั้นก็ตื่นเต้นยินดีกันทั้งสวรรค์ 21 ชั้น(ตื่นเต้นที่ได้เห็นมนุษย์ หรือคน ๆ แรก ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นทางแห่งมรรคผล ซึ่งจักนำไปสู่โลกนิพพาน คนละเส้นทางกับพวกเทพ พรหม มหาพรหมเหล่านั้น)   ปรากฏในพระคัมภีร์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า  

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยันจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ

สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ

ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต

โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ.

จะเห็นสัจธรรมว่า พระอัญญาโกญฑัญญะ เมื่อสำเร็จโสดาบัน  ไม่ได้เดินทางขึ้นสวรรค์ 21 ชั้นนั้น  แต่เดินทางสู่โลกนิพพาน  9 ชั้น คือ  โสดาบันมรรค, โสดาบันผลสกิทาคามีมรรค, สกิทาคามีผล, อนาคามีมรรคอนาคามีผล, อรหันต์มรรค, อรหันต์ผล และสูงสุด  พุทธภูมิ หรือ พุทธภาวะ     การที่ได้เห็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เดินทางเข้าสู่มรรคผลนี่แหละที่ เทพ พรหม ในสวรรค์ทั้ง 21 ชั้นพากันตื่นเต้น ปิติกันทั้งสวรรค์(เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน และทั้งที่เทพ เทวา พรหม ทุกเหล่า ต่างก็บำเพ็ญเพื่อบรรลุอรหันตธรรม  อรหันตโลก  โลกนิพพาน นี้เช่นเดียวกันกับพระสาวก และชาวพุทธในโลกมนุษย์)

ซึ่งข้อเท็จจริง ก็คือ เทพ พรหมในสวรรค์ชั้นเทพ โลกพรหม  มหาพรหมกี่ชั้นก็ตาม  7 ชั้น หรือ 21 ชั้นก็ตาม เป็นโลกที่ยังไม่หมดสิ้นกิเลส  แต่โลกนิพพานเป็นโลกที่สิ้นไปจากกิเลสทุกชนิด จึงตรงพุทธดำรัสว่า  นิพพานํ ปรมํ สุขํ  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ผู้สร้างบุญ บารมีมาสูงสุด สิ้นกิเลส จึงจะสามารถเข้าสู่โลกนิพพานได้.  

โปรดแปลคำบูชาของเรา และหมั่นคิดตีความหมาย วิปัสนาตลอด ที่บูชาว่า

อระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ 

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส (ขจัดกิเลสทุกชาติพันธ์แห่งกิเลสสิ้นไปจากใจ ไกลกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย) เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้, ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.

จบปัญจักขันธา 3

***************************************

 พระครูพุทธิพงศานุวัตร

วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง

ถนนขุขันธ์ ต.เมืองเหนือ

อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000

***************************************

เอกสารอ้างอิง

1.           ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY  ฉบับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ในคราวอายุครบ ๕ รอบ  หม่อมหลวงบัว กิติยากร ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ  วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๒

2.           THE HOLY BIBLE containing the Old and New TESTAMENTS  The revised Berkelely Version in Modern English  A Complely New Translation from the Original Languages   THE GIDEONS INTERNATIONAL  1947 EDITION

3.            พระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน  ฉบับ  แปลความหมาย และ ขยายความ  โดย  นายต่วน สุวรรณศาสน์ (ฮัจยีอิสมาแอล บินฮัจยียะห์ยา)  อดีตจุฬาราชมนตรี   สงวนลิขสิทธิ์

**************************************************************************************

จบเรื่องราวของชีวิตหนึ่ง
บทนำแห่งธรรมะถวายแด่วันสวรรคตของพระองค์

*****
*****

ภาคภาษาอังกฤษ

*****
*****

Introduction of Dharma Dedicated to the day of his death

Panchakhantha (The Story of One Life)

 

His Majesty His Majesty King Bhumibol Adulyadej He is the King The ninth Thai Maharaj of the Chakri Dynasty, Thailand, came to the throne since June 9, 1946, is the longest reigning monarch in world history. [which the second king The second longest-reigning monarch is Queen Elizabeth II of the United Kingdom. and the Commonwealth who reigned on the same day for 64 years]

