ReadyPlanet.com
dot dot
bulletBUDDHISM to the NEW WORLD ERA
bullet1.Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Luxemberg-ลักเซมเบิร์ก
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet117.Lukanda-ลูกันดา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี
bulletMystery World Report รายงานการศึกษาโลกลี้ลับ
bulletสารบาญโหราศาสตร์
bulletหลักโหราศาสตร์ว่าด้วยดวงกำเนิดและดวงฤกษ์รวมคำตอบคลี่คลายปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำนายชะตาชีวิต
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบนี้(เริ่ม ก.พ.55)
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น1
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น 11
bulletทุกความคิดเห็นจากหน้า1(ก่อน ก.พ.55)
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบบอร์ด(ถึงก.พ.55)
bulletภาค 11
bulletภาค 12
bullet54.Hmong ม้ง
bullet133.แอลเบเนีย
bullet133.แอลเบเนีย
bulletหน้าที่เก็บไว้




90 อริยสัจ ๔ Please translate to your language by Google translate

 

 

 

 

Please translate in your language by Google Translate

-----*****-----

อริยสัจ ๔ ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ต้นฉบับแปล 64 ภาษาโลก

1.Thai-ไทย,2.English-อังกฤษ,3.China-จีน,4.Hindi-อินเดีย5.Russia-รัสเซีย,  6.Arab-อาหรับ7.Indonesia-อินโดนีเซีย8.Japan-ญี่ปุ่น,  9.Italy-อิตาลี10.France- ฝรั่งเศส,11.Germany-เยอรมัน,12.Africa-.แอฟริกา13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน14.Bosnian-บอสเนีย,    15.Cambodia-เขมร16.Finland-ฟินแลนด์17.Greek-กรีก,   18.Hebrew-ฮีบรู,  19.Hungary-ฮังการี20.Iceland-ไอซ์แลนด์,  21.Ireland-ไอร์แลนด์,  22.Java-ชวา,  23.Korea-เกา   24.Latin-ละติน,  25.Loa–ลาว26.Luxemberg- ลักเซมเบิรก27.Malaysia-มาเลย์,  28.Mongolia-มองโกเลีย29.Nepal- เนปาล30.Norway-นอรวย์31.Persian- เปอร์เซีย32.Poland-โปแลนด์,  33. Portugal- ดัตช์,  34.Romania-โรมาเนีย,35.Serbian-เซอร์เบีย 36.Spain-สเปน,37.Srilanga-สิงหลศรีลังกา,38.Sweden-สวีเดน,  39.Tamil-ทมิฬ,  40.Turkey ตุรกี,  41.Ukrain-ยูเครน,  42. Uzbekistan-อุสเบกิสถาน43.Vietnam-เวียดนาม44. Mynmah – เมียนม่า. 45.Galicia กาลิเซียน 46.Kazakh คาซัค 47.Kurdish เคิร์ด48. Croatian โครเอเซีย49.Czech เช็ก50.Samoa ซามัว 51.Nederlands ดัตช์52 Turkmen เติร์กเมน53.PunJabi ปัญจาบ54.Hmong ม้ง55.Macedonian มาซิโดเนีย 56.Malagasy มาลากาซี57.Latvian ลัตเวีย58.Lithuanian ลิทัวเนีย59.Wales เวลล์60.Sloveniana สโลวัค 61.Sindhi สินธี 62.Estonia เอสโทเนีย  63. Hawaiian ฮาวาย 64.Philippins ฟิลิปปินส์

-----*****-----

www.newworldbelieve.com

www.newworldbelieve.net

Facebook.com Phayap Panyatharo

-----*****-----

 

 

สารบาญ

-----

75..อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์                                                                                                    4

บทที่ 1 เพราะเกิดมามีชีวิต                                                                                               4

บทที่ 2  ทุกข์เป็นความจริงที่น่าเบื่อหน่าย                                                                            5

บทที่ 3 ก็เห็นแล้วว่าทุกข์ แต่สิ่งที่ท่านไม่รู้เลย                                                                      6

บทที่ 4  ทุกข์คืออะไรหนอ                                                                                              8

บทที่ 5  ทุกข์ คืออะไรหนอ ?  ทุกข์ก็คือสงครามนั่นเอง                                                         9

บทที่ 6 ปาฏิหาริย์ของความรู้แจ้ง                                                                           12

บทที่ 7  เพียงหมั่นพิจารณาด้วยปัญญาให้รู้แจ้งทุกข์เท่านั้นเองปาฏิหาริย์ก็บังเกิดขึ้น                13

บทที่ 8 ทุกข์ก็คือทุกข์นั้นเอง                                                                                             16

บทที่ 9  การรู้แจ้งทุกข์เป็นเรื่องที่ควรจะง่ายดายสำหรับคนยุคใหม่                                          19

บทที่ 10  การแปลอริยสัจธรรมผิด ไม่สอดคล้องความจริงของธรรมชาติ                                  21

บทที่ 11  การแปลอริยสัจธรรม 2. ไม่สอดคล้องความจริงของธรรมชาติ                                  25

บทที่ 12 นิพพิทาญาณของพระอรหันต์-พระปัจเจกพุทธเจ้า                                      29

บทที่ 13 สัพพัง อาทิตตัง สรรพสิ่งเป็นของร้อน ในอาทิตตปริยายสูตร                                     35 

รวมความคิดเห็นทางสัจธรรมต่อยุคโควิต19                                                                       47

76..อริยสัจ 4 ข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์                                                                                       51

บทที่ 1 เพียงรู้แจ้งเหตุแห่งทุกข์ ทำลายเหตุแห่งทุกข์ไป ก็จบเท่านั้นเอง                                   51

บทที่ 2 สุดยอดเทกนิคสงครามกับกามตัณหา                                                                     55

บทที่ 3 ถูกหลอกง่ายๆ เพราะกาม นึกว่าตนสำเร็จแล้ว เปล่า!                                                61

บทที่ 4 ภวะตัณหา วิภวะตัณหาจงกลับใจเสียเถิด ธรรมและวินัยอันนั้น                                  จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว                               64

บทที่ 5 มีแต่ต้องละโลกธรรมให้หมดสิ้นไม่มีเหลือ  แต่สาวกทั้งหลายทั้งระบบ                              มีแต่สะสมโลกธรรมอย่างไม่รู้จักพอนั่นคือการทรยศต่อพระธรรมวินัยมิใช่หรือ                       68 

77..อริยสัจ 4 ข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์                                                                72                  

บทที่  1 นิโรธ ความดับ                                                                                                    72

บทที่ 2,  การปลีกวิเวก การถือสันโดษ นำไปสู่ความดับ                                                         74

78..อริยสัจ 4 ข้อที่ 4..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(มรรค8) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์,                           76

บทที่ 1 : ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์,1ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรค  76

บทที่ 2ความดำริชอบนั้นเองเป็นจุดเริ่มต้น                                                                        80

บทที่ 3 สัมมาอาชีโว - อริโย วายาโม                                                                                  83

 

-----*****----------*****----------*****-----

-----*****----------*****----------*****-----

-----*****----------*****----------*****-----

 

 

 

Please translate in your language by Google translate

ต้นฉบับ สำหรับแปลเป็น 64 ภาษาโลก

75..อริยสัจ 4 ข้อที่ 1, ทุกข์

-----

1.

บทที่ 1 เพราะเกิดมามีชีวิต

-----

ทุกข์เพราะเกิดมามีชีวิตที่ต้องเลี้ยงดู หากินหาอยู่ไปไม่หยุดหย่อน จนแก่แล้วก็มีแต่นอนรอความตายสถานเดียว ครั้นตายลงแล้ว ไม่นานก็มาเกิดใหม่ และก็พบทุกข์ไปอีกเหมือนเดิม ไม่ต่างไปจากเดิมเลยนั่นเอง

เกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้ว เกิดมาใหม่ มาพบทุกข์อย่างเดิมไปใหม่ แก่เจ็บ แล้วตายลงไปใหม่ แล้วกลับมาเกิดใหม่ อย่างวันนี้คนเราแต่ละคนมีการเกิดมาแล้วเป็นรอบๆไปนับโกฎิ นับล้านรอบ นับโกฏินับล้านปีมาแล้ว และยังจะเป็นเช่นนี้ไปในวันหน้า  ไม่รู้อีกกี่ล้านโกฏิปี

แต่เราแสนโง่  เพราะไม่เคยคิด ไม่คิดหยุดยั้งการเกิดเสีย เมื่อหยุดการเกิดเสียได้ ก็ไม่มีการตาย  ไม่มีการเกิดใหม่ไปอีกไม่รู้จบสิ้น นับโกฏฺนับล้านปีต่อไปข้างหน้า  เกิดมาทำไมมาพบแต่ความทุกข์ซ้ำ ๆ ไปไม่รู้จบลงเลย ?

ทำตามคำสอนด้วยพระมหากรุณาเมตตาของพระพุทธเจ้าเถิด  ที่ทรงบอกไว้ว่า  เกิดมามีชีวิตแล้วก็ให้ทำแต่ความดี อย่าทำความชั่วเลย เท่านั้นเองก็ไม่มีการเกิดอีก พ้นทุกข์ไปได้ชั่วนิรันดร

และนั่นแหละ อรหันตนิพพานละ ที่แห่งความสุขอมตะนิรันดร ที่แห่งความพ้นทุกข์อมตะนิรันดร  ไม่มีการเกิดอีกเลย  ฉะนั้น จงเร่งทำความดีเสียเถิด อย่าเสียเวลารอช้าอยู่เลยนับตั้งแต่บัดนี้เวลานี้เทอญ

 Phayap Panyatharo

             27 ตุลาคม 2564  เวลา 22:46 น.  ·

-----

*****

----- 

บทที่ 2  ทุกข์เป็นความจริงที่น่าเบื่อหน่าย

-----

ความจริงอันน่าเบื่อหน่ายของชีวิตนี้นั่นก็คือความทุกข์ ชีวิตเป็นทุกข์  เมื่อเกิดมาแล้ว สิ่งที่ได้พบได้เผชิญอย่างยากลำบากไปตลอด  ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่มีอะไรเลยจริง ๆ  นอกจาก ทุกข์ สุก ๆ ดิบ ๆ เท่านั้นเอง ไม่มีความสุขที่แท้จริงที่ยั่งยืนเลย

ดี ๆ ชั่ว ๆทำไปจนเป็นนิสัยนั่นเองจึงไปไม่พ้นทุกข์หมุนวนอยู่ในวัฏฏะสงสาร  แต่พุทธองค์ทรงสอนให้ทำแต่ความดีอย่างเดียว อย่าทำชั่ว นั่นแหละเคยทำ ทำได้อย่างนั้นหรือไม่เล่า?

เมื่อเราทำอะไรลงไปสิ่งที่เราทำนั้นก็ลงไปสะสมในดวงใจเรา เมื่อเราทำแต่ความดี  ก็มีแต่ความดีเท่านั้นไม่มีอะไรปนเลย ครั้นสะสมความดีเต็มหัวใจล้นปรี่แล้ว ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น

ปาฏิหาริย์แห่งความดีนั่นเอง ก็ไปรู้ ไปเห็น ไปพบอะไร ๆ  ด้วยการทำแต่ความดีเถิด เห็นด้วยตนเองผู้เดียว แบบว่าสว่างไสวรู้แจ้งเห็นจริงสิ้นข้อสงสัยไปหมด  นั่นแหละการบรรลุมรรคผลนิพพานที่พ้นทุกข์ไปเลยชั่วนิรันดร!

อริยสัจธรรมว่าด้วยทุกข์  ทุกข์เป็นความจริงที่น่าเบื่อหน่าย

Phayap Panyatharo

      30  ตุลาคม  2564  เวลา  23.00 น. 

-----

*****

-----

 บทที่ 3.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์,
บทที่ 3 ก็เห็นแล้วว่าทุกข์ แต่สิ่งที่ท่านไม่รู้เลย

-----

ทุกข์ ก็เห็นแล้วว่าทุกข์

แต่สิ่งที่ท่านไม่รู้เลยก็คือ  ชีวิตนี้ต้องเป็นทุกข์อยู่กับทุกข์ แบบไม่มีวันจบสิ้นลงเลยชั่วนิรันดร 

ตราบใดที่ยังเป็นคนธรรมดา ๆหรือ ปุถุชนๆอยู่

เช่นท่านอาจจะเข้าใจว่าเสพกามก็เป็นสุดยอดของความสุข  ได้เป็นใหญ่เป็นโต มีอำนาจเหนือคนทั้งหลายก็เป็นสุดยอด หรือแม้มีทรัพย์สมบัติมหาศาล อาจซื้อโลกได้ทั้งโลก ก็มีสุข  นั้นเป็นสิ่งที่ท่านไม่รู้  ว่าไม่พ้นทุกข์เลย เพราะท่านเป็นเพียง ปุถุชนคนธรรมดาอยู่   เอาว่าท่านจะเป็นอะไรก็ไม่พ้นแก่ชรา หูตาก็มืดมัว แข้งขาเหี่ยวแห้งไร้แรงกาย  แล้วไปไหนไม่ได้  ได้แต่นอนรออะไรอยู่อย่างเดียว ยังโง่ใฝ่หวังอยู่ว่าตนอาจจะไม่ถึงตาย  แต่แล้วที่สุดก็ตายลงไปจนได้  ตายแล้วก็ยังโง่ห่วงอำนาจห่วงทรัพย์สมบัติอยู่อีก  หารู้ไม่ว่าตายแล้วก็แบกขนเอาอำนาจ เอาทรัพย์สมบัติติดตัวไปไม่ได้เลย 

นี่คือสิ่งที่ท่านทั้งหลายทั้งโลกไม่รู้    ไม่มีวันที่ปุถุชนคนธรรมดาทั้งหลายจะพ้นทุกข์ไปได้เลย   โลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้น  มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิด   มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับ    ทุกข์เท่านั้นเกิด ๆ  ดับ ๆ หมุนวนไปมาอยู่อย่างนี้

และแม้เทพเทวาพรหมพระเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่นนี้แหละ เป็นปุถุชนอยู่เหมือนคนทั้งหลายนั้นเอง จึงยังไม่พ้นทุกข์เลย

ทางที่ถูกที่พุทธองค์ทรงนำมาบอกที่สุดแสนล้ำค่าก็คือ

จงประพฤติแต่ความดีส่วนเดียว โดยพระโอวาทปาฏิโมกข์ 1. จงละเว้นการทำชั่ว  2. จงทำแต่ความดี  3. จงชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ตลอดเวลา  นั้นแหละ  ก็จะได้พบทางไปสู่ความหลุดพ้น   หลุดพ้นไปจากความเป็นปุถุชนๆ คนธรรมดา ๆ เกิดใหม่เป็นอริยชน-อริยบุคคล เป็นพระโสดาบัน  พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

ทางนี้ทางเดียวอันสุดแสนประเสริฐที่สามารถนำปุถุชนคนธรรมดาทั้งหลายไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ 

และจงรีบทำเถิด ละสิ่งที่ชั่ว รีบทำความดีเถิดอย่าได้รอช้าอยู่เลย

และจงตรวจสอบจิตใจอย่างสม่ำเสมอ  อย่าให้มีสิ่งสกปรกตกใส่อีกเลย ให้มีแต่ความสะอาดล้วน ๆ   นั้นแหละมรรค ผล นิพพาน อันพ้นทุกข์ เป็นความสุขแท้นิรันดร

Phayap Panyatharo

      13 ธันวาคม2564  เวลา  11.00 น.

 -----

*****

-----   

บทที่ 4.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์,
บทที่ 4  ทุกข์คืออะไรหนอ 
?

-----

อริยสัจข้อที่ 1 ทุกข์  ทุกข์คืออะไรหนอ ?

ทุกข์คืออะไร?

ทุกข์ก็คือความยากลำบากลำเค็ญ ความท้อถอยหดเหี่ยวใจ  ความเจ็บไข้ได้ป่วยความแห้งแล้งของชีวิต ของโลกและสรรพสิ่ง นั้นเอง

ทุกข์คืออะไรหนอ?

ทุกข์เป็นคุณสมบัติประจำของชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้  โลกเป็นทุกข์  รวมทั้งเป็นคุณสมบัติของสิ่งที่ไม่มีชีวิต วัตถุ สิ่งของ ทุกชนิดด้วย  รวมทั้งเป็นคุณสมบัติของโลกทั้งหลาย แม้โลกเทพเจ้า  โลกนาคะบาดาล  ทั้งสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลเลยทีเดียว

และแท้จริง ทุกข์นั้นก็คือ มหาภัยอันตราย  คือความเสื่อมสลาย ความวอดวาย  ความพินาศย่อยยับดับสลายนั้นเอง  นี่แหละทุกข์

เป็นสิ่งที่น่าหวาดกลัว  สำหรับมนุษย์ผู้มองเห็นใช่ไหม?    ใช่เลย !!

แล้วทำไมจึงไม่กลัวกันเล่า ?  ทำไมไม่รีบวิ่งหนีไปเสียโดยเร็ว ให้พ้นมหาภัยนี้เสียเล่า?

ก็เพราะยังไม่รู้ความจริงเรื่องทุกข์นี้เท่านั้นเอง  ยังมองไม่เห็นเท่านั้นเอง ด้วยความเขลามีดวงตามืดบอดอยู่   แต่เมื่อรู้แล้ว  นั่นแหละจะตื่นตกใจและหวาดหวั่นครั่นคร้ามมหาภัยแห่งทุกข์นี้อย่างที่ ไม่อาจจะอยู่นิ่งเฉยต่อไปได้

ความเสื่อมสลาย ความวอดวาย  ความพินาศ  ความตายลับดับสภาวะลงไปของชีวิตและสรรพสิ่ง นั้นแหละเป็นสิ่งธรรมดาสภาพธรรมดาๆ ของทุกข์

ทุกข์นั้น  แท้จริงเป็นกองไฟกองใหญ่ ลุกพลุ่งโพลงไหม้โลกและสรรพสิ่ง  แม้ทั้งจักรวาลทั้งหลาย  แม้โลกพรหมโลกอินทร์  โลกเทพ อยู่ตลอดมาแม้ขณะนี้วันนี้

ซึ่งอริยสาวกผู้รู้ บรรลุแล้วซึ่งโสดาบันมรรคในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมองเห็นเพลิงทุกข์อันไหม้โลกอยู่ และมีแต่จะรีบวิ่งหนีไปจากโลกนี้อย่างสุดชีวิต  จนกว่าจะพ้นโลกไปได้และบรรลุสู่โลกนิพพาน โลกแห่งความหลุดพ้น  แห่งความเย็นที่พ้นทุกข์ เป็นอมตะนิรันดร

นี่แหละความจริงเกี่ยวกับทุกข์ละ อันเป็นคำสอน อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้น  จงตื่นเถิด  ตื่นจากความหลับเสียทีเถิด  มาดูความจริงเรื่องทุกข์นี้ที่เห็นอยู่ขณะนี้  แล้วรีบออกวิ่งเถิด

วิ่งหนีเพลิงทุกข์ มหันตภัย ความเสื่อมสลาย  ความวอดวายพินาศจากเพลิงทุกข์ สู่โลกนิพพาน แห่งความเย็นเป็นที่สบาย ที่แห่งความสุขแท้เป็นอมตะพ้นทุกข์นิรันดร.

·         PhayapPanyatharo

11 ม.ค. 2565 08.00

-----

***** 

-----

บทที่ 5.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1  ทุกข์,
บทที่ 5  ทุกข์ คืออะไรหนอ 
?  ทุกข์ก็คือสงครามนั่นเอง

-----

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1  ทุกข์  ทุกข์ คืออะไรหนอ ?  ทุกข์ก็คือสงครามนั่นเอง

ทุกข์คือการรบ การต่อสู้ ที่ไม่เคยหยุดหย่อนลงเลยแม้ได้เลือดและชีวิตไปจนท่วมแผ่นดินท่วมโลก

เช่นที่กำลังจะรบกันอีก ชายแดนยูเครน ขณะนี้  ระหว่างรัสเซียกับอเมริกา ...

ก่อนสงครามก็คือทุกข์   มีทุกข์กันขนาดใหญ่

 ขณะทำสงคราม ก็ทุกข์มหันตภัย อันตราย วายวอดกันทั้งสนามรบ  

  และหลังสงคราม  ก็ทุกข์ ทั้งเมือง ทั้งประเทศ  ทั้งโลก

ทุกข์มีไว้สำหรับสรรพสิ่ง  ไม่ใช่เพียงชีวิตมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย

แม้แผ่นดินโลกเองก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา

ทุกข์เพราะน้ำท่วมโลก เพราะสินามิ  เพราะแผ่นดินไหว แตกแยก   ภูเขาไฟระเบิดท่วมเมือง   ทุกข์เพราะอากาศร้อน ๆ หนาว ๆ  เพราะน้ำแข็งละลายท่วมโลก

 ทุกข์เพราะบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกเปลี่ยนแปลงไป  ทุกข์เพราะจักรวาลเปลี่ยนแปลงไป  ทุกข์เพราะดาวจะเข้ามาชนโลก

ในร่างกายมนุษย์เรานั้นเอง  ตัวเรากับเรา ตัวกูนั้นเอง แท้จริงก็มีสงครามอยู่ตลอดเวลา  มีการสู้รบแบบสงครามอยู่ตลอดเวลา

ทั้งสงครามภายนอกและสงครามภายใน  จงหมั่นพิจารณาให้พบความจริงเถิด

อันเป็นเหตุมาจากลมฟ้า อากาศ อาหารเป็นพิษ 

ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป,  เวทนา,  สัญญา,  สังขารวิญญาณ,  ตามหลักศาสนาพุทธนั้นเอง เป็นแดนสงครามหรือสนามรบที่รบกันอยู่ตลอดเวลา มีสงครามอยู่ภายในร่างกายมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายอยู่ตลอดเวลานาที  วินาทีเลย

นั้นแหละสัจธรรมว่าด้วยทุกข์

ทุกข์คืออะไรหนอ ทุกข์คือ สงคราม

เมื่อพบความจริงเช่นนี้  ก็จงรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงเสด็จมาสั่งสอนมนุษย์ทั้งหลาย ถึงสัจธรรมว่าด้วยทุกข์ นั้น  เป็นสิ่งที่จะพ้นไปไม่ได้

สรรพสิ่งเป็นทุกข์เช่นนี้เองเลย

ทรงสอนวิธีเดียวที่จะเอาตนพ้นทุกข์ไปได้ ก็คือรีบหนีไปเสียจากทุกข์ จากโลกที่เป็นทุกข์นี้เถิด

วิถีทางเดียวเท่านั้น  ทางอื่นไม่มี  แม้ไปสู่สวรรค์วิมานเทพเจ้า เทพนาคาใต้พิภพก็มิได้พ้นไปจากสงครามเลย

หนีไปสู่โลกนิพพาน  ทางที่พุทธองค์ทรงชี้ไว้  และ ที่มีพระอริยบุคคลทั้งหลาย นับแต่ โสดาบัน,  สกทาคามี,  อนาคามีและ พระอรหันต์,  เดินนำไปแล้ว นู้น เอาเถอะ  รีบ ๆ ไปเลย

อย่าไปห่วงใยอาลัยอะไรทั้งนั้น รีบ ๆ ไปเลย ก่อนจะตายเสียเพราะสงคราม.

*** 22 ม.ค. 2565  10.00 น.

-----  

*****

-----

 

บทที่ 6.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์,
บทที่ 6 ปาฏิหาริย์ของความรู้แจ้ง

-----

ความรู้แจ้งทุกข์ อริยสัจธรรมว่าด้วยทุกข์ นั้นเอง

โดยการหมั่นคิด พิจารณาตรึกตรองดูความจริงนี้เสมอ ๆดุจเป็นหน้าที่สำคัญของชีวิตที่ขาดไม่ได้จนวันหนึ่งก็จะรู้แจ้งความจริงขึ้นมา

ตามที่กล่าวมาตามลำดับแล่วนั้น    กล่าวคือรู้แจ้งทุกข์โดยปราศจากความสงสัยไปทั้งสิ้นแล้ว   ก็จักส่งผลแด่ภูมิปัญญาให้สว่างไสวขึ้น  รู้แจ้งสภาวะทุกข์ทั้งมวล  สภาวะทุกข์ของชีวิตมนุษย์ และสรรพสิ่ง  แม้โลกมนุษย์ โลกอมนุษย์ โลกเทพ โลกพรหม ด้วยการบังเกิดขึ้นของมหาปัญญาของเรานั้นเอง จากความมืดทึบระเบิดขึ้นสู่ความสว่างไสวเจิดจ้า   และนั้นแหละส่งให้พ้นไปจากความนึกคิดจินตนาการแบบปุถุชนคนธรรมดาทั้งหลาย เป็นปัญญาพระอริยบุคคล  นั่นแหละ เท่ากับการบรรลุธรรมขึ้นมา กลายสภาพจากปุถุชน คนธรรมดา ไปเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

และการรู้แจ้งทุกข์ ไม่มีข้อสงสัยใดใดเลย สิ้นความสงสัยไปทั้งหมดทั้งสิ้น นี่แหละการบรรลุสู่ฐานะพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน ไปถึงระดับพระ อรหันต์

นี่แหละปาฏิหาริย์ของความรู้แจ้ง 

และปาฏิหาริย์เช่นนี้ มีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่มีในลัทธิศาสนาอื่นใด ตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสไว้ก่อนปรินิพพานแด่พระสาวกอรหันต์องค์สุดท้ายว่า  อริยบุคลทั้ง 4 นับแต่ โสดาบัน  สกทาคามี  อนาคามีและ อรหันต์นั้นมีอยู่แต่ในศาสนานี้เท่านั้น  ศาสนาอื่นไม่มี

จึงเป็นมหาลาภมหาประโยชน์ของมนุษย์ทั้งโลก ที่พึงมีความปิติยินดี  เมื่อได้พบ ได้รู้สัจธรรมในพระพุทธศาสนา  นั้นก็หมายความถึงสัจธรรมนี้มีแด่ในศาสนาพุทธเท่านั้น  ไม่มีบุคคลอื่นใดจะสามารถปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ไปได้ นอกจากสาวกของพระพุทธศาสนา และผู้อื่นใดที่ใฝ่ใจศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง  เริ่มแต่อริยสัจธรรมว่าด้วยทุกข์นี้  อันเป็นความรู้เพื่อเอาตนให้พ้นไปจากทุกข์ แห่งโลก จากโลกแห่งทุกข์ สู่ความสุขแท้ อมตะ นิรันดร ในโลกใหม่ คือมหาปรินิพพาน นั้นเอง

·        Phayap Panyatharo

6 ก.พ.2565 09.40 น. 

-----

*****

-----

บทที่ 7.

7..อริยสัจ 4 ข้อที่ 1  ทุกข์,

บทที่ 7  เพียงหมั่นพิจารณาด้วยปัญญาให้รู้แจ้งทุกข์เท่านั้นเองปาฏิหาริย์ก็บังเกิดขึ้น

-----

คำว่า ปาฏิหาริย์ของความรู้แจ้ง นั้นเป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายตั้งแต่มนุษย์ธรรมดา ๆ ไปจนถึงเทพ เทวดาพรหม  มาร และพระเจ้า จะได้พบด้วยตนเองว่าเมื่อได้รู้ความจริงเกี่ยวกับทุกข์นี้แล้ว  ก็จะเกิดอิทธิฤทธิปาฏิหาริย์ทางปัญญา อันนำไปสู่ความรู้แจ้งจริงนี้ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์ ล้ำค่า และจะบันดาลผลมหัศจรรย์แด่ดวงจิต มีลักษณะเห็นแจ้งความจริงเกี่ยวกับทุกข์แห่งโลกทั้งหลาย  ชีวิตทั้งปวง และสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งสิ้น  เป็นการเห็นแจ้งความจริงด้วยปัญญาอันยิ่งใหญ่ จนสามารถทะลุพ้นไปจากโลกได้ ไปสู่อีกโลกหนึ่งที่พ้นทุกข์ทั้งหลาย  พ้นจากโลกแห่งเพลิงโหมไหม้ทรมาน แผดเผา  พ้นจากโลกแห่งสงครามการสู่รบที่ไม่มีวันจบสิ้น   มันเป็นผลจากการใช้ปัญญาโดยแท้จริง

ดังแม้พุทธองค์เอง ก็ทรงตรัสบอกแก่ปัญจวัคคีย์อันเป็นการแสดงธรรมบทแรก ครั้งแรก ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร นั้นเองว่า  การที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ขึ้นมาเป็นพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั้น เป็นผลมาจากปาฏิหาริย์แห่งปัญญานั้นเองดังที่ทรงตรัสตรัสยืนยันเป็นตอนๆ เป็นเรื่อง ๆ ไปว่า  จักขุงอุทะปาทิ(ตาดีได้เกิดขึ้นแล้ว)ญาณังอุทะปาทิ(ความหยั่งรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว),   ปัญญาอุทะปาทิ(ความรู้แจ้งจริงได้เกิดขึ้นแล้ว),   วิชชาอุทะปาทิ(วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว)  อาโลโกอุทะปาทิ(แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว),    อุทะปาทิทั้ง 5 นั้นก็คือ มหาปัญญา ความคิด พิจารณา ตรองตรึกดูอยู่เสมอ จึงทรงรู้แจ้งอริยสัจ นั้นเอง

นี่แหละปาฏิหาริย์แห่งปัญญา โดยการหมั่นคิด พิจารณาตรึกตรองดูความจริงนี้เสมอ ๆดุจเป็นหน้าที่สำคัญของชีวิตที่ขาดไม่ได้จนวันหนึ่งก็จะรู้แจ้งความจริงขึ้นมา

 โปรดจงใช้เพียงความคิดสติปัญญาพิจารณาสัจธรรมเรื่องทุกข์ไปจนรู้แจ้งขึ้นมาตามลำดับเถิด  เริ่มแต่การรู้แจ้งว่า  การแก่  การเจ็บ  การตาย นั้นเป็นทุกข์   ทุกข์อย่างไร ให้เห็นแจ้งจริงด้วยปัญญา เห็นความจริง ในตัวของเราเองก่อนแล้วมองความจริงของผู้อื่นทั้งหลาย ของ ชีวิตทั้งปวง

และการเกิดมาแล้วไม่พ้นไปจากการแก่  การเจ็บ  การตายอีก  มันเป็นสิ่งที่เหมือนเดิม ดูด้วยปัญญาให้เห็นว่ามันเหมือนเดิม   เกิดมาหลายรอบ เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด ก็เป็นเหมือนเดิมอย่างนี้  ไม่ผิดไปจากเดิมเลย  ซึ่งการได้รู้แจ้งในวงเวียนแห่งทุกข์ว่าวัฏฏะสงสารนี้ก็จะทำให้เกิดความหน่ายความเอือมระอา  เบื่อหน่ายแก่ชีวิต ความมีชีวิต  ทุรนทุรายกับการเกิดมา  เห็นแจ้งเรื่องทุกข์ในวัฏฏะสงสารชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น  จนมุ่งมั่นจะหนีไปเสียจากโลกนี้ หนีไปให้ไกลไปจากการเกิด  ไม่ปรารถนาจะเกิดมาอีก  นั้นเองทำให้บรรลุสู่สถานะแห่งอริยบุคคลระดับโสดาบัน ในพระพุทธศาสนา ด้วยปาฏิหาริย์แห่งปัญญาจริงๆ

และครั้นได้พิจารณาต่อไป  มีปัญญาเห็นความจริงกว้างขวางต่อไปอีกว่า การเกิดมาแล้วก็ต้องตาย  ตายไปแล้วก็ต้องเกิดอีก ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม นับแต่เกิดในนรกอเวจีก็ตาม  เกิดเป็นสัตว์ก็ดี เกิดเป็นคนก็ดี  เกิดเป็นเทพ  เทวดา มาร พรหม  พระเจ้า ก็ดี  ก็หาได้พ้นไปจากการแก่  การเจ็บ และการตายไม่   การเกิดนั้นเองเป็นของคู่กับการตายเสมอไป  อย่าเลยเราอย่าพึงปรารถนาไปเกิดเป็นอะไรอีกเลย แม้เกิดเป็นเทพ เทวดา  พรหม  พระเจ้า   พระเจ้าจักรพรรดิ หรือส่ำสัตว์ในโลกบาดาล นรก  เป็นเจ้านรกก็ตาม ก็หาได้พ้นไปจากการตายไม่ หาได้พ้นไปจากกฎแห่งวัฏฏะสงสารไม่เลย

และเรารู้ต่อไปด้วยปัญญาที่สว่างพลุ่งโพลงขึ้นไปอีก ในสิ่งที่ที่ไร้วิญญาณทั้งหลาย  ว่าการเกิดของสรรพสิ่งทั้งหลายแม้โลกและ จักรวาล  มหาพาหิรากาศที่กว้างขวางมหาศาลสุดขอบเขต นั้น  มองด้วยอิทธิฤทธิ์ป่าฏิหาริย์แห่งปัญญาแล้ว ก็จะเห็นว่าหาได้พ้นไปจากความตาย ความเสื่อมสลายลงไปไม่วันหนึ่งสิ่งที่มหาศาลนั้นก็จะเสื่อมสลายพินาศไป โดยไม่ต้องสงสัยเลย

มาสรุปได้ว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย  สังขารทั้งหลายล้วนเป็นทุกข์เพราะการเกิด   และเพราะเกิดแล้วก็มีแก่  มีเจ็บ  และ มีตายลงไปในที่สุดเสมอ ๆ   ปาฏิหาริย์แห่งปัญญาก็เกิดขึ้นอย่างสูงสุดจนบรรลุอรหัตมรรคได้ทันที

 มีจักขุงอุทะปาทิ(ตาดีได้เกิดขึ้นแล้ว)ญาณังอุทะปาทิ(ความหยั่งรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว),   ปัญญาอุทะปาทิ(ความรู้แจ้งจริงได้เกิดขึ้นแล้ว),   วิชชาอุทะปาทิ(วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว)  อาโลโกอุทะปาทิ(แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว),  

ฉะนั้น  แม้ไม่รู้อะไรเลย ไม่เคยเรียนธรรมะในศาสนาใดเลย  รู้เพียงสัจธรรมว่าด้วยทุกข์อย่างเดียวมาตามลำดับนี้ เพียงอย่างเดียวตามลำดับมานี้ก็พอเพียง    จงได้พยายามทางปัญญา ตรอง  ตรึก  นึกคิด พิจารณา ภาวนา  วิปัสสนาไปให้ลึกซึ้ง  อย่าหยุดลงเลย  จนวันหนึ่งก็ถึง บรรลุปาฏิหาริย์แห่งปัญญาอันเจิดจ้าสุดสว่างไสว

นั่นแหละได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมข้อที่ 1 ทุกข์ ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ถึงจุดจบนิรันดรแห่งชีวิต  และนั่นแหละไปสู่โลกแห่งความพ้นทุกข์ทั้งสิ้นทั้งปวง นั่นคือ โลกนิพพานขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่มีแต่ความบริสุทธิ สะอาด สว่าง สงบ  ไม่มีอะไร  ที่ว่างไปหมด และที่มีแต่ความสุขอันอมตะเป็นนิจนิรันดร์กาล นั้นเลยทีเดียว

                ขอจงได้พยายามอย่าหยุดยั้งลงไปเลย ไม่มีวิชชา  ปัญญา  ญาณ และแสงสว่างใดเลิศประเสริฐไปกว่าความรู้แจ้งทุกข์อีกแล้ว

·        Phayap Panyatharo
23 ก.พ.2565 07.30 น.

