อริยสัจธรรมข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 1. นิโรธ
-----
1.
ตรงที่ทรงตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ เรื่อง 3 รอบ 12 อาการนั้น เป็นเรื่องที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานของธรรมอริยสัจทุกข้อจริง ๆๆ มาถึงข้อที่ 3 ทุกขนิโรธอริยสัจ ใน 3 อาการของอริยสัจข้อนี้
อาการที่ 1 . อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ นี่อย่างไรสัจจะเกี่ยวกับการดับทุกข์ อันเราเห็นแล้วว่ามันเป็นอย่างไร
อาการที่ 2 ทุกขะนิโรโ ธอะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ นี่อย่างไรเป็นสิ่งที่ควรทำให้รู้แจ่มแจ้ง ชัดเจน เด็ดขาด ไปทั้งสิ้น
อาการที่ 3 ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ อันเราได้ทำให้แจ่มแจ้ง ชัดเจน เด็ดขาดไปทั้งสิ้นแล้ว
คือทรงรู้อาการของการดับทุกข์ ทรงรู้ว่าต้องตาสว่างรู้มันอย่างแจ่มแจ้ง และทรงทำให้รู้แจ่มแจ้งไปหมดแล้ว จึงทรงกล้าประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า หากไม่ทรงรู้ครบอาการ 3 แล้ว ก็จะไม่ประกาศพระองค์ว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้า
ในด้านปริยัติธรรมของวงการพระพุทธศาสนา เข้าใจคำว่า นิโรธ นี้มีความหมายตรงกับคำว่านิพพาน นั้นเอง และเมื่อพูดถึงเรื่องมรรค เรื่องผล คนมักจะลงที่นิพพาน เป็นจุดสูงสุดที่รู้กันทั่วโลก จนมีคำหลักว่า มรรคผลนิพพาน นั้นเอง
แต่ทำไม เหตุใด แม้ทรงตรัสแต่เริ่มแรกเลย จึงไม่ทรงตรัสอริยสัจข้อที่ 3 ว่า นิพพาน แต่ทรงตรัสคำว่า นิโรธ ? ซึ่งตรงนี้แหละเป็นประเด็นอันล้ำลึกมาก ยากที่จะเข้าใจจากทางปริยัติใดใด ถึงกับอาจจะถามหรือ มีความสงสัยว่า นิโรธ กับ นิพพานนั้นมีความต่างกันหรือ ?
แน่นอน นิโรธ ต่างจาก นิพพาน จริง ๆ แต่แม้จะไม่ต้องมีคำถามเช่นนี้เลยก็ไม่เป็นไรเลย เพราะเมื่อพระอรหันต์ ท่านไปถึงนิพพาน นั้น ท่านอาจจะยังไม่เข้าถึง นิโรธ มันไปอีกขั้นหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ๆ นั่นเอง นั่นคือประเด็น ของภาษาทางปฏิบัติ นั่นคือ พระอรหันต์ ท่านไม่จำเป็นต้องเข้าไปสู่ นิโรธ เลยก็ได้ หรือ ไม่ต้องรู้จักว่า การดับเป็นอย่างไรก็ได้ แต่ คำว่านิโรธ นั้นให้ความหมาย ให้อาการที่ตรงยิ่งกว่าคำว่า นิพพาน นั้นคือ ความดับ หรือ ดับ นั้นชัดเจนในทางปฏิบัติกว่า มันบอกไปถึงทางปฏิบัติโดยตรง โดยไม่ต้องสงสัยของคำว่า นิโรธ เพราะมันแปลได้ตรงว่า ดับ และบอกอาการแบบเดียวกับ ดับ ของอะไรก็ตาม
ฉะนั้น บุคคลใดก็ตาม ชาติ ศาสนาใดก็ตาม โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่มีสติปัญญา ฉลาดปราดเปรื่อง ยิ่งกว่าคนยุคเก่าก่อน แม้ยุคพุทธองค์ นั้น ด้วยความคิดสติปัญญา มีเหตุผลชัดเจน ในการศึกษาวิจัย ไม่ให้เชื่อใครง่าย ๆ ตามกาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว นั้น สามารถคิดพิจารณาเรื่องนี้ได้อย่างน่าบังเกิดผล ดี สามารถพบผลดีอันเป็นลาภอันประเสริฐยิ่งใหญ่ หากสามารถบำเพ็ญ หรือประพฤติ ปฏิบัติธรรม นำกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอาการทางกาย ทางจิต ทางวาจา ให้เกิดขึ้นจริง ตรงกับอาการเดียวกับคำว่า นิโรธ ได้ คือ ไปสู่ ความดับ ได้ อะไรก็ตาม ดับไปหมดได้ นั้นแหละสามารถบรรลุอรหันตภาวะขึ้นในในฉับพลันทันที ทันทีที่ได้พบ ความดับ
ฉะนั้น คำว่า โลกุตตระ แดนแห่งมรรคผลนิพพานนั้น ไปถึงได้ง่าย ๆ สำหรับคนยุคใหม่ ทั้งโลก โดยทำให้เกิด ความดับ ขึ้นได้เท่านั้นเอง โดยทางดวงตาของท่าน ที่เห็นโลกทั้งโลกดับลง แม้เป็นกลางวันแดดสว่างแท้ ๆ โลกกลับดับลง และทางใจ ที่ดับลงสนิท แบบมอดไม่กลับมาโหมขึ้นได้อีก สรุปเลยก็ได้ว่าท่านจะทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ดับ ให้ได้ก็แล้วกัน ทำนิโรธให้เกิดขึ้น นั่นไปสู่มรรคผลนิพพานได้ในทันใด
นี้จึงเป็นเหตุผล ที่ทรงใช้คำว่า นิโรธ ที่บอกความหมายทางปฎิบัติ ที่เป็นบาลี ที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศได้ให้ปฏิบัติได้ตรง ๆ นั้นคือ ความดับ ดับสนิทไม่มีเหลือ ซึ่งบอกทางปฏิบัติได้ตรงกว่าคำว่านิพพาน ซึ่งมักแปลว่า เย็น และ ดับ ก็ได้ นั่นเอง และที่ตรงจริง ๆ ก็คือ เมื่อดับสนิทไม่มีเหลือ ก็ถึงเลยละ มหานิพพานบรมสุขสงบที่พ้นไปจากการเกิดใหม่ไปชั่วนิรันดร .