Born on December 5, 1927, Cambridge, Massachusetts, United States of America. He died on October 13, 2016, at 3:52 p.m. at Siriraj Hospital, Bangkok. At the age of 88 and reigning for 70 years amid the sorrow of the Thai people and Buddhists around the world

This is the introduction of the Dharma. in buddhism Praying for his passing

Panchakhantha

Rupak Khantho, Vetnakkhantho, Sankharakhantho, Spirit of Khantho, Sangkharak Khantho

This person is the Division 5 The group is made up of one. Being a person comes alive. until in the order of life according to Buddhism It was obtained because of the combination of 5 khandhas, namely

1. The khandha is a figure of the body with 32 organs, external and internal organs (from the head, ears, face, forehead, neck, shoulder, arms, down to the chest, stomach, legs, feet, and the internal organs, such as liver, lungs, heart, large intestine, small intestine, stomach, genitals, etc. or in the age of science With science, you will know the details of this person's body as many as 32 things, 100 or 1000 things ... but they are aggregates as well). International language means the body, natural state, form, figure, shape. , image, characteristic. Skt. rupa

2. Vedanakkhanthho, vedanakhandha, the heap of feelings, the nature of the feeling, the taste of the feeling. These included various emotional sensations that were both happiness and suffering, both pain and pleasure, the aggregate of feeling, pain, suffering, sensation, perception.

3. Sankhakantho: thought, memory, meaning, intention, intention, thought, remember, important, name, in the past, present and future thought, sense, memory, perception, intellect, sign. , gesture, name

4. Spirit of the sorcerer These include feelings, mind, which are passed through the six senses, namely ears, eyes, nose, tongue, physical contact, and mental touch, intelligence, knowledge, consciousness, thought, mind (in the Buddha Dharma, this spirit not soul that floated away from his body at the end of his life or something that is a soul that may float anywhere and does not refer to ghosts, ghosts, demons, gods or angels)

5. Sangkharak Khantho Dharma as decoration factors, dress, training, body, factors of meeting These are ideas that shape the mind to be good or bad or neutral, not good or bad, as a decorative factor, improvement, training, or improvement of the abstract and concrete sectors. constructing, preparing, perfecting, embellishing, aggregation, matter, Karma

These 5 groups are divided into 2 types, having 2 characteristics that are different as follows: one tangible and one abstract, namely

1. The tangible, the mound that is a form, is the self, can be seen, and can be touched, that is, the shape of the body, known as the body (corresponds to the international language that the body).

2. Abstract: Vetana Khantho, Sanya Khantho, Spirit Khantho, Sankhara Khantho, all together are the parts that cannot be seen by the eye. Inability to touch correctly is called the abstract (mind).

This is one dharma, the physical [body] and the four abstracts that are intertwined with the mind [mind]. already assembled It is also called sankhara, which is the body, mind, and all the abstract objects.

The truth here is that people, regardless of any person, any person, any person, any person, a large person, a senior person, overflowing with prestige, power, the lowly poor, the poor, the poor, the rich, the rich, the billionaires, the civil servants, the laborers, the peasants, the people or the King, the Great King, the Prime Minister, General, Lieutenant General, or General. Soldiers are the same in the sense that they are born, live, are possible through the Pancakhandha, including these five elements. ....the same all the same person

The Lord Buddha spoke what was extremely knowledgeable (Uttarimnussa Dhamma) that he spoke about the abstract matter or the five aggregates or sankharas, or this person, to let people know that the truth What is our body or human being? What is the truth that should be known, and how, if contemplating it often and regularly, it will bring about clear wisdom. lead to the cessation of suffering

For example, a group of monks, monks, novices, who have morning prayers and evening prayers every day throughout the life of a monk. focusing on the truth that He has said, all for pointing out Leading people to the path, nirvana, the path leading to the cessation of all suffering. both physically and mentally or if it is counted as a property, that is a noble property that cannot be estimated (that is, to be a noble one One who enjoys the path, fruit, nirvana and is satisfied for eternity)

For example, it appears in the Dhamma Nimasuttam that

Sabbe sankhara aniccati sankhara is the body, mind, and all material and abstract entities, impermanent, arises and disappears, exists and disappears, unstable, not lasting, transitory, perishable.