-----

*****

-----

บทที่ 8.

8..อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์,
บทที่ 8 ทุกข์ก็คือทุกข์นั้นเอง

-----

(1.) ทุกข์ก็คือทุกข์นั้นเองไม่ใช่นิจจัง แต่เป็นอนิจจัง,  ไม่ใช่อัตตา แต่เป็นอนัตตา

ตามที่เราชาวพุทธทั้งหลายทราบดีว่าอริยสัจธรรมทั้ง 4  ทุกข์,  สมุทัยนิโรธ,  มรรค  นั้นทรงประกาศโดยพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร  ซึ่งเป็นผลให้ท่านอัญญาโกณทัญญะสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลโสดาบัน ด้วยรู้แจ้งสัจธรรมว่า ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ  นิโรธธมฺมํ :สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งทั้งปวงนั้นมีอันดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งนั้นก็คือ   เข้าใจเรื่องทุกข์ รู้แจ้งทุกข์ระดับหนึ่งรู้เรื่องการเกิดแล้วมีคู่กับการตาย,  รู้เรื่องการตายแล้วมีคู่กับการเกิด,  และ เป็นทุกข์ตลอดกาลในโลกแห่งทุกข์,  นั่นเข้าสู่ภาวะอริยบุคคลโสดาบันแล้ว และใครก็ตาม  ไม่ว่าชนชาติใด ศาสนาใด  แม้อมนุษยเทพเทวาทั้งหลายก็ตาม เมื่อรู้แจ้งเช่นนี้แล้วอย่างลึกซึ้ง สิ้นข้อสงสัย ก็ย่อมบรรลุอริยบุคคลโสดาบันได้

จากนั้นต่อมาอีก 7 วัน พระบรมศาสดาจึงทรงสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง5 ต่อไปอีกด้วย  อนัตตลักขณะสูตร และนั่นเอง  ให้รู้แจ้งทุกข์อย่างละเอียดไปอีก สมบูรณ์ เป็นผลให้ทั้ง 5 องค์สำเร็จอรหันต์ทันทีเพราะบังเกิดปัญญารู้แจ้งทุกข์โดยสมบูรณ์  มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 พระองค์

(2.)

และด้วย อนัตตลักขณะสูตรนี้เองที่พุทธองค์ทรงตั้งคำถามเตือนสติแด่ปัญจวัคคีย์ไปตามลำดับเริ่มแต่คำถามว่าปัญจักขันธา(หรือรูปธรรม+นามธรรม หรือชีวิตคนเราแต่ละคนนี้)  รูปธรรม นามธรรม เป็นนิจจัง หรือ อนิจจัง ....?

รูป.....เวทนา เป็นนิจจังหรือ อนิจจัง?  รูป....เวทนา เป็นสิ่งเที่ยง-ถาวร หรือไม่เที่ยง-ไม่ถาวร ?  ไม่เที่ยง-ไม่ถาวรพระเจ้าค่ะ,  แล้วมันทำให้เกิดทุกข์หรือ สุขเล่า?  เกิดทุกข์ พระเจ้าค่ะ

 รูป.....เวทนาอนัตตา,  รูป.... เวทนาเป็นอนัตตา มันไม่ใช่ อัตตา,   เพราะถ้ามันเป็นอัตตา มันก็จะไม่เจ็บ ไม่ไข้ ไม่ป่วย ไม่เป็นอันตราย...ก็จะเป็นไปตามใจเราปรารถนา ไม่แก่ ไม่เจ็บไม่ตาย ไม่เป็นอันตราย,   แต่ความจริงมันเป็นอนัตตามันจึงไม่ใช่ของเราเราสั่งมันไม่เชื่อ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของเรา เราสั่งบังคับบัญชามันไม่ได้ ....... สั่งให้กูหายเจ็บ หายป่วย  หายตาย ได้ไหม?   ไม่ได้เลย    เพราะมันเป็นอนัตตานอกอำนาจของเรา  ธรรมดาเช่นนี้เอง

ที่ท่านอัญญาโกณทัญญะได้รู้แต่แรกว่า ยัง กิญจิ  สะมุทะยะธัมมัง  สัพพันตัง นิโรธธัมมันติ : สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งทั้งปวงนั้นมีอันดับไปเป็นธรรมดา ...   นั้นแหละ รู้แจ้งทุกข์  และคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ ที่ชาวพุทธรู้จักดี(แบบจำได้ติดปาก แต่ไม่เข้าใจทั้งครูสอนและลูกศิษย์,  โง่ตาม ๆ กันไปทั้งครูและลูกศิษย์แม้ระดับสงฆ์ชั้นยศ-ตำแหน่งสูงสุดระบบเจ้าขุนมูลนายสงฆ์ก็โง่ตาม ๆ กันสร้างปัญหาไปตาม ๆ กัน)  ทุกขัง,  อนิจจัง,   อนัตตา  ก็คือคำสอนเรื่องทุกข์เป็นระดับความรู้แจ้งชั้นอรหันต์  ที่ทรงแสดงต่อใน อนัตตลักขณสูตร เป็นผลให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 บรรลุปัญญาอรหันตภาวะพร้อมกัน นั้นเอง 

และที่จะทราบต่อไปก็คือ แม้ทุกข์ก็ดี  มันก็ไม่นิจจังทรงอยู่มั่นคงถาวรไปได้มันไม่ได้เป็นอัตตา แต่เป็นอนัตตา,  สั่งการมันอย่างไร  ก็สั่งการมันไม่ได้  มันไม่เชื่อเรา,  เช่นเดียวกันกับสรรพสิ่งทั้งหลายที่ล้วนเป็น ทุกขัง,  อนิจจังและ อนัตตานั้นเอง  เมื่อมีทุกข์เกิดขึ้นวันนี้ นาทีนี้แล้ว ทุกข์นั้นก็หาได้ดำรงคงมั่น  นิจจัง ถาวร ไปไม่ ก็เดินไปสู่ความสลายไปทีละเล็กละน้อยตามทุกข์อริยสัจธรรมนั้นเอง 

(3.)

ผลดีเบื้องต้นของความรู้แจ้งทุกข์ก็คือ เรารู้ เห็นทางไปสู่ที่พ้นทุกข์อันเป็นทางรอดทางหนีไปเสียจากสงครามแห่งทุกข์,  เพลิงโหมครอบแห่งทุกข์อันพ้นไปจากการเกิด และ การตาย,  และจะได้นิสัยรีบเร่ง ขยันขันแข็งในการทำความดี,  หมั่นขยันป้องกันแก้ปัญหาชีวิต ไม่ให้ทำบาปมุ่งมั่นไปบนเส้นทางมรรคผลเสียตั้งแต่บัดนั้น,  รู้คุณค่าของเวลาแห่งชีวิตแต่ละนาที วินาที ไม่ยอมเสียเวลาทำความชั่วเลยแม้แต่วินาทีเดียวรู้คุณค่าของวัย ในวัยเยาว์  วัยหนุ่มสาวที่มีพลังงานพร้อมอยู่ก่อน ขณะที่มีแรงงานเข้มแข็ง ยังหนุ่มยังสาวกันอยู่ อย่าให้เสียเวลาไปทำความชั่วเลย ให้ได้แต่ความดีถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง,  ให้ได้ความสำเร็จของการศึกษาอาชีพการดำรงอยู่ของชีวิตให้พอเพียงนำพาชีวิตไปพบความความอยู่ดีกินดี มีการร่วมสร้างสังคมที่ดี พาสังคมไปจากการทำชั่ว,  ที่ทำแต่ความดีไปตั้งแต่เยาววัย แต่หนุ่มๆ  ไม่รอโอ้เอ้ ไปถึงแก่ชราเลยเพราะรู้ดีว่ากาลเวลานำพาไปสู่ความแก่ ชราและรู้ดีว่าเมื่อถึงวัยแก่ชราแล้ว ทุกชีวิตก็จะเหมือนกันหมดเลยก็มีแต่นอนรอความตายสถานเดียวอันเป็นทุกข์สุด ๆ เลยของการเกิดมาในโลกนี้

และครั้นได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมข้อที่ 1 ทุกข์ นี้แล้ว ก็จะสามารถรับกับสภาวะแห่งทุกข์ที่เราเผชิญอยู่ ผู้รู้คิดรู้พิจารณามีการตรึกการตรองอยู่ตลอดไปในปัญหาชีวิตที่เป็นทุกข์ จนบรรลุความรู้แจ้ง มีปาฏิหาริย์แห่งปัญญาเห็นความจริงของสรรพสิ่งแล้ว  นั้นเองย่อมจะพ้นทุกข์ไปสู่มรรคผล นิพพานได้โดยพลันทันที พบการเปลี่ยนแปลงในภาคภายในจิตใจอย่างหมดสิ้น นั่นคือการชำระความสกปรกทั้งสิ้น เป็นความสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่นั้นเอง จึงราวกับจากโลกหนึ่งไปสู่อีกโลกหนึ่งได้ทันทีทันใด และนั้นแหละการบรรลุโลกนิพพานขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่แห่งความพ้นทุกข์สู่ความสุขแท้ อมตะนิรันดร

นี่แหละ สิ่งที่ควรให้ได้รู้แจ้งกันทั้งโลก  อริยสัจข้อที่ 1 ทุกข์

·       Phayap Panyatharo 
3 มี.ค.2565.08.40

-----
*****
-----

บทที่ 9.

9..อริยสัจ 4 ข้อที 1 ทุกข์,
บทที่ 9  การรู้แจ้งทุกข์เป็นเรื่องที่ควรจะง่ายดายสำหรับคนยุคใหม่

-----

เรามาสู่ข้อสรุปที่เป็นประเด็นอย่างยิ่ง สำหรับคนยุคใหม่ ที่มีมันสมองความคิดที่ฉลาดปราดเปรื่องกว่าคนยุคเก่าก่อนอย่างเทียบกันไม่ได้   นั้นก็คือเรื่องปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องความรู้ การเรียน การศึกษา วิทยาการเชิงวิทยาศาสตร์ของคนยุคใหม่ที่เจริญไปอย่างยิ่ง ซึ่งนี่แหละเรื่องของปัญญา  ที่พุทธองค์ทรงตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ไปตลอดว่า จักขุงอุทะปาทิ,  ญานังอุทะปาทิ,  วิชชาอุทะปาทิ,   ปัญญาอุทะปาทิ,  อาโลโกอุทะปาทิ (การบังเกิดขึ้นของดวงตาสว่างไสว,วิชาความหยั่งรู้ปัญญาความรู้แจ้งวิทยาความรู้จริงแสงสว่าง,ที่ทั้ง5อย่างนั้นทรงให้ความหมายถึงปัญญานั้นเอง การที่ทรงตรัสรู้ขึ้นมา เป็นผลจากปัญญา  ไม่ใช่ผลของการบำเพ็ญทุกกริยาอย่างสาหัสมาก่อนนั้นเลย   ปัญญารู้ความจริงของโลก ทำให้ทรงตรัสรู้ขึ้นมาใน 1 คืนนั้น

ฉะนั้น เพียงให้เกิดความรู้แจ้งจริงเรื่องทุกข์แล้ว ก็มีสิทธิบรรลุมรรคผลนิพพานได้ทันที  ให้ได้รู้ความจริงว่าด้วยทุกข์ไปอย่างละเอียดอ่อน เริ่มแต่ความจริงว่าโลกคือแดนทุกข์ สิ่งที่มีอยู่รอบข้างเราตลอดเวลานี้มีแต่ทุกข์  ทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นเป็นไปสุก ๆ ดิบ ๆ,  ทุกข์เท่านั้นดับไปและเราเองก็จบลงด้วยทุกข์ ตายไปกับทุกข์  ครั้นมาเกิดใหม่ ก็ไม่มีอะไรที่ได้พบใหม่ ก็คงเป็นเหมือนเดิม มีแต่ทุกข์  เห็นความจริงว่าการมาเกิดใหม่นั้นหมายถึงการมาสู่ทุกข์อีกเป็นรอบใหม่ของวัฏฏะสงสารนั่นเอง  ซึ่งก็ยังเป็นแดนทุกข์เหมือนเดิม ไม่มีวันหลุดพ้นไปได้  ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น นับอนันตกาลนั้นเอง ส่งผลโดยตรงแก่ความเบื่อหน่ายอย่างที่สุดในชีวิตที่เป็นอยู่  จนสุดที่จะอยู่ต่อไปได้ ความที่เกิดแสงสว่างทางปัญญามองไปเห็นสภาวะรอบตัวเต็มไปด้วยทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือมารแห่งชีวิตนั้นเอง ทำให้รู้จักการปลง การวางสิ่งที่เป็นความยึดมั่นถือมั่นมาเป็นนิสัยสันดารอันดั้งเดิมลงเสียได้   และดวงจิตนั้นทะยานออกไปด้วยความเกลียดชัง  ด้วยความขยะแขยง ความรังเกียจอย่างที่สุด ไม่สามารถที่จะอยู่ด้วยกันกับโลกที่มีแต่ทุกข์ต่อไปได้อีกแล้ว การที่ดวงจิตทะยานออกไปจึงทำให้หลุดพ้นไปได้จากโลกที่เราไม่ยอมอยู่ไม่ยอมหมกตัวอยู่ได้  เหมือนหมู่หนอนในฐานส้วมอีกต่อไป  นั่นเองคือเหตุผลการบรรลุอย่างฉับพลันทันทีได้

ฉะนั้น ใครก็ตาม เชื้อชาติ ศาสนาใดก็ตาม คนมีฐานะใด อาชีพใด  การงานใด บริษัท ห้างร้าน ราชการใด ก็ตาม วัยใดก็ตาม  เพียงรู้จักใช้ปัญญาล้วน ๆ  คิด คิด คิด ตรึกตรอง ๆ ๆ ๆ ไม่รู้หยุด ให้เกิดอุทะปาทิ 5 อย่างแบบพระพุทธเจ้าขึ้นให้ได้   ให้เห็นจริงเห็นแจ้งในเรื่องทุกข์ให้ได้เท่านั้นเอง   ก็จะส่งผลให้เกิดการบรรลุมรรคผลนิพพานบรรลุอรหันตภาวะขึ้นมาได้ทันที  ไม่ใช่เรื่องแปลกสุดวิสัยสำหรับคนยุคใหม่แต่อย่างใดเลย

จึงเป็นเหตุผลสำคัญสำหรับการที่คนยุคสมัยนี้จะได้รู้แจ้งทุกข์ และพ้นทุกข์ด้วยปัญญาบรรลุอริยบุคคลชั้นสูงสุดได้โดยรวดเร็วฉับพลันทันที ดังปรากฏในสมัยพุทธองค์เองมาแล้ว โดยที่มีวิธีการบรรลุแบบฉับพลันทันทีเพียงรู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองตรึกให้ลึกซึ้งให้ถูกต้อง จนเกิดปาฏิหาริย์แห่งความรู้แจ้งทุกข์อริยสัจนี้ขึ้นมาเท่านั้นเอง.  

                       Phayap Panyatharo

              10 มี.ค. 2565 06.30 น.

----- 

*****

-----

บทที่ 10.

10..อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์,
บทที่ 10  การแปลอริยสัจธรรมผิด ไม่สอดคล้องความจริงของธรรมชาติ

-----

คือคำว่า อุปาทาน ในบทที่ว่า   สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา  คำแปล ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์   คือการไม่ปล่อยไม่วางในขันธ์ห้าเป็นเหตุของทุกข์  เพียงการละวาง  ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า ขันธ์5เป็นตัวตนของเรา ตัวกูของกู ตามหลักอนัตลักขณะสูตร  ก็พ้นทุกข์

ในที่นี้ เป็นเรื่องธรรมชาติของชีวิต  ที่การแปล ควรแปลให้ถูกต้องกับสภาวะของธรรมชาติอันลึกซึ้ง  นั้นคือ  อุปาทาน  แปลได้หลายอย่าง  แต่ตรงนี้จะแปลอย่างนั้นก็ผิดหลักธรรมชาติ และยังมีคำแปลที่ถูกหลักธรรมชาติ ที่ว่า  อุปาทาน แปลว่า  ไม่ปล่อยไม่วางยึดกันแนบแน่น,  นั้นเอง   คือขันธ์5ไม่ปล่อยกันไป ไม่วางทิ้งกันไป แต่ยึดกันอย่างแนบแน่น  เป็นธรรมชาติของกายกับจิต ของขันธ์ 5  ก็วิเคราะห์ดูตามเหตุและ  ผล  ขืนไม่มีสภาวะการยึดมั่นถือมั่น การรวมกันอย่างเหนียวแน่นเช่นนี้  ก็ไม่อาจจะมีความมีชีวิตขึ้นมาได้เท่านั้นเอง   มันจึงเป็นเรื่องธรรมชาติกำหนดมาให้มีอุปาทาน  ที่ต้องเป็นเช่นนี้  เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องธรรมดา ๆ

อย่างเช่น  หิวน้ำกลางทะเลทรายอย่างนี้  ก็ไปคิดเอาว่า ร่างกายที่หิวโหยมันไม่ใช่ของเรา มันเป็นอนัตตา(แบบเข้าใจผิด)แค่มองเห็นความจริงนี้  ให้พ้นการยึดมั่นถือมั่นว่ากายเป็นของเรา ซึ่งความจริงมันไม่ใช่ของเรา  เป็นอนัตตา  ก็พ้นทุกข์ ก็จะไม่หิวน้ำตาย ...  มันไม่พ้นสิ    ทุกข์ไปจนตายแน่  หากไม่เจอน้ำกินก็ตายแน่ ๆ แบบแสนทุกข์แสนทรมานเลย...    อย่างมะเร็งกินตับจะตายอยู่แล้ว  คุณว่ามีคำสอนเพียงอย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ไม่ใช่เรา ขันธ์5เป็นของคนอื่น เราบังคับไม่ได้เพราะไม่ใช่ของเรา ก็พ้นทุกข์    นั้นสิ!!   ทั้งบ้า บ้า  และ โง่  จริง ๆ  ...กายกับจิตมันสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติ   กายป่วย  จิตก็ป่วย  จิตสบาย กายก็สบาย  จิตบรรลุกายก็บรรลุด้วย ไปแยกมันจากกันไม่ได้เด็ดขาด

เมื่อผล มันมาจากเหตุ   ผลดีคือมีมนุษย์หรือคน หรือชีวิตตนหนึ่งขึ้นมา     มันมาจากไหน?   อะไรทำให้ชีวิตนั้นเติบโตขึ้นได้ อ้วนใหญ่ขึ้นได้ ศึกษาวิชาการได้ มั่งมีศรีสุข เจริญไปได้?    คำตอบก็คือมันมาจากเหตุของการรวมกันของกายและจิต   หรือการวมกันของขันธ์5  รูป  เวทนา  สัญญา สังขาร  และวิญญาณ   หรือ วันนี้พบมากกว่านั้นนับพันเท่า คือส่วนรูปที่เป็นอวัยวะต่าง ๆ ที่ค้นพบมาทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน นับพัน หมื่นชนิดในกายคนตามการศึกษาของแพทย์ยุคใหม่    แต่สัจธรรมก็คือ  อวัยวะทั้งหลายนับ 5 ขันธ์  หรือ นับพันนับหมื่นอวัยวะที่ค้นพบยุคนี้  จะต้องมีการยึดกันประสานสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น  ระหว่างกันและกัน  ระหว่างอวัยวะภายใน อวัยวะภายนอก   ระหว่างรูปธรรม  นามธรรม คือส่วนประสาท  มันสมอง สายตา   เส้นเลือดใหญ่  น้อย  การเดินของลมปราณชีวิต ระบบดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  ในร่างกาย  และมันจะมีการยึดมั่นกันและกัน ประสานงานกันอย่างสุดจะประณีต คือจะมีคำว่า อุปาทานยึดมั่นถือมั่นกันและกัน 

ซึ่งในที่นี้ก็คือเรื่องธรรมชาติ ที่อวัยวะทั้งหลาย กายและใจ มันต้องมีการยึดมั่นกันและกันอย่างเหนียวแน่นเสียอีกด้วย  ต้องประสานกันหมดแบบแนบแน่น  แบบมีการยึดมั่นถือมันกันและกันอย่างเฉียบขาดเป็นระบบ  มันจึงจะมีชีวิตอยู่  หากเกิดมาเกิดรู้ธรรมะผิด ๆ นี้เข้ามา  ไม่ยึดมั่นถือมั่น  หิวน้ำก็ไม่ร้อง  หิวข้าวก็ไม่ร้อง  เพราะขืนไปหิวตามกายเป็นความอยาก ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คิดไปเช่นนี้ ก็คงไม่รอดแล้วละพบทุกข์ขนาดใหญ่ถึงชีวิตแน่    และคนโง่ ๆ ก็คงคิดไปไม่ตลอด เพราะธรรมชาติมันจัดการเอง ให้มีการยึดมั่นถือมั่นในการสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ

ฉะนั้น  การคิดแบบว่า  สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา  ทุกขา   อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 คือการคิดผิดว่าขันธ์ทั้ง5เป็นเรา เป็นของเรา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์  หากเราคิดถูกว่า   ขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เรา อย่าไปยึดติดว่าเป็นของเรา   มันเป็นอนัตตา ว่าไปนั้น   นั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์  เพียงเลิกคิดอย่างนั้น เลิกยึดถืออย่างนั้น เท่านั้นเอง  ปล่อยมันไปตามทางของมัน ไม่ใช่ของเราเท่านั้นเราก็พ้นทุกข์ 

นั้นก็คือคิดผิด หลง หลอกตัวเอง ไปอย่างโง่เขลา  เบาปัญญา  ไม่รู้พิจารณา หรือวิปัสสนาหาความจริง เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์คนหนึ่งเลย (ก็คำว่าปัญจักขันธาก็แปลว่าคนๆหนึ่งมนุษย์คนหนึ่ง ไม่รู้เหรอ  ไปแปลอะไรวุ่นวายไปหมด)

หลักการของธรรมชาตินั้นเองที่ทำให้ต้องมีความเป็นธรรมดาของเหตุและผลอย่างนั้น ที่ต้องมีความยึดมั่นถือมั่น   มันเป็นคนละความหมายกับคำว่า  ทุกขอริยสัจข้อที่ 1  ถ้ายังเข้าไม่ถึงสัจธรรมทุกขอริยสัจแล้วก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลพ้นทุกข์ไปได้เลย แม้พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ไม่ได้คิดตรัสรู้เอาง่าย ๆ ตามภาษาของพระองค์เองที่ตรัสว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา  ทุกขา  ที่แปลผิดกันมาว่า  สรุปเรื่องทุกข์แล้ว ความยึดมั่นในขันธ์5เป็นตัวทุกข์” (เพียงอย่ายึดมั่นเท่านั้นก็พ้นทุกข์) แต่ความจริงมันไม่ง่ายอย่างนั้น  หากแต่ทรงประพฤติปฏิบัติธรรมในอริยสัจ 4 แบบ 3 รอบ12 อาการ,   อย่างเช่นเรื่องทุกข์อริยสัจ ข้อที่ 1  นี้ก็ทรงศึกษาครบ 3 รอบ3 อาการ,ของทุกข์อริยสัจ คือ  อาการที่ 1. ทรงรู้เด็ดขาดว่านี่แหละ ทุกข์ของคนและสรรพสิ่ง  ทุกข์เป็นอย่างนี้ ที่เราไม่เคยพบมาก่อน,   อาการที่ 2 ทรงรู้ว่าต้องพิจารณาด้วยปัญญาให้เห็นให้รู้แจ้งแจ่มแจ้งในลักษณะของทุกข์ ความจริงเกี่ยวกับทุกข์อย่างหมดจด  และอาการที่ 3 ทรงรู้เห็นอย่างแจ่มแจ้งเห็นจริงเห็นแจ้งในอริยสัจเรื่องทุกข์นี้ทุกอย่างทุกประการแล้ว,   และ ในอริยสัจข้อที่ 2 ทุกข์สมุทัย  ก็ทรงรู้แจ้ง แบบ 3รอบ  3 อาการ เช่นเดียวกับอริยสัจข้อที่ 3  และ ข้อที่ 4   รวมทั้งหมดครบ 12 อาการ  จึงทรงกล้าประกาศตนเป็นพระพุทธเจ้า  หากไม่ทรงรู้ชัด 3 รอบ 12 อาการในอริยสัจ 4 แล้ว จะไม่ประกาศตนเป็นพระพุทธเจ้า  แล้วมีหรือที่ว่า  ทรงพ้นทุกข์เพราะทรงรู้ว่า   สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา  ทุกขา  ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงสอนอนัตตลักขณะสูตร จนปัญจวัคคีย์สำเร็จพระอรหัต  เพราะความเข้าใจ  ทุกขังอนิจจัง,และอนัตตา,อย่างรู้ทุกข์แจ้งจริงในลักษณะ 3 รอบ 3 อาการตามแบบพระพุทธเจ้า

นั้นแหละเป็นความเข้าใจผิด  จากการแปลผิด  ประพฤติมักง่ายที่ไม่คำนึงสัจธรรมแห่งชีวิตตามธรรมชาติของชีวิตที่มีเหตุมีผลแบบธรรมดา ๆ นั้นเอง

อย่าไปคิดหวังมรรคผล จากทางอื่นเลย  ดูเหตุที่ทรงตรัสในอริยสัจข้อที่ 2 ทุกขสมุทัย    ต้องละวางตัวเหตุแห่งทุกข์คือ ตัณหาทั้ง 3 กาม,  ภวะ,  และ วิภวะ ตัณหา,(ภว-วิภวตัณหา การสละโลก-โลกียธรรม-โลกธรรมทั้ง 8)ให้หมดสิ้นไม่เหลือเหตุแห่งทุกข์เท่านั้น  จึงจะไปสู่มรรคผลสูงสุด อรหัตมรรค อรหัตผลได้.นี่แหละความหมายของศาสนาวิทยาศาสตร์ตามที่อัลเบิร์ต ไอสไตน์นิยามไว้  เหตุคืออะไร   ผล คืออะไร มาจากอริยสัจ 4 นี่เอง ผลจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ทำเหตุให้ตรงเสียก่อน นั่นแหละ ทุกข์อริยสัจ การละวางเหตุคือตัณหาทั้ง 3 เสียได้เท่านั้น อรหัตผลก็เกิดตามทันที.

-----

*****

-----

 

 

บทที่ 11.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์,
บทที่ 11  การแปลอริยสัจธรรม 2. ไม่สอดคล้องความจริงของธรรมชาติ

-----      

ในอนัตตลักขณะสูตร

รูปัง ภิกขะเว  อะนัตตา   ภิกษุทั้งหลาย  รูปไม่ใช่ตัวตน:  จะเพิ่มความหมายให้เข้าใจชัดว่า  รูป-กายนี้มิใช่ตัวตนของเรา

เวทนา  อะนัตตา   ภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ตัวตน:  เวทนามิใช่ตัวตนของเรา

สัญญา  อะนัตตา ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่ใช่ตัวตน:  สัญญามิใช่ตัวตนของเรา

วิญญานัง  อะนัตตา ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ตัวตน:  วิญญาณมิใช่ตัวตนของเรา

พระพุทธองค์ทรงให้เกิดความเข้าใจว่า  ถ้าปัญจักขันธา,ซึ่งก็คือคนเรานี้ร่างกายเรานี้ชีวิตเรานี้มีความเป็นของเรา คือ คำว่า อัตตา แล้วก็จะไม่มีการอาพาธเลย คือไม่แก่ ไม่ เจ็บ  ไม่ตายเลย  แล้วเรายังจะสามารถสั่งได้ว่า  ขอเราจงเป็นหนุ่มเถิด  เป็นสาวเถิด จงแข็งแรง  อย่าแก่เฒ่า ลงไปเลย  แล้วเราสั่งได้ไหมล่ะ?

