ReadyPlanet.com
dot dot
bulletBUDDHISM to the NEW WORLD ERA
bullet1.Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Luxemberg-ลักเซมเบิร์ก
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet117.Lukanda-ลูกันดา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี
bulletMystery World Report รายงานการศึกษาโลกลี้ลับ
bulletสารบาญโหราศาสตร์
bulletหลักโหราศาสตร์ว่าด้วยดวงกำเนิดและดวงฤกษ์รวมคำตอบคลี่คลายปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำนายชะตาชีวิต
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบนี้(เริ่ม ก.พ.55)
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น1
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น 11
bulletทุกความคิดเห็นจากหน้า1(ก่อน ก.พ.55)
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบบอร์ด(ถึงก.พ.55)
bulletภาค 11
bulletภาค 12
bullet54.Hmong ม้ง
bullet133.แอลเบเนีย
bullet133.แอลเบเนีย
bulletหน้าที่เก็บไว้




99..อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 Please translateto your language by Google translate

 

 

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต 

-----

บทที่ 1  เราคือตัวตน และตัวตนเป็นธรรมชาติ                                                                                 2

บทที่ 2  อริยสัจ 4 เป็นความรู้ของผู้ที่เรียกตนว่าเป็น พระพุทธเจ้า                                                       9

บทที่ 3 ไม่ผ่านกามตัณหาก็สำเร็จอรหันต์ไม่ได้                                                                                18

บทที่ 4 โลกที่แสนตกต่ำยุคโควิด19นั้นแหละการเรียนรู้ทุกขอริยสัจอย่างสุดยอดเยี่ยมของการเรียนรู้        21

บทที่ ตามรอยพระพุทธเจ้า 3 รอบ12 อาการ เป็นทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นไม่มี                                  27

บทที่ 6  การละตัณหาก็จะหมดสิ้นสุดชาติพันธ์มนุษย์ เป็นคำสอนให้ทำลายชาติพันธ์มนุษย์น่ะสิ           29

บทที่ 7 คำสอนที่ขัดแย้งอริยสัจธรรมสูงสุดเรื่องจิต และเรื่องอัฏฐิเป็นพระธาตุจึงเป็นพระอรหันต์ได้        33

บทที่ 8  สมาธิคืออะไร?                                                                                                               36

บทที่ 9 ความหมายอันประเสริฐแห่งวาทะคือ สัจจธรรม                                                                    48

บทที่ 10 ทุกขะนิโรธะคามินีปฏิปะทา(มรรค 8) ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรคของคนยุคกึ่งพุทธกาล ไทย                                                        52                                                                                                                                                                                           

-----

 

 

 

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต  :

บทที่ 1  เราคือตัวตน และตัวตนเป็นธรรมชาติ

-----

เรา(ตัวตนของเรา มนุษย์เรา) คือผลผลิตของธรรมชาติ  ธรรมชาติสร้างมา

ให้มีร่างกาย ส่วนของโครงกระดูก  เนื้อหนัง  อวัยวะต่างๆ มาวันนี้มากกว่าปัญจักขันธา(ที่พวกพระป่ามักเรียกว่าขันธ์5นั้นเอง)  นับร้อย นับพัน นับหมื่นอวัยวะ ตามการค้นพบวิจัยฝ่ายการแพทย์ยุคใหม่นี้

และส่วนของจิตใจ  ความรู้สึกนึกคิด ความหยาก ความกระหายอาหารต่างๆ

เป็นเราขึ้นมาตั้งแต่หลุดออกมาจากท้อง จากครรภ์มารดานั้นเลย ตั้งแต่เป็นทารกอยู่

เมื่อเป็นเราขึ้นมา สิ่งที่คู่กันมาก็คือความหิว นั่นเอง หิวอาหารต่างๆ จึงต้องกิน ต้องใช้ต้องหาอาหารมากิน หาสิ่งของมาใช้ หาที่อยู่ที่หลับที่นอนหายารักษาโรค