Phayap Panyatharo
26 มี.ค. 2565 00.30
-----
-----
∞∞
2.
อริยสัจธรรมข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 2, การปลีกวิเวก การถือสันโดษ นำไปสู่ความดับ
∞∞
มารู้จักภาวะอันหนึ่ง ที่ควรให้ชื่อว่า สันโดษ
การเข้าไปใกล้ชิดภาวะ นิโรธ นั้นเริ่มด้วยการตระหนักในความเป็นจริงของชีวิตสันโดษ นั่นเอง ความหมายก็คือ การปลีกตัวออกจากหมู่ การปลีกวิเวก หาความวิเวก การอยู่คนเดียว การทำตนเอง ประพฤติตนเองให้ยินดีกับความเป็นอยู่อย่างสันโดษ ทำความคุ้นเคยยินดีกับการเป็นอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย อยู่ห่างไกลสังคม ไกลโลกมนุษย์
การแยกตนเองออกไปอยู่ไกลจากคนอื่นหรือบุรุษที่2ไปอยู่แต่ลำพัง ทำสมาธิ บริหารลมปราณ ลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ ให้เกิดความเงียบเชียบ วิเวก ตัดขาดความสัมพันธ์กับสังคม ไปอยู่คนเดียวเอกากาย เอกาใจ การอยู่ในสถานที่ที่เป็นป่า เขา ลำเนาไพร ในถ้ำ หุบเหว หรือบ้าน สถานที่พักเฉพาะ แม้เป็นรีสอร์ตที่สามารถหาความวิเวกได้ ที่ไม่ต้องไปเสพสังวาสกับคนที่ 2
นอกจากเป็นเรื่องของกายแล้วให้เน้นความหมายลงไปที่จิตใจ ที่รักสันโดษโดยเฉพาะ นั่นคือสร้างความรู้สึก สร้างอารมณ์จิตใจให้เดี่ยวโดด คนเดียว เป็นความเปล่าเปลี่ยวเดียวดายเหมือนอยู่คนเดียวในโลกนี้ คำว่าคนเดียวในโลกนี้ หรือการปลีกวิเวกนี้แหละ ให้เข้าถึงให้ได้ หมายถึงให้สัมผัสกับสัจธรรมความโดดเดี่ยวเอกากายเอกาใจ เหมือนเราได้ตัดขาดไปจากโลกทั้งโลก โดดเดี่ยวเดียวดายจริงๆ
แม้แท้จริง เราอยู่ท่ามกลางคนนับร้อยนับพันคน เช่นในห้องประชุม ในงานสังคม หรือการชุมนุมใดที่คนมาคับคั่ง ที่เราไปร่วมในหมู่ชนนั้นด้วย แม้งานบุญในวัดวาอาราม ก็ตาม แม้กระทั่งอยู่ในขณะปฏิบัติงานการอาชีพของเราอย่างเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว แต่ให้เราทำความรู้สึกตนเสมือนว่าเราอยู่คนเดียวไม่มีคนอื่น ที่แวดล้อมเรานั้นก็เสมือนไม่มีเลย เหมือนเราอยู่คนเดียวในโลก นั่นแหละความสันโดษจนในที่สุด โลกทั้งโลกก็เสมือนว่า ไม่มีใครไม่มีอะไรเลย มีเราอยู่คนเดียวจริงๆ เราตัดขาดไปจากโลกจากจักรวาลไปจริง ๆ
ระวังความว้าเหว่ ความอาลัยอาวรณ์ แม้ความวิตกหวาดหวั่น ความกังวล ใดใด ไม่ให้มี มีแต่ความเป็นจิตอุเบกขา ไม่ยินดียินร้ายในอะไร แล้วอึดใจต่อไปจากการได้สัมผัสสัจธรรมนี้ นั่นก็คือ ความดับ
นั่นแหละผู้แสวงความหลุดพ้น พึงหมั่นปลีกวิเวก ฝึกสร้างความรู้สึกความเป็นความมีความโดดเดี่ยวิเวกเช่นนี้ให้เกิดขึ้นในจิตใจ จนเป็นวิถีทางชีวิต ก็จะค่อยใกล้ความดับเข้าไปทุกที จนถึงการดับลงอย่างง่ายๆในที่สุด
∞∞
∞∞