แม้รูปธรรม ก็เป็นอนัตตา  :  ไม่ควรเห็นว่านี่ของเรา  นี่เป็นเรา  นี่เป็นตัวตนของเรา

นามธรรม(เวทนาสัญญา,  สังขาร,  วิญญาณ) ก็เป็น อนัตตา:ไม่ควรเห็นว่า นี่เป็นเรา  นี่เป็นของเรา นี่เป็นตัวตนของเรา 

สรุป

แม้รุปธรรม  ก็เป็นทุกข์,  เป็นอนิจจัง,  เป็นอนัตตา,  จึงไม่ควรเห็นว่า นี่-นั่นของเรา,  นี่-นั่นเป็นเรา,  นี่-นั้นเป็นตัวตนของเรา

แม้นามธรรม  ก็เป็นทุกข์,  เป็นอนิจจัง,  เป็นอนัตตา,  จึงไม่ควรเห็นว่า นี่-นั่นของเรา,  นี่-นั่นเป็นเรา,  นี่-นั่นเป็นตัวตนของเรา

แม้รูปธรรม นามธรรม ทั้งหลาย สรรพสิ่งทั้งปวงก็เป็นมาเช่นนี้ในอดีตก่อนนับสงไขปี  มาถึงปัจจุบันกาลนับหลายล้านปี   และจะไปอีกแบบนี้ในอนาคตไม่รู้กี่ร้อยล้านปี กี่ร้อยล้านชาติ

ประเด็นสำคัญของการรู้แจ้งความจริงนี้

ความจริงที่ว่า  สรรพสิ่ง รูปธรรม นามธรรม ล้วนเป็นทุกข์  เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา  เป็นมาเช่นนี้แต่อดีตกาล  มาสู่ปัจจุบันกาล และไปสู่อนาคตกาล ไม่รู้จบนับอสงไขล้านปีก็ไม่จบ และเป็นการหมุนวนไป ๆมาๆ อย่างเดิมเป็น วัฏฏะสงสาร คือแดนทุกขเวทนาหมุนเวียนไปไม่รู้จบ

ก็คือ ได้ทำให้ ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 :-

รูปัสมิงปิ  นิพพินทะติ:   ย่อมเบื่อหน่ายในรูป,กายของตน

เวทะนายะปิ   นิพพินทะติ:   ย่อมเบื่อหน่ายในเวทนา,ความเจ็บปวด เวทนา ของตน

สัญญายะปิ  นิพพินทะติ:   ย่อมเบื่อหน่ายในสัญญา,ความจำสิ่งต่างๆดีๆชั่วๆ มา

สังขาเรสุปิ  นิพพินทะติ:   ย่อมเบื่อหน่ายในสังขาร,การที่จิตปรวนแปรไปตามอายตนะไม่รู้หยุดนิ่ง

วิญญาณสมิงปิ   นิพพินทะติ:  ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ,การที่ดวงจิตความคิดจิตใจใฝ่ในกามโลภโกรธหลงไม่รู้หยุด

มาสุ่ประเด็นจุดเปลี่ยนของจิตใจเราเองอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ   นั่นก็คือ

นิพพินทัง  วิรัชชะติ:    เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด(จากกามจากโลกธรรม)

วิราคา  วิมุจจะติ:   เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น

วิมุตตัสมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง โหติ:   เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีความหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

ขีณา ชาติ วุสิตัง  พรหมะจะริยัง:   รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว   พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาติ:  กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ปัญจะวัคคียานัง  ภิกขูนัง อะนุปาทายะ  อาสะเวหิ  จิตตานิ  วิมุจจิงสูติ:   ภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ พ้นไปจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน  ดังนี้แล 

ความคิดเห็น

เมื่อรับฟังอนัตลักขณะสูตร  จนเกิดความรู้ความเข้าใจตามไปรู้ความจริง ว่า  ความเป็นคนหรือ มนุษย์เรานี้  มีชีวิตที่มีการมีรูป  มีจิตใจ หรือรูปธรรม นามธรรมประกอบเป็นตัวเป็นตนเป็นคนเป็นเราเป็นเขาขึ้นมาชื่อนี้ นามสกุลนี้    แต่แท้ที่จริงแล้ว  รูปธรรมนามธรรมตัวเรา ตัวเขา  ชื่อนี้นามสกุลนี้  มิใช่ตัวตนของเราเลย,   มิใช่สิ่งที่จะพูดได้ว่า  นี่เป็นเรา นี่เป็นตัวตนของเรา,  เพราะมันเป็นไปของมันแบบที่เราเองบังคับบัญชาไม่ได้  สั่งมันไม่ให้ทุกข์ ไม่แก่  ไม่เจ็บ ไม่อาพาธ  ไม่ตาย ไม่ได้ มันเป็นไปเรื่อยๆไม่หยุด ไปสู่ความสลายลง จนที่สุดไปสู่ความชราและความตาย,    มันพูดไม่ได้ว่า  นี่เป็นเรา  นั่นเป็นตัวตนของเรา    และเมื่อมองลึกซึ้งไปอีกตามที่พุทธองค์ตรัสสอน มันได้เป็นเช่นนี้มาแต่อดีตกาลนานนับอสงไข  มาสู่ปัจจุบันก็เป็นเช่นนี้ทุกสรรพสิ่ง  และยังจะเป็นเช่นนี้ไปในอนาคตไม่รู้กี่ร้อยล้านปี

นี่แหละสิ่งที่ควรต้องพิจารณาทบทวนแล้วทบทวนอีก  หากปัญญาไว ก็จะเกิดความรู้แจ้งจริงตามนี้ไปทันทีทันใด  แล้วเกิดการเบื่อหน่ายในชีวิต รูปธรรม-นามธรรม ของตน แม้สิ่งทั้งหลาย สรรพสิ่ง ตามความจริงนี้ ที่ได้รู้ขึ้นในทันทีทันใด ตามอานุภาพแห่งจิต  การเบื่อหน่ายในชีวิตที่ได้เป็นมาในอดีต  ในปัจจุบัน  และจะเป็นไปเช่นนี้ไม่รู้จบในอนาคตนับอสงไข  ก็เกิดความเบื่อหน่ายขึ้นในชีวิต รูปธรรม-นามธรรมของตนเอง  การเบื่อหน่ายนี้เองเป็นจุดเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันทีของจิตภาคภายในได้แบบตรงกันข้าม  โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตแบบทันใดได้  จิตที่เกิดการเบื่อหน่ายขึ้นเพราะความรู้ที่ได้รับได้รู้ได้เห็นนั้นเองเป็นเหตุให้

นิพพินทัง  วิรัชชะติ:    เมื่อเกิดความเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด(จากกาม  จากโลกธรรม)

วิราคา  วิมุจจะติ:   เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น

วิมุตตัสมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง โหติ:   เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีความหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

ขีณา ชาติ วุสิตัง  พรหมะจะริยัง:   รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว   พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาติ:  กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ปัญจะวัคคียานัง  ภิกขูนัง อะนุปาทายะ  อาสะเวหิ  จิตตานิ  วิมุจจิงสูติ:   ภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ ดวงจิตพ้นไปจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน  ดังนี้แล

บทจบ

จึงสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลอรหันต์ ที่หยุดจบพรหมจรรย์  คือหยุดการแสวงหาธรรมเพื่อความหลุดพ้น จบลงตลอดกาล

Phayap Panyatharo

-----

*****

-----

 

 

 

บทที่ 12.                                                  

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์.

บทที่ 12 นิพพิทาญาณของพระอรหันต์-พระปัจเจกพุทธเจ้า

-----

1.

พระอภิธรรม 7 คัมภีร์  ที่ท่านสวดในงานศพคนพุทธมานับศตวรรษนั้น (1.) พระสังคิณีกุสลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา,  (2.) พระวิภังค์;ปัญจักขันธา รูปักขันโธ,  (3.) พระธาตุกะถา;สังคะโห  อะสังคะโห,  (4.) พระปุคคะละปัญญัติ;ฉะ ปัญญัตติโย,  (5.) พระกะถาวัตถุ;ปุคคะโล อุปะลัพภะติ,  (6.) พระยะมะกะ;เย เกจิ กุสะลา ธัมมาและ (7.) พระมหาปัฏฐาน;เหตุ ปัจจะโย.)  และ  ธรรมนิยามสูตร 8 บท ได้แก่ (1.) ปัพพะโตปะมะคาถา;ยะถาปิเสลา,  (2.)  อะริยะธะนะคาถา;ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต,  (3.) ธัมมะนิยามะสุตตัง;อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง,  (4.)  ติลักขะณาทิคาถา;สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ,  (5.)  ปะฏิจจะสะมุปปาทะปาฐะ;อะวิชชาปัจจะยา,  (6.) พุทธะอุทานะคาถา;ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา,  (7.) ภัทเทกะรัตตะคาถา;อะตีตัง นานวาคะเมยยะ,  (8.) ปะฐะมะพุทธะวะจะนะ;อะเนกะชาติสังสารัง)  

 เป็นธรรมะคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตกทอดมาสู่โลก นับ 2560 ปีเข้าแล้ว เป็นธรรมะข้อสำคัญที่พระสงฆ์ในพิธีกรรมสวดศพ ก่อนการฌาปนกิจศพ  ท่านสวดให้รับฟัง 3-7 คืน หรือพิเศษเป็นเดือนเป็นปีเลยก็มี เช่นพระบรมศพ ร.9 ของคนไทยเราปี 2562   เพื่อเข้าใจสาระสำคัญของไตรสิกขา ทุกขัง,  อนิจจัง,  อนัตตา,  นั้นเอง  ซึ่งในธัมมนิยามสุตตํ  4 วรรค มีบทอธิบายขยายความเข้าใจต่อไปอีกแต่ประเด็นคือ ติลักขะณาทิคาถา  โปรดฟัง ติลักขะณาทิคาถา 3 วรรคต่อไปอีก  ดังนี้

สัพเพ สังขารา อะนิจจาติ     ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ   อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข       เอสะ มัคโค วิสุทธิยา:

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง   เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ สังขารา ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ  อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข     เอสะ มัคโค วิสุทธิยา: 

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ   อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา: 

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา  เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

2.

เราเน้นคำว่า  นิพพินทะติ   ซึ่งที่จริงไม่ได้มีปรากฎในพระธรรมเทศนาบทแรกคือธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตรเลย ไม่มีคำว่า นิพพินทะติ ในธัมมจักกัปปวัตนะสูตร แต่มามีอย่างครบทุกสิกขา เน้นย้ำเต็ม ๆ ในอนัตตลักขณะสูตร และทอดมาถึง ธรรมนิยามสูตร บทนี้

และที่จริง ติลักขณะคาถา 3 วรรค ที่อ้างมา นั้น  ก็อ้างมาจาก อนัตตะลักขะณะสูตร  นั้นเอง ลอกมาตรง ๆ เลยก็ว่าได้  ที่ว่าบทพิเศษ ใน ติลักขะณาทิคาถา  3 วรรค  ดังนี้โปรดทบทวนอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าธรรมทั้งปวงเป็นอะนัตตา เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,

นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

นิพพินทะติ  หรือ  นิพพิทาญาณ (ความเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง)  จึงเป็นอริยสัจธรรมข้อสำคัญยิ่ง  สำหรับนักบวช นักปฏิบัติธรรม และชาวมนุษย์จักได้นำไปพิจารณา นำไปวิปัสสนา  และเจริญปัญญาต่อไปจนได้พบความจริงในพระคาถานั้น  อันจะส่งผลได้ไปถึงความสำเร็จเป็นพระอรหันต์  ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวงได้

ซึ่งเมื่อนำไปวิปัสสนา-ภาวนา หรือพิจารณาตรึกตรองไปบ่อย ๆ เนือง ๆ  ครั้นเห็นความจริงของไตรลักษณ์เห็นสิ่งที่เรียกว่า  วัฏฏะสงสาร  คือดุจสายน้ำใหญ่ที่หมุนวนไปชั่วนาตาปีไม่มีวันหยุดไปโกฏิปีโกฏิชาติ ซึ่งในวัฏฏะสงสารนั้น เป็นวัฏฏะแห่งทุกข์ล้วน ๆ  นั้นแหละนำไปสู่ นิพพิทาญาณ ความรู้แจ้งอันเป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่ายในวัฏฏสงสาร ในโลกและสรรพสิ่ง  แล้วในระดับต้น ๆ แห่งมรรคผลนิพพาน  จะนำไปสู่ความหน่ายในสังขารทั้งหลาย ได้เป็นความน่าสมเพช เวทนาแห่งการหมุนวนไปของวัฏฏะสงสาร   ที่ไม่รู้จบรู้สิ้น  ทำให้ละคลายไปจากกิเลส ตัณหา  อุปาทาน  และคลายจากความรุ่มร้อนแห่งกามารมณ์แห่งกามตัณหา กามภพได้ และ นับแต่โสดาปัตติมรรค  โสดาปัตติผล   สกิทาคามิมรรค  สกิทาคามิผล   อนาคามิมรรค  อนาคามิผล  เป็นเบื้องต้นไป ถึง อรหัตมรรค  อรหัตตผล  เลยสู่พุทธภาวะ หรือ  พุทธภูมิอันสูงสุดต่อไป แม้ในชาตินี้  ปีนี้  เดือนนี้  วันนี้   ที่นี่และเดี๋ยวนี้เอง  ภพนี้เองเลย

ความเบื่อหน่าย หรือ นิพพิทาญาณ จึงเป็นสิ่งที่เป็นผล จากปัญญา หรือ  อุทะปาทิ 5 อย่าง (จักขุงอุทะปาทีญานัง อุทะปาทิ,  ปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิอาโลโก อุทะปาทิ) ตามพระพุทธเจ้านั้นเอง  ทำให้เห็นวัฏฏะสงสาร ที่น่าอเนจอนาถ น่าเบื่อหน่ายน่ารังเกียจที่สุด และเริ่มตั้งแต่พระอริยบุคคลโสดาบัน ท่านก็จะเริ่มมีนิพพิทาญาณ ขึ้นเมื่อรู้อริยสัจ 4 ขึ้นมา  เริ่มอริยสัจข้อที่ 1 คือ ทุกข์  นั้นเอง  ท่านจะเบื่อหน่ายในการเกิด และการเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์  เบื่อเหตุการกระทำชั่ว  จะละอายและละเว้นไปเองโดยอัตโนมัติ ในการกระทำชั่วบางอย่าง จะสามารรถกระทำได้เฉพาะความดี บางอย่าง,   ระดับสกทาคามี จะมีความละอายใจ มีความเบื่อหน่ายต่อการที่จะทำอะไรอย่างชาวโลกๆ โดยเฉพาะการมีศีลธรรม จริยธรรม จะไม่ขาดเลย  จะทำแต่ความดีเท่านั้น  สร้างสรรค์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อส่วนพระพุทธศาสนา ระดับโสดา-สกทาคามี นี้ มักจะสร้างวัตถุนิยมอยู่และมักจะมีคนทั้งหลายมีความศรัทธาร่วมสร้างอย่างมากมาย ศาสนวัตถุทางศาสนาที่ใหญ่โตมโหฬาร มักนำการสร้างไปโดยอริยบุคคลระดับนี้ , 

ระดับอนาคามี ท่านจะเบื่อหน่าย ไม่อยากอยู่ร่วมชีวิตร่วมกิจกรรมกับคนสังคมโลกเลย เวลานาทีทุกนาทีของท่านจะอุทิศให้การขัดเกลากิเลสล้วน ๆ อนาคามีจึงมักจะปลีกตัวหนีสังคมไปอยู่ป่า  หุบเหว  ถ้ำ  มักไปอยู่สันโดษ เดินทางไปในแดนเปล่าเปลี่ยวที่ไม่เข้าไปใกล้สังคม  ใกล้โลก และมุ่งอย่างเดียวถวายชีวิตต่อการสร้างผลกรรมให้บรรลุอรหัตมรรคอรหัตผล จุดจบให้ได้ ไม่คิดอย่างอื่นเลย มุ่งสู่อรหันต์อย่างเด็ดเดี่ยว,    พระอรหันต์ นั้น จะสละโลกเลย  เพราะความเบื่อหน่ายในสังคมโลก  ไม่อยากมาใกล้ชิดอยู่ร่วมโลก  มีแต่การสละปลีกวิเวกไปคนเดียว   ท่านจะเห็นว่า  ระดับพระอรหันต์พระปัจเจกพุทธเจ้า  ท่านยิ่งจะเบื่อโลกทั้งโลก แทบว่าเมื่อบรรลุธรรมแล้ว มองเห็นโลกทั้งโลกเป็นสิ่งที่ไร้สาระ ไร้ประโยชน์ ไร้ค่า หมายถึงทั้งคนทั้งโลกเองด้วย ล้วนสิ่งที่ไร้ค่าไร้ราคาเหมือนมดเหมือนปลวกเท่านั้นเอง ท่านก็จะปลีกหนีไปอยู่สันโดษ  โดยไม่สนใจสังคมเลย

3.

ก็พอเห็นจากพระปัจเจกพุทธเจ้าในไซอิ๋ว ที่มีเรื่องเริ่มต้นมาว่า  เห้งเจีย เรียนวิชาสำเร็จเบื้องต้น  แต่ด้านการเหาะ ยังเป็นเพียงเหาะตามเมฆ  คือตามลม ยังช้าอยู่  และวิชาอื่นๆ ก็ยังช้าอยู่ ทราบว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ในเกาะกลางทะเล ก็ตามหาจะขอเป็นลูกศิษย์ แม้มีคนบอกว่าท่านไม่รับใครเป็นลูกศิษย์  ก็อุตส่าห์ตามไปจนพบสถานที่พำนักอาศรมของท่าน  และขออยู่ขอรับใช้ แต่ขอร่ำเรียนวิชากับท่าน ๆ ก็ไม่สอนให้ เอาแต่รับใช้ท่านเป็นเวลานาน  จนวันหนึ่งท่านออกคำพูดว่า เวลาตี3คืนนี้มีอะไรดี ซึ่งเห้งเจียเข้าใจไปว่าท่านจะสอนวิชาให้ตน  ตอนตี 3 เห้งเจียจึงเข้าไปหาท่านทวนวาจาท่าน ทำให้ท่านยอมสอนวิชาให้   จนได้เรียนวิชาชั้นสูง และสามารถเหาะดั้นเมฆได้ คือเหาะได้อย่างเร็วแบบลัดนิ้วมือเดียว  เกินความเร็วของเมฆที่ล่องไปด้วยสายลม  สิ่งที่ปรากฏที่คนไม่เข้าใจก็คือ พอเรียนวิชานี้จบ  ท่านก็ไล่เห้งเจียหนีไปจากเกาะ  และยังกำชับอย่างแข็งแรงว่า  ห้ามบอกว่าเจ้าเรียนวิชามาจากใคร ห้ามเด็ดขาดหากบอกไปไม่เชื่อจะได้รับโทษถึงคอขาด  ทำไมท่านไม่คิดอยากได้หน้าได้ตาจากวีรกรรมของลูกศิษย์ ผู้ไปอารธนาพระไตรปิฏกชมพูทวีป มีชื่อเสียงไปสามโลก ?

นั่นเป็นผลของ นิพพิทาญาณนั้นเอง  ระดับพระอรหันต์ท่านจะมีนิพพิทาญาณสูงมาก  จนแทบว่าโลกนี้ไม่มีความหมายสำหรับท่าน ท่านมองเป็นของสกปรก โง่เง่าเต่าตุ่น ไร้สาระที่สุด เป็นที่อยู่อย่างหมู่หนอนในส้วม  ใส้เดือนในดินสกปรก  จนไม่อยากอยู่ใกล้ ๆ เลย   นั้นแหละพระอรหันต์  และพระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านยิ่งไม่อยากให้ใครไปหาท่านเลย

เช่นกรณีซึงหงอคง นี่เอง ที่เราจะได้พบว่า  ซึงหงอคงไม่เคยบอกใครเลยว่าใครเป็นอาจารย์ของตน  เพราะพอเรียนจบ ท่านก็ไล่หนีไปทันที ซ้ำสั่งห้ามเอ่ยชื่อท่าน ห้ามเอ่ยชื่ออาจารย์ห้ามบอกใครสอนวิชาเป็นอาจารย์ให้อย่างเด็ดขาด หากบอกจะมีโทษถึงคอขาดทันที 

ซึ่ง นี่คือ นิพพิทาญาณ ความหน่ายโลก ไม่อยากยุ่งกับโลกให้รำคาญใจ (อย่างพระพุทธเจ้านั้น ท่านมีหน้าที่ของพระพุทธเจ้าคือการสอนโลก และด้วยมหาเมตตาบารมีสถานเดียวจึงอยู่ท่ามกลางสิ่งสกปรกน่าขยะแขยงน่าหน่ายได้)  อันนี้เป็นปัจจัยเหตุไปวัดสภาวะพระอริยบุคคลได้  หากยังคงหลงโลกอยู่ สะสมวัตถุนิยม แสวงหาชื่อเสียง ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข  แสวงหาตัณหา กาม  ภวะ-วิภวะ ตัณหาอยู่ แสวงคำสรรเสริญเยิรยอ ยศถาบรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์  หาเงินตราสร้างวัตถุใหญ่ค้ำฟ้า อ้างว่าตนเป็น อรหันต์บุคคล  นั้นแหละ  ยิ่งบอกไปถึงความเป็นปุถุชนคนธรรมดา ๆ โลก ๆ  ที่บอกถึงความโลภโกรธ หลง ในวัตถุ ตัณหา ในโลกธรรม 8 ธรรมดา ๆ  นี่เอง (น่าจะลองฟังวาทะของท่านพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม ที่ว่า....กุศลสูงสุด สร้างโรงเรียนก็ยังไม่ใช่กุศลสูงสุด สร้างโรงพยาบาลก็ยังไม่ใช่กุศลอันสูงสุด สร้างวัดสร้างโบสถ์ก็ยังไม่ใช่กุศลสูงสุด ถ้าไม่ได้ทำให้ใครฉลาดขึ้นเกี่ยวกับความดับทุกข์ การกระทำใด ๆที่ทำให้เกิดความสว่างไสวในทางธรรมะแก่เพื่อนมนุษย์นั่นแหละกุศลอันสูงสุด...)  ครั้นไปยกยอปอปั้นตัวเอง ว่าเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว  นั้นแหละบาปต่อพระพุทธศาสนา ฐานหลอกลวงคนทั้งหลาย ให้เข้าใจพระอริยบุคคลอรหันต์  ปัจเจกพุทธเจ้าผิดไปอย่างใหญ่หลวง  นั้นแหละ มรณะ-ตายไปลงนรกโลกันต์ไปนับหมื่นล้าน ๆ โกฏิปีไปเลย มีนิพพิทาญาณเป็นสิ่งวัดคุณค่านี้  เนื่องเพราะปัญญายังตื้นต่ำ ไม่ทันเห็นแจ้งทุกข์โดยสมบูรณ์  จึงไม่เข้าใจ ไม่มี นิพพิทาญาณ ชั้นสูงสุดนั่นเอง

คือการบวชเข้ามาเพื่อแสวงหามรรคผลนิพพาน การละกิเลส ตัณหา อุปาทาน ไปเรื่อย ๆ ยิ่งค่อยรู้สัจธรรมและบังเกิดความรู้แจ้งในทุกข์แห่งชีวิตแล้วมีนิพพิทาญาณเกิดขึ้น ๆ ซึ่งนิพพิทาญาณนี้เองไปประหารกิเลสได้โดยอัตโนมัติ จนรู้แจ้งทุกข์โดยสมบูรณ์ ก็สู่นิพพิทาญาณอันสูงสุด  ก็สำเร็จอรหัตตมรรคอรหัตตผล ยิ่งกลายเป็นความรังเกียจหน่ายในลาภในยศในโลกธรรมทั้งหมดโลกไปเลย เพราะนั่นแหละ อริยทรัพย์ละ....?

        Phayap Panyatharo

25 เม.ย. 2565  23.00 น. 

-----

*****

-----

บทที่ 13.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 1 ทุกข์.

บทที่ 13 สัพพัง อาทิตตัง สรรพสิ่งเป็นของร้อน ในอาทิตตปริยายสูตร 

-----

1.

ปรารภถึงต้นเหตุ

ทรงแสดง อาทิตตปริยายสูตร แด่ชฎิล 1,000 รูป  ในลำดับต่อมาจากที่ทรงแสดงธัมมะจักกัปปะวัตตนะสูตร และอนัตตะลักขณะสูตร มีพระสาวกอรหันต์ปัญจวัคคีย์  5 องค์เกิดขึ้นแล้ว อาทิตตะปริยายสูตรเป็นการเทศนาธรรมครั้งที่ 3 ถัดกันไปนั้นเอง  ซึ่งการแสดงพระธรรมคราวนี้ มีผู้ฟังจนจบแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ขึ้นพร้อมกันทั้งหมดทั้ง 1,000 องค์

นี่คือตัวอย่างที่แสดงว่า  พระธรรม 3 บทนั้น มีสาระธรรมสูงสุด แม้สมัยนั้นก็ทำให้สำเร็จอรหันต์ได้ง่าย ๆ   และเนื้อหาพระธรรมนั้น เมื่อมาถึงยุคนี้ ก็ยังคงเป็นเนื้อหาอันเดิมอยู่ทั้งสิ้น  แต่ทำไมเหตุใด นักปราชญ์ ผู้รู้สมัยนี้ยุคนี้จึงไม่ได้สรรเสริญพระธรรมสามบทนี้เท่าที่ควรเลย ทำไมหากมีผู้รู้ระดับอรหันตบุคคลในแผ่นดินแล้ว ทำไมไม่มองความสำคัญของพระสูตรทั้ง 3 นี้ โดยเฉพาะประเด็นการนำไปบรรลุอรหันต์ได้  ในเมื่อพระธรรมก็บทเดียวกัน  เนื้อหาตรงกัน อันหนึ่งอันเดียวกัน กับที่ทรงแสดงคราวนู้น และทั้ง ไม่ต้องกินเวลาศึกษามากเลย คราวนั้นแค่ฟังจบ ก็สำเร็จอรหันต์ได้ แล้วทำไมคนยุคนี้ สมัยนี้ที่ชื่อว่าเป็นผู้เจริญทางปัญญาวิทยาศาสตร์สูงล้ำแล้ว หากพยายามไปจะไม่อาจบรรลุอรหันต์ได้

คงไม่เพราะอะไร ?  เพราะไม่เข้าใจแก่นสารที่แท้จริงของพระธรรมทั้ง3บทนั้น นั่นเอง แล้วไปศึกษาบทอื่นๆที่ยาก แล้วเห็นว่าความยากนั้นเป็นประเด็นของการศึกษาต่อไป จนตลอดชีวิตก็ไม่เข้าใจ ไม่สำเร็จ มาจนถึงวันนี้ก็ยังคงคิดไปแบบเดิม ทำไปแบบเดิม ๆ อยู่ จึงไม่มีผลอะไรขึ้นมา ซ้ำไปกล่าวร้ายว่า มรรคผลนิพพานพ้นสมัยพ้นยุคไปแล้ว โดยไม่เข้าใจเรื่องความโง่ของตนผู้สอน  

2.

มาวิเคราะห์กันหน่อย เพื่อเห็นเหตุผลดังกล่าวมา

1.  โดยไม่เข้าใจว่าการจะสำเร็จธรรมอริยผลระดับอรหันต์นั้น ต้องศึกษาจากพระสูตรทั้ง 3 นี้เป็นสำคัญที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องไปศึกษาพระสูตรอื่นเลยก็ได้เลย....ถ้าจัดเป็นหลักสูตร ก็สำหรับคนทั้งโลก คนทุกอาชีพ โดยไม่ต้องเป็นชาวพุทธเลย   เพราะพระสูตรอื่น ๆ ที่ตามมาภายหลัง ล้วนแต่เป็นพระสูตรที่ทรงสอนคนโง่  ที่ต้องให้ปฏิบัติแบบคนโง่ทำให้มีขั้นตอนเพิ่มขึ้น มีการลงทุนลงแรงเพิ่มขึ้นแม้ไม่ได้ผลอะไรเลย โดยที่เป็นแม่แบบอยู่ปัจจุบันก็คือระบบหลักสูตร  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ซึ่งกว่าจะถึงระดับโสดาบัน ก็ต้องใช้เวลาศึกษาไปเป็นเดือน เป็นปี  เป็นชาติ 7 ชาติ  12 ชาติ ไปถึง 108 ชาติ ก็ยังมีคนศรัทธาเลื่อมใสไม่คิดเอาอะไรเลยในชาตินี้ ชีวิตที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ คิดเอาดีชาติหน้า  ให้ได้โสดาบันใน 7 ชาติก็พอใจยิ่งแล้ว  ทั้งสิ้น  นี่แหละโง่! และแม้จะบรรลุโสดาบัน สกทาคามี แต่ก็ยากที่จะทะลุไปถึงระดับอนาคามี หรือ อรหันต์   

อย่างเช่นที่เอาอาณาปานะสติสูตร หรืออะไรต่าง ๆ จากพระไตรปิฏกมาสอน มาเปิดสำนักปฏิบัติ หรือห้องเรียนธรรมะ มีการเทศน์ในงานใหญ่งานปฏิบัติธรรมเป็นต้นนั้น ทำนองให้ความรู้ไม่มีเชิงการปฏิบัติอะไร เพราะคนสอนหรือพระที่สอนก็แค่พูดว่าไปตามตำรา  ตามคำของครูบาอาจารย์ก่อน ๆ ซึ่งก็ไม่รู้อะไรเหมือนกัน ก็สอนไปแบบไม่เข้าใจ (เพราะคนสอนก็ทำไม่ได้อย่างที่สอนเขาและไม่รู้สิ่งที่ตนสอนไปด้วยซ้ำก็มี)  เช่นเดียวกับที่มีสำนักปฏิบัติ ทั้งสอนและพาปฏิบัติเรื่องสมาธิ กันใหญ่ เป็นงานใหญ่ รบกวนชาวบ้านกันแทบไม่ต้องทำมาหากิน  แต่อะไรคือสมาธิ ก็ไม่เข้าใจ มีลำดับไปอย่างไร ไม่เข้าใจทั้งนั้น เพราะคนสอนกับลูกศิษย์พอ ๆ กันคือทำไม่ได้เหมือนกัน ที่จริงเก่งพอ ๆ กันนั่นแหละ  น่าหัวเราะจริง ๆ   พอบอกก็จะไม่เชื่ออีก เช่นเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ต้องจัดการสอนแบบทำเป็นหลักสูตร  เอาไปทำเป็นหลักสูตรจึงจะดีได้  ให้

รวมศูนย์ที่เรื่องสมาธิให้มีศีลครอบทั้งหมดคือขณะที่เรียนสมาธินั้นให้ประพฤติหรือทรงคุณสมบัติของศีลรักษาศีลให้ได้ครบถ้วน หลักสูตรกำหนดจากสมาธิ ทำหลักสูตร ปริญญาตรี 1 ปี เป็นคณิกะสมาธิ,  ปริญญาโท 2 ปี  เป็นอุปจาระสมาธิ  และปริญญาเอกเป็นอัปนาสมาธิกี่ปีก็ตามให้สำเร็จอัปนาสมาธิให้ได้  ทำหลักสูตรทางปฏิบัติขึ้นมาอย่างนี้จะช่วยได้มาก จบสมาธิปริญญาเอกแล้ว เข้าสู่ หลักสูตรวิปัสนา นั่นคือมาศึกษา ธัมมะจักกัปปะวัตนะสูตร,  อนัตตะลักขณะสูตร,  และ อาทิตตะปริยายะสูตร  3 บทนี้  เป็นระดับเหนือปริญญาเอกเข้าสู่ระดับมรรคผลนิพพาน ...  ถ้าผ่านมาตามลำดับถึงนี้  ก็มั่นใจได้ว่า สำเร็จอรหันต์แน่ ๆ

3.