Sabbe sankhara, dukkhati, difficult, causing suffering. Sanghara is the body, mind, and all the physical and abstract objects. It is suffering, because it has happened, old, sick and deadpainful, grievous, unpleasant, difficult.

Sabbedhamma anattati not atma, not of Atma, all things, whether they are sankhara and not all body Not a self, not a self, should not assume that we are ours, that our self is not a self, not a soul.

as the understanding was expanded further by practicing introspection following the chants of the disciples saying ....

Chatpi dukkha (Even birth is suffering)

Sharapi Dukkha (Even old age is suffering)

Maranampi Dukkham, (Even death is suffering)

Sokaparideva dukhatomanas supaya sapi dukkha, (even the dryness whimsy physical discomfort sorrow and resentment are suffering)

Appiyehi sampayoko dukkho (To see what is unloved is suffering.

Piyehi vippayoko dukko, separation from the loved is suffering)

Yampicchang na labhati tampi dukkham (What do you want? not getting things that are hopeful is suffering)

Sankhittena panjupatanakhandha dukkha (in short, the five clinging aggregates are suffering...... seizing the five aggregates as me is suffering)

Seyatheidang: how is this .......

Rupupada Nak Khantho, (Deceiting the image as ours)

Vetanupada nak Khandho,( seizing the feeling as ours)

Sanyupadanakhandho, (Deceiting the promise is mine)

sankhara rupa nak khantho,( seizing the body as ours...everything that is created is ours)

Spirituality upadanakhandho (Delusion of the spirit as ours)

[contemplation, clinging, clinging, clinging(ผ); Fuel or firewood (Chin. 36/12); Craving (M. Nit. Or/Kam 8) Sor. Upathan. attachment, clinging to existence; firewood, fuel.] Understanding by Thai Junction. Form+upathan+a = Rupupatanakhantho

Yesang Binya, Dharamanoso Bhagava, Ewang Bahulang Savake Vineti,

The Blessed One when he was still alive would recommend the disciples To know the aggregates of clinging (to know which clinging is ours) many of these

Ewang bhaga ca panassa bhakawato savakesu anusasani phahula pawattati,

and the teaching of the Blessed One have a part like this It was very common among the disciples.

Rupang Anicchan, (imperfect picture)

Vetana alas, (Vetana is impermanent)

Promise, Anijja, (The Promise is inconstant)

Sankhara anicca, (All sankharas are impermanent...Concocted into this and that is impermanent)

The spirit is eternal, (the impermanent spirit)

Rupang anatta, (form is not the self, we should not be regarded as ours as our self.

Vetana anatta, (Vedana is not self, we should not be regarded as mine as self.

Promise anatta, (Promise is not self and self, we should not be regarded as ours as our self.

Sankhara anatta, (All sankharas are not self, we should not be regarded as ours as our self.

The soul is anatta, the soul is not the self, it is not the self, we should not be regarded as ours as our self.

Sabbe sankhara, alas, (All things are impermanent... they change. change all the time)

Sabbe dhamma anattati, (All dharmas are non-self, not mine [...it's not mine. not belonging to anyone] as follows)

when we develop ideas develop introspection until he sees the fact that we are only Pancak Khantha, concrete, abstract, or the five aggregates come together as one. Called human beings or human beings, this materialistic object is impermanent, suffering and selfless. It's not our self. (It is not in our mandate at all. When it comes to its own time, it is according to its nature, such as birth, aging, sickness, death, and so on), one will be freed from suffering and gain insight. lead to path road to nirvana according to the teachings of the Lord Buddha

Chiraparipipputampitang bhagavantang saranang kata,

we who have reached the Blessed One Even though he had passed away a long time ago, he was a refuge.

Dhammacha, Sanghanja, also the Dharma to the monks

Tassa bhakawato sasanan yathasati yatha-balang manasikaroma anupatipatchama,

Do it in your heart follow up which the teachings of the Blessed One according to the mind and strength

Sa Sano Patipatti ,

May our practices

Imassa Kewalassa Dukkhakhanthassa Antagiriyaya Samwattatu,

May it be for doing the best of all this suffering.