และทั้งหาอะไรมาโอ้อวดกัน ให้ได้คำสรรเสริญเยิรยอ สรรเสริญกันไปกันใหญ่

เป็นอยู่เช่นนี้ตั้งแต่เกิดมาจนตายไป

สิ่งที่เป็นปัญหาของเราเอง หรือของมนุษย์ทั้งหลายนั้น มีส่วนที่เกิดจากใจนั่นเอง  เพราะเรามีใจ มีจิตมีวิญญาณ มีความนึกความคิดมีจินตนาการ ความใฝ่ฝัน

ที่แตกต่างจากสัตว์พืชที่ไม่มีใจ  ไม่มีจิตวิญญาณ

และนี่แหละธรรมชาติสร้างให้เป็นพิเศษ  ที่มีใจมีจิตที่รู้จักคิด  เมื่อเจอปัญหาต่างๆใจก็รู้จักคิด

คิดหาทางแก้ปัญหา  คิดหาทางสนองความหยากมีอยากได้ อยากสบาย คิดสร้างอะไรๆที่ใหม่ๆขึ้นมา

นั่นก็คือมีเรื่องพื้นฐานคือ  อาหารเลี้ยงชีพ  เรื่องที่อยู่อาศัยหลับนอนสบาย  กันภัยอันตราย  เรื่องเครื่องแต่งกายให้พ้นร้อนพ้นหนาว แล้วเลยไปเป็นเครื่องประดับ นำไปสู่การโอ้อวดความสวยความงามกามารมณ์กันไป  เรื่องยารักษาโรค เป็นธรรมชาติอย่างนี้ตั้งแต่เกิดจนตายไป

ธรรมชาติสร้างให้มีเราเกิดขึ้นมา  มีมนุษย์คนแรกขึ้นมาแล้ว ก็มีความหิวโหยอาหารการกินทั้ง อาหารและน้ำจำเป็นต้องมีกิน ไม่มีอาหารการกินก็ไม่มีชีวิตอยู่ได้  ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่การกินไปตลอดชีวิต  เมื่อมีกิน มีดื่ม  มีใช้ ก็มีชีวิตไปเรื่อยๆ มีสุขมีทุกข์สลับกันไป ๆ และแก่เฒ่าแล้วเจ็บป่วยและตายไปทุก ๆคนๆ นั้นแหละทุกข์

สิ่งที่ธรรมชาติกำหนดวิถีทางของคน ก็เป็นอย่างนี้เอง

คือเกิดมาเป็นคนก็หิว ก็หากินหาใช้ หาอยู่ ไป หายหิวก็หยุดพัก พอหิวก็หากินอีก อิ่มแล้วก็หิวเช่นนี้ เป็นธรรมชาติ  เป็นแบบนี้เอง   จนคนรู้จักหากินหาใช้ พออยู่พอกินมีชีวิตได้ตลอดไป แล้วก็แก่ลง เจ็บป่วยแล้วตายไป

คราวนี้เนื่องจากมีการเกิด คนเราก็มีมันสมองพิเศษ ต่างไปจากสัตว์

คนจึงเริ่มคิด มีการศึกษาขึ้นมา

ยุคแรก ๆของคนนั้น ก็เป็นคนป่าคนเถื่อน ไม่ต่างจากสัตว์ หรือพันธุกรรมหนึ่ง  พอเจริญขึ้นมามีความคิดปัญญาขึ้นมาเรื่อยๆ จากการรู้จักศึกษาวิจัย

มาระยะหนึ่งคนก็ถามตนเองขึ้นมาว่า  คนเรามาจากไหนโลกมาจากไหน ? ใครเป็นคนสร้างโลกจึงมีความคิดกันไปต่างๆในเรื่องคำตอบนี้