แต่  สำหรับที่เสนอมาตลอดนี้  ไม่ต้องมีหลักสูตรแบบไหน หรือแบบที่ว่ามา  แต่ตั้งใจศึกษา 3 พระสูตรแรกที่ทรงสอนนั้นเอง ศึกษาด้วยตนเอง  ไม่เกี่ยวกับสมาธิ ศีล หรืออะไรเลย แต่เกี่ยวกับปัญญาล้วน ๆ คือ  อุทะปาทิทั้ง 5 ที่พระพุทธองค์ทรงผ่านมาเองแล้วนั้นเองเป็นแบบ  ปัญญา สมาธิ  ศีล   นั้นเอง ที่พูดมา อธิบายมาจากพระธัมมะจักกัปปะวัตตนะสูตร  อนัตตะลักขณะสูตร ตามลำดับมาแล้ว เรื่องสัจธรรมอริยสัจ 4  มาต่ออาทิตตะปริยายะสูตร ให้เข้าใจยิ่งขึ้น  ความเข้าใจความรอบรู้ทะลุปรุโปร่งนั้น เป็นประเด็นความสำเร็จ

คราวนี้ เรื่องอาทิตตะปริยายสูตร  ทรงแสดงแด่นักบวช 1,000 ตน โดยทรงเทศน์ให้ฟัง ทรงแสดงด้วยวาทะ   ไปตามลำดับๆ จนจบบทเทศน์ ซึ่งใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงเอง  เสร็จแล้ว ฟังเทศน์จบแล้ว ทั้ง 1,000 คน  บรรลุอรหันต์หมดทุกองค์    จึงน่าเป็นตัวอย่างสำหรับคนในยุคนี้  ที่จะสามารถสำเร็จมรรคผลได้แบบใช้ปัญญา ตรึกตรองดูความจริงไปตามลำดับๆ  เห็นความจริงที่เกี่ยวกับโลกเกี่ยวกับชีวิต ที่น่าเบื่อหน่าย มีนิพพิทาญาณเกิดขึ้นแล้วถอนกิเลส ตัณหา อุปาทาน ออกไปหมดจากใจ  ก็ปรับจิตไปเป็นจิตใหม่ที่ใสสะอาด สว่าง  และสงบ  นั่นแหละ มรรคผลนิพพาน  นั่นแหละคนฉลาดยุคใหม่น่าจะทำได้พอ ๆ กับคนยุคนั้น   โดยฟังให้เข้าใจจริง ๆ จนสิ้นข้อสงสัยทุกอย่างจากคำสอนในอาทิตตะปริยายสูตร หรือรวมทั้ง2 พระสูตรต้นที่ทรงแสดงมาก่อนแล้ว

มาดูว่าทรงสอนอะไร

ทรงแสดงง่ายๆว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน รูป เวทนาสัญญา สังขารวิญญาณ  รูปธรรม นามธรรม มนุษย์นี้เป็นของร้อน  สรรพสิ่งเป็นของร้อน

ร้อนเพราะ ไฟ

ทรงแสดงพระสูตรนี้โดยใช้เวลาไม่นานเลย  พอจบลง นักบวช 1,000 รูปที่รับฟังอยู่ก็บรรลุอรหันต์ไปทั้งหมด   แค่การรับฟังพระสูตรนี้จบเวลาไม่ถึง ชั่วโมงเลย

นั่นก็เป็นเพราะได้ความรู้ เกิดปัญญาความรู้แจ้งเรื่อง  สัพพัง อาทิตตัง  สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน   แล้วบังเกิด นิพพิทาญาณ  ความหน่าย  ความคลายจางไปจากความยึดมั่นถือมั่นผิด ๆ มาแต่เดิม  ทำให้จิตเกิดการสลัดหลุดพ้นออกมาจากโลกเก่า  มาสู่โลกใหม่  คือ มรรค ผล นิพพาน ระดับสูงสุด อรหันต์ นั่นเอง

4.

อะไรคือความร้อน?อะไรคือ อาทิตตัง ?

ณ บทนี้ ก็คือความรู้แจ้งว่า อะไรคือของร้อนอะไรคือ อาทิตตัง

อะไรคือความหมายที่ว่า สัพพัง  ภิกขเว  อาทิตตัง   เพียงดูคำแปลก่อน   สัพพัง คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งสิ่งที่มีชีวิตไม่มีชีวิต ทั้งปวง ทั้งเพ ทั้งหมด,   อาทิตตัง คือ สว่าง รุ่งเรือง ร้อน  ความร้อน  ในที่นี้แฝงความหมายไว้อย่างใหญ่โตมาก  คือร้อนไปหมดทุกสรรพสิ่ง ไม่มีอะไรไม่ร้อนเลย  นี่คือโลกแห่งความร้อน   เมื่อร้อนแล้วเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ?  เป็นทุกข์พระเจ้าข้า  ซ้ำความหมายกับคำว่า  อนิจจัง  และ อนัตตา  นั่นเอง  เมื่อร้อนแล้วเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่าเป็นทุกข์พระเจ้าข้า

ข้อสรุปที่เป็นประเด็นมรรคผล นิพพาน อรหันต์ ก็คือในเมื่อเกิดปัญญา  ปัญญานั้นเองทำให้เกิดความรู้แจ้งเรื่องความร้อนขึ้นมาแบบเดียวกับปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ อุทะปาทิ 5 อย่างเกิดขึ้นก่อน ได้แก่จักขุง อุทะปาทิญาณํ  อุทะปาทิ,  ปัญญา อุทะปาทิ,  วิชชาอุทะปาทิ,  อาโลกโก อุทะปาทิ,  จึงทรงตรัสรู้ความจริงทั้งหลายทั้งสิ้น

ที่ทรงใช้ทั้ง 5 คำ ก็เพื่อเน้นว่าเราต้องใช้ปัญญา ซึ่งเป็นเรื่องความคิดพิจารณาการศึกษาวิจัย เชิงเหตุและผลในเชิงคำสอน กาลามสูตร นั้นเอง และครั้นปัญญารู้แจ้งขึ้นมา  รู้ว่า  สัพพัง อาทิตตัง  สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน นั่นคือ  มองเห็นไปว่า คนทั้งหลายทั้งปวง  สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้หรือโลกอื่นใดทั้งสิ้น แม้ตัวเราเองนี้แหละล้วนแต่พบกับความร้อนอยู่ตลอดเวลา และบอกได้เห็นได้เลยว่าตั้งแต่เกิดมาก็พบความร้อนนี้ทันที ไปจนแก่จนตายไปไม่มีพ้นไปจากความร้อนเลยและดูเรื่องต่อไปพอสิ้นชาติ สิ้นชีวิตลง ก็ไปเกิดใหม่ เกิดเป็นอะไร แม้เป็นเทวดา พรหม  พระเจ้า ก็พบความร้อนนี้ไปไม่หยุดไปจนตายไปอีกรอบหนึ่งนี่ก็ไปลงที่เดียวกันกับ ทุกข์ คือ เรื่องการหมุนวนไปมาไม่รู้จบของ วัฏฏะสงสาร นั่นเองที่น่าเศร้า น่าเวทนาน่าเบื่อหน่าย น่ารังเกียจ เหยียดหยาม ขยะแขยงไม่น่าที่จะอยู่หมกตัวต่อไปในวัฏฏะสงสารแห่งความร้อนนี้โดยรู้ไปชัดเจนว่าไม่มีวันจบไปจากความร้อนนี้ไปกี่ปีกี่ชาติข้างหน้า

การเกิดขึ้นของปัญญา 5

นี่คือการรู้แจ้ง เป็นการรู้  การตื่น  การเบิกบานขึ้นมาเห็นความจริงแล้วว่าเป็นอย่างไร เป็นเหตุที่นำจิตใจไปสู่ความขยะแขยง น่ารังเกียจ น่าเบื่อหน่าย  นั้นเองทำให้ใจหลุดพ้นออกไปจากวัฏฏะสงสารได้  และได้พบสภาวะจิตใหม่ขึ้นมาที่สะอาด สว่าง  สงบ  ทันทีที่ได้รู้ความจริงแห่งชีวิตขึ้นมาว่าชีวิตมีแต่ร้อนตั้งแต่เกิดเมาจนตายไป

5.

ข้อสรุปสำคัญคราวนี้ก็คือ

มีความรู้คือรู้ความจริงขึ้นมาก่อน  ด้วยจักขุง อุทะปาทิ(ตาดีได้เกิดขึ้นแล้ว)ญาณัง อุทะปาทิ(ความหยั่งรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว),  ปัญญา อุทะปาทิ(ความรู้แจ้งจริงได้เกิดขึ้นแล้ว),  วิชชา อุทะปาทิ(วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว)อาโลโก อุทะปาทิ(แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว)  ซึ่งนี่คือการรู้ความจริงด้วยปัญญา   มีสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)  สัมมาสังกัปโป(ความดำริชอบ)  เป็นภาวะการนำความคิดไปวิเคราะห์ปัญหา

อย่างเช่นท่านอัญญาโกณฑัญญะ  เริ่มด้วยความคิดวิจัยรู้ความจริงว่า  เกิดมาแล้ว  ก็มีการตายคู่ไปเสมอ การเกิดมีมาพร้อมกับการตาย(ยังกิญจิ  สะมุทะยะธัมมัง  สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง(สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้วสิ่งทั้งปวงก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา):  แปลตรงตามความจริงก็คือการเกิด:สมุทะยะ ธัมมัง อะไรเกิดก็ตาม  มันไม่ถาวร ย่อมเสื่อมสลายไป จนที่สุด ก็ตายไปทุกสรรพสิ่ง รวมทั้งตัวเราเองนี่แหละ นั่นคือมีที่สุดเป็นการตาย: นิโรธะธัมมัง เสมอไปทุกสรรพสิ่ง  ท่านโกณฑัญญะ รู้ว่านี่เป็นความจริง คือมีการเกิดมาแล้วก็ต้องตายไปทุกคน ทุกสิ่ง  ก็สำเร็จโสดาบัน (ยังไม่รู้ทุกข์แบบสมบูรณ์พอรู้ต่อมาอีกจากอนัตตะลักขณะสูตรรู้ทุกขัง  อนิจจัง  อะนัตตา  และบัดนี้รู้ทุกข์ไปอีกแบบทุกข์คืออาทิตตัง  ทุกข์คือความร้อน จากอาทิตตะปริยายะสูตร ก็สำเร็จอรหันต์)

ถ้าทรงถามแบบที่ทรงถามปัญจวัคีย์ในอนัตตะลักขณะสูตรว่า  เมื่อไม่เที่ยงแล้ว เป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า ซึ่งมีคำตอบว่า เป็นทุกข์พระเจ้าข้า

นั่นคือเรื่อง ทุกข์อริยสัจ ที่มีส่วนความจริงให้รู้แจ้งต่อไปอีกหลายชั้นหลายระดับ

แต่คราวนี้ไม่ทรงทบทวน ให้รู้กันเองว่าความร้อนเป็นทุกข์ แต่หากถามก็จะทรงถามว่า  เมื่อทุกอย่างร้อนไปหมดแล้วเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่าคนตั้งพันคนนั้นก็จะตอบตรงกันว่า  เป็นทุกข์พระเจ้าข้า  (เพราะมันเห็นง่ายกว่ากันเยอะ)

คืออาทิตตะปริยายะสูตรนั้นก็คือเรื่องทุกข์นั้นเอง  ทรงแสดงเรื่องทุกข์ต่อไปอีกลักษณะหนึ่งนั่นเอง   และเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจในเชิงภาษาง่ายมาก  เพราะเป็นการสอดคล้อง หรือขยายความเข้าใจออกไปจากพื้นฐานสัจธรรมเดิมใน 2 พระสูตรแรก คือ  ธัมมะจักกัปปะวัตนะสูตร และ อนัตตะลักขณะสูตร  ซึ่งแน่นอน ชฎิลทั้ง 1000 คนหรือมากกว่านั้น ได้รับทราบรับฟังมาก่อนแล้วทั้งนั้น ดังที่ปรากฏท้ายบทธัมมจักกัปปะวัตตนะสูตร ที่บอกถึงเทวดาชั้นต่างๆ แสดงความยินดีที่ได้ฟังพุทธองค์แสดงธรรมปฐมบท ซึ่งแท้จริงหมายถึงนักปราชญ์นักศาสนาในแผ่นดินได้รับทราบการแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธองค์ และได้เรียนรู้ธรรมะที่ทรงแสดงไปด้วย   พอมาฟัง อาทิตตะปริยายสูตรเข้าก็ง่าย  เลยบรรลุอรหันต์พร้อมกันทั้ง 1,000 องค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

6.

อะไรทำให้ร้อน?

ซึ่งข้อสรุปก็คือประเด็นคำถามที่ว่า อะไรทำให้ร้อน นั่นเอง

และอาทิตตะปริยายะสูตร ทรงตอบนับแต่อธิบายว่า อะไรทำให้ร้อน?   ร้อนเพราะราคะ โทสะ โมหะ   ร้อนเพราะความโลภ  ความโกรธ  ความหลง   ร้อนเพราะความเกิด  ความแก่  ความเจ็บ และความตาย ไปจนลงว่า  สัพพัง อาทิตตัง  สิ่งทั้งปวง(คือทุกๆสิ่งในโลกนี้และโลกอื่น ทั้งนามธรรม รูปธรรมโลกนี้ ทั้งสากลจักรวาล) เป็นของร้อน ทั้งสิ้น  เหมือนกับอริยสัจเรื่อง ทุกข์ มีแต่ทุกข์เท่านั้นเกิด  มีแต่ทุกข์เท่านั้นดับลง โลกล้วนมีแต่ทุกข์   ซึ่ง สรุปลงเป็นอันเดียวกับทุกข์ว่า

กิเลส  ตัณหา  อุปาทานนั้นเอง  เป็นของร้อน   ซึ่งเมื่อได้รู้ธัมมะจักกัปปะวัตนะสูตรมาก่อนก็ง่ายที่จะเข้าใจความจริงของความร้อนนี้   แบบเดียวกับความจริงของอริยสัจ 4 นั่นเอง  คือความจริงเรื่องทุกข์เป็นเช่นเดียวกับ ความร้อนนี้ แบบเดียวกับความจริงของเหตุของทุกข์ หรือ ทุกขสมุทัย ก็คือความจริงเกี่ยวกับความร้อนนี้  นั่นเอง  ความร้อนเป็นเหตุของทุกข์ ก็ไม่ผิดเลย

และเมื่อรู้ความจริงเกี่ยวกับ ทุกข์มาแล้ว มารู้ความจริงว่า สรรพสิ่งเป็นของร้อนแล้ว ยิ่งทำให้เบื่อหน่ายในวัฏฏะสงสารไปมากกว่าเดิมอีก ความคิดที่จะโลดทะยานออกไปจากโลกทุเรศนี้ยิ่งแรงขึ้น

ซึ่งในอาทิตตะปริยายะสูตรนี้ ไปลงที่นิพพิทาญาณ ความหน่ายในวัฏฏะสงสาร อีกเหมือนการเทศนาของพระพุทธเจ้าคราวก่อนมา

7.

นิพพิทาญาณ ญาณความรู้แห่งการเบื่อหน่าย

แต่ในอาทิตตะปริยายะสูตรทรงเน้นเรื่องการเบื่อหน่าย หรือนิพพิทาญาณ ไปแทบทั้งหมดทั้งพระสูตรเลยก็ว่าได้

นั่นคือทรงเน้นเรื่องทำให้มีการตื่นตัวทางปัญญาให้ได้รู้ได้เข้าใจจริงๆ ในทุกขอริยสัจ เรื่องอนิจจัง  เรื่องอนัตตา  และเรื่องความร้อนนี้ ให้เป็นการสัมผัสด้วยอารมณ์ความรู้สึกในจิตใจจริงๆ รับรู้ทุกข์จริงๆรับรู้ความร้อนจริง ๆ (ไม่เพียงแต่จดจำได้  สวดได้สาธยายไปเปล่าๆนั้นไม่เกิดประโยชน์เลย)

ซึ่งต้องหมั่นตรึกตรอง  พิจารณาให้เห็นความจริงเห็นความสัมพันธ์ของเหตุและผล เชิงวิทยาศาสตร์เชิงกาลามสูตร เชิงงานการวิจัย  ให้ได้  จึงจะเกิดความรู้แจ้งเห็นจริง จริงๆ  โดยบังเกิดปัญญาแบบพระพุทธเจ้ามาพิจารณาเรื่องราวทั้งหลาย  นั้นคือมีจักขุง อุทะปาทิ(ตาดีได้เกิดขึ้นแล้ว)ญาณัง อุทะปาทิ(ความหยั่งรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว),  ปัญญา อุทะปาทิ(ความรู้แจ้งจริงได้เกิดขึ้นแล้ว),  วิชชา อุทะปาทิ(วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว)อาโลโก อุทะปาทิ(แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว): อุทะปาทิ 5 อย่างนั้นเองคือปาฏิหาริย์แห่งปัญญา ที่ทำให้ทรงปัญญารู้แจ้ง 3 รอบ 12 อาการของอริยสัจ 4 แต่ละข้อ จนมั่นพระทัยว่านี่แหละคุณสมบัติสมบูรณ์ของความเป็นพระพุทธเจ้า จึงทรงกล้าประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า โดยทรงเริ่มสอน ธัมมะจักกัปปะวัตนะสูตร และบอกเหตุผลที่ทรงประกาศตนเป็นพระพุทธเจ้าด้วยความรู้แจ้ง  3 รอบ 12 อาการนี้   นั่นแหละความรู้แจ้งจริงในวัฏฏะสงสาร ชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย  ที่ใคร ๆก็ตามรับรู้จากพุทธองค์ มันจะนำไปสู่ความเบื่อหน่าย ความขยะแขยงความรังเกียจ  ความหน่ายไม่ต้องการหมกอยู่อีกต่อไป  นั่นคือ  นิพพิทาญาณ ขึ้นมาถึงขั้นอรหันต์นี้แล้ว

ดังที่พุทธองค์ทรงสรุปในอาทิตตะปริยายะสูตร(แบบที่ทรงสรุปไว้ในพระสูตรก่อน) ไว้ ดังนี้

นิพพินทัง  วิรัชชะติ:     เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด,

วิราคา วสิมุจจะติ:  เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็หลุดพ้น,(คำว่าหลุดพ้น คือจิตมันเปลี่ยนไปใหม่ จากดำเป็นขาว  ตรงข้ามของเดิม)

วิมุตตัสมิง วิมุตตะมิติ ญาณัง  โหติ:   เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว,

ขีณาชาติ วุสิตัง  พรหมจะริยัง กะตัง กะระณียัง  นาปะรัง  อัตถัตตายาติ  ปะชานาตีติ:   อริยะสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้วกิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

8.

มาสู่บทสรุปจากอาทิตตะปริยายะสูตร รวมทั้งจากบทก่อน ๆ  ดังนี้

1.  ธรรมะที่พระพุทธเจ้าแสดงออกมาให้ผู้รับฟังแต่แรกที่สำเร็จพระโพธิญาณแล้วมี 3พระสูตรนี้ ที่แสดงติดต่อกัน ไป พระสูตรแรก  กับพระสูตรที่ 2  คือธัมมะจักกัปปะวัตตนะสูตร กับ  อนัตตะลักขณะสูตร   ทำให้ผู้ฟังสำเร็จอรหันต์ได้ทันทีที่ฟังจบลง 5 องค์

2.  พระสูตรที่ 3 อาทิตตะปริยายะสูตร  ทรงแสดงแด่ชฎิล 1,000 รูป   ฟังจบ  สำเร็จอรหันต์ทันที่พร้อม 1,000 รูป  เพียงใช้เวลาฟังไม่ถึงชั่วโมงเท่านั้นเอง

ทุกวันนี้ พระสูตรทั้ง 3 ก็ยังมีเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์อยู่  เพียงศึกษา 3 พระสูตรนี้ให้เข้าใจ ให้รู้แจ้งเท่านั้นเอง ก็สำเร็จอรหันต์ได้

หรือแม้พยายามให้ตื่นตกใจเรื่องความจริงเบื้องต้น ว่า การเกิด นั้น  มาสู่ทุกข์ และทุกข์ไปตามลำดับ จนทุกข์ที่สุดคือ  แก่  เจ็บ และ ตาย   เกิดกับ ตายเป็นของคู่กัน  มันเป็นทุกข์  คนทั้งหลายเมื่อต้องตายกันทุกคน  ก่อนตายก็แก่ชรา และเจ็บไปกว่าจะสิ้นชีวิตนั้นแสนทุกข์ทรมานกันทุกคน นั้นเป็นอริยสัจธรรมทุกข์เบื้องต้นที่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้รู้แจ้งขึ้นมา จนสำเร็จโสดาบันองค์แรกในพระพุทธศาสนา

แต่ทำไมคนยุคนี้จึงไม่ทำการการศึกษาให้เข้าใจเล่า?

เพียงว่า   ให้เข้าใจคำพูดของพระองค์ให้แตกฉาน  จริง ๆ จนเกิดปัญญาขึ้น แบบ อุทะปาทิ 5 ประการของพระพุทธเจ้าเท่านั้นเอง ก็สำเร็จอรหันต์ได้   แบบไม่ต้องใช้เวลานานเลย

การที่ได้รู้ขึ้นมานี้ เป็นเรื่องของปัญญาทั้งสิ้น  หมายความว่าต้องทำงานทางความคิด เป็นนักคิด ใช้ความคิด พิจารณา ตรึกตรอง  หาเหตุ หาผล หาความสอดคล้องระหว่างเหตุและผล ในเชิงการเป็นธรรมชาติอย่างไร

9.

พุทธศาสนาสู่โลกยุคใหม่

ตามที่ทรงแสดงธรรมมา 3พระสูตรนี้ ที่ได้ทำการอธิบายมาทั้งหมดนี้   โดยเน้นเลยว่า การบรรลุมรรคผล นั้นเป็นสิ่งที่จะเป็นขึ่นได้ด้วยปัญญา นั่นเอง   เป็นเรื่องของปัญญาทั้งสิ้น   ซึ่งเป็นวิธีการบรรลุธรรมแบบคนมีปัญญามีความนึกคิด แบบคนสมัยใหม่ (ที่จริงยุคพุทธองค์นั้นเองหากแต่สืบต่อมาพวกพราหมทิฏฐินำความล้าหลังมาสอดแทรก) หรือ คนยุคไหนก็ตามที่สามารถคิดพิจารณาตรึกตรองหาเหตุหาผลได้โดยการคิดโดยปัญญา    โดยวิธีนี้ ไม่จำเป็นต้องไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมอะไรเป็นการเฉพาะแบบถวายชีวิต  ทำสมาธิ  ฌาน  อะไรเลย,  ใครๆ ก็ทำได้  ซึ่งนี่แหละที่เรากล่าวนำไว้แล้วว่า  การศึกษาธรรมะแบบสมัยใหม่แบบทันยุคไม่ล้าหลังเหมือนการปฏิบัติแบบเก่าเดิมมาสักชั่ว 1,000 ปีมานี้,  แบบไม่ต้องไปคำนึงเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญาแบบเดิม ๆ  อะไรเลย(เอาแบบปัญญา สมาธิ  ศีล  ตามที่ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุว่าไว้ก่อนแล้วนั่นแหละ)

คำนึงอย่างเดียวว่าใช้ความคิด พิจารณา ตรึกตรอง ให้ฉลาดขึ้น  ให้มีความฉลาด  ไม่ต้องคำนึงว่าตนนับถือศาสนา ลัทธิหรือความเชื่ออะไร อย่างไร เลย  ใครๆ ก็ทำได้,  คนในชาติศาสนาใด แม้อาชีพ ผู้ทำการงานเลี้ยงชีวิตแบบใดใด ก็สามารถนำไปปฏิบัติและบรรลุได้  ให้ศึกษาด้วยปัญญา จากความจริงในพระสูตรทั้ง 3 พระสูตร ที่ได้แสดงมาจนมีผล ให้บังเกิดขึ้นของพระอริยบุคคลระดับสูงสุดคืออรหันต์ 1,005 องค์ในทันทีทันใดเพียงทรงเทศนาจบลงเท่านั้น นี่เป็นตัวอย่างยืนยันแบบงานวิจัยธรรมะโดยเห็นชัดเจนอยู่แล้ว  (ธัมมจักฯ+อนัตตะฯ  5 องค์อาทิตตะ 1,000 องค์...เพียงแค่ฟังจบก็บรรลุอรหันตภาวะทันทีเลย)

10.

บทสรุป

โดยมาเริ่มศึกษา 3 พระสูตรนี้อย่างจริงๆ จัง ๆ เถิด ไม่ต้องไปอ่านพระไตรปิฏก 84,000 พระธรรมขันธ์(หรือตั้ง 45เล่ม)ก็ได้ ไม่ต้องไปศึกษาถึงเปรียญ 9 ประโยคหรือ ปริญญาเอกทางพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยพุทธไม่ต้องขวนขวายใฝ่โลกธรรมไปครองยศศักดิ์เป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ก็ได้,  เพราะเห็นอยู่แล้วจบเปรียญ 9ครองยศชั้นตำแหน่งฐานะถึงกรรมการสูงสุดในมหาเถรสมาคม (เป็นถึงสมเด็จยังถูกจับสิกข้อหาเงินทอนวัดตั้ง3รูปเลย...แล้วยังไม่มีแววแห่งหิริโอตตัปปะธรรมออกมาเลย),  เป็นศาสตราจารย์ทางพุทธศาสนศึกษาแล้ว  ยังไม่มีการบรรลุอะไรเลย,  ห่มผ้าไตรเหลืองแต่เหมือนฆราวาสแท้ ๆ,  แค่มาศึกษา 3พระสูตรแรกที่ทรงสอน อย่างเข้าใจจริง ๆ  นั่นแหละทางที่ถูกต้องอย่างประเสริฐ ก็ด้วยนำสู่การบรรลุอรหันต์ได้  และนั่นแหละเส้นทางแห่งสงครามการสู้รบกับกิเลส ตัณหา อุปาทานอย่างแท้จริง ตามพระธรรมวินัย  ที่ค่อยเลื่อนฐานะไปสู่พุทธภูมิไปตามลำดับ 9 ชั้นอริยยศ,  อริยศักดิ์,  อริยฐานันดร,  มาพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลแห่งพระธรรมวินัยโดยแท้จริง ละอวิชชาไปเสีย  นั่นแหละ ทางเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนายุคนี้  ที่บอกถึงความประเสริฐของศาสนาที่รู้แจ้งสัจธรรมโดยแท้จริง  ที่คนทั้งหลายทั้งโลกยุคนี้ได้ประโยชน์ได้รู้แจ้งวิถีทางสู่ความสุขที่พ้นทุกข์อย่างแท้จริงกันทั้งโลก สืบไปตลอดกาลนานนิรันดร.

        Phayap Panyatharo 

7 พ.ค.2565 14.30 น.

แฟ้ม: อริยสัจข้อที่ 1 ทุกข์. 13สัพพัง อาทิตตัง สรรพสิ่งเป็นของร้อน ในอาทิตตะปริยายสูตร ต้นฉบับ

----

*****

-----

 

 

 

 

 

 

รวมความคิดเห็นทางสัจธรรมต่อยุคโควิต 19

-----

1..วาทะที่ 1.. ไวรัสวูฮั่น โลกจะผ่านไวรัสร้ายนี้ไปได้อย่างไร มารู้แจ้งสัจธรรมความสะอาด ความสกปรกเสียก่อน

2..วาทะที่ 2.. cleanliness ไวรัสวูฮั่นมาจากความสกปรกของโลกยุคนี้ Cleanliness ความสะอาด เท่านั้นจักชำระได้ และนั่นแหละเส้นทางสู่มรรคผลนิพพาน

3..วาทะที่ 3..คนทั้งโลกจำต้องหลบโควิด-19 ถึง 14 วัน จงเอาโอกาศนี้ปฏิบัติธรรมแห่งความสันโดษให้ถูกต้อง ทั้งกายและจิตวิญญาณแนวทางบรรลุสู่โลกนิพพานตามหลักสัจธรรมสูงสุดของพระพุทธศาสนา

4..วาทะที่ 4..ชนะไวรัสร้ายโควิ-19 ชนะโลกเข้านิพพานได้ด้วยการรู้แจ้งสัจธรรมแห่งดวงอาทิตย์

5..วาทะที่ 5.. สู้สงครามโควิด-19 ด้วยการปฏิบัติงาน การอาชีพที่เป็นการปฏิบัติธรรม

6..วาทะที่ 6..ปัญหาที่ดินไม่พอฝังศพผู้ตายมากมหาศาลจากโควิด-19 ทำความเข้าใจเรื่องชีวิตสังขาร แล้วเผาเถิด

9..วาทะที่ 9.. บ้านของเราแต่ละหลังนั้นเองเป็นวัด วัดใหม่จะเกิดขึ้นทั่วโลก โลกมาสู่ยุคมรรคผลมีพระอริยบุคคลผู้พ้นทุกข์กันทั่วแล้ว

10..วาทะที่ 10.. เศรษฐกิจแบบพอเพียงกับส่วนเกินช่วยประชากรโลกยุคโควิด-19นี้

12..วาทะที่ 12..โควิด19นี่เองที่น่าจะได้เตือนจิตเตือนใจคนทั้งหลายให้รำลึกสัจธรรมแห่งความพินาศความเสื่อมสลายของทุกชีวิตและสรรพสิ่งแม้อนันตจักรวาลอันไร้ขอบเขตก็ไม่มีข้อยกเว้น

32..วาทะที่ 32..พระคุณของแม่ แม่มีพระคุณเสมอมาทุกยุคทุกสมัยอดีตถึงยุคโลกาภิวัฒน์วันนี้ #พระคุณของแม่

34..วาทะที่ 34.. แด่อินเดียและชาวโลกยุคโควิด19มหาภัยวันนี้ ขึ้นมาจากแม่น้ำคงคามหานทีเสียทีเถิด

38..วาทะที่ 38..โควิดไวรัสร้ายกำลังกลืนชีพมนุษยโลกไปอย่างมหาศาล โลกเองกำลังจะถึงความสิ้นสุด จงนำดวงจิตไปสู่สู่ความสงบสันโดษสันติธรรมเถิด ซักฟอกดวงจิตให้สะอาดขาวรอบ นั่นแหละทางประเสริฐสู่ โลกนิพพานแห่งพุทธะ

39..วาทะที่ 39..โควิดพันธ์ใหม่ในอังกฤษวันนี้เป็นสิ่งทดสอบสัจธรรมอันสูงสุด จงควบคุมตัวเองให้อยู่ในส่วนภายในของชีวิตในหัวใจที่ว่างเปล่าสงบเย็น

41..วาทะที่ 41.. สคส.2564 43 ภาษาโลก แสนเวทนาโควิดเอาชีวิตชาวโลกไปมหาศาล จงสู้ด้วยสัจธรรมแห่งความสันโดษเถิดทางนั้นไปสู่โลกนิพพาน ที่สิ้นทุกข์มีแต่สุขอมตะนิรันดร

42..วาทะที่ 42.. แด่ตรุษจีน 12 ก.พ.2564 บุญคุณอันล้ำเลิศ ของบรรพบุรุษผู้สร้างแผ่นดินสร้างชาติมา ลูกหลานรำลึกรู้ไม่มีวันลืม

43..วาทะที่ 43..แด่วันวาเลนไทน์ 14 ก.พ.2564

44..วาทะที่ 44..ก่อนที่คุณจะตายด้วยวัยชราหรือเพราะCOVIDวันนี้

50..วาทะที่ 50 .. เสนอรัฐบาลทั่วโลกให้สร้างเมืองใหม่ ช่วยประชาชนคนอดยากให้รอดชีวิต

50..วาทะที่ 50..44 ภาษา เสนอรัฐบาลทั่วโลกให้สร้างเมืองใหม่ ช่วยประชาชนคนอดหยากให้รอดชีวิต

51..วาทะที่ 51..วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 จันทร์เพ็ญเต็มดวง บอกใจที่ไร้มลทินไปทุกอย่าง นั้นแหละโลกนิพพานที่ บังเกิดขึ้นในดวงใจเรานี้เอง

52..วาทะที่ 52.. แด่วันสตรีสากล For International Women's Day

53..วาทะที่53.. เอาชนะตนเอง ทางชนะสงครามของชีวิต

54..วาทะที่ 54..(44ภาษา)รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แด่ พระศพ พระครูวรธรรมคณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอวังหิน ศรีสะเกษ

55..วาทะที่ 55 แด่คณะรัฐประหารเมียนม่า ลืมสัจธรรมความอดทน ทำลายประชาธิปไตยจะไม่มีแผ่นดินอยู่

57..วาทะที่ 57..To Montenegro : แด่ประเทศมอนเตเนโกร คิดการปฏิวัติและล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไทย???