**************************************

 

Phrakhru Putthiphonsanuwat

Wat Maha Phuttharam, Phra Aram Luang

Muang District, Sisaket Province

17 Oct. 2016 at 8:30:30 p.m.

**********

• Reference Documents Pali Thai English Sanskrit PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY King Boromwongthere edition Krom Phra Chanthaburi Naruenat King Bhumibol Adulyadej has been graciously pleased to print it on the fifth cycle of the age of Mom Luang Bua Kitiyakara in her Royal Family. Krom Muen Chanthaburi, Suranat, 25 November B.E. 2512 (1969)

**************************************

Introduction of Dharma Dedicated to the day of his death

Panchakhantha 2

 

His Majesty His Majesty King Bhumibol Adulyadej He is the King The ninth Thai Maharaj of the Chakri Dynasty, Thailand, came to the throne since June 9, 1946, is the longest reigning monarch in world history. [which the second king The second longest-reigning monarch is Queen Elizabeth II of the United Kingdom. and the Commonwealth who reigned on the same day for 64 years]

 Born on December 5, 1927, Cambridge, Massachusetts, United States of America. He died on October 13, 2016, at 3:52 p.m. at Siriraj Hospital, Bangkok at the age of 88 and reigned for 70 years amid the grief of the Thai people. and Buddhists around the world

This is the introduction of the Dharma. in buddhism Praying for his passing

Panchakhantha 2

life story which actually is the sankhara that is made up of the five aggregates mentioned above, is a human being, a person with a tangible entity, an abstract form that makes up that body Where did you come from? Even the Lord Buddha He directly stated that

all Buddhas will happen or not An element is a self that can exist. can survive by its nature like that what is normally defined as will be like that It's like that on its own. There is a Buddha or no Buddha is born. It was on its own like that. And the point that people have never known before is that all things are impermanent. All sankharas are suffering. All dharmas (that is, all things in the world, collectively called all things) are selfless (not belonging to anyone. No one can take it as his own).”

As it appears in the following Dhamma Niyamasuttam:

Young ve nibbana yanassa yanang puppe pawattate

Tasseva Visayiphuta Yayang Dhammaniyamata

Aniccata dukkata ca sabbesam ca anattata

Tassa Pakasagang Suttaangyang Sambuddhana Phasitang

Sathunang yanajarena yata buddena tesitang

Yoniso Patipatyatthang Tang Suttantang Phanamase

definite natural law for the creatures that All things are impermanent. All sankharas are suffering. All dharmas are selfless. It is the nature of those who gain insight into Nirvana. that existed in the past Let's all together recite this sutra. which proclaims what the Lord Buddha who gives special insights to the saints for the benefit of implementing by further trickery

Upapa wa bhikkhavee tathakatanang anuppada va tathakatanang thita wa sa that dhammatthitata dhammaniyamata sappe sankhara anij Jati Tang Tathakato Aphisambutchati Aphisameti Aphisambutchitva Aphisametva Ajikhati Desetipanyapeti Pattha Peti Wiwarati Vibhachati Uttanikaroti Sappe Sankhara Anijjati

Bhikkhus, even though the Tathagata is the Buddha will happen or not An element is a self that can exist. can survive by its nature like that what is normally defined as will be like that Lord Buddha, the Tathagata enlightenment that element He was enlightened with great wisdom. It's something that no one knew before. All sankharas are impermanent.

---------------------------------------------------- ------------

Anicjo is not noon (Kor. D.P. 204/101) Sor + Nitya.

Annicco (adj.) unstable, not lasting, transitory, perishable. Skt. A + nitiya.

That bone (Chin. 278/83 ) ; It is in the meanings: 1. Semehadi (dham, me sled, etc.) 2. Rasrattadi (raso-ros, rattam-blood, masam-meat, Meto-condensed oil, Atthi- Bone, Sukkham - Sambhava, Migncham - Mem ) 3. Mahabhuti (Mahabhuti) 4. Pabhadi (Visayadha, having a form of light, etc.) 5. Atthithat 6. Chakkhadi (Wi Sage element has eyes, etc.) 7. Bhavadi (element has chalk or various minerals, etc.) ( Chin. 817/257 ).

Dhatu (m..& f.) primary or elementary ; principle, element, material; a property of a primary substance as color, teste, sound; an organ of sense; a bodily principle or humour of which there are three, phlegm, wind and bile; a constituent of the body such as flesh, blood, bones; a sacred relic; a fosil; a metal. Skt. Dhatu.