จนที่สุดก็มีความคิดว่ามีเทพยดา ตั้งแต่พระอาทิตย์พระจันทร์ พระอังคาร พระศุกร  และดวงดาวเทพเจ้าต่างๆ ประจำราศีแบบโหราศาสตร์เป็นเทพดาหมด แล้วที่สุดก็ไปคิดว่าพระเจ้าองค์สำคัญเป็นผู้สร้างโลก คนก็เริ่มหวาดกลัวในสิ่งที่ไม่รู้  เริ่มการบูชาพระเจ้าขึ้นมา  มองว่าเป็นผู้มีอำนาจช่วยให้พ้นภัยอันตราย  ให้เกิดความร่ำรวยมั่งมีศรีสุขอย่างไรก็ได้ จึงเกิดเป็นลัทธิความเชื่อขึ้นมา มีศาสนาพราหมณ์ ฮินดูขึ้นมาก่อน  มีพระอิศวร - นารายณ์ พระพรหม ขึ้นมา  ว่าเป็นผู้สร้างโลก คุ้มครองโลก ป้องกันโลกมนุษย์เรานี้ให้พ้นภัยอันตรายพ้นความพินาศ

เรื่องผู้สร้างโลกนี้

ต่อมาก็ยังมีพระเจ้า 2 องค์เกิดขึ้นมา อยู่มาถึงทุกวันนี้ คือ พระยะโฮวาห์ กับพระเจ้าอัลเลาะห์ 

ส่วนพระพุทธศาสนานั้น เนื่องจากพระบรมศาสดา ผู้ทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง  ผู้ทรงสร้างศาสนาพุทธขึ้นมา  เริ่มจากทรงได้อุทิศตนไปบวชเพื่อไปศึกษาวิจัยเรื่องชีวิตมนุษย์  อยู่ในป่าถึง 6 ปีจึงได้พบความจริงเรื่องมนุษย์ เรื่องโลก  เป็นความจริง  4 ประการ ที่ไม่ใช่เรื่องพระเจ้าสร้างโลก เช่นที่คิดกันมาก่อน

แต่เป็นความจริงเรื่องโลกและมนุษย์  ว่าเป็นเรื่อง  ทุกข์อริยสัจ  คือ ความจริงเกี่ยวกับ ทุกข์ เกี่ยวกับการเกิดมาเป็นคนนั่นเอง

โดยได้พบความจริง  4 ประการดังนี้

1. ทุกขัง อะริยะสัจจัง  สัจธรรมของทุกข์

ประการแรกว่า  ทุกข์อริยสัจ  ความจริงเกี่ยวกับ ทุกข์   เอาว่า  ทุกข์คือความยากลำบาก  ความแก่ ความเจ็บ และความตายเอาเท่านี้ก่อน สิ่งที่ทรงค้นพบก็คือ  ทุกข์ของชีวิตทั้งหลาย มาพร้อมกับการเกิด เป็นคนหรือเป็นอะไรก็ตาม

โดยทรงพบว่าคนทั้งหลายนั้นมีการเกิดมาแล้วสิ่งที่ได้พบขณะมีชีวิตอยู่ไปจนตายก็คือสิ่งเดียวนี้เท่านั้น คือ ทุกข์

ทุกข์ เป็นสิ่งที่ชีวิต และสรรพสิ่ง ในโลกแม้โลกเราเองพบอยู่ เผชิญอยู่ ตลอดเวลา  ตั้งแต่เกิดจนตาย

จึงทรงนิยามได้ว่า  เกิดมาแล้วก็พบแต่ทุกข์ เป็นการเกิด เพื่อทุกข์ ทุกข์มาพร้อมกับการเกิด  หรือ  การมีโลกที่เป็นทุกข์ นั้นเอง   นี่เป็นการค้นพบของพระพุทธเจ้า  แม้เป็นความจริงตามธรรมชาติ  แต่ไม่มีใครพบมาก่อน

จะเห็นว่า  มันเป็นธรรมชาติธรรมดาเช่นนี้เอง จึงเรียกว่าเป็นธรรมชาติ

สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบก็คือ  พบว่าชีวิตเรา เป็นไปตามธรรมชาติการเกิด การเป็นอยู่ เป็นไปของชีวิตไปจนถึงการแก่ชราลงไปการเจ็บ และการตาย เป็นธรรมชาติไม่ได้มีการดลบันดาลอย่างไรจากเทพเจ้าเลย

และสิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบก็คือ  ทรงพบเรื่อง  ทุกข์ ทรงพบอย่างน่าตื่นเต้นตกใจในเรื่องทุกข์เลยทีเดียว เพราะทรงพบว่า ทุกข์เป็นธรรมชาติสำหรับ ไม่เฉพาะมนุษย์เท่านั้น แม้วัตถุ ทั้งหลาย  พืชพันธุ์ไม้  โลกทั้งโลก จักรวาลทั้งจักรวาล  สรรพสิ่งล้วนเป็นทุกข์  ไม่มีอะไรสิ่งใดเลยที่ไม่ทุกข์

แม้พระเจ้ายะโฮวา หรือ อัลเลาะห์  ผู้สร้างโลก ก็ไม่พ้นทุกข์เลย

จึงทรงตรัสว่า  ความจริงคือการเกิด หรือการเป็นขึ้นมาเป็นตัวตน ประกอบด้วย รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย มนุษย์ อมนุษย์

แล้ว การเกิดก็นำมาพร้อมกับ ทุกข์

อะไรเกิดมาก็พบทุกข์ทุกสิ่งทุกอย่าง

และนั่นคือสัจธรรมว่าด้วยทุกข์เป็นสิ่งที่ครอบครองโลกและสรรพสิ่ง

ทุกข์จึงเป็นปัญหาของคนเรา และทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นทุกข์

และทรงพบว่า ทุกข์มาพร้อมกับการเกิด  และครั้นตายไปแล้วก็หาได้พ้นทุกข์ไม่ หากต้องมีการเกิดมาใหม่อีกเสมอไป  หรือ เกิดเป็นอะไรๆ ก็ตาม ทรงพบว่าตายแล้วก็เกิดใหม่   ตาย  - เกิด   เกิด-ตาย  เป็นวงรอบอยู่เช่นนี้สำหรับคนเราและสรรพสิ่ง

และเมื่อเกิดแล้ว สิ่งที่พบก็คือ ทุกข์เสมอไป  เป็นวัฏฏะสงสาร  ไม่ว่าเกิดกี่ครั้ง กี่รอบ เกิดมาก็พบทุกข์เสมอไปเลย

การเกิดจึงเป็นการมาพบทุกข์   เกิดกับ ทุกข์ เป็นของคู่กัน  ดุจดั่งอันเดียวกัน  มานับล้านๆปีมาแล้ว

2.  ทุกขะสมุทะโย อะริยะสัจจัง   สัจธรรมเรื่องเหตุของทุกข์

พุทธองค์จึงทรงศึกษาวิจัย จนพบต่อไปอีกว่า  อะไรคือเหตุให้มีการเกิดไม่รู้จบ   เกิดกับ ทุกข์ เป็นอันเดียวกันแท้ ๆ

ก็ทรงได้พบอริยสัจหรือความจริงเกี่ยวกับสาเหตุหรือตัวเหตุการเกิดเป็นทุกข์   อะไรเป็นตัวเหตุของการเกิดมาทุกข์   ทำอย่างไรจะไม่มีการเกิดมาพบทุกข์อีก ?

ก็ทรงพบความจริงอันสุดลึกลับลึกซึ้งที่ไม่มีผู้ใดพบมาก่อนเลย  นั่นคือ มีตัณหา3 ประการ คือความอยาก 3 ประการมีอยู่ในจิตใจของมนุษย์  นั่นคือ 

 (1)  กามตัณหา ความรักความใคร่ความพิศวาสระหว่างเพศชาย-หญิงนั่นเอง แล้วมีโลภะ ไม่รู้จักพอ กลายเป็นการกระทำบาปไปเรื่อยๆกว่าจะตายลง

 (2)  ภะวะตัณหา  ความอยากมีอยากได้ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือ วัตถุทั้งหลายนั้นเอง มีโลภะในเรื่องนี้ ไม่รู้จักพอไม่รู้จักอิ่ม จึงทำบาปไปเรื่อย ๆจนกว่าจะตายลงไป

 (3)  วิภวะตัณหา  ความไม่ได้มีไม่ได้เป็นในภวะตัณหานั้นเองทำให้ทุกข์ใหญ่โต กลายเป็นการแสวงหาด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ด้วยอวิชชา สร้างความบาปขึ้นในจิตใจมาตลอดจนตายลงไปพร้อมจิตที่เต็มไปด้วยความบาป