58..วาทะที่ 58.. To Afganistan and New Taliban 1. แด่อาฟกานิสถานและตาลีบันใหม่ 1.

59..วาทะที่ 59..To Afganistan and new Taliban 2 แด่อาฟกานิสถานและตาลีบันใหม่ 2

60..วาทะที่ 60..To Afganistan and new Taliban 3 แด่อาฟกานิสถานและตาลีบันใหม่ 3

61..วาทะที่ 61..สัญญาณสันติธรรมแห่งโลกยุคใหม่ Signs of peace in the new world ERA

62..ยอดสุภาษิตโลก (44ภาษา) world proverb(44 languages)

63..ลาลิสาแบลคพิ้งค์ Come out and listen to LALISA BLACKPINK

64..TO UNO

66..วันเด็กแห่งชาติ Children’s day of Thailand

67..44ภาษาแด่วันคริสต์มาส 25 ธค.2021

68..มุสลิม ปัญหามุสลิมโลก Muslims Muslim World Problem

69..มาฆะบูชา วันสำคัญของมวลมนุษย์ทั้งโลก รอบ 16 ก.พ. 2565

70..แด่สงครามรัสเซีย-ยูเครน

75..อริยสัจธรรมข้อที่1 ทุกข์

76..อริยสัจธรรมข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์

 77..อริยสัจธรรมข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 1. นิโรธ

78..อริยสัจธรรมข้อที่ 4..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(มรรค8) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์,

------

*****

*****

-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

 

 

 

 

 

 

76..อริยสัจ 4 ข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์   

บทที่1.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 2 ทุกข์สมุทัย,เหตุแห่งทุกข์,
บทที่ 1 เพียงรู้แจ้งเหตุแห่งทุกข์ ทำลายเหตุแห่งทุกข์ไป ก็จบเท่านั้นเอง

-----

(1.)

องค์พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้มีอยู่ คือตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีกอันประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลินเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ  ได้แก่ตัณหา(ความอยาก)เหล่านี้คือ  กามตัณหา ตัณหาในกามภะวะตัณหา,ตัณหาในความมีความเป็น อยากมีตัวตนใหญ่โต อยากมีอำนาจวาสนา บารมี อยากมีทรัพย์สมบัติมหาศาลวิภะวะตัณหา,ตัญหาในความไม่มีไม่เป็น ไม่อยากให้ตนได้พบความต่ำต้อยด้อยอำนาจวาสนาบารมี  

นี่คือพุทธดำรัสสอนในธัมมจักกัปปะวัตนสูตร เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์

คำว่า โปโนพภะวิกา  มีคำแปลว่า  อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก   นั้นแหละหมายไปถึง  ความรู้แจ้งอริยสัจธรรมข้อที่ 1 เรื่องทุกข์ นั้นเอง  ที่สรุปลงได้ว่าทุกข์มาจากการเกิด  ตามที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะ  ได้รู้แจ้งขึ้นก่อนคนอื่นว่า  ยังกิญจิ สะมุมยะธัมมัง  สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง  ซึ่งแปลว่า สรรพสิ่งมีการเกิดมาเป็นตัวเป็นตน  ก็มีการตาย,  เกิด กับ ดับเป็นของคู่กันเสมอ พร้อมกันเสมอนั้นเอง

ในอริยสัจธรรมข้อที่ 2 เรื่องเหตุของทุกข์  ที่ตรัสว่า  โปนพภะวิกา  เครื่องทำให้เกิดอีก  จึงไปเน้นสัจธรรมข้อที่ 1 ทุกข์ ว่า  ทุกข์เพราะการเกิด เมื่อสรรพสิ่ง มีการเกิดมาแล้ว  ก็มาสู่ทุกข์ พร้อมกัน  มีอนิจจัง ความไม่ถาวร ไม่เที่ยงพาเป็นไปสู่ความเสื่อมสลายเสมอไป  และความอนัตตา  เราไม่อาจหยุดไม่ให้มันค่อยแก่  ค่อยเจ็บ และรอความตาย ความดับลงได้   ทุกขัง  อนิจจัง อนัตตา  นั้นเองพื้นฐานสัจธรรมชีวิต  เป็นสภาพที่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่ให้แต่ความยากลำบากความไม่มั่นคงถาวรตามใจปรารถนา  ให้แต่ความร้ายแรงความเสื่อมสลายลงไปเรื่อย ๆ นับแต่มีชีวิตเกิดขึ้นมาบนโลกแห่งทุกข์นี้

ครั้นบุคคลใดมารู้แจ้งสัจธรรมนี้ มีปาฏิหาริย์แห่งปัญญารู้แจ้งทุกข์เกิดขึ้น  ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือความหน่ายความคลายไปจากความยึดมั่นถือมั่น  ความขยะแขยง ความ อเนจอนาถ กลัดกลุ้มกับความเกิดมานี้  เบื่อในความเกิดอย่างถึงที่สุด   จึงมีกลุ่มผู้ที่มีดวงตาเห็นความจริงรู้แจ้งจริงอย่างนี้ ตกใจที่ได้เห็น และพากันลุกเดินมุ่งไปสู่หน้าผาลึกเพื่อกระโดดลงไปฆ่าตัวตายเสียจากความไร้สาระของโลกนี้  ดังปรากฏมาในพุทธประวัติศาสตร์  แต่ทรงให้โอวาทว่า  เมื่อรู้สัจธรรมแห่งทุกข์น่าอเนจอนาถ  น่าขยะแขยงกับการมีชีวิตอยู่  เช่นนั้นแล้ว   ก็จงรู้จักปลงจิตปลงใจ คือทำใจให้ยอมรับความจริงนี้ให้ได้ก่อน ว่ามันเป็นเช่นนี้เป็นธรรมดา  ให้ทำใจยอมรับในความจริงอันนี้ให้ได้ก่อน  ยอมรับว่าหากเราทั้งหลายยังเป็นปุถุชนอยู่แล้ว  แม้จะไปโดดหน้าผาตายไปเสีย  ก็ย่อมจะมาเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่งแบบปุถุชน  และไม่ว่าจะไปเกิดเป็นอะไร  ที่ไหนก็ตาม แม้เทวโลก หรือนรกโลกันต์   ก็หาได้พ้นไปจากทุกข์ไม่  คงอยู่ในห้วงทุกข์อันน่าเบื่อหน่ายนี้ต่อไปอีกนับอนันตกาล   ทางเดียวเท่านั้นจึงเริ่มด้วยการปลงจิตปลงใจ รู้จักการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นอันเกิดจากนิสัยสันดารที่สั่งสม อบรมมาผิด ๆ เนิ่นนานกาลนับอสงไขยมาแล้ว  ยอมรับในความจริงของชีวิตเรานี้  ยอมรับในสถานะของเราเอง  ว่า ชีวิตของเราเองและปุถุชนคนทั้งโลกนี้ นั้นแท้จริงก็เป็นเพียงหมู่ทาสของมารร้ายตัณหานั้นเอง 

(2.)

ตราบที่ยังไม่ได้พบพระพุทธศาสนา ไม่พบธัมมจักกัปปวัตนสูตร ตนจะเห็นทางแห่งเสรีชนได้อย่างไร  เมื่อเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้  พ้นจากความเป็นปุถุชนไม่ได้แล้ว  ก็หาได้พ้นไปจากความเป็นทาสไม่   ฉะนั้นจงปลงตน  ยอมรับฐานะของตนเองเสียก่อน ว่าตนเป็นทาส มีฐานะของความเป็นทาสอันต่ำต้อยด้อยค่า  ทำให้ดวงจิตไม่กวัดแกว่ง หลงสติมุ่งทำลายชีวิตไปเสียด้วยความโง่เขลาว่าการไปเกิดใหม่จะพ้นฐานะทาสไปได้    หากแต่ต้องเข้าใจเหตุของทุกข์  ดังกล่าวมา  และบำเพ็ญตนให้ไปตามเส้นทางพระอริยะเจ้าให้ได้  ก็จะพอบรรเทาทุกข์และตั้งหลักของชีวิตบนหลักอริยสัจธรรมได้

จะขออธิบายคำว่า ภะวะตัณหา นั้นหมายถึง ความอยากให้ตนนั้นมีชีวิตที่มีโลกียทรัพย์ โลกียสุขให้มากๆ ไม่รู้จักพอจนหลงไปในความอยาก กระทั่งได้ทองทั้งภูเขาแล้วก็ยังคงแสวงหาแก่งแย่งทองกับคนอื่นต่อไปอีก นั่นแหละโลกียทรัพย์ 4 ประการ  (1.)ด้านลาภะ,  (2) ด้านยศถาบรรดาศักดิ์-สมณศักดิ์, (3.) อยากได้รับคำสรรเสริญแซ่ซ้องสาธุการ  และ(4.) อยากมีความสุขสมบูรณ์อิ่มเอิบไปจนหลงในความสุขทางกาม มีการสร้างสวนสวรรค์นางงามนางบำเรอนับไม่ถ้วนเป็นต้น    และ  วิภวะตัณหา นั้นเป็นความอยาก  ในแบบตรงข้าม  ที่อยากที่จะไม่ให้ตนนั้นต่ำต้อยด้อยในเรื่องโลกียสุข  คือ ลาภ ยศ  สรรเสริญ  และ สุข  มีแล้วก็ไม่อยากให้เสื่อมลง ในลาภ  ในยศ  ในสรรเสริญ  ในสุข นั้นเอง  ความมีตัวมีตนอยากมีอัตตา ที่โตใหญ่ ที่ทรงอำนาจเหนือคนอื่น เป็นเจ้าเป็นนายเหนือคนอื่นเขา จนแสวงหามาอย่างไม่ชอบธรรม

กล่าวอีกโดยสรุป  ภวะตัณหา วิภะวะตัณหา  จะไปเกี่ยวข้องกับ  ลาภ ยศ  สรรเสริญ  และ สุข รวมไปถึงอารมณ์อันตรายคือ โลภะ  โทสะ  โมหะ ที่แสดงออกถึงความมีอัตตาตัวตนอยู่เสมอ  อันเป็นโลกียสมบัติที่รู้กันดีอยู่ นั้นเอง   โดยนัยยะสัจธรรมอันสูงสุด นั้นหมายถึง  ความอยากสนองความต้องการของขณะที่มีวิภะวะตัณหาว่า  เมื่อเป็นตนที่ต่ำต้อย  ด้อยอำนาจ  ยศฐาบรรดาศักดิ์ ยากทรัพย์สินเงินทอง ตัวตนเล็กน้อยด้อยศักดิ์ ด้อยอำนาจ  ก็เป็นทุกข์ มุ่งอยากได้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม  ความอยากนี้เอง ควรให้รู้จักปลง รู้จักวางเสียบ้าง  ให้สมเหตุสมผล

กามตัณหา  เห็นความอยากในความเพลิดเพลิน ในรูป  รส กลิ่น  เสียง สัมผัส  อันสื่อมาถึงจิตใจทางอายตนะทั้งหก นั้นเอง สิ่งนี้เองที่ผูกพันชีวิตให้ตกอยู่ในห้วงทุกข์วัฏฏะสงสารแบบลืมหลงเพลิดเพลินไปไม่รู้จบสิ้น อนันตกาล

เมื่อเห็นแจ้งทุกข์ ตามอริยสัจธรรมขั้อที่ 1  รู้ทุกขัง อนิจจัง  อนัตตา แล้ว  ก็จะเห็นเองว่า  เรื่อง  ภวะตัณหา  วิภะวะตัณหา  อันเป็นเรื่องความมีตัวมีตนนี้   เมื่อรู้ถึงหลัก อนัตตา  แล้ว  พบแล้วว่า  เรื่องความมีอำนาจ วาสนา ยศศักดิ์  ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน  เราสั่งมันไม่ได้  มันมีแต่วันหนึ่ง ๆ  เดินไปสู่ความหมดสิ้นไปจากยศ ตำแหน่ง ไปสู่ความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา  ก็จะละวาง  คลายความยึดมั่นถือมั่นในเรื่อง ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ฝ่ายสงฆ์ปัจจุบัน  อำนาจทางการปกครองบังคับบัญชาไปได้   นั้นแหละทางพ้นทุกข์ละ   การมองเรื่องนี้โดยการมองถึงอำนาจหน้าที่นั้นเอง จะเป็นทางรอดปลอดภัย

(3.)

โดยสรุป เมื่อปลงตกลงไปได้ถึงความเป็นไตรลักษณ์ของสรรพสิ่ง ของแม้ตัณหาเอง  ก็จะละวางความยึดมั่นถือมั่นเสียได้  ก็จะเห็นทางมรรคผลนิพพาน จะเกิดการปรับเปลี่ยนภาคภายใน หรือ จิตใจของเราจากมืดเป็นสว่าง  จากคลุ้มมัว ขลักด้วยฝุ่นด้วยตมของสกปรก เป็นความสะอาดสะอ้าน อันเป็นผลจากการเห็น จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นใหม่ หรือจากปาฏิหาริย์แห่งปัญญาที่ได้รู้ได้เห็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งอยู่อีกข้างหนึ่งของเรา เห็นอย่างแจ่มแจ้งขึ้นมาทันทีทันใด  มีการปรับเปลี่ยนอารมณ์ความร้สึกนึกคิดเปลี่ยนดวงใจจากสิ่งที่เคยมีเคยอยู่ ตามที่เห็นนั้นแหละคือการบรรลุมรรคผล นิพพาน  โดยอาจจะถึงระดับอรหันต์สูงสุดได้โดยฉับพลันทันที ดุจตื่นจากความหลับ ขึ้นมา  เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้นเลยทีเดียว

นั้นเป็นระดับสูงสุดที่ถึงระดับพุทธ อรหันต์เลยทีเดียว นั่นคือเป็นผลให้ไม่มีการกลับมาเกิดใหม่ในวัฏฏะสงสาร และทรงพุทธปัญญาทั้ง 5 อย่างที่รู้แจ้งโลกได้  รู้ปัญหาวิชาการต่าง ๆ ในโลกได้อย่างช่ำชอง

 แต่หากยังไม่บรรลุ หรือบรรลุระดับโสดาบัน ถึงแม้อรหัตตมรรค อยู่ยังไม่ถึงระดับอรหัตผล  ก็ยังต้องมาดูคำสอน  เหตุแห่งทุกข์  อริยสัจธรรมข้อที่ 2 ทุกข์สมุหทัย  แม้องค์สมด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เองก็ทรงแสดงไว้เป็นตัวอย่าง โดยเมื่อทรงบังเกิดขึ้นแล้วซึ่งปัญญา 5 ประการคือ จักขุ,  ญาณ,  ปัญญา,  วิทยา,  และแสงสว่าง เกิดขึ้นแก่พระองค์  จึงทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละทุกข์สมุทัยอริยสัจ,  ประการต่อไปทรงรู้ความจริงไปอีกว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย,  และประการที่ 3 ทรงรู้ตัวพระองค์เองว่าทรงละตัณหาทั้ง 3 ได้แล้ว จึงทรงประกาศว่า ทรงละได้แล้ว  จึงถึงที่พ้นทุกข์ไปอย่างสมบูรณ์  เป็นการบังเกิดขึ้นขององค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใหม่

ทรงให้ประหารเสียซึ่งความอยากเหล่านี้ การประหารเสีย ซึ่งกามตัณหา ภวะตัณหา  และวิภวะตัณหานี้ให้เสร็จเด็ดขาดเพียงดังเพชฌฆาต ผู้ประหารชีวิตนักโทษประหารนั้นทีเดียว   จึงเสมือนเราขัดเกลา หม้ออะลูมีเนียมใบใหญ่ ให้ผ่องใสสะอาดถึงที่สุด  ไร้แม้จุดดำสกปรกแม้เม็ดเดียวเท่านั้นก็สามารถผันดวงจิตสู่นิพพานได้  ไม่มีการกลับมาเกิดใหม่สู่วัฏฏสงสารทรมานเพราะทุกข์ต่อไปอีกตลอดกาลเลย.  

ประเด็นทางวิทยาศาสตร์ก็เรื่อง เหตุ  และ ผล  ที่โลกควรจะรู้ก็เรื่องเหตุของทุกข์ มี 3 ประการ คือ  กามตัณหา  ภวะตัณหา  และวิภวะตัณหา  ท่านรู้เหตุนี้แล้ว  เพียงทำลาย  สลายเหตุทั้ง 3 ประการนี้ลงให้เกลี้ยง  หมดสิ้นไปเลยจากดวงใจของท่าน   ไม่ว่าจะทำวิธีไหน  อย่างไรก็ตาม  ขอให้ตัณหาทั้ง 3 อย่างนี้สิ้นสุดไปจากดวงใจของท่านเท่านั้น เอง ท่านก็จะได้ดวงใจใหม่  ที่สุดแสนบริสุทธิสะอาด

และนั่นแหละโลกใหม่ โลกนิพพาน ที่พ้นทุกข์สู่ความสุขแท้นิรันดร  เพราะการทำลายตัวเหตุสิ้นไปก็ถึงผลแห่งความบริสุทธิสะอาด

เท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองจริง ๆ

-----

*****

-----

บทที่ 2.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์,
บทที่ 2 สุดยอดเทกนิคสงครามกับกามตัณหา 

----

(1.)

การที่เราจะต้องรู้แจ้ง มีสติปัญญาเป็นพื้นฐานแห่งชีวิตรู้เหตุ และผลของเหตุการณ์ ปกติ และแม้ยามสงคราม  มีสติปัญญารู้แจ้งตัณหานั้นเอง เป็นพื้นฐานการต่อสู้ชั้นต้นที่สุด  ในการต่อสู้เอาชนะตัณหาทั้งหลาย

เริ่มแต่กามตัณหานั้น เป็นความหยากที่มันซ่อนเร้นอยู่และเป็นตัวเหตุสำคัญให้มีการเกิดอีก เราจะต้องรู้ว่ามันซ่อนเร้นอยู่   และเราต้องรู้จุดอ่อนของกามตัณหาในฐานะ ข้าศึกของเรา

และจุดอ่อนของกามกิเลสก็คือ มันมีสถานะที่ต่ำต้อย และหยาบกระด้าง  มันจึงคบหา และสิงสู่อยู่กับสิ่งที่ต่ำต้อย  หยาบกระด้างเหมือนมันนั้นเอง

โดยสัจธรรมแห่งพระพุทธศาสนา คำว่าปุถุชน นั้นหมายถึงคนทั้งหลายผู้ยังตกเป็นทาสของกิเลสกามตัณหาอยู่ ยังไม่สามารถพ้นไปได้จากความเป็นทาส  ยังเป็นทาสของกามตัณหา  แบบที่นายทาสรู้จักหลอกลวง ให้ชื่นชมยินดีในความเป็นทาสอย่างยิ่ง

และด้วยความรู้นี้ กามตัณหาเป็นตัณหาที่มีความต่ำต้อย ด้อยค่า จึงอยู่ได้กับคนผู้ต่ำต้อยด้อยค่าด้วยกัน หากเมื่อคน ปุถุชนทั้งหลายยังคงไม่มีการพัฒนาการด้านดวงจิตให้สูงส่งขึ้น  ฉะนั้น คนเราจึงต้องฝึกต้องระวังการทำจิตใจให้สูงส่ง  หากจิตใจเราลดต่ำลงมา ก็จะเป็นทาสของกามตัณหาได้ง่าย

กล่าวคือเมื่อดวงใจใฝ่ต่ำ  ตกต่ำลงมา ก็จะเข้าสู่กระแสกามกิเลส  และกามตัณหาก็จะควบคุมเราเป็นทาส ซึ่งคนทั้งหลาย  ก็เป็นเช่นนี้    เป็นทาสของกามตัณหามาไม่รู้กี่อสงไข  กี่ล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นนิสสัยสันดารปกติของคนทั้งหลาย  เป็นธรรมชาติของการมีโลกมีชีวิตเช่นนี้

(2.)
ประเด็นก็คือ เรื่องของภาคภายใน คือจิตใจของมนุษย์  ดังที่นักปราชญ์ ท่านพุทธทาสภิกขุ อริยบุคคลสูงสุดแห่งยุคนี้ ท่านได้กล่าวไว้ว่า  เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง นั้น ซึ่งความหมายก็คือการมุ่งเอาชนะกามตัณหานั้น  ทำได้ง่าย ๆ  ด้วยการยกจิตใจเราให้สูงขึ้น เหนือระดับทางโคจร  หรือกระแสของกามตัณหา  กามราคะ  กามกิเลส  นั้นเอง

และเนื่องจากกามตัณหาเป็นสิ่งที่ต่ำต้อย สกปรก มันไม่สามารถขึ้นมาสู่ระดับที่สูงส่งได้  แต่ใจมนุษย์นั้น  เป็นสิ่งที่ขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ตลอดเวลา   มีอานุภาพการเคลื่อนไหวแบบไม่จำกัด  ไปสูง  ไปต่ำ  ไปไกล  ไปใกล้  ก็ได้ทั้งสิ้น  ไปเร็ว  ไปช้า  หรือ นิ่งอยู่ ๆ ๆ  ก็ได้  นี่เป็นอานุภาพของใจ    หากมีนิสัยที่สร้างบารมีทางความใฝ่ทะยานไปเบื้องสูงแล้ว  ก็สามารถจะฝึกตนยกจิตใจให้สูงส่งขึ้นได้   และนั่นแหละการพาตนเองไปพ้นกามตัณหา   เหนือระดับกระแสกามราคะได้

ท่านจึงเปรียบเทียบดวงจิตเหมือนดอกบัว เอาบัวเป็นมหาสติปัฏฐาน  นับแต่การกำเนิดของเจ้าชายสิทธัตถะ  ที่ทรงก้าวเหยียบบนดอกบัวบาน  ไป 7 ก้าวแต่ละก้าวมีบัวบานรับไปตลอด   เป็นต้น

บัว เมื่อเกิดมาอยู่ใต้โคลนตมแล้ว  ค่อยเติบโตไป  ก็ค่อยโผล่พ้นตมขึ้นมา  แม้อยู่ในน้ำ  ก็ยังไม่พ้นความมืดสลัวมัวเมา   ตราบจนถึงพ้นน้ำขึ้นมาเบิกบานไสว  นั้นแหละความพ้นทุกข์แล้ว เป็นการบรรลุรู้แจ้งสัจธรรมแห่งชีวิตแล้วและพ้นไปจากกิเลสกามตัณหาอย่างสมบูรณ์

นั้นแหละแท้จริงเป็นสิ่งบอกสัจธรรมของการเอาชนะกามตัณหานี้เอง  เพียงแต่ฝึกฝนดวงจิตให้ยกระดับให้สูงจนพ้นระดับกิเลศตัณหาอุปาทานให้ได้เท่านั้นเอง  ความรู้สึกนึกคิดในกามก็จะสูงขึ้น พ้นระดับกระแสกาม   ก็จะไม่ตกอยู่ใต้กระแสกามเพราะอยู่คนละระดับกันเสียแล้ว

จงดูความเปรียบเทียบ พิจารณาสังเกตเรื่องระดับจิตนี้  ดูง่าย ๆ ว่าจิตใจเรา เพราะสูงกว่าจิตใจของสัตว์ เช่น หมา  แมว  หมู ม้า วัว  ควาย ช้าง  เสือ  สิงโต    จิตใจอยู่คนละระดับกัน   จึงไม่มีอารมณ์ทางกามสัมพันธ์กัน    นั้นเป็นเพราะจิตคนเราสูงกว่า สัตว์   และนอกจากนั้น  เรื่องระดับจิตนี้เอง  ที่ทำให้มีการเคารพทางกามกัน   จิตใจที่สูงขึ้นไปอีกทำให้ห่างไกลไปจากกามกิเลสชนต่ำต้อย สกปรกกับบุคคลผู้สูงส่งกว่า นับแต่ บิดา  มารดา  ญาติ ร่วมสายโลหิต  แม้ภริยา-สามี ผู้อื่นเขา  เป็นต้น

นั่นแหละ ครั้นจิตใจเราสูงขึ้นไปอีกจนกระทั่ง พ้นกระแสแห่งกามกิเลสทั้งปวง  ความใคร่ความอยากทางกามารมณ์ก็จะหมดไป ไม่มีความอาลัยในกามรส กามราคะ  จากรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส ต่อไปอีก

(3.)         

เพราะฉะนั้นการเอาชนะกามตัณหา ไม่ใช่เรื่องยากเลย  ข้อสรุปก็คือ

---1.  ด้วยปาฏิหาริย์แห่งปัญญา  เมื่อ จักขุ  ญาณ  ปัญญา  วิชชา  และแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว  เห็นความจริงของกามตัณหา  รู้ธรรมชาติของกามตัณหา  ว่าเป็นสิ่งต่ำต้อย  มีระดับกระแส หรือความเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ  มันขึ้นสูงไม่ได้    เหมือนว่าว  ที่ไม่อาจจะขึ้นสูงถึงระดับกระแสลมบนเลยมันก็ตกลงมา   หากแต่จิตใจมนุษย์  ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์นั้น แม้เป็นปุถุชนคนธรรมดาทั้งหลาย นี่แหละสามารถขึ้นสูงลงต่ำได้ตลอดเวลา ขึ้นกับปัจจัยเหตุ   แต่โดยปกติแล้ว คนปุถุชนทั้งหลายจะคุ้นเคยฝังจิตฝังใจอยู่ในระดับเดียวกับกามตัณหามาเป็นประจำ  และเป็นเช่นนี้มาจนเป็นอุปนิสสัยสันดารมานานนับหมื่นนับล้านปีมาแล้ว   ไม่เคยมีใครบอกให้รู้ว่า เมื่อยกระดับใจให้สูงขึ้นไปแล้วก็จะพ้นทุกข์ไปได้จากกิเลสกามตัณหา เพราะใจเราอยู่เหนือระดับการจร ระดับกระแสซึมซับ  แฝงฝังของกามกิเลส นั่นเอง

นี่แหละเป็นการรู้แจ้งสัจธรรมเกี่ยวกับกามตัณหา  ที่เราได้รู้จากพุทธศาสนามา  นำเอาข้อสรุปนี้มาใช้เป็นประจำมนุษย์ผู้มุ่งต่อสู้กามกิเลส  หรือแม้การบรรเทาโลกไปจากความร่านในกามตัณหาที่มากขึ้น ๆ ไปอยู่ขณะนี้

---2. การพยายามยกจิตให้สูงส่งนั้น ต้องมาจากการหมั่นฝึกฝนสร้างอุปนิสสัยทำแต่ความดี   โดยทั่วไปก็การบำเพ็ญศีลภาวนาเป็นการประจำ  เหมือนสภาวะชาวพุทธนั้นแสดงด้วยศีล5 นั่นเอง  หรือเป็นการพิเศษเฉพาะกาล ก็ได้  จึงจะสามารถยกจิตให้สูงขึ้นเหนือกระแสกิเลสกามได้  แต่อย่างไรก็ตามพุทธศาสนาได้สอนเทกนิค การต่อสู้สงครามกามตัณหาไว้อย่างค่อนข้างเด็ดขาดไว้อย่างหนึ่ง  ก็คือการฝึกทำ อสุภกสิณ (การเพ่งซากศพ) ซึ่งใคร ๆ  ก็ตาม  ที่ไหนในมุมไหนในโลกนี้ก็ตามสามารถฝึกได้   เริ่มจากความนึกความคิดของเราฝักใฝ่ใกล้ชิดกับอสุภะเสมอๆ  ในรูปธรรมก็คือการพบศพ  สังขารร่างกายที่เน่าเปื่อย เหม็น ผุพังไป  ให้คิดให้มองไปในศพนั้น  ในโลงศพนั้น  ให้เห็นว่าในนั้นคืออะไร และความเป็นอนิจจังของสิ่งนั้นเป็นไปอย่างไร

มันก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงวันนี้ นาทีนี้ วินาทีนี้ไป ศพนั้นก็เปลี่ยนสภาพไป ไม่นานก็เริ่มจะเปื่อย  เน่า อวัยวะภายนอก  อวัยวะภายใน ก็จะเน่าเปื่อยสลายหายไปหมด  จนเหลือแต่โครงกระดูก  แล้วไม่นาน โครงกระดูกนั้นก็ผุกร่อน  ค่อยหักค่อยพังไป ไม่เป็นรูปร่างโครงกระดูกต่อไปกลายเป็นเศษเล็กเศษน้อยแล้วที่สุดก็ผุสลายกลายเป็นดิน คืนไปสู่ดินเหมือนเดิมไป

ที่กล่าวมานี้คือ การทำความนึกคิดของเราให้เป็นแบบนี้เสมอไป จากการไปในงานศพก็ดี การได้พบได้เห็นศพก็ดี การเอาภาพศพมาเพ่งประจำก็ดี  หรือแม้การบำเพ็ญกรรมฐานอสุภะ ในป่าช้าเป็นการประจำก็ดี

และครั้นได้รู้วิธีการปฏิบัติง่าย ๆ เรื่องอสุภะกสิณ ที่บอกมาแล้ว  แม้การมองคนธรรมดา ๆ ที่มีชีวิตอยู่  แม้การมองหญิงที่สวยระดับนางงามโลก(หรือจะเอากรณีแตงโมคนสวยตกเรือตายก็ได้) เราก็มองโดยยุทธศาสตร์อสุภกสิณนี้   และมองไปในครรลองอนิจลักษณธรรม คือการค่อยเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ให้เห็นร่างที่สวยงามนั้นมันจะไม่สวยเช่นนั้นตลอดไปเลย  ไม่นานหรอกก็จะค่อยเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา นาที  เมื่อเวลาผ่านไปร่างนั้นก็จะค่อยขี้เหร่ อาภัพอัปลักษณ์ ไปเช่นนี้ทุก ๆ คนเลย แล้วก็เหี่ยวแห้งไปเพราะแก่ชราลง หรือตายลงเพราะอุบัติเหตุ  และในที่สุดก็เข้าโลง  รอการฌาปนกิจ   ตรงนั้นแหละเราเอาการปฏิบัติอสุภกสิณมาใช้  ให้เห็นที่นอนในโลงศพนั้น เป็นร่างกายที่เปล่าเปลือย มีเนื้อหนัง  ที่ค่อยจะเน่าเปื่อยไปตามลำดับ  ไม่คงถาวรอยู่ได้  จนที่สุดเนื้อหนังก็จะค่อยหลุดไปจากการเกาะกุมกับกระดูก  เหลือแต่โครงกระดูก   ที่เป็นเนื้อหนัง หูตา จมูกที่เคยสวยงามก็กลวงโบ๋ไป   เห็นแต่ความน่าเกลียดน่ากลัว  น่ารังเกียจเหยียดหยามน่าขยะแขยง   นั้นเองพระพุทธองค์จึงเคยถามว่า นางงามคนนี้ตายลงไปแล้ว ใครจะเอาไปอยู่ด้วยบ้าง ก็ไม่มีใครตอบรับเลย    นั่นก็คือการทำอสุภกสิณในใจไปตามลำดับการค่อยเปลียนแปลงไปของสังขาร ปัญจักขันธานั้นเอง

(4.)