---------------------------------------------------- ------------

Uppada wa bhikkhavee tathakatanang anuppada va tathakatanang thita wa sa that dhammatthitata dhammaniyamata sappe sankhara dukkha. Ti tang tathakato aphisambutchati apisameti apisambutchitva apisametva aikkhati tesipanyapeti patthape ti wiwarati wibhachati uttani karoti sappe sankhara dukkhati

Bhikkhus, even though the Tathagata is the Buddha will happen or not An element is a self that can exist. can survive by its nature like that what is normally defined as will be like that Lord Buddha, the Tathagata enlightenment that element He was enlightened with great wisdom. It's something that no one knew before. All sankharas are suffering.

---------------------------------------------------- ----------

 

Dukkha, the nature of which a person is hard to bear (F) ; Suffering (Chin. 89/26). S. Dukha.

Dukkham unsatisfactoriness, pain, suffering, trouble, distress, difficulty. Skt. Duhkha.

---------------------------------------------------- ----------

Uppada va bhikkhavee tathakatanang anuppada va tathakatanang thita va sa that dhammatthitata dhammaniyamata sappe dhamma anat Tati tang tathakato aphisambutchati apisameti apisambutchitva apisametva aikkhati desetipanyapeti pattha Peti Wiwarati Vibhachati Uttani Karoti Sappe Dhamma Anattati

---------------------------------------------------- ----------

Anatta is not atma, is not of Atma (Ba.68). Saan + Atman.

Anatta not a self, not a soul. Skt. An + atman.

---------------------------------------------------- ----------

Bhikkhus, even though the Tathagata is the Buddha will happen or not An element is a self that can exist. can survive by its nature like that what is normally defined as will be like that Lord Buddha, the Tathagata enlightenment that element He was enlightened with great wisdom. It's something that no one knew before. All dharmas are selfless.

Itamawo ca bhagava attamana te bhikkhu bhagavato bhasitang apinantunti

Once, the Lord Buddha, who had great mercy has made such performances All those monks were grateful. glad to enjoy the dharma preached by the Buddha

When any group of monks has attained insight Knowing the Truth of the Trinity then will attain enlightenment from the bottom to the highest level, which is Sotapatti pathana, reaching Arahattaphonya, reaching the highest level, entering the world of liberation. enter the world of nirvana out of suffering for eternity by being at one with nature and that normality for all eternity.

So he told the monks as shown in the sermon Not only the Lord Gotama Buddha Only our Master who said that nibbana, paraman vadanti, all knowledgeable Buddhas (that is, all the Buddhas how many tens of thousands of millions) said the same thing Nirvana is the supreme Dharma

And in many sutras it is said that nirvana, puram, sukhang, nirvana is the greatest happiness. (above the happiness of any heaven in all the gods) and the truth that should be known is humans and gods. even the devils Therefore, they practiced diligently. to enter the highest world together, which is the world of nirvana

**************************************

Phrakhru Putthiphonsanuwat

Wat Maha Phuttharam, Phra Aram Luang

Khukhan Road, Mueang Nuea Subdistrict

Muang District, Sisaket Province 33000

*****************

• Reference Documents Pali Thai English Sanskrit PALI –THAI –ENGLISH – SANSARIT DICTIONARY King Boromwongse edition Krom Phra Chanthaburi Naruenat King Bhumibol Adulyadej has been graciously pleased to print it on the fifth anniversary of Mom Luang Bua Kitiyakara in her royal family. Krom Muen, Chanthaburi, Suranat, 25 November B.E. 2512 B.E.

**************************************

-----

-----

This is the introduction of the Dharma. in buddhism

Praying for his passing

Panchakhantha 3

 

His Majesty His Majesty King Bhumibol Adulyadej He is the King The ninth Thai Maharaj of the Chakri Dynasty, Thailand, came to the throne since June 9, 1946, is the longest reigning monarch in world history. [which the second king The second longest-reigning monarch is Queen Elizabeth II of the United Kingdom. and the Commonwealth who reigned on the same day for 64 years]

 Born on December 5, 1927, Cambridge, Massachusetts, United States of America. He died on October 13, 2016, at 3:52 p.m. at Siriraj Hospital, Bangkok at the age of 88 and reigned for 70 years amid the grief of the Thai people. and Buddhists around the world