ตัณหาทั้ง 3 อย่างนี้แหละ ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ  เป็นสิ่งที่พบจากการวิจัยของพระองค์อย่างละเอียดลึกซึ้ง เรื่องทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ พ้นจากการเกิดใหม่เสียได้นั่นเอง ทรงวิจัยอยู่ถึง 6 ปีกลายเป็นสัจธรรม ความรู้ที่ล้ำเลิศประเสริฐยิ่ง ที่นำคนทั้งหลายลัดไปพ้นจากทุกข์ ไปสู่โลกที่แสนสุดประเสริฐ ที่รู้กันว่า โลกนิพพานในพระพุทธศาสนานั้นเอง และบุคคลก็มีฐานะสูงส่งเป็นอริยบุคคล ขึ้นมาแทนปุถุชน นั้นเอง  

กล่าวคือ

ทรงพบว่ามีสิ่งที่ทำให้เกิดอีก เกิดมาใหม่ก็เหมือนเดิมแต่เก่า คือมาพบทุกข์ไปอีกตลอดชีวิต  พบทุกข์ไปตลอดชีวิตนั้นก็คือ ตัณหา 3 อย่างก็ยังมีอยู่นั่นเอง  มีในจิตใจของมนุษย์นั้นเอง  คือ

ประการที่ 1  กามตัณหา  ความหยากความใคร่ในอารมณ์จิตที่คิดพิศวาสด้วยราคะตัณหานั้นเอง  ทางกามสุขัลลิกานุโยค นั้นเอง  

ประการที่ 2   ภวะตัณหา ความอยากมั่งมีร่ำรวย  แสวงหาทรัพย์สมบัติเงินทอง ชื่อเสียง ยศถาบรรดาศักดิ์ การสรรเสริญเยิรยอ   ยิ่งได้ยิ่งมีโลภะ โทสะไม่รู้หยุดหย่อน แม้ได้ภูเขาเป็นทองคำแล้ว ก็ยังหยากได้ต่อไปอีกนี่แหละ ภะวะตัณหา  และรวมแล้วเรื่องการใฝ่ใน โลกธรรม 8ประการนั้นลาภ ยศ  สรรเสริญ สุขนั้นเองไม่รู้จักพอ   และ

ประการที่ 3  วิภวะตัณหา  หากไม่มีลาภ ยศ  สรรเสริญ สุข ความมีความเป็นเสียแล้วก็เป็นทุกข์หนักพยายามแสวงหามาให้ได้ไม่หยุดหย่อนแม้กระทำการผิดกฎหมายกฎเกณฑ์ใดใด แม้ผิดศีลธรรม ก็ยอมทำผิด

นี่แหละตัณหาทั้ง 3ประการนี้  สะสมคับคั่งในดวงจิต มนุษย์ จึงมีแต่ก่อกรรมทำให้เกิดทุกข์ ไม่มีวันหลุดพ้นไปได้ทำให้ไม่มีสติ  ไม่มีสมาธิ ตายแล้วก็มาเกิดใหม่นับอนันตชาติข้างหน้าเพราะก่อนตายในดวงใจมีแต่ตัณหาทั้ง 3 อยู่เต็มไปหมด

3.  ทุกขะนิโรโธ  อริยะสัจจัง  ทุกขะนิโรธ  ความดับในจิตใจ

ดังที่ทรงพบในอริยสัจธรรม ประการที่ 3 คือ ทุกขนิโรธ  สภาวะความดับในดวงจิตของเรา  โดยทรงพบว่าเมื่อทรงสละละทิ้งตัณหาทั้ง 3ประการให้หมดสิ้นไปจากใจแล้ว  ความละตัณหาทิ้งได้ ทำให้เกิด นิโรธ คือสภาวะความดับเกิดขึ้นในจิตใจ เป็นผลต่อจิตใจคือสิ่งที่ทรงตรัสว่า  นิโรธ นั้นเองคือสภาวะที่จิตสะอาด ปราศจากกิเลสตัณหา อุปาทานหมดสิ้นไปเป็นการปรับจิตใจเดิมไปสู่สภาวะใหม่เอี่ยมอ่อง  ไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็นที่ที่ตายไปแล้วไปสู่ความพ้นทุกข์  ไม่มีการกลับมาเกิดอีก(โปโนภพวิกา)และที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเรียกว่านิพพาน  นั้นเอง