เรามาวิเคราะห์ต่อไปในรายละเอียดบางอย่าง สัจธรรมในเรื่องนี้ก็คือ การที่เรามีความคิดจินตนาการไปเห็นความสวยงามเปลี่ยนไปเป็นศพ  เราเพ่งดูให้เห็นชัด ๆ  ที่ตอนแรก ๆ ก็น่าดูอยู่ แต่แล้วศพนั้นก็จะเป็นอนิจจัง  คงที่อยู่ไม่ได้  ก็จะเปลี่ยนแปลงไปทางความเสื่อมสลายลงไป ก็เกิดความเน่าเปื่อยเนื้อหนังภายนอกก็จะค่อยเหี่ยว ผูพัง  เปื่อยเน่าลงไป ส่วนที่อ่อน เนื้อหนังก็จะค่อยหลุดออกไป เรื่อยๆ  ทีละชิ้น ๆ  จนที่สุดเหลือแต่โครงกระดูก

นั้น  มันทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์จิตใจเราผู้ทำกสิณอสุภตามมาตลอด  และความใคร่ ความพิสวาท   ความรู้สึกนึกคิดทางกามารมณ์ก็จะหายไปหมด  และพฤติกรรมนี้เอง  เป็นการค่อยยกระดับจิตของเราให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ  จนถึงระดับ ดอกบัวบานเหนือน้ำนั้นทีเดียว  และเมื่อทบทวนอีกหลายรอบของการเดินอสุภะกสิณ เช่นนั้น ในที่สุดก็จะรู้เอง ว่าพ้นแล้วจากกามตัณหา

ก็สำเร็จอรหันต์เท่านั้นเอง

และ ชีวิตปกติธรรมดา ของคนทั้งหลาย ไม่ว่าเพศชาย เพศหญิง  บุคคลใดก็ตามศาสนาลัทธิความเชื่อใดก็ตาม ทั้งโลกนี้  ก็จะรู้รอดปลอดภัยจากกามตัณหา   โดยรูปธรรมแล้ว  ท่านที่รู้จักกามตัณหา  รู้อุปนิสัยใจคอของพญามาร บริวารของมันทั้งหลาย ว่ามีจุดอ่อนอย่างไรนั้น   นั่นก็คือ มันเป็นของต่ำ  มันสูงไม่ได้  มันอยู่ต่ำเพียงโคลนเพียงตม ไม่อาจเอื้อมขึ้นมาสัมผัสจิตใจที่สูงส่งได้    และพระอริยบุคคลนั้นทั้งหลาย ระดับอรหัตตมรรคขึ้นไปถึงระดับอรหัตตผล  จึงสูงจนพ้นกามตัณหาไปได้เองเป็นปกติ  ไม่อาจจะมีภัยอันตรายใดใดเลยจากกามตัณหาได้   กามตัณหาไม่อาจขึ้นไปสัมผัสได้เลย 

ฉะนั้น นี่จึงเป็นหลักเทกนิคหรือยุทธวิธีการรบกับพญามารกามตัณหา ที่ชงัดเด็ดขาดจริงๆ

นั่นแหละหมายถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานแม้ระดับสูงสุด ก็สามารถบรรลุได้โดยทันที อันเหมาะกับคนยุคใหม่

เพียงการรู้แจ้งธรรมชาติ อุปนิสัย ของกามตัณหาว่ามันเป็นของต่ำ มันขึ้นสูงไม่ได้ มันจะเหมือนว่าว ที่ขึ้นไม่ถึงกระแสลมนั่นเอง  เพียงรู้จักระวัง  และหรือยกกระแสจิตให้สูงขึ้น ให้พ้นกระแสกามให้ได้เท่านั้นเอง ซึ่งกระแสนี้ หากรู้จักฝึกการมองอสุภะกสิณ ของพระพุทธเจ้าแล้ว  ดวงจิตจะค่อย ๆ ยกพ้นไปจากกระแสกามไปตามลำดับ  จนที่สุดหลุดขึ้นมาสู่ระดับที่สูงส่ง ที่อยู่เหนือกระแสกามตัณหาทั้งปวง   ดุจบัวบานเหนือน้ำนั้นเอง  นั่นแหละการเอาชนะกามตัณหาได้แล้ว

 และเปลี่ยนแปลงดวงจิตไปเป็นดวงจิตของ  ผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน 

การบรรลุอรหันต์โดยฉับพลันทันทีได้ง่ายๆ เพียงการยกระดับจิตพ้นไปจากกระแสกามตัณหาได้เท่านั้นเอง  ก็พบโลกใหม่แล้ว   ง่าย ๆ  เท่านี้เอง

ทำไมคนฉลาดปราดเปรื่องยุคใหม่นี้จะทำไม่ได้ ?

-----

***** 
-----

บทที่ 3.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
บทที่ 3 ถูกหลอกง่ายๆ เพราะกาม นึกว่าตนสำเร็จแล้ว เปล่า!

-----          

เรื่องกามตัณหา นี้พุทธองค์ทรงตรัสถึงแต่ต้นของ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เลย ก็เรื่องกามสุขัลลิกานุโยค   ซึ่งเมื่อวิเคราะห์เหตุผลก็คือ กามตัณหานั้นมันมีอุปนิสัยการหลอกลวง  โฆษณาตนเอง ว่ามันสวย  มันงาม มันฉลาดแสนดี สูงสง่างาม และที่น่าเชื่อมันมีความปรารถนาดี ให้แต่ความสุข ความรื่นรมย์ เริงบันเทิงสุขอย่างเดียวเท่านั้น    แต่ที่แท้จริง  มันเป็นตัวร้ายด้วยเล่ห์กลที่ปิดกั้นมรรคผลนิพพานอย่างแยบยลเลยทีเดียว ลองทบทวนที่ทรงตรัสบอกปัญจวัคคีย์แต่ต้นเลยว่า 

เทววเม ภิกขะเว อินตาดูก่อนภิกษุทั้งหลายทีสุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้,มีอยู่ปัพพะชิเตนะ  นะ เสวิตัพพาเป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย,  โย จายัง กาเมสุ  กามะสุขัลลิกานุโยโคนี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,  หีโน เป็นของต่ำทราม,คัมโม,เป็นของชาวบ้านโปถุชชะนิโกเป็นของคนชั้นปุถุชนอะนะริโย,  ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,อนัตถะสัญหิโตไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลยนี้อย่างหนึ่ง  โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโคอีกอย่างหนึ่งคือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,ทุกโขเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งทุกข์อะนะริโยไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยะเจ้าอะนัตถะสัญหิโต,  ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย....

สิ่งที่นักบวชนักปฏิบัติธรรมและผู้เป็นนักรบที่มักจะตกเป็นทาสกามตัณหาในที่สุด  จะต้องทราบพิจารณาไปถึงข้าศึกด่านสำคัญก็คืออุปนิสัยใจคอของกามตัณหานี้ให้ดีก็นั่นคือ มันซ่อนแฝง ซึ่งเล่ห์เพทุบาย แอบลักลอบกระทำการแบบไม่ให้รู้ตัว  มันเจ้าเล่ห์เพทุบายหลอกให้หลงผิด  ในเมื่อมีการต่อสู้กับกามเมื่อถูกกระทำอย่างเด็ดขาด ทรมานมันอาจจะแสร้งแกล้งตายพ่ายแพ้ไปแล้ว ทำให้เหยื่อหลงผิด

นั้นคือการเข้าใจตัวเองผิด คิดว่าเอากามตัณหาอยู่แล้ว  ถึงขั้นคิดไปสูงสุดว่าตนสำเร็จอรหันต์แล้วก็มี ซึ่งหากแต่แท้จริงเป็นเพราะความเจ้าเล่ห์เพทุบายของกามตัณหานั้นเอง  มันจึงกลับมาเอาไปเป็นทาสอันลึกซึ้งไปได้อีก

เราจึงได้พบว่า พุทธองค์ทรงเริ่มด้วยการกล่าวสอนเรื่องกามะสุขขัลลิกานุโยค เป็นเรื่องแรกเลย เพื่อเตือนสติเรื่องกามก่อน  ว่าเป็นสิ่งที่ต้องระวัง ให้เข้าใจกามให้ดีว่ามันเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่กีดกั้นทางมรรคผลนิพพานไว้อย่างแนบแน่น  ดังที่ทรงตรัสบอกปัญจวัคคีย์ว่า  การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลายนั้น เป็นของต่ำทราม เป็นของปุถุชน  ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า   และความจริงเกี่ยวกับกามตัณหาอีกอย่างที่ควรรู้ก็คือ  มันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยง ที่บำรุงเลี้ยง ตัณหาอื่นทั้งหมด   หากกามตัณหายังอยู่ไม่สลายสิ้นไป  โดยเฉพาะมีการออกลาย ซ่อนเร้น แฝงฝังหลบซ่อน ให้เข้าใจผิดเจ้าเล่ห์เจ้าหลอกให้หลงผิด คิดผิดว่าเอาชนะมันได้แล้ว มันพ่ายแพ้ไปแล้ว  แต่ความจริงมันยังอยู่สบายและปล่อยให้นักบวชเข้าใจผิดไปเอง จนมันแอบหัวเราะเยาะเย้ยอย่างสำราญใจ ไปอีก

เช่นนี้ ก็ยากที่จะบรรลุสู่แดนโลกนิพพานได้  อันเป็นผลจากการถูกหลอก หรือตนเองโง่เขลาไม่เข้าใจกามตัณหา คิดผิดไปว่าตนเองปฏิบัติธรรมสูงสุด  ตนเองรู้วิชาพุทธศาสนาสูงสุดกว่าผู้ใด  ตำแหน่งยศศักดิ์สูงใหญ่โตกว่าใคร ก็ ผ่านกามตัณหาไปแล้ว กามตัณหาไม่ปรากฏแด่เราอีกแล้ว เราอยู่แต่ในดงในป่า ในโขดในเขา กามตัณหามีที่ไหน?

ฉะนั้นกามตัณหา จึงต้องเป็นด่านแรกและด่านสำคัญที่สุดที่จะต้องผ่านพ้นไปเอาชนะให้ได้ก่อน   ดังจะเห็นในคืนตรัสรู้ของพระพุทธองค์ ที่ทรงผ่านเอาชนะกามตัณหา นางงามทั้งสามนางนั้นไปได้เสียก่อน  ทรงได้เผชิญกามตัณหา เอาชนะได้เสียก่อน จากนั้นไปก็ง่าย

ซึ่งนั้นก็คือ  การหมั่นพากเพียร ในยุทธศาสตร์หลักของนักรบแห่งธรรม คือ ยุทธศาสตร์อสุภะกสิณ อย่างเข้มงวดไปตลอดอย่าให้มีแม้ความละเอียดอ่อนแห่งกาม ที่ซ่านแผ่กระแสมาแม้อย่างเบาบาง ตามที่ท่านกล่าวไว้ในลักษณะนิวรณ์ 5 เรื่องกามฉันทะ ซึ่งเป็นเรื่องของความนึกคิดในกามอย่างละเอียดอ่อน อันเป็นลักษณะกลเล่ห์เพทุบายของกามที่หายตัวได้ ไม่บอกอาการเลย  หากแต่มันจะเป็นเหตุร้ายแรงหรืออุปสรรคกีดกั้นธรรมปฏิบัติข้ออื่นๆ   เช่นสมาธิ ที่มีกามตัณหามากีดกั้นอย่างไม่รู้ตัว โดยจะมีการปรากฏว่าการเข้าสมาธิไม่เป็นไปตามที่เคยปฏิบัติได้มา ไม่สามารถยกระดับสูงขึ้น  ไม่คล่องแคล่วอย่างคราวก่อน  นั้นแหละ เป็นผลมาจากนิวรณ์เรื่องกามฉันทะนี้

ฉะนั้น กามตัณหาจึงต้องเป็นด่านแรกและด่านสำคัญที่สุดที่จะต้องกวาดล้าง เอาชนะให้ได้เด็ดขาดเสียก่อน  และครั้นขจัดกวาดล้างไปสิ้นเด็ดขาดไปแล้ว  ตัณหาอย่างอื่น คือ  ภวะตัณหา  วิภวะตัณหา ก็จะเอาชนะได้ง่าย ๆ

-----

*****

-----

บทที่ 4.       

อริยสัจ 4 ข้อที่ 2 ทุกขสมุทัย เหตุของทุกข์,
บทที่ 4 ภวะตัณหา วิภวะตัณหาจงกลับใจเสียเถิด
ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว

-----          

กามตัณหา  ภวตัณหา วิภวตัณหา  เป็นสิ่งที่ต้องรู้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว  ต้องละเสียให้สิ้นหมด ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ ทำความหมดจดให้เกิดขึ้น  จึงจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้  ตามตัวอย่างของพระพุทธองค์  3 รอบ 12 อาการ ที่เป็นการพิศูจน์-วิจัยได้พบความจริงของอริยสัจ4 จึงทรงประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า และที่ทรงตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ตอนจบว่า : ญานัญจะ   ปะนะ  เม  ภิกขะเว  ทัสสะนัง  อุทะปาทิ,  อะกุปปา  เม  วิมุตติ,  อะยะมันติมา  ชาติ,  นัตถิทานิ  ปุนพภะโวติ, :   ก็แลปัญญาอันรู้เห็น ได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว,  ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ,  ความเกิดนี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย,  ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.

ในสัจธรรมเรื่องกามตัณหานั้น ก็โดยยกดวงจิตให้สูงขึ้น ให้พ้นกระแสกามเท่านั้นเอง โดยการฝึกเพิ่มเติมไปในเรื่องอสุภกสิณนั้น ก็จะยกจิตสูงขึ้นไปโดยอัตโนมัติจนเหนือระดับกระแสกาม จิตใจเบิกบานดั่งดอกบัวบานเหนือน้ำแล้ว  ก็หลุดพ้นสู่ดวงจิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน  ขึ้นได้โดยพลันทันที

ส่วนภวะตัณหานั้น หมายถึงความอยากมี  ความอยากเป็น ในโลกธรรม 4 คืออยากมี อยากเป็นใน ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  และ  สุข นั้นเอง  วิภวตัณหา ก็เป็นความอยาก ที่ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ซึ่งความเสื่อมในลาภ  ความด้อยต้อยต่ำในยศ  ในความไร้ซึ่งคนสรรเสริญเยิรยอ  ไร้เกียรติ์ ไร้สกุลวงศ์ ไร้ในสุขความรักความใคร่ ความอิ่มในอาหารการกิน อันเป็นสิ่งตรงข้ามนั้นเอง

นี่คือโลกที่เป็นรังแห่งความอุบาทว์ที่เป็นสิ่งที่ผู้กำเนิดขึ้นมาในนั้นหลงใหลไม่อาจละทิ้งไปได้เลย  เหมือนหมู่หนอนในฐานส้วมนั้นเอง  ที่มีความมีความเป็น ความอยู่อาศัยมีชีวิตในนั้นเป็นวัฏฏะ วงเวียนหมุนวนอยู่ในนั้นชั่วนาตาปี  นั่นคือ ภวตัณหาวิภวตัณหา การสละตัณหาความมี ความเป็น ความอยู่ในวัฏฏะแห่งโลกธรรมทั้ง 8 ประการนั้นเอง เมื่อต้องละภวตัณหาวิภวตัณหาเสีย นั่นก็คือการสละโลก นั้นเอง  ก็โลกธรรมแปดนั้นเอง คือ ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ที่แต่ละประการนั้นสอดคล้องคลุกคลีสัมผัสกันสนิทไปไม่มีห่างหายไปเลย

เรื่องลาภที่ได้มาไม่รู้จักพอ แม้ได้ทองทั้งภูเขาแล้ว ก็ยังไปแก่งแย่งคนอื่นต่อไปอีก ในเรื่องยศศักดิ์นั้นหมายถึงลำดับตำแหน่งมาล่อหลอกให้แก่งแย่งกัน  มียศควบคู่ไปกับตำแหน่ง จากต่ำสุด ขึ้นไปสูงสุด ให้เกิดการหลงในยศ ใฝ่ในยศ อย่างที่เห็นทั่วๆ ไปในขณะนี้ หลายชั้นยศ หลายตำแหน่งงานโดยเฉพาะในวงการศาสนจักรเองทุกวันนี้ ที่ล้วนเป็นสิ่งปิดกั้นเส้นทางอริยธรรม 

มีตัวอย่างก็เจ้าชายสิทธัตถะเอง ที่ทรงสละราชบัลลังก์ออกบวชนั้นก็เพื่อให้พ้น ละคลายจางไปจากตัณหา 2 อย่าง นี้ และนั่นเป็นแบบอย่างการบวชในพุทธศาสนาที่แท้จริง  การอยู่ในพระราชวังหรือทรงอำนาจเป็นราชามหาราช การมีตัวตนแบบราชามหาราชนั้น ไม่สามารถจะพ้นไปจากภวตัณหา  วิภวตัณหาได้เลย  ในยุคพุทธองค์เอง  จึงมีแต่เจ้าชายทั้งหลาย ขุนนางทั้งหลาย มหาเศรษฐีทั้งหลาย สละอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ ทรัพย์สมบัติมหาศาล มาเป็นคนธรรมดา ๆ  ไม่มีตัวตน  แม้พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางผู้ทรงเลี้ยงเจ้าชายมา  ก็ได้สละโลก-โลกียสมบัติ ออกตามรอยบาทพระพุทธเจ้า โดยสละอำนาจวาสนา ความสุข อันเป็นภวตัณหาไปหมดสิ้น เป็นผู้ที่ละความมีตัวตนใหญ่โต ในอำนาจราชศักดิ์ แบบไม่อาลัยใยดีเลย  จึงทรงบรรลุอรหัตผล เข้าสู่โลกมหานิพพานอันพ้นทุกข์ได้ เป็นภิกษุณีอรหันต์องค์แรกในพระพุทธศาสนา  

ลักษณะของภวตัณหา กับ วิภวตัณหานั้น มันเป็นธรรมชาติ เป็นอุปนิสัยของหมู่สัตว์ ทั้งหลายในโลก และเป็นโลกนั่นเอง  เช่นสุนัข ที่แสดงอัตตาตัวตน ความมี ความเป็นของมันอย่างชัดเจน  มันจะหวงอาหาร หวงเขตแดน หวงพื้นที่ของมัน เมื่อมีหมาแปลกหน้าเข้ามา มันจะเห่าไล่ประกาศว่านี่ที่ของฉัน เขตของฉัน  ห้ามมึงเข้ามา  แล้วเข้ากัดกันขับไล่แบบไม่คิดชีวิต   สัตว์อื่น ๆ รวมทั้งมนุษย์ปุถุชนคนทั้งหลาย  ก็เช่นเดียวกันนี้ มีภวตัณหา วิภวตัณหา สมบัติประจำมา เป็นปราการบาปมาตั้งแต่เกิด  

อันเป็นลักษณะของความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา ตัวตน  หรือ ตัวกู  ของกู มีความหวงแหนในความมีความเป็นของตน และเป็นการหลงทางไปจากสัจธรรมในอนัตตลักขณสูตร  อันเป็นการประพฤติย้อนแย้งสัจธรรมอนัตตา หลงไปกับอัตตา ความมีตัวตน หลงไปในอำนาจวาสนาบารมี ความมียศถาบรรดาศักดิ์-ตำแหน่ง-สมณศักดิ์- ภาวะเจ้าขุนมูลนาย-ราชการงานเพื่อโลกธรรม เพื่อโลกียทรัพย์  แล้วจะสำเร็จธรรมบรรลุมรรคผล นิพพาน  ได้อย่างไร?  เพราะ ไม่อาจทำความดับไม่เหลือแห่งเหตุแห่งทุกข์ ได้เลย

นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของตัณหาอย่างไร ?  หากละตัณหาไม่หมดสิ้น  ไม่อาจจะทำให้ตัณหาคลายจางลงไปแล้วก็ไม่อาจจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย   มีแต่จะถ่วงกระแสอันเลิศประเสริฐของพระพุทธศาสนาให้ตกต่ำลง และนั่นย่อมไม่ใช่ทางไม่ใช่แบบอย่างทางพ้นทุกข์สู่อริยฐานะอันประเสริฐ  ไม่พ้นไปจากวัฏฏสงสาร กลับหลงไหลไปเหมือนหมู่หนอนในเวจส้วมวัดเลย น่าเสียดายชาติเกิดที่มาพบพระพุทธศาสนาแต่เหมือนคนตาบอดไม่ได้เห็นความดีไม่ได้อะไรจากพระพุทธศาสนาเลย  ฉะนั้น  เปิดดวงตามองสัจธรรม ให้เห็นความจริงแห่งวัฏฏะสงสาร ความจริงแห่งโลก โลกธรรม อันหมู่สัตว์หลงงมงายอยู่  แล้วพึงกลับใจเสียเถิด และหากทำได้ ก็จะเหมือนองคุลีมาลย์นั้นเองเลย  เพียงการกลับใจ  กลับทิศทางเดินเท่านั้น ก็สำเร็จอรหัตผลนิพพานได้ทันที

เพราะเส้นทางที่ถูกต้องเป็นอริยมรรคแห่งความเลิศประเสริฐเหนือสถานะใดของปุถุชนทั้งหลาย ที่มีลำดับแต่เบื้องต้นขึ้นไปสู่ยอดอันสูงสุด นั้นคือ

ขั้นที่ 1. โสดาบันมรรค,      

ขั้นที่ 2.  โสดาบันผล,

 ขั้นที่ 3.  สกทาคามีมรรค,

ขั้นที่ 4.   สกทาคามีผล,

ขั้นที่ 5.  อนาคามีมรรค,

ขั้นที่ 6.  อนาคามีผล,

ขั้นที่ 7.  อรหัตมรรค,

ขั้นที่ 8.   อรหัตผล

และสูงสุดคือ พุทธภาวะ

นั้นต่างหากเป็นลำดับอริยยศ อริยฐานันดร อริยศักดิ์ เส้นทางเลื่อนขึ้นไปสู่โลกนิพพานแห่งพระบรมศาสดาที่ทรงตรัสสั่งเอาไว้ก่อนปรินิพพานแด่อานนท์เถระว่า :โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจุจเยน สตฺถา: ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคตแสดงแล้ว และบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว

-----

*****
-----

บทที่ 5.

อริยสัจธรรมข้อที่ 2 ทุกขสมุทัย เหตุของทุกข์,
บทที่ 5 มีแต่ต้องละโลกธรรมให้หมดสิ้นไม่มีเหลือ  แต่สาวกทั้งหลายทั้งระบบมีแต่สะสมโลกธรรมอย่างไม่รู้จักพอ
นั่นคือการทรยศต่อพระธรรมวินัยมิใช่หรือ? 

------

ก็พระธรรมวินัยหรือพระศาสดานั้นเองบอกทางไว้ให้เดินไปแล้วโดยลำดับอริยยศ, อริยฐานันดร, อริยศักดิ์,อันเป็นเส้นทางที่เลื่อนสูงขึ้นไปสู่โลกนิพพาน 9 ชั้น โดยสูงสุดที่ อรหัตตผล  และ พุทธภาวะ ดังกล่าว

แต่ทุกวันนี้ ศาสนจักรไทย กลับเดินทางสวนกลับคำสั่งของพระบรมศาสดาทั้งสิ้น   นั้นเกิดขึ้นจาก อวิชชา นั้นเอง  และเป็นสิ่งที่ มิใช่การส่งเสริมพระพุทธศาสนา แต่จะดึงถ่วงพระพุทธศาสนาให้ตกต่ำลง  ในไทยเองและแม้ในต่างประเทศวันนี้ ที่เกิดกระแสวิทยาศาสตร์ขึ้นมาครอบครองทั้งโลกและได้พิศูจน์หักล้างคำสอน หลักความเชื่อ ในทิฏฐิ หรือลัทธิความเชื่อเดิม ๆของต่างศาสนา ลงไปตามลำดับและคนทั้งหลายเริ่มหันมามองศาสนาวิทยาศาสตร์ ขึ้นมาทั้งโลก   ตามที่ยอดนักวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอสไตน์  ที่ประกาศกลางโลกยุคใหม่ว่า ศาสนาสากลสำหรับโลกยุคใหม่นั้นคือศาสนาพุทธ และเป็นศาสนาประจำจักรวาลไปเองโดยอัตโนมัติ

แต่แล้ว ศาสนจักรพุทธเอง  ในหลายประเทศ และมาถึงไทยทุกวันนี้  ที่เป็นหลักการเผยแผ่เชิงปริยัติศาสนา นั้น ทางปฏิบัติกลับย้อนแย้งสัจธรรมที่ตนประกาศ แด่ชาวโลกทั้งสิ้น   ดูเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนแดง เป็นตัวอย่าง

นั่นคือประเด็นเรื่องทุกขสมุทัย นี้เอง  ที่พระบรมศาสดาทรงสอนหลักเหตุ-หลักผล ที่อะไรจะเพี้ยนผิดไปจากหลักเหตุผลมิได้   นั่นคือ ที่คำว่า กิเลส  ตัณหา  อุปาทาน  เป็นเหตุแห่งทุกข์  ที่ต้องละเสียให้สะเด็ดเด็ดขาดให้ได้  แต่ระบบสงฆ์ สาวกกลับ เป็นระบบที่ส่งเสริมตัณหา ภวะ-วิภวะตัณหา นั่นคือ ส่งเสริมโลกธรรม 8 ไปอย่างสุดๆ แบบไม่มีสติพิจารณาเลย 

การปกครองสงฆ์ แท้จริงเป็นการปกครองที่ลอกเลียนแบบการปกครองอาณาจักรยุคเก่าก่อน แบบเผด็จการ เจ้าขุนมูลนายแต่เดิม ที่ทางโลกเองได้ปฏิวัติไปเป็นระบอบประชาชนประชาธิปไตยไปแล้ว แต่ที่เป็นประเด็นก็คือเป็นระบอบโบราณที่ล้าหลังและนำทางผิดไปจากพระธรรมวินัย ออกนอกเส้นทางพระศาสดา  อันเป็นการเพิ่มพูนกามตัณหา  ภวะตัณหา  วิภวะตัณหาไปแบบไม่รู้ตัว แบบมีอวิชชาปกปิดดวงตาให้มืดบอด ไม่เห็นความจริงเลย  ซึ่งนั่นเองเป็นปราการที่ปิดกั้นมรรคผลนิพพานอย่างหนาแน่นเต็มที่ และนั่นเป็นการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาลงไปอีก  ซึ่งในที่สุด ในเมื่อชาวโลกได้รู้ความจริงนี้ ขึ้นมาอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยเริ่มตั้งแต่พระเถระชาวต่างประเทศ ศิษย์ของท่านปู่ชา วัดหนองป่าพง  เป็นต้น  ก็จะถึงคราวเกิดความเสื่อมคลาย ความศรัทธาลงไปอีก ถึงระดับความคิดว่าศาสนาพุทธไม่ใช่สิ่งที่มีสาระอะไรเลย เพราะแม้สาวกของศาสนาเองก็ยังไม่ได้ประโยชน์อะไรจากคำสอนที่อ้างว่าล้ำเลิศประเสริฐนั้น  กลับมีแต่การหลงใหลใฝ่คว้า วัตถุนิยม  ตกอยู่ใต้อำนาจโลกธรรมทั้ง 8  ที่เห็นมีแต่ใฝ่โลกธรรม ใฝ่โลกสมบัติ  แสวงหาสิ่งที่แท้จริงเป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นอัตตา  เป็นภวะ  วิภวะตัณหาไปเสียอีก  มันพิศูจน์อะไร ? 