 This is the introduction of the Dharma. in buddhism Praying for his passing

Panchakhantha 3

The five khandhas, namely form, feeling, sankhara, sankhara, spirit, or tangible and abstract, are formed into sankhara, the human body and mind. but the truth that we humans do not understand I didn't know before, that is, Sabbe sankhara anicchati, sabpesangkhara, dukkhati, sabpethamma anattati, the Buddha made his disciples remember this truth often and regularly, as it appears that The disciples brought the trilak verses to chant often, regularly, by arranging for chanting (doing observances) in the morning (doing observances) in the evenings every day, as long as they were monks, and there were special chapters such as tilak while incantation, which was a chapter. The monks in the temple used to pray regularly at Buddhist funerals. before the cremation ceremony (It is one of the Dharma chants) throughout the Buddhist country around the world, with an important message as a chants with a translation that

sankhara anijjati yada panyaya passati

When a person sees with wisdom that all things are impermanent.

Atha Nibbindati Dukkha Esa Makko Wisutthiya

Then one becomes weary of the suffering that one has wandered about,

That is the path to nirvana that is purely just.

Sabbe sankhara dukkhati yada panyaya passati

When a person perceives with wisdom that all conditioned things are suffering

Atha Nibbindati Dukkha Esa Makko Wisutthiya

Then one becomes weary of the suffering that one has wandered about,

That is the path to nirvana that is purely just.

Sabbe dhamma anattati yada panyaya passati

When one perceives with wisdom that all dharmas are non-self

Atha Nibbindati Dukkha Esa Makko Wisutthiya

Then one will get weary of what is suffering that one has lost,

That is the path to nirvana that is purely just.

which according to the chants of Tilak during this spell There is always an emphasis. to understand and enlighten in two ways

Firstly, one will be weary, as the chants say

When a person sees with wisdom that all things are impermanent.

Then one becomes weary of the suffering that one has wandered about,

When a person perceives with wisdom that all conditioned things are suffering

Then one becomes weary of the suffering that one has wandered about,

When one perceives with wisdom that all dharmas are non-self

Then one will get weary of what is suffering that one has lost,

Second, the virtue of enlightenment and burnout That is the path to nirvana that is purely just. As it turns out, there are chapters highlighted and reviewed frequently as follows:

When a person sees with wisdom that all things are impermanent.

Then one becomes weary of the suffering that one has wandered about,

That is the path to nirvana that is purely just.

When a person perceives with wisdom that all conditioned things are suffering

Then one becomes weary of the suffering that one has wandered about,

That is the path to nirvana that is purely just.

When one perceives with wisdom that all dharmas are non-self

Then one will get weary of what is suffering that one has lost,

That is the path to nirvana that is purely just.

What is Nirvana?

We all Buddhists have always heard that Nirvana is the realm of the Buddhas, the realm of the Arhats. Thai Buddhists are familiar with the language of the word nirvana and the word nirvana which means the death of the Buddha used the word nirvana (death of an arahant uses the word nirvana).

In the previous chapter, Pancak Khantha 2, we have already concluded the chapter of the Truth.

“When any group of monks has attained insight Knowing the Truth of the Trinity then will attain enlightenment from the bottom to the highest level, which is Sotapatti pathana, reaching Arahattaphonya, reaching the highest level, entering the world of liberation. enter the world of nirvana out of suffering for eternity by being at one with nature and that normality for all eternity.

So he told the monks as shown in the sermon Not only the Lord Gotama Buddha Only our Master who said that nibbana, paraman vadanti, all knowledgeable Buddhas (that is, all the Buddhas how many tens of thousands of millions) said the same thing Nirvana is the supreme Dharma

And in many sutras it is said that nirvana, puram, sukhang, nirvana is the greatest happiness. (above the happiness of any heaven in all the gods) and the truth that should be known is humans and gods. even the devils Therefore, they practiced diligently. to enter the highest world together, which is the world of nirvana

Nirvana is the truth that is above all worlds. Above the human world, above the divine world, above the brahma world...is the world of all Buddhas. and the world of all arahants, nirvana That is the truth that is above all worlds. Above the human world, above the divine world, above the brahma world...is the world of all Buddhas. and the world of all arahants