นั้นคือสิ่งที่ย่อมจะเป็นไปหากสถานการณ์ด้านพุทธจักร หรือ องค์กรสงฆ์  ยังไม่เข้าใจสัจธรรม  “ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย” ไม่เข้าใจทุกขสมุทัย อริยมรรค  และมีการปรับเปลี่ยนความประพฤติที่ย้อนแย้งพระดำรัสสั่งครั้งสุดท้ายของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยที่  เราชาวพุทธต้องมาเริ่มใหม่ด้วยการแสวงหาความรู้ หาสัจธรรมแห่งมรรคผลนิพพานต่อไปอีกจากที่หลงทำผิด ออกนอกลู่นอกทางแห่งอริยสัจจะ  มากลับทิศทางเสียใหม่  หรือ มาต่อ  สืบต่อไปสู่ความมี ความเป็นแห่ง  อริยยศ,  อริยฐานันดร,  และ อริยศักดิ์, 9 ขั้น  เริ่มแต่ โสดาบันมรรค,  โสดาบันผล,  สกทาคามิมรรค,   สกทาคามิผล,  อนาคามิมรรค,  อนาคามิผล,  อรหัตมรรค,  อรหัตตผล,  ถึง  พุทธภาวะ, อริยยศ อริยฐานันดร  อริยศักดิ์ รวมเป็น 9 ขั้นอันเริ่มด้วยความเลอเลิศประเสริฐแห่งชีวิตพระอริยสาวกโสดาบันมรรค เป็นต้นมา 

นั่นก็คือความเข้าใจ ความรู้แจ้งในสัจธรรม กามตัณหา ภวะตัณหา  วิภวะตัณหา ความหลงในโลกธรรม   การได้มี ได้เป็นอะไร ในวิถีทางแห่งโลกธรรม-โลกียธรรมทั้งหลาย   แม้สูงสุดแห่งโลกียธรรม  มีลาภก็ได้มากมายยิ่งกว่าเศรษฐีมหาเศรษฐีแห่งโลกเอง   ยศถาบรรดาศักดิ์ ก็เจริญมาไต่เต้ามาจนถึงขั้นสูงส่งสูงสุด   สรรเสริญก็หลากหลั่งมาสุขเพราะเงินทอง ทรัพย์ ยศ ก็ตามมา   ได้มีได้เป็นแล้ว แม้สูงสุดในโลกียโลก-โลกียธรรมแล้ว  แต่นั้นมิได้บอกถึงมรรคผลนิพพานอันประเสริฐตามที่พระบรมศาสดาหรือพระธรรมวินัยนั้นเองสั่งสอนไว้แต่อย่างใดเลย นั้นแหละหมายถึงชีวิตที่เกิดมาแต่เด็กจนแก่ชราแล้วตายเปล่าไปโดยไร้ประโยชน์ใดใดเลยไม่สมกับเกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ที่ได้พบพระพุทธศาสนาเลย  นั่นคือ  อวิชชา อย่างแท้จริง

จึงควรที่จะย้อนรำลึกถึงแบบอย่างของพระบรมศาสดา ตั้งแต่เป็นเจ้าชายผู้ประเสริฐ รวมทั้งพระอริยสงฆ์สาวกผู้ประเสริฐมาแต่ยุคพุทธองค์  ที่ล้วนแต่สละโลก ละเสียซึ่งโลกธรรม  กามสุข  ทรัพย์สินสฤงคาร  แม้พระองค์เองถึงต้องสละราชบัลลังก์ สละอนาคตแห่งจักรพรรดิ์ปกครองโลกทั้งโลก  ออกบวช เพราะเห็นสัจธรรมที่ว่า การครองเรือน ครองโลกธรรม ลาภยศ สรรเสริญ สุข แม้ถึงระดับ จักรพรรดิแล้วก็ไม่อาจจะปลดปล่อย สังหาร ตัณหาความมี,ความเป็น,  ภวะ,  วิภวะ, กามะตัณหา, ไปได้เลย  เพราะเหตุนั้นย่อมขัดหลัก ทุกขสมุทัย เหตุแห่งทุกข์ตามพระธัมมจักกัปปวัตนะสูตร ไปทั้งสิ้น ขัดหลักอนัตตา   ไปเพิ่มพูนตัวตน ความมีอัตตาให้โตขึ้น  ย้อนแย้งหลักอนัตตลักขณะสูตรไปหมดสิ้นเช่นเดียวกัน   และนั่นคือเรื่องของความบอดโดยแท้จริง ไม่อาจจะนำไปสู่ความรู้แจ้งสัจธรรมแห่งชีวิตแห่งโลกทั้งปวง ไม่รู้แจ้งทุกข์ในวัฏฏะสงสารอันพากันทุกข์ทรมานมานับหมื่นนับพันล้านโกฏิปีมาแล้ว และแน่นอนไม่อาจบรรลุ อรหัตตผลของสงฆสาวกได้, และพระองค์เองก็ไม่อาจจะบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า  ผู้รู้ ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน เป็นพระพุทธเจ้าได้เลย  ภาวะแบบอย่างนี้เอง ที่บอกให้เห็น ที่ชี้นำทางแห่งปัญญา  ไปสู่การดับแห่งอวิชชา ไปสู่วิชชา ความรู้แจ้งได้ ครั้นวิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว  นั่นแหละดวงตาสว่างที่มองเห็นทางเดินที่สูงส่ง ประเสริฐ  เปิดให้เห็นแล้ว และจะไม่รอช้าที่จะรีบพาตัวเองข้ามจากทางเก่าโสโครก สู่ทางใหม่แห่งวิชชาอันสว่างแจ้ง สู่มหานิพพานในทันใด

ฉะนั้น  โปรดอย่าหยุดอยู่เพราะหน้าที่ยังไม่จบลง จงมาศึกษาต่อ  แม้ว่าจักได้สำเร็จโลกียวิชา โลกียศาสตร์  โลกียฐานันดร มาสูงสุดแล้วขนาดใดเพียงใดก็ตาม  เพียงแต่วิชชายังไม่บังเกิดจุดลุกพลุ่งโพลงขึ้นเท่านั้นเอง  เพื่อให้ได้ทราบว่า  ยังมีทางอันสูงส่งประเสริฐที่รออยู่  และนั่นแหละทางไปสู่โลกุตตระนิพพานแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า    ครั้นเมื่อเปลี่ยนทางใหม่ มุ่งตามอริยมรรคอริยธรรมสุดประเสริฐ  9 ขั้นดังกล่าวนี้ไปสำเร็จลง  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานขึ้นมาทั่วแผ่นดินพุทธแล้ว  นั่นแหละ   พระพุทธศาสนา จะกลับมาครองโลกทั้งโลกอีกครั้งหนึ่งอย่างสมบูรณ์และสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปถึง 5,000 ปีอย่างไม่ต้องสงสัย  และนั่นแหละ  สิ่งที่พระพุทธศาสนาจะได้ให้อะไรที่สุดแสนประเสริฐแด่คนทั้งโลก ที่ยุคนี้มีสื่อครอบคลุมโลกทั้งโลกไว้แล้ว  เพียงแต่ถ่ายทอดสัจธรรมแท้ พร้อมแบบอย่างชีวิตที่แท้จริงอันสุดประเสริฐของหมู่อริยสงฆ์สาวกที่ตรงทางสู่มรรคผลนิพพาน  ที่ละพ้นจากเหตุทั้งหลายแห่งทุกข์ได้หมดสิ้นเท่านั้นเองผู้รู้ตามทั้งหลายทั้งปวงทั้งโลกก็จะได้ชีวิตใหม่  พ้นทุกข์ไปตลอดกาลนานมีโลกใหม่บังเกิดขึ้นพร้อมความสุขนิรันดร กันทั้งโลก

แล้วเหตุใด  สงฆ์สาวกทั้งปวงจักลืมเสียซึ่งหน้าที่ จักไม่ออกแรงพยายามช่วยตนเอง ให้รู้แจ้งสัจธรรม เพื่อช่วยคนในแผ่นดินทั้งโลกให้พ้นทุกข์ตามไปด้วยกันเล่า ? และนั่นแหละการตอบแทนพระพุทธศาสนาให้สว่างไสวขึ้นทั้งโลกยุคนี้.

Phayap Panyatharo
16 เม.ย.2565  09.00น.

-----   

*****

*****

-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

77..อริยสัจ 4 ข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
บทที่    

อริยสัจ 4 ข้อที่ 3  ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
บทที่  1 นิโรธ ความดับ

-----

ตรงที่ทรงตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ เรื่อง 3 รอบ 12 อาการนั้น  เป็นเรื่องที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานของธรรมอริยสัจทุกข้อจริง ๆๆ  มาถึงข้อที่ 3 ทุกขนิโรธอริยสัจ   ใน 3 อาการของอริยสัจข้อนี้

อาการที่ 1 .  อิทัง  ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ  นี่อย่างไรสัจจะเกี่ยวกับการดับทุกข์ อันเราเห็นแล้วว่ามันเป็นอย่างไร

อาการที่ 2  ทุกขะนิโรโ ธอะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ  นี่อย่างไรเป็นสิ่งที่ควรทำให้รู้แจ่มแจ้ง ชัดเจน เด็ดขาด ไปทั้งสิ้น

อาการที่ 3  ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง  สัจฉิกะตันติ   อันเราได้ทำให้แจ่มแจ้ง ชัดเจน เด็ดขาดไปทั้งสิ้นแล้ว

คือทรงรู้อาการของการดับทุกข์ ทรงรู้ว่าต้องตาสว่างรู้มันอย่างแจ่มแจ้ง  และทรงทำให้รู้แจ่มแจ้งไปหมดแล้ว   จึงทรงกล้าประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า  หากไม่ทรงรู้ครบอาการ 3 แล้ว ก็จะไม่ประกาศพระองค์ว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้า

ในด้านปริยัติธรรมของวงการพระพุทธศาสนา เข้าใจคำว่า นิโรธ นี้มีความหมายตรงกับคำว่านิพพาน นั้นเอง  และเมื่อพูดถึงเรื่องมรรค เรื่องผล  คนมักจะลงที่นิพพาน  เป็นจุดสูงสุดที่รู้กันทั่วโลก  จนมีคำหลักว่า มรรคผลนิพพาน  นั้นเอง

แต่ทำไม เหตุใด แม้ทรงตรัสแต่เริ่มแรกเลย จึงไม่ทรงตรัสอริยสัจข้อที่ 3 ว่า นิพพาน  แต่ทรงตรัสคำว่า  นิโรธ ?  ซึ่งตรงนี้แหละเป็นประเด็นอันล้ำลึกมาก  ยากที่จะเข้าใจจากทางปริยัติใดใด   ถึงกับอาจจะถามหรือ มีความสงสัยว่า  นิโรธ กับ  นิพพานนั้นมีความต่างกันหรือ ?

แน่นอน   นิโรธ ต่างจาก นิพพาน จริง ๆ  แต่แม้จะไม่ต้องมีคำถามเช่นนี้เลยก็ไม่เป็นไรเลย เพราะเมื่อพระอรหันต์ ท่านไปถึงนิพพาน นั้น  ท่านอาจจะยังไม่เข้าถึง นิโรธ  มันไปอีกขั้นหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ๆ นั่นเอง  นั่นคือประเด็น ของภาษาทางปฏิบัติ  นั่นคือ พระอรหันต์ ท่านไม่จำเป็นต้องเข้าไปสู่ นิโรธ เลยก็ได้  หรือ  ไม่ต้องรู้จักว่า การดับเป็นอย่างไรก็ได้  แต่ คำว่านิโรธ นั้นให้ความหมาย  ให้อาการที่ตรงยิ่งกว่าคำว่า นิพพาน  นั้นคือ ความดับ  หรือ ดับ  นั้นชัดเจนในทางปฏิบัติกว่า   มันบอกไปถึงทางปฏิบัติโดยตรง  โดยไม่ต้องสงสัยของคำว่า นิโรธ   เพราะมันแปลได้ตรงว่า   ดับ  และบอกอาการแบบเดียวกับ  ดับ  ของอะไรก็ตาม

ฉะนั้น  บุคคลใดก็ตาม  ชาติ ศาสนาใดก็ตาม   โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่มีสติปัญญา ฉลาดปราดเปรื่อง ยิ่งกว่าคนยุคเก่าก่อน แม้ยุคพุทธองค์ นั้น  ด้วยความคิดสติปัญญา มีเหตุผลชัดเจน ในการศึกษาวิจัย  ไม่ให้เชื่อใครง่าย ๆ  ตามกาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว นั้น สามารถคิดพิจารณาเรื่องนี้ได้อย่างน่าบังเกิดผล ดี  สามารถพบผลดีอันเป็นลาภอันประเสริฐยิ่งใหญ่   หากสามารถบำเพ็ญ หรือประพฤติ  ปฏิบัติธรรม  นำกายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม  อันเป็นอาการทางกาย  ทางจิต  ทางวาจา  ให้เกิดขึ้นจริง ตรงกับอาการเดียวกับคำว่า นิโรธ  ได้   คือ ไปสู่ ความดับ ได้   อะไรก็ตาม  ดับไปหมดได้    นั้นแหละสามารถบรรลุอรหันตภาวะขึ้นในในฉับพลันทันที  ทันทีที่ได้พบ  ความดับ

ฉะนั้น  คำว่า  โลกุตตระ แดนแห่งมรรคผลนิพพานนั้น  ไปถึงได้ง่าย ๆ สำหรับคนยุคใหม่ ทั้งโลก โดยทำให้เกิด  ความดับ  ขึ้นได้เท่านั้นเอง  โดยทางดวงตาของท่าน  ที่เห็นโลกทั้งโลกดับลง  แม้เป็นกลางวันแดดสว่างแท้ ๆ  โลกกลับดับลง   และทางใจ  ที่ดับลงสนิท  แบบมอดไม่กลับมาโหมขึ้นได้อีก  สรุปเลยก็ได้ว่าท่านจะทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ดับ ให้ได้ก็แล้วกัน  ทำนิโรธให้เกิดขึ้น  นั่นไปสู่มรรคผลนิพพานได้ในทันใด

นี้จึงเป็นเหตุผล ที่ทรงใช้คำว่า  นิโรธ  ที่บอกความหมายทางปฎิบัติ   ที่เป็นบาลี  ที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศได้ให้ปฏิบัติได้ตรง ๆ  นั้นคือ  ความดับ ดับสนิทไม่มีเหลือ   ซึ่งบอกทางปฏิบัติได้ตรงกว่าคำว่านิพพาน ซึ่งมักแปลว่า เย็น และ ดับ ก็ได้ นั่นเอง  และที่ตรงจริง ๆ ก็คือ เมื่อดับสนิทไม่มีเหลือ ก็ถึงเลยละ มหานิพพานบรมสุขสงบที่พ้นไปจากการเกิดใหม่ไปชั่วนิรันดร

Phayap Panyatharo

26 มี.ค. 2565  00.30

-----

*****      
-----

บทที่  2.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 
บทที่ 2,  การปลีกวิเวก การถือสันโดษ นำไปสู่ความดับ 

-----

มารู้จักภาวะอันหนึ่ง  ที่ควรให้ชื่อว่า สันโดษ

การเข้าไปใกล้ชิดภาวะ  นิโรธ  นั้นเริ่มด้วยการตระหนักในความเป็นจริงของชีวิตสันโดษ  นั่นเอง ความหมายก็คือ  การปลีกตัวออกจากหมู่ การปลีกวิเวก หาความวิเวก  การอยู่คนเดียว    การทำตนเอง ประพฤติตนเองให้ยินดีกับความเป็นอยู่อย่างสันโดษ  ทำความคุ้นเคยยินดีกับการเป็นอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย อยู่ห่างไกลสังคม  ไกลโลกมนุษย์

การแยกตนเองออกไปอยู่ไกลจากคนอื่นหรือบุรุษที่2ไปอยู่แต่ลำพัง ทำสมาธิ บริหารลมปราณ ลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ ให้เกิดความเงียบเชียบ  วิเวก ตัดขาดความสัมพันธ์กับสังคม ไปอยู่คนเดียวเอกากาย  เอกาใจ  การอยู่ในสถานที่ที่เป็นป่า เขา  ลำเนาไพร  ในถ้ำ   หุบเหว  หรือบ้าน สถานที่พักเฉพาะ  แม้เป็นรีสอร์ตที่สามารถหาความวิเวกได้  ที่ไม่ต้องไปเสพสังวาสกับคนที่ 2

นอกจากเป็นเรื่องของกายแล้วให้เน้นความหมายลงไปที่จิตใจ ที่รักสันโดษโดยเฉพาะ   นั่นคือสร้างความรู้สึก สร้างอารมณ์จิตใจให้เดี่ยวโดด คนเดียว  เป็นความเปล่าเปลี่ยวเดียวดายเหมือนอยู่คนเดียวในโลกนี้  คำว่าคนเดียวในโลกนี้ หรือการปลีกวิเวกนี้แหละ ให้เข้าถึงให้ได้ หมายถึงให้สัมผัสกับสัจธรรมความโดดเดี่ยวเอกากายเอกาใจ เหมือนเราได้ตัดขาดไปจากโลกทั้งโลก โดดเดี่ยวเดียวดายจริงๆ

 แม้แท้จริง เราอยู่ท่ามกลางคนนับร้อยนับพันคน  เช่นในห้องประชุม  ในงานสังคม  หรือการชุมนุมใดที่คนมาคับคั่ง  ที่เราไปร่วมในหมู่ชนนั้นด้วย  แม้งานบุญในวัดวาอาราม ก็ตาม แม้กระทั่งอยู่ในขณะปฏิบัติงานการอาชีพของเราอย่างเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว  แต่ให้เราทำความรู้สึกตนเสมือนว่าเราอยู่คนเดียวไม่มีคนอื่น ที่แวดล้อมเรานั้นก็เสมือนไม่มีเลย  เหมือนเราอยู่คนเดียวในโลก  นั่นแหละความสันโดษจนในที่สุด โลกทั้งโลกก็เสมือนว่า ไม่มีใครไม่มีอะไรเลย   มีเราอยู่คนเดียวจริงๆ เราตัดขาดไปจากโลกจากจักรวาลไปจริง ๆ

ระวังความว้าเหว่  ความอาลัยอาวรณ์ แม้ความวิตกหวาดหวั่น ความกังวล ใดใด ไม่ให้มี  มีแต่ความเป็นจิตอุเบกขา ไม่ยินดียินร้ายในอะไร  แล้วอึดใจต่อไปจากการได้สัมผัสสัจธรรมนี้  นั่นก็คือ  ความดับ

นั่นแหละผู้แสวงความหลุดพ้น พึงหมั่นปลีกวิเวก ฝึกสร้างความรู้สึกความเป็นความมีความโดดเดี่ยววิเวกเช่นนี้ให้เกิดขึ้นในจิตใจ จนเป็นวิถีทางชีวิต   ก็จะค่อยใกล้ความดับเข้าไปทุกที  จนถึงการดับลงอย่างง่ายๆในที่สุด 

-----

*****

*****

-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

78..อริยสัจ 4 ข้อที่ 4..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(มรรค8) ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์,   

บทที่ 1 : ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์, 1 ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรค

-----

บทที่ 1.

ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรค

-----

1.  สัมมาทิฏฐิ   วันนี้ แม้นักปราชญ์ นักบวช แม้สงฆ์สาวกนักบวชพุทธ ชาวพุทธก็ยังไม่บรรลุความเชื่อมั่น ไปสู่สัมมาทิฏฐิ เรื่องความเชื่อ ความเห็น  หรือ เรื่องศาสนานั้นเอง  ไม่มีสัมมาทิฏฐิที่ว่า ศาสนานั้น มีอยู่เพียงศาสนาเดียวในโลกนี้ คือศาสนาวิทยาศาสตร์ ศาสนาพุทธเท่านั้น   นอกนั้นเป็นเพียง ทิฏฐิหนึ่ง ๆ เท่านั้นเองที่เป็นเพียงความเชื่อ ที่หาอริยสัจธรรมไม่ได้ เช่นเดียวกับในยุคพุทธองค์ มีทิฏฐิอยู่ถึง 62 ทิฏฐิที่เป็นเพียงความเชื่อ หาสัจธรรมไม่ได้เลย   สัมมาทิฏฐิก็คือ เข้าใจศาสนา เข้าใจคำสอนของศาสนาอย่างถูกต้องเข้าใจคำสอนอย่างถูกต้อง   เพื่อการช่วยเหลือตนเองผู้ปฏิบัติ  และทั้งมวลหมู่มนุษย์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ได้จริง    แต่ก็หาได้เข้าใจไม่ และยังกลับไปมีทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องเหมือนเดิมอีก เพราะความเขลาอวิชชา  ไม่มีสัมมาทิฏฐินั่นเอง

2. สัมมาสังกัปโป  ความดำริชอบไม่มี  เพราะการดำริของคนทั้งหลายแม้พระสงฆ์สาวกยุคปัจจุบันนี้  ล้วนแต่มีความดำรินอกสัมมาสังกัปโป ทั้งสิ้น  ดังจะพบว่า ล้วนแต่ดำริในเรื่องโลกธรรม 4 – 8 คือดำรินึกคิดไปแต่เรื่องลาภผล สมบัติ  คือคิดแต่เรื่องการได้ลาภ ความอยากมีอยากได้ลาภปัจจัยสิ่งของ วัตถุนิยม เงินทองให้ไหลมาเทมา ทำอย่างไร   ดำริเรื่อง ยศถาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งการปกครอง ให้ได้มาหาลาภต่อ ดำริแต่เรื่องทำอย่างไรคนจะมาใฝ่ใจสรรเสริญเรามาก ๆ  ให้เงินลาภะไหลมาเทมา ตามความอยากมีอยากได้ ดำริเรื่องชื่อเสียงคำสรรเสริญเยิรยอ  ทำอย่างไร ให้คนเข้าใจสรรเสริญศรัทธาตน จนกระทั่งอ้างตนเป็นพระอรหันต์ก็มี เป็นพระโพธิญาณโพธิสัตว์พระศรีอาริยเมตไตรยก็ยังมีแล้วมีแต่ดำริเรื่องลาภผล แล้วไปสู่ความสุขทางกาม จากคำชมสรรเสริญของคนทั้งหลาย  ซึ่งล้วนเป็นการใฝ่แสวงหาสิ่งที่เป็นตัณหาทั้งสิ้น มีความดำริความวิตกกังกวลในมิจฉาสังกัปโป การคิดผิดไปเป็นเหตุให้เกิดการตกต่ำ อันเป็นการก่อเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น  แทนที่จะเป็นเหตุแห่งการประพฤติที่ถูกต้องตรงอริยสัจจข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์  กลับเป็นทางแห่งความเพิ่มทุกข์ไปอีก  ตามสัจจธรรมที่ว่า  ทุกขสมุทัย  ที่ต้องสละเหตุแห่งทุกข์ไม่มีเหลืออยู่ จึงจะพ้นทุกข์ได้

3. สัมมาวาจา  ล้วนเป็นคำพูดคำโฆษณาตัวเอง ไปแทบไม่ตรงความจริง มีแต่การโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างตนเองไปทังสิ้น  มีการพูดคำหยาบ  คำโกหกพกลม  คำส่อเสียด   และเพ้อเจ้อ ไร้เหตุผล อันมุ่งหมายไปอย่างผิด ๆ แบบไม่มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป  มุ่งหาลาภหายศ  หาความสรรเสริญ   หาสุข  โลกธรรม 4  นั้นเอง

4. สัมมากัมมันโต     การประกอบการงาน หรือการกระทำใดใดอันตรงกับหน้าที่ของความเป็นความมีชีวิตอยู่  ที่เป็นธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ที่ตรงกับกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ทางกฎหมายของสังคมของประเทศ  อาชีพการงานที่ตนมีความสามารถ มีหน้าที่ แต่บิดเบือนไปในเชิงการหลอกลวง เพื่อให้ได้มีได้เป็นในสิ่งที่เป็นอาหารการเลี้ยงดูเพิ่มเติมตัณหาอวิชชาไปทั้งสิ้นนั้น นั่นแหละ แทนที่จะก่อเหตุแห่งความพ้นทุกข์ กลับนำดิ่งลงไปสู่ทุกข์ไปอีก

5.  สัมมาอาชีโว  ไม่รู้หลักการเลี้ยงชีวิตที่ดี  ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร  รู้แต่การหาโลกธรรม 4 หา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มาอย่างไรก็ได้  ไม่คำนึงความถูกต้อง  ทั้งทางกฎหมายและธรรมะทางศาสนา ยิ่งหาอาชีพที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ลาภเพราะเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ข่มขู่บีบบังคับเอาด้วยอำนาจเป็นธรรม ด้วยคนมียศใหญ่ตำแหน่งใหญ่บีบรัดเอาจากคนมียศน้อยตำแหน่งน้อย  หรือคนธรรมดา ๆ   นั้นแหละเป็นมิจฉาอาชีวะ  หรือโจรกรรมนั่นเอง มีแต่จะเพิ่มตัณหาไปอีก

6. สัมมาวายาโม  ความเพียรไม่มีเลย ความพยายามในการทำดี ละเว้นความชั่ว ใฝ่ในความประพฤติเป็นธรรม บริสุทธิ์แทบไม่มีเลย  เป็นทาสของมารความเกียจคร้าน ตลอดไป เป็นมิจฉาวายาโม  นั่นคือ เป็นทาสความเกียจคร้านไม่ยอมเดินทาง อยู่กับที่ตลอดไปนั้นเอง

7. สัมมาสติ  มีแต่ความใฝ่ฝันในอนาคต ในวันพรุ่งนี้  กลับไม่เข้าใจว่าปัจจุบันนั่นเองเป็นทางไปสู่อนาคต  เป็นเหตุของอนาคต  หากปัจจุบันไม่ดีเสียแล้ว อนาคตก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน  การมีสัมมาสติจึงหมายถึงการกระทำที่ดีในปัจจุบัน  ณที่นี่ เวลานี้ เดี๋ยวนี้เอง ทำชีวิตชาตินี้แหละให้สำเร็จลงให้ได้ ไม่ต้องคิดเรื่องชาติหน้า ไม่คิดจะเอาดีชาติหน้า แต่ชาตินี้เอง   และนั่นแหละ นำไปสู่อนาคต ความใฝ่ความหวังที่ดี    นั้นเอง มาจากสัมมาสติที่รู้ดีรู้ชั่ว มีสติอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน  คือการกระทำขณะนี้เดี๋ยวนี้  เวลานี้ ว่าทำอะไรอยู่  รู้ว่าทำอะไร รู้ว่านี่แหละนำไปสู่อนาคตที่ดี  นั้นเองมาจากรู้ตัว  รู้ดี  รู้ชั่ว มีสติอยู่กับการกระทำของปัจจุบันให้ชัดเจน แล้วก็ไม่กังวลกับอนาคตเลย  ปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตก็เป็นเช่นนั้น

8. สัมมาสมาธิ เป็นเรื่องของจิตใจ และจิตใจย่อมเป็นนายกายเป็นบ่าว  จึงต้องฝึกจิตอยู่ตลอดเวลา ให้จิตเราเข้มแข็ง ให้จิตเราเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ให้จิตเรารู้นิ่ง หนักแน่น  คิดแก้ไขในสิ่งผิด  ให้จิตมีพลัง  เพิ่มพลังขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่าปล่อยให้จิตอ่อนแอ เป็นเด็กอ่อนไม่รู้จักโต ต้องฝึกจิต  ฝึกสมาธินั้นเอง ให้สมาธิเจริญเติบโต ก้าวหน้าไปไม่หยุด  มีพลัง  นั้นเป็นมหาอำนาจจิตตนนั่นเอง   หากจิตเราอ่อนแอ ก็มีแต่จะตกเป็นทาสของกิเลส  กามตัณหา  ภวะตัณหา วิภวะตัณหา   อุปาทาน     ไปทั้งสิ้น

นี่คือมรรค 8 ที่โลกต้องการ  หากแต่ทุกวันนี้ คนทั้งหลาย แม้พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีหน้าที่ฝ่าโลกสู่อริยธรรม  ก็ยังหาเข้าใจวิถีทางแห่งมรรค 8 ไม่  แล้ว จะบรรลุถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์ได้อย่างไร   มีแต่จะพาหลงไปในกิเลส ตัณหาไปเรื่อยๆ และมีความสุขอยู่กับความเป็นทาสตัณหา ต่อไปในอนันตกาลนั่นเอง

คิดวิจัยชีวิตดูเถิด 

ไม่มีสัมมาทิฏฐิ  มีแต่มิจฉาทิฏฐิ,

ไม่มีสัมมาสังกัปโป  มีแต่มิจฉาสังกัปโป,

ไม่มีสัมมาวาจา มีแต่มิจฉาวาจา,

ไม่มีสัมมาอาชีโว มีแต่มิจฉาอาชีโว,

ไม่มีสัมมากัมมันโต มีแต่มิจฉากัมมันโต,

ไม่มีสัมมาวายาโม มีแต่มิจฉาวายาโม,

ไม่มีสัมมาสติ  มีแต่มิจฉาสติ,

ไม่มีสัมมาสมาธิ  มีแต่มิจฉาสมาธิ

มันก็เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ  แบบที่คนโง่กลับคิดว่าเจริญก็มี  เช่นสภาวะขณะนี้ของโลกยุคใหม่ ผู้ใดรู้จริง จึงย่อมทนอยู่ไม่ได้.   

-----

*****

----- 

2.