The chants of Tilak while incantation all show the way to the world of nirvana. It doesn't tell us to go to the human world again. Don't tell us to go to the angelic world. And it doesn't tell us to go to the world of Brahma. the great land of all the gods

Therefore, enlightenment in the matter of Pancakhantha, materialistic-abstract or that All sankharas are vanity. All sankharas are suffering. All dharmas (that which are all sankharas, including people, animals, plants, and all things) are selfless, thus leading to the supreme being. above heaven Exactly above the Brahma, Maha Brahma, as the Buddha said: Nirvana, Paramanva, Vadanti, All-knowing Buddha. (that is, all the Buddhas how many tens of thousands of millions) said the same thing Nirvana is the supreme dharma (the highest dharma above all other dharmas = the highest story above any other story), nirvana, paramang sukhang, nirvana is the ultimate happiness. (above the happiness of any heaven in the gods in the brahma world All the great Brahma) and the truth that should be known is that humans and gods, gods, Brahma, even Mara. Therefore, they practiced diligently. in order to enter the highest world together, which is the world of nirvana

Let's see some heaven

according to the apocalypse and islam Mention that there are only 7 levels of heaven. The 7th Heaven is the highest heaven. According to the Islamic Quran, Allah resides in the seventh heaven, and the Bible states that the highest level of heaven is there is jehovah sitting on the throne and then there is jesus which is the only begotten Son that he is very fond of, sitting beside him. The Buddhist scriptures (Dhammacakkappavattana Sutta) specify 21 levels of heaven by name as follows:

1. Jatummaharachika Deva

2. Tawatingsa Deva

3. Yama Deva

4. Tusita Deva

5. Nimmanarati Deva

6. Paranimmita Wasavatti Deva

7. Brahma Parisacha Deva

8. Brahma Parohita Deva

9. Mahaprama Deva

10. Parittapha Deva

11. Appamanapha Deva

12. Aphassara Deva

13. Paritasupha Deva

14. Appamanasupha Deva

15. Supakinhaga Deva

16. Wehapphala Deva

17. Aviha Deva

18. Atappa Deva

19. Suthassa Deva

20. Sutussi Deva

21. Akanitthaka Deva

The 1st - 5th floors are the gods.

The 6th-12th floor is the prom floor.

The 13th - 21st floor is the Maha Brahma floor.

You will see that these 21 levels of Brahma, when you know that The Buddha preached the Dharma, the first of which is the Dhammacakkappavattana Sutta to Panchavakkey, resulting in Anyakondanya attaining Sotaban, which is only the beginning of the path of world nirvana.

The world of nirvana has 9 levels and 9 levels:

1. Sotaban fold

2. Singles

3. Skidakami Mak

4. Skitaka is effective.

5. The future has a way

6. The future is effective

7. Arahant Path

8. Arhat, and the highest

9. Buddhahood or Buddhahood

The 21 levels of Deva, Brahma and Maha Brahma are all excited and delighted in the 21 levels of heaven (excited to see a human being or the first person to see the Dharma. see the way of the way which will lead to the world of nirvana different paths from those gods, Brahma, Brahma) appear in the Bible. Dhammacakkappavattana Sutra that

Itiha tena khanena tena muhuttena yava brahmaloka sadto abbhukkacchi ayanca dasahassi lokadhat sankampi

Sampakampi Sampavedhi Appamano Ja Olaro Opaso Loke Paturahosi Atikgammewa Devanang Dewanuphawang

The ten thousand worlds were shaken. shake A loud voice rang out. both the immeasurable light has appeared in the world superior to the power of the Brahma

Athako bhagava utanang utanesi anyasi vata bho kondanyo anyasi vata bho kondanyoti itihitang ayasmato

Konthanyassa Anyakonthanyo Tewa Namang Ahositi

After that, the Buddha the one who has great grace He exclaimed: "Kondanya has known. Those who are blessed, Kondanya has known. Venerable people." Because of this, Lord Kondanya was called Anya Kondanya.

will see the truth that Phra Anya Kondanya when successful He did not travel up to those 21 heavens, but traveled to the nine levels of Nirvana, namely the Sodaban Magga, the Sota Banphol, the Skitagami Path, the Skitagami Path, the Anagami Path, the Arahant Path, the Arahant Path, and the Supreme Buddhabhumi, or Buddhahood. Anya Kondanya It is the journey into the path that the gods and brahma in the 21 levels of heaven are excited about. Pitikan in the whole heaven (because I've never seen it before And all the gods, devas, brahma and all of them practiced in order to attain the enlightenment, the enlightenment, the world of nirvana, just like the disciples. and Buddhists in the human world)

The fact is that the god Brahma in the divine heaven, the Brahma world, no matter how many levels the Maha Brahma is, whether 7 levels or 21 levels But the world of nirvana is a world that ends from all kinds of desires. Thus the Buddha said that Nirvana Nam Param Sukham Nirvana is the greatest happiness, the one who brings merit and prestige to the highest level, the end of defilements will be able to enter the world of nirvana.

Please translate our worship and always contemplating and interpreting the meaning of Vipassana

Arahang Sammasambuddho bhagava buddh bhagavantang abhivatemi

The Blessed One, the Arahant, the fire extinguisher (Eliminate all the passions of all races of passion from the heart far away from all defilements and sorrows), the fire of all suffering, attainable enlightenment by Himself.

Phutthang Bhagavantang Aphiwatemi

I adore the Blessed One, the Knower, the Awakening and the Joyful.

 

 

End of Panchakhantha 3

**************************************

 Phrakhru Putthiphonsanuwat

Wat Maha Phuttharam, Phra Aram Luang

Khukhan Road, Mueang Nuea Subdistrict

Muang District, Sisaket Province 33000

**************************************

References

1. Pali Thai, English, Sanskrit PALI – THAI – ENGLISH – SANSKRIT – DICTIONARY, King Boromwongse Krom Phra Chanthaburi Naruenat King Bhumibol Adulyadej has been graciously pleased to print it on the fifth cycle of the age of Mom Luang Bua Kitiyakara in her Royal Family. Krom Muen Chanthaburi, Suranat, 25 November B.E. 2512 (1969)

2. THE HOLY BIBLE containing the Old and New TESTAMENTS The revised Berkelely Version in Modern English A Complely New Translation from the Original Languages ​​THE GIDEONS INTERNATIONAL 1947 EDITION

3. The Great Book of Al-Quran, translated and expanded by Mr. Tuan Suwannasat (Hajji Ismael) Bin Hajyahya (former Chulalongkorn University) All rights reserved

************************************************** **************************************************

Complete Panchakhantha (The Story of One Life)

Complete the introduction of the Dharma offering to the day of his death.

*****

***** 




6. NWE 6..ตัวอย่างนักปฏิบัติข้อสังเกตุข้อคิดสำคัญที่นำไปสู่การบรรลุง่ายๆ ทันทีของคนยุคใหม่

6.1. .ตัวอย่างแนวคิด17ข้อเพื่อปลุกใจให้กล้าคิดการบรรลุมรรคผลนิพพาน แล้วจะพบเคล็ดลับแบบวิทยาศาสตร์การวิจัยธรรมะนั่นคือการพิศูจน์จากการปฏิบัติเองจริง ๆ
6.2.. เอากันตั้งแต่เด็กเลย ให้ชีวิตนี้ปฏิบัติกันตั้งแต่เด็กๆ บรรลุให้ได้มีตัวอย่างแล้วเยาวชนอิตาลี เอาการงานอาชีพเป็นการปฏิบัติมีธรรมะข้อสำคัญคือความขยันไปทุกอย่าง ไล่ความขี้เกียจให้หมดไปจากใจให้ได้
6.3..การปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม และปฏิบัติอย่างขยันสังหารกิเลสคือความขี้เกี่ยจให้หมดสิ้น ดูมีตัวอย่างแล้ว ลิซ่า Lisa Manobal โปรดตามไปดู สมาธิขั้นสูงสุดขณะปฏิบัติงานเต้นรำขับร้องของเธอ การที่พ้นไปแล้วจากดวงใจขี้เกียจนั้นแหละประตูธรรมเบื้องต้นละ
6.5..44ภาษา Happy New Year 2565- 2023 สัจธรรมแห่งชีวิตที่ต้องรู้อย่างเชี่ยวชาญเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานอันอมตะ



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์ สื่อของเราทั้งหมดนี้ ได้กลายเป็นแดนสนุกน่าท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกกว่า 8 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน 8 พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น.