อริยสัจธรรมข้อที่ 4 ทุกขะนิโรธะคามินีปฏิปะทา(มรรค 8):ข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์
บทที่ 2ความดำริชอบนั้นเองเป็นจุดเริ่มต้น

-----

เริ่มด้วยคนทั้งหลาย โดยเฉพาะคนมีสติปัญญา คนยุควิทยาศาสตร์ยุคนี้จะต้องใช้ปัญญา รู้จักคิดให้ถูกต้องตรงตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่องอริยสัจธรรม 4:  ทุกข์,  สมุทัย,  นิโรธ,  มรรค,   เริ่มด้วยปัญญาจากสัมมาสังกัปโป:ความดำริชอบก่อนโดยต้องคิดให้ถูกเสียก่อน ว่าจะต้องคิดอย่างไร  จึงเรียกว่าสัมมาสังกัปโป  และสิ่งที่ต้องคิดให้ถูกให้ชอบก็คือ คิดตามอริยสัจ 4 ตามลำดับมา

ขณะนี้ก็คือ ความดำริชอบ: สัมมาสังกัปโป  และ ความเห็นชอบ: สัมมาทิฏฐิ  เสียก่อน

ทุกคนหากดำริ ให้ถูกให้ชอบแล้ว ก็จะเริ่มตั้งแต่  ความคิดเรื่องการพ้นทุกข์ไปอย่างสะเด็ดเด็ดขาด จะต้องคิดอย่างไรทำอย่างไร?  นั้นหมายถึงทางพ้นทุกข์ทั้งปวง  เข้าสู่โลกุตตระ มรรคผล นิพพาน  บรรลุพระอรหันต์ นั้นเอง  เป็นสิ่งที่ทำได้  เป็นไปได้  สำหรับคนยุคใหม่ยุคไหนก็ตาม

โดยคำสอนเรื่องมรรค 8 นี้เอง

แต่ต้องดำริให้ชอบ  เป็น สัมมาสังกัปโป ไม่ใช่ มิจฉาสังกัปโป  ในเรื่องความเป็นคนหรือมนุษย์ว่า จะต้องมีความเห็นชอบ  หรือมีสัมมาทิฏฐิ: ความเห็นชอบเรื่องตัวเองเป็นที่พึ่งของตัวเอง  ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน  ตามคำสอนหลักของความเป็นมนุษย์เสรีชนของพุทธศาสนาเสียก่อน   ไม่มีใครอื่นจะอาจเป็นที่พึ่งหรืออาศัยไหว้วาน หรือการบันดาลจากเทพเจ้า  พระเจ้า  เจ้าพ่อเจ้าแม่ ทั้งหลายนั้น  เป็นการเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิเสียตั้งแต่ต้น

นั่นคือจะต้องเริ่มจากความเห็นชอบ  สัมมาทิฏฐิ ว่าการปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องทำเอาเอง  ไปพึ่งคนอื่นไม่ได้ ไปพึ่งพระเจ้า  เจ้าพ่อเจ้าแม่ไม่ได้    ทำเอาเองทุกคนๆและทุกคนๆ ก็จะต้องเข้าใจเช่นนี้ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ: ความเห็นชอบ ที่เป็นเหตุนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้

จะไปอ้อนวอนให้เทพเจ้า  เทวดา พระเจ้า ให้ช่วยให้พ้นทุกข์เข้าสู่โลกุตรธรรมไม่ได้   ซึ่งนี้เองต้องเข้าใจแบบมีเหตุ มีผล ไม่ใช่เพียงความเชื่องมงายไปว่าว่าเทพเจ้า พระเจ้าจะช่วยได้   แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมศาสดา ก็ยังทรงบอกว่าพระองค์เองเป็นแต่เพียงการชี้ทางให้เดินไปเท่านั้น   ตัวเราเองต่างหากที่จะต้องเดินไปเอง  หากเราไม่ยอมก้าวเดินไป  มันก็ไปไม่ถึง  มันก็ไม่สำเร็จ ก็เท่านั้นเอง  ฉะนั้นต้องไปเอง  ตนแลเป็นที่พึ่งของตนเสมอไป  แม้ในหลักการปกกครองคนยุคใหม่สมัยใหม่ประชาธิปไตยนั้นก็ได้มาจากหลักการพึ่งตนเอง การปกครองตนเองของประชาชนทั้งชาติที่สอดคล้องหลักพุทธธรรมนี้ นั้นเอง 

นี่แหละ สัมมาทิฏฐิ ในเรื่องนี้จึงเป็นการเริ่มด้วยการที่ไม่มีพระเจ้า  ต้องทำเอาเอง  เพราะไม่มีใครอาจทำให้ได้  ฉะนั้นจึงต้องระวังเรื่องความเห็นผิดในทางความเชื่อ หรือศาสนาลัทธิต่างๆ  ที่ทำให้ตกไปในเรื่องสัมมาทิฏฐิ   และเรื่องนี้เองที่เราจะต้องดำริอยู่เสมอ ๆ ทบทวนอยู่เสมอ ๆ  มีสัมมาสังกัปโป:ความดำริชอบอยู่เป็นประจำ  มีความคิดพิจารณาดำริให้ชอบ ในเรื่องการที่ต้องพึ่งตนเองอยู่เสมอและมีการกระทำ หรือ  สัมมากัมมันโต:การงานชอบ  แบบที่ต้องพึ่งตนเองเสมอ  จนกว่าจะพบความจริงและรู้สึกละอายอดสูใจในการไปคิดพึ่งสิ่งที่ไร้สาระเช่นเจ้าแม่ตะเคียนทอง  เจ้าพ่อพญานาคใส้เดือน  เป็นต้น

และดำริ ใช้ความคิดตรึกตรองพิจารณา วิปัสสนา ถึงเหตุถึงผลของการที่จะพ้นทุกข์สู่โลกุตตระให้ได้  ก็โดยดำริเสมอ ๆ ตลอดเวลาว่า ต้องเป็นไปตามนี้ตามที่พระพุทธเจ้าบอก ตามที่พระองค์ปฏิบัติมาก่อนแบบ 3 รอบ 12 อาการ คือทรงบอกว่า จะต้องละเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไม่มีเหลือเลยเท่านั้น  ไม่เหลือแม้ขนาดเท่าเม็ดทรายเม็ดฝุ่นก็ต้องให้หมดๆไปให้ได้

นั่นคือเรื่องกิเลส  ตัณหา  อุปาทาน ทุกอย่าง   ที่สรุปลงเป็น  กามตัณหา,  ภวะตัณหา,  วิภวะตัณหา,  นั้นเอง  จะต้องละให้หมดเกลี้ยงให้ได้  จะต้องสละโลกให้ได้   หากละไม่หมดเกลี้ยงอยู่ตราบใด แม้เหลือเพียงธุลีดินเท่านั้น  แม้มาเกิดอีก ร้อย พัน หมื่น ล้านปี ล้านชาติ  ก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย  แต่หากทันใดทันทีที่ละได้เกลี้ยง หมดจด ไม่เหลือแม้เท่าเม็ดธุลีดินแล้วก็สามารถบรรลุได้ในทันทีทันใด ตามเหตุ และ ผลนี้ นั้นเอง   ดังเช่นปัญจวัคคีย์ทั้ง 5  หรือชฏิล 1000 รูป บรรลุมาแล้ว และมีข้อยืนยันมาตลอดก็คือบรรดาพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า มาแต่ยุคสมัยเดิม ครั้นละกิเลส ตัณหา อุปาทานได้  ก็บรรลุอรหันตภาวะไปทั้งสิ้น  ได้ในทันทีที่ละกิเลสได้สำเร็จ  นั้นเอง   เรื่องหลักธรรมการบรรลุนี้ จึงเป็นเหตุเป็นผลกันแบบวิทยาศาสตร์ และเป็น อกาลิโก  ไม่จำกัดกาลเวลา  มีการละตัณหาได้เมื่อไร ก็บรรลุได้เมื่อนั้น   รวมทั้งยุคสมัยนี้เองที่คนมีปัญญามากย่อมบรรลุได้แน่นอน 

นี่แหละสัมมาสังกัปโป: ความดำริชอบ ความคิด ความตรึกตรอง  วิปัสสนา  จึงเป็นเรื่องแรกที่จะต้องมีความดำริชอบเช่นนี้เสมอไปจนกว่าจะบรรลุอรหัตผลขึ้นมา

ความดำริชอบเช่นนี้ก็จะผลักดันมรรคข้ออื่นๆให้เกิดผลตามขึ้นมาได้โดยง่าย  เช่น สัมมากัมมันโต:การงานชอบ,  สัมมาอาชีโว:การเลี้ยงชีพชอบ  ก็สำเร็จอรหันต์ขึ้นมาด้วยการนำของมรรคข้อที่ 2 สัมมาสังกัปโป:ความดำริชอบ  และ ข้อที่ 1 สัมมาทิฏฐิ:ความเห็นชอบ นี้เอง  ทำให้เกิดสภาวะทางจิตของตนมีสภาวะของความคิดอ่านความตรึกนึกคิดในจิตใจไม่ห่างไกลไปจากความดำริชอบเช่นนี้เลย    เท่านี้เอง ก็บรรลุ มีปาฏิหาริย์แห่งปัญญา ความเห็นแจ้ง ความเบื่อหน่ายในกิเลสตัณหาอุปาทาน หรือมีนิพพิทาญาณเกิดขึ้น จิตก็ละไปได้เอง   ก็ถึงการบรรลุพระอริยสัจธรรมสูงสุด พ้นทุกข์ได้นิรันดร.

---

*****

-----

บทที่ 3.

อริยสัจ 4 ข้อที่ 4 อัฏฐังคิโกมัคโค,  มรรค 8, 

บทที่ 3 สัมมาอาชีโว - อริโย วายาโม

-----

(1.)

ที่ทรงตรัสไว้เต็มๆ ว่า ทุกขะนิโรธะคามินี ปฏิปะทา  นั่นคือ ข้อปฏิบัติ 8 ข้อที่นำไปสู่ความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์  เป็นอริโย อัฏฐังคิโก มัคโค  มรรค 8 อันประเสริฐ

การทำความเข้าใจเรื่อง มรรค 8( อัฏฐังคิโก มัคโค) นี้ ก็โดยเริ่มจากคำว่า สัมมา” 8 ประการ ที่ทรงตรัสว่าเป็น อริโยอัฏฐังคิโก มัคโค  (เส้นทาง8สายอันประเสริฐ)  นั่นคือข้อปฏิบัติอันประเสริฐแปดประการเพื่อความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งสิ้น   คือ  สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ),  สัมมาสังกัปโป(ความดำริชอบ)สัมมากัมมันโต(การงานชอบ),  สัมมาวาจา(วาจาชอบ)สัมมาอาชีโว(อาชีพชอบ)สัมมาวายาโม(ความเพียรพยายามชอบ),  สัมมาสติ(สติชอบ),  สัมมาสมาธิ(สมาธิชอบ)ซึ่งเป็นอันเดียวกับที่ทรงตรัสไว้แต่ต้นแล้วว่าเป็น มัชฌิมาปะฏิปะทา 8 ประการ

ฉะนั้น คำว่า  สัมมา  หรือคำแปลว่า “ ชอบ  :- ความเห็นชอบ,  ความดำริชอบ,การงานชอบวาจาชอบ),อาชีพชอบ,ความเพียรพยายามชอบ,  สติชอบ,  สมาธิชอบ,ย่อมหมายถึง ทางปฏิบัติ8ประการที่นำไปสู่มรรคผลนิพพาน นั้นเอง

เพื่อความเข้าใจเรื่องมรรค 8: อริโย อัฏฐังคิโกมัคโค นี้ จึงเขียนอีกคำได้ว่า  สัมมา อัฏฐังคิโกมัคโคนั่นเอง   หรือ มรรคแปดชอบ,  นั่นเอง ซึ่ง อริโย มัคโค” หมายถึง สัมมามัคโค” นั่นเอง แปลว่าทางไปสู่ความประเสริฐล้ำเลิศ  ที่นำไปสู่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ  ตรงกันข้ามกับคำว่า  มิจฉา” :  มิจฉา ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)มิจฉา สังกัปโป(ความดำริผิด),มิจฉากัมมันโต(การงานผิด)มิจฉา วาจา(วาจาผิด)มิจฉา อาชีโว(อาชีพผิด),มิจฉา วายาโม(ความเพียรพยายามผิด)มิจฉา สติ(สติผิด),  มิจฉา สมาธิ(สมาธิผิด),

ซึ่งสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจก็คือ มรรค 8 นี้ ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของฝ่ายสงฆ์สาวกหรือนักบวชพุทธ หรือคนพุทธ แต่เพียงฝ่ายเดียวเลย  หากแต่เป็นของสำหรับคนทั้งหลายทุกวัย ทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา   ทุกอาชีพการงาน ทุกคนในโลกนี้  โดยหวังผลได้ คือความพ้นทุกข์ ทั้งทุกข์ทางโลกเอง และทุกข์ทางธรรม นั้นคือการมุ่งสู่มรรคผลนิพพานได้ด้วยพร้อมกันนี้เลย

เอาเพียงประการแรก ๆ ก่อน

เรื่อง สัมมาอาชีโว  อาชีพชอบ  นั้นหมายถึงคนทั้งหลาย ที่มีหน้าที่มีภาระการงานเลี้ยงชีพตนเองทั้งครอบครัว  ที่ต้องทำมาหากิน ทำอาชีพการงานเพื่อการเลี้ยงชีวิตตนเองเป็นประจำทุกวัน ทุกเวลานาที อย่างขาดไม่ได้นั้น  หากเข้าใจหลักมรรค 8 เข้าใจคำว่า สัมมา หรือ อริโย ก็จะสามารถปฏิบัติงานการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพไปได้ จนประสบความสำเร็จ และทำความก้าวหน้า สามารถสร้างความร่ำรวย ได้ผลงาน ได้กำไร  ได้ผลทางเศรษฐกิจ  ได้เป็นถึงข้าราชการงานเมืองสูงสุด ได้ความร่ำรวยระดับเศรษฐีมหาเศรษฐี ตกทอดมรดกไปสู่บุตบริวารได้   โดยหากการประกอบการงานไปแบบมีสัมมา ในทุกอย่าง ก็หมายถึงการบรรลุผลทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุดไปพร้อมกันกับมรรคผล นิพพานได้ด้วย

นั่นคือ ให้ระวังการประกอบอาชีพนั้นต้องเป็นอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย  ไม่ขัดศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีของชาติบ้านเมือง   โดยการประกอบการงานอาชีพนั้น ต้องคำนึงเรื่องสำคัญที่สุดคือ  สัมมาวายาโม  ความเพียรพยายามชอบ

นั่นคือ อริโย วายาโม   คือ มีความมานะพยายาม หรือความขยันขันแข็ง ไปตามหลักการอริยมรรค  อริโยอัฏฐังคิโก นั่นเอง เมื่อมีความขยันขันแข็ง ใฝ่ในการสร้างสรรค์การงานอาชีพให้ก้าวหน้าไปด้วยความดี มุ่งไปสู่เป้าหมายอันเป็นผลกำไร ให้ร่ำรวยให้ได้ด้วยความดี  เป็นการปฏิบัติแบบ สัมมา  คือ  ไปในวิถีทางแห่งมรรคผล นั้นเอง โดยมีหลักการพิจารณา ตามหลัดโอวาทะปาฏิโมกข์3 ประการ คือ  ทำชั่วไม่ได้ ทำแต่ความดี และระวังไม่ให้จิตใจตกต่ำบาปและสกปรกจากการทำการงานอาชีพเรานั้นเอง

ซึ่งสิ่งที่เป็นสัจจะที่ต้องรู้ก็คือการปฏิบัติงานด้วยความขยันขันแข็งมีความเพียรชอบ(มี สัมมาวายาโม)  นั้นคือความดี แต่หากปฏิบัติงานการอาชีพไปอย่างเกียจคร้านนั่นจะเป็น ความชั่วหรือบาปอกุศล  ตามหลักพระพุทธศาสนานั้นเอง  และในการวิเคราะห์ประเด็นนี้  ความขี้เกียจนั้นแหละคือตัวความชั่ว ตัวบาป อกุศล  และนี่เองคือ ตัวกิเลส ตัณหา และอุปาทาน  เหตุแห่งทุกข์ที่คนทั้งหลายมองเมินไปเสีย นั่นเอง

2.

ในการประกอบการงานอาชีพใดก็ตามจึงต้องวิเคราะห์ให้เห็นด้วยปัญญาว่าอะไรคือมารของการทำงานของเรา  และจะเห็นนั่นแหละความเกียจคร้าน เป็นมารตัวโตเลยทีเดียว  ต้องสังหาร ต้องละเสียให้หมดไปจากใจให้ได้ให้เหลืออยู่แต่ความขยันขันแข็งแต่อย่างเดียวเท่านั้น

นั่นแหละ การขับไล่ ขัดถูความขี้เกียจออกจากใจจึงเป็นการฆ่า การประหารกิเลส ไปจากใจนั้นเอง(ความเกียจคร้านเป็นกิเลสมารตัวโตแต่มันไม่ได้ชื่อว่ากิเลส มาร มันชื่อว่า ความขี้เกียจ เพื่อเอาไปหลอกคนตาบอด)

ผลก็คือ เมื่อขจัดมารขี้เกียจไปได้เกลี้ยงแล้ว ดวงใจเรามีเหลืออยู่แต่สิ่งเดียวกันเท่านั้น คือ ความขยัน พากเพียร  ที่มีแต่สร้างอุปนิสัยความขยัน พากเพียร ให้ต่อไปอย่างไม่ท้อถอยลงเลย แล้วในที่สุด เมื่อสังหารสิ่งที่เรียกว่าความขี้เกียจไปหมดจากหัวใจไปแล้ว ก็จักกลายเป็นคนใจใหม่ ที่ไม่มีความขี้เกียจเลยแม้แต่น้อย ในดวงจิตมีแต่ความขยันขันแข็งอย่างเดียว  นั่นแหละ อริยะบุคคลละ 

และในทางโลก เมื่อมีแต่ความขยัน หมั่นเพียรแบบไม่มีเงื่อนไขเลย ก็ย่อมได้ผลงาน การอาชีพที่ย่อมเพิ่มพูนไป ได้ดีที่สุดและย่อมสร้างผลงาน กำไรผลประโยชน์ ไปสู่ความมั่งคั่ง สมบูรณ์ร่ำรวยได้ และเมื่อทำแต่การงานอาชีพที่ดี ที่ถูกกฎหมาย ถูกวัฒนธรรม(เป็นอาชีพชอบหรือสัมมาอาชีโว)  ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จทุกอย่าง และเมื่อดวงใจเหลืออยู่แต่เพียงความขยัน  ก็เท่ากับการซักฟอกจิตใจให้สะอาด ขัดเกลาความสกปรกไปหมดสิ้นแล้ว นั่นเอง  และนั่นแหละ มรรคผลนิพพานละ

อีกนัยยะหนึ่ง  ในขณะเดียวกัน  จิตใจที่มีแต่ความขยัน   ประหาร ขัดล้าง ขัดถู ให้ความขี้เกียจไปหมดสิ้น  เมื่อหันเข้าหาการปฏิบัติธรรม  สู่เรื่องมรรคผลนิพพานโดยเฉพาะ ก็ย่อมพลันสำเร็จได้โดยง่ายดาย ไวต่อการบรรลุมรรคผลนิพพานได้ทันที  โดยเป็นผลบังเกิดขึ้นเองจากการไล่ล้างความขี้เกียจสำเร็จลง  มิต่างอะไรจากการปฏิบัติธรรมของพวกพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือพระธุดงค์  ที่แบกกลดเข้าป่าแสวงหาความวิเวกเลย  หากแต่นี่เป็นความสำเร็จพร้อมกันทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมพร้อมกันได้เลย ที่เหมาะสำหรับคนยุคใหม่โดยแท้จริง  เหมาะกับคนทุกชนชั้น ทุกระดับการศึกษา ทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว

3.

นี่คือการวิเคราะห์ด้วยปัญญาที่เล็งเห็นบทบาทของมารหรือ กิเลสตัณหาอุปาทาน,   ว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับคำว่า ความขี้เกียจ หรือความเกียจคร้าน ที่ไม่กระตือรือร้น   และเราจะพิศูจน์ได้เมื่อได้ขับไล่ล้างความขี้เกียจไปหมดสิ้นจากดวงใจ มีแต่ความขยันขันแข็งอยู่อย่างเดียว ซึ่งนั่นคือความสำเร็จในการงานอาชีพเรา ถึงความร่ำรวย ถึงสถานะเศรษฐกิจ ที่มั่นคง พร้อมกันกับผลดีทางธรรมะเป็นขณะเดียวกันกับการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นเอง

เพราะฉะนั้น คำว่าสัมมา หรือ ชอบ  ในที่นี้ก็ตรงกับบทบาทการกระทำที่เรียกว่า ความขยัน นั่นเอง

จงเอาไปปฏิบัติเถิด  เริ่มสอนกันเถิด สอนนักเรียนลูกศิษย์ของท่าน  ให้เข้าใจ เห็นความจริงว่า ความขี้เกียจนี่แหละเป็นกิเลส  เป็นตัณหา เป็นอุปาทานประจำตัวตนตัวคนมาช้านานแล้ว  และความขยัน หรือ (สัมมาวายาโม) ความเพียรชอบนี้ ย่อมเป็นตัวอุดมการณ์หลักของการปฏิบัติมรรค 8 โดยแท้ทุกประการ 

เพียงจิตวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลก็จะได้พบเองว่า  การขาดความขยันไป มีแต่ความขี้เกียจนั้น เท่ากับการพ่ายแพ้กิเลส ตัณหา อุปาทานไปแล้ว ก็จะสามารถบรรลุธรรม มรรคผลนิพพาน ได้อย่างไร ?

ประเด็นสัมมาวายาโม(ความเพียร ความพากเพียรชอบ)จึงเป็น ธรรมะข้อสำคัญที่นำไปสู่การละ การขจัดทิ้งความไม่เหลือแห่งทุกข์,  ที่เหมาะกับโลกยุคใหม่  คนยุคใหม่ ที่สามารถปฏิบัติธรรมไปพร้อมการงานอาชีพของตน ในบ้าน  ในสถานที่ทำงาน  ระบบการงานอาชีพของเราเอง แต่ละคนแต่ละอาชีพ แม้บนเวทีการบันเทิงสุดๆ แห่งกามตัณหาก็ตาม  ที่ให้ได้ทั้งโลกียทรัพย์  และอริยทรัพย์ไปพร้อมกันเลยทีเดียว . เมื่อบรรลุความร่ำรวย พร้อมกับการบรรลุดวงจิตที่สะอาดผ่องแผ้วไร้กิเลศ มารความขี้เกียจอยู่อีกเลยแม้ละอองฝุ่นเล็กน้อย  นั่นคือ การบรรลุมรรคผลนิพพานทันที 

ฉะนั้น อย่ามัวรอช้าเลย  จงลุกขึ้นเลี้ยงความขยันขันแข็ง  ไล่ล่าสังหารความขี้เกียจให้หมดสิ้นไปจากดวงใจ  ไม่นาน  ก็จะได้พบดวงจิตอันเข้มแข็งสุดสะอาด และสว่างนุ่มนวลขึ้นมาแทน นั่นเอง (สัมมาวายาโม) ความเพียรชอบ  นำมาแล้วซึ่งการละเสียซึ่งเหตุแห่งทุกข์ทุกประการ แล้วได้ดวงใจใหม่ที่สุดแสนประเสริฐล้ำเลิศเข้ามาแทนทันที นั่นแหละมรรคผลนิพพานละ.

         Phayap Panyatharo

27 เม.ย. 2565 17.030 น. 

…..

*****

*****

-----   

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

-----*****-----*****-----*****-----*****-----

---ชื่อแฟ้ม : 90 อริยสัจ ๔  ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ต้นฉบับแปลและพิมพ์เล่มโรเนียวครั้งแรก ๒๔พ.ค.๒๕๖๕ ลง NBE.  – Microsoft Word

---สำหรับการพิมพ์ ครั้งที่ 3 โรเนียว  21 พ.ค.2565 21.00 น.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Please translate in your language by Google Translate

-----*****-----

อริยสัจ ๔ ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค ต้นฉบับแปล 64 ภาษาโลก

1.Thai-ไทย,2.English-อังกฤษ,3.China-จีน,4.Hindi-อินเดีย5.Russia-รัสเซีย,  6.Arab-อาหรับ7.Indonesia-อินโดนีเซีย8.Japan-ญี่ปุ่น,  9.Italy-อิตาลี10.France- ฝรั่งเศส,11.Germany-เยอรมัน,12.Africa-.แอฟริกา13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน14.Bosnian-บอสเนีย,    15.Cambodia-เขมร16.Finland-ฟินแลนด์17.Greek-กรีก,   18.Hebrew-ฮีบรู,  19.Hungary-ฮังการี20.Iceland-ไอซ์แลนด์,  21.Ireland-ไอร์แลนด์,  22.Java-ชวา,  23.Korea-เกา   24.Latin-ละติน,  25.Loa–ลาว26.Luxemberg- ลักเซมเบิรก27.Malaysia-มาเลย์,  28.Mongolia-มองโกเลีย29.Nepal- เนปาล30.Norway-นอรวย์31.Persian- เปอร์เซีย32.Poland-โปแลนด์,  33. Portugal- ดัตช์,  34.Romania-โรมาเนีย,35.Serbian-เซอร์เบีย 36.Spain-สเปน,37.Srilanga-สิงหลศรีลังกา,38.Sweden-สวีเดน,  39.Tamil-ทมิฬ,  40.Turkey ตุรกี,  41.Ukrain-ยูเครน,  42. Uzbekistan-อุสเบกิสถาน43.Vietnam-เวียดนาม44. Mynmah – เมียนม่า. 45.Galicia กาลิเซียน 46.Kazakh คาซัค 47.Kurdish เคิร์ด48. Croatian โครเอเซีย49.Czech เช็ก50.Samoa ซามัว 51.Nederlands ดัตช์52 Turkmen เติร์กเมน53.PunJabi ปัญจาบ54.Hmong ม้ง55.Macedonian มาซิโดเนีย 56.Malagasy มาลากาซี57.Latvian ลัตเวีย58.Lithuanian ลิทัวเนีย59.Wales เวลล์60.Sloveniana สโลวัค 61.Sindhi สินธี 62.Estonia เอสโทเนีย  63. Hawaiian ฮาวาย 64.Philippins ฟิลิปปินส์

-----*****-----

www.newworldbelieve.com

www.newworldbelieve.net

Facebook.com Phayap Panyatharo

-----*****-----

 

 

 

« Back 




59.Wales เวลล์

1..วาทะที่ 1..Wuhan virus, 1.. Geiriau 1.. Feirws Wuhan Sut fydd y byd yn mynd heibio i'r firws ofnadwy hwn? Dod i wybod gwirionedd glendid Yn fudr yn gyntaf.
3..วาทะที่ 3.14 วันสันโดษ. 3.. Gair 3.. Rhaid i'r byd i gyd osgoi Covid-19 am 14 diwrnod. Manteisiwch ar y cyfle hwn i ymarfer Dharma unigedd yn gywir. yn gorfforol ac yn ysbrydol, y ffordd i gyrraedd byd nirvana yn ôl gwirionedd uchaf Bwdhaeth
41..วาทะที่ 41.. สคส.2564 43 ภาษาโลก Anfon hapusrwydd 2021, lleferydd 41.. SorKhorSor. 2021, 63 o ieithoedd y byd, trist iawn Mae Covid wedi cymryd bywyd y byd i raddau helaeth. Ymladd â gwirionedd unigedd, y ffordd honno i fyd nirvana. Diwedd diodde
61. วาทะที่ 61สัญญาณแห่งสันติธรรมโลกยุคใหม่
62..ยอดสุภาษิตโลก (63ภาษา) world proverb(63 languages)
69..วันสำคัญของมวลมนุษย์ทั้งโลก รอบ 16 ก.พ. 2565Diwrnod Makha Bucha, diwrnod pwysig i holl ddynolryw ledled y byd, tua 16 Chwefror, 2022
70..แด่สงครามรัสเซีย-ยูเครน I'r Rhyfel Rwsia-Wcreineg
108.Please translate อิสลาม-พุทธศาสนา รายวัน 21 ธ.ค.2565 สมาธิ3ระดับสุดยอดมหานิพพาน
75..อริยสัจธรรมข้อที่ 1 ทุกข์ 75..Y Gwir Nobl Cyntaf: Dioddefaint, Pob Dioddefaint, Y Gwir Am Ddioddefaint
76..อริยสัจธรรมข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ Yr 2il Gwirionedd Nobl o Ddioddefaint, achos y dioddefaint 1, Dim ond gwybod achos y dioddefaint dinistrio achos y dioddefaint Dim ond y diwedd ydyw
77..อริยสัจธรรมข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ Y Trydydd Gwirionedd Nobl: Dukkha Niroda Rhoi'r gorau i ddioddefaint 1. Niroda
79.. The 4 Noble Truths, 4 manuscripts for translations of 64 world languages, complete the 4 Truths, Samutaib, Nirodha, the Path. 79..อริยสัจธรรม 4 ต้นฉบับ สำหรับการแปล 64 ภาษาโลก ครบ 4 สัจจะทุกข สมุทัยบ นิโรธ มรรค
91 คำชี้ทางปฏิบัติ สังหารกามกิเลสลงได้จริง Please translate to your language
93 Nid yw Mwslimiaid Thai yn deall yr ysgrythurau Islamaidd fel pob celwydd. yn unig fel caethwas brad i farwolaeth Heddiw, mae Islam yng Ngwlad Thai wedi gwneud cymaint o gamgymeriadau fel bod yn rhaid i'r wlad gyfan godi a ffoi o Wlad Thai.
99..อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 Please translateto your language by Google translate
99..อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 1 2 3 4 5 Please translateto your language by Google translate
100..Beth mae Bwdhaeth yn ei ddysgu? Mae hyn yn newyddion gwych. Boed yn hysbys ar draws y byd. dysgu sut i gael eich geni Pawb wedi marw, dim byd ar ôl....
101..การเมือง เสนอให้คิด คนไทยไปสู่ประชาธิปไตยจริง ๆ ชุดที่1-5 18 เรื่องต้นฉบับไทยสมบูรณ์
102..Please translate NWE ต้นฉบับ ยอดสุภาษิต เดือนกันยายน 2565 50บท ภาษา ไทย-อังกฤษ
103 Please translate Phayap Panyatharo ประวัติชีวิตนักปฏิบัติธรรมทั้งชีวิต พระพยับ ปัญญาธโร (เล่าเอง) ตอนที่ 1-2 ไทย 48 บท
104.pleasetranslate รวมยอดสุภาษิต ถ่ายทอดไป 138ภาษาโลก ครอบพลเมือง 7.6 พันล้านคน
105 please translate รวมยอดสุภาษิตวรรคสั้น 210 บทต้นฉบับ ถ่ายทอดไป 138 ภาษาโลกครอบ 8พันล้านประชากรทั้งโลก
106 please translate ปัญหาของพระพุทธศาสนาแก้ไขได้ง่ายทั้งระบบสงฆ์แล้วนั้นหมายถึงสว่างรุ่งเรืองไปทั้งโลกยุคนี้
107. ส.ค.ส.(ส่งความสุขปีใหม่) 2566 แด่พลโลก 8พันล้านชีวิต
108.Please translate อิสลาม-พุทธศาสนา รายวัน 21 ธ.ค.2565 สมาธิ3ระดับสุดยอดมหานิพพาน
109. Please translate รายงานการวิจัยความคิดเห็นของคนไทยต่อปัญหาเดินขบวนในกรุงเตหะราน อิหร่าน
110.please translate พุทธศาสนารายวัน 26 ต.ค.65-5 ม.ค.66(21ตอน)ปัญหาพุทธศาสนาวันนี้แรงร้ายแต่แก้ไขได้ด้วยพุทธิปัญญา ไทย
111.please translate พุทธศาสนารายวัน 26 ต.ค.65-5 ม.ค.66(21 ตอน ๆ ที่21) กลับมาทำหน้าที่เถิด
111.please translate การเมืองโลก ประชาธิปไตยอเมริกาจากธัมมจักกัปปวัตนสูตร สู่กาลามสูตร ต้นฉบับ 138 ภาษาโลก
112 please translate พุทธศาสนาวันนี้ รำลึกวันอาสาฬหบูชา วันพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
120 แด่เพื่อน 2567
121 เรื่องราวของชีวิต ตอนที่ 1+2+3+4 ต้นฉบับไทย
122.การเมืองไทยวันนี้ 22สค.2566 ทักษิณกลับไทยแบบมหาเศรษฐีต้องโทษอาญาแผ่นดินเข้าคุกทันที8ปีทบทวน11กพ.2567
123 โหราศาสตร์ชี้ชะตาสงครามรัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-ฮามาส
124 โหราศาสตร์ ดาว6ดวงเคลื่อนมารวมกัน ใน7เม.ย.2567 อะไรจะเกิดขึ้นแก่ประเทศไทย
125 พุทธศาสนา โอวาทปาฏิโมกข์ วันมาฆะบูชาของชาวพุทธไทยและชาวพุทธทั้งโลก
126 การเมืองไทยวันนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พิธา-ก้าวไกลคิดล้มล้างการปกครอง ไม่ผิดหรอก
127 การเมืองไทยคัวอย่างที่น่าอัยอาย อำนาจตุลาการสูงสุดถูกแทรกแซงก้าวก่ายลดน้อยด้อยค่ามาตลอดจากอำนาจยริหารแม้หน่วยงานกระจิบกระจ้อยต้อยต่ำแค่กรมราชทัณฑ์ยังทำได้
128 เรื่องราวของชีวิต ตอนที่ 5
129 พุทธศาสนารายวัน 9 มี.ค.2566 มรรค 8 เพื่อบรรลุอริยบุคคลอรหันต์
130 การเมืองไทยวันนี้ 11 มี.ค. 2567 ศึกษาการเมืองไทย ประชาธิปไตยไม่เหมาะแก่การเมืองสัตว์ป่า จ่าฝูงเผด็จการทุกชนิด ประชาชนไทยต้องตื่นทำหน้าที่แล้วดูนายพลยอร์จ วอชิงตัน ผู้รู้ธรรมะประชาธิปไตยโลก
131 พุทธศาสนา สมาธิสูงสุดปราณ และ 9 เทกนิคการฝึกสมาธิของแพทย์ประสานกัน
132 การเมืองไทยวันนี้ยังเละเทะสับสนด้วยยุคซ็อฟท์เพาเวอร์ และพลังสงครามจิตวิทยา อันซ่อนเร้นเกินความรู้สึกอันเกี่ยวกับการเมืองอันตรายทั้งสิ้น
133. รวมเรื่องร้ายกาจรายวันในโลกยุคนี้ 4 เรื่อง
134 การเมืืองไทยวันนี้ 30 มี.ค.2567 บอกความคิดอ่านยังด้อยพัฒนาเป็นการเมืองต่ำต้อยด้อยพัฒนาจริง ๆ
135. การเมืองไทยในรัฐสภาวันนี้ 28 มี.ค. 2567 รับเรื่องบ่อนการพนันครบวงจรถูกกฎหมาย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์ สื่อของเราทั้งหมดนี้ ได้กลายเป็นแดนสนุกน่าท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกกว่า 8 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน 8 พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น.