นี่แหละเป็นการบรรลุอันเป็นผลจากการฆ่ากิเลสตัณหา อุปาทาน ได้หมดแบบเกลี้ยงเกลาไปเลยจากจิตใจของเรา  นั้นเอง  และใครคนใด ชาติศาสนาใดก็ตามสามารถทำได้เช่นนี้แล้ว สามารถสังหารกิเลสได้หมดจากใจแล้ว ก็จะมาพบสภาวะดวงจิตประเสริฐ อุปมาเหมือนพบโลกใหม่ โลกที่พ้นทุกข์พ้นปัญหาไปได้ทุกอย่างคือโลกประเสริฐ นิพพานนั่นเอง ได้ทุกคนๆ ผู้กระทำได้

4.  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา  อะริยะสัจจัง  ข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

และสัจธรรมประการที่ 4 คือทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ คือ  ทุกขะ นิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง หรือที่เราคุ้นกันว่า มรรค 8 ซึ่งมาจากการที่ทรงค้นพบใหม่นั้นเอง  และ ทรงพบว่ามี 8 ประการคือ

1. สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ  อย่าไปเชื่อว่าจะมีใครทำอะไรให้เราได้ต้องพบความจริงว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อย่าคิดเรื่องการดลบันดาลของเทพ เทวดา พญานาค พญางู แม้ พระเจ้า  ตนต้องทำเอาเองทุกสิ่งทุกอย่างแม้การแสวงหาความหลุดพ้นก็ต้องทำเอาเองจึงจะสำเร็จมรรคผลนิพพานได้

2. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ การคิด การตรองการตรึกอะไรให้ ดำริในการใฝ่ศึกษาอริยสัจ 4 ของพุทธองค์  ไปให้ได้จนกว่าจะบังเกิดดวงตาสว่างไสว รู้แจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นมา บรรลุมรรคผลนิพพานได้

3. สัมมาวาจา  วาจาชอบ  จง ใช้วาจาเป็นสายสัมพันธ์แห่งไมตรีจิต  เชื่อมสายใยแห่งการตลาดการงานอาชีพให้รุ่งเรืองด้วยการคบคนดีเป็นมิตรการใช้วาจาทรงคุณค่าให้ความรู้อริยสัจธรรม  นำสัจธรรมไปสู่มิตรร่วมโลกโดยตลอด

4. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ไม่ใฝ่หาการงานที่เลี้ยงกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เป็นงานที่บริสุทธิ์ปราศจากความโลภ  โกรธ  หลง และการงานนั้นเพิ่มการสร้างสังคมผู้ดี ผู้ใกล้ชิดรอบตัวเรา  ให้พร้อมเจริญไปด้วยกันในทางสู่ความรู้ สติปัญญาทางการพ้นทุกข์  รู้แจ้งสัจธรรมแห่งชีวิตจนสิ้นความสงสัยใดใด

5. สัมมาอาชีโว  อาชีพชอบ  ทำอาชีพเลี้ยงตนเองแบบบริสุทธิ  ตามธรรมชาติของชีวิต  ให้อยู่มีชีวิตทำกิจกรรมแห่งความดีไปได้ ตราบบรรลุมรรคผลนิพพาน แม้อาชีพนั้น ทำความสำเร็จร่ำรวย กิจการค้า ก้าวหน้าเจริญไปไม่หยุด ก็ด้วยความดีไม่หยุด ก้าวหน้าในความดีไปเรื่อย ๆ ทำอาชีพให้สำเร็จร่ำรวยไปเรื่อย ๆ พร้อมมรรคผลนิพพานนั้นด้วยความดีนั่นเอง

6.  สัมมาวายาโม  ความเพียรพยายามชอบ อย่าให้ความขี้เกียจครอบครองจิตใจ  ไล่ละฆ่ามารขี้เกียจเท่ากับล้างตัณหาจากใจได้เลยทีเดียว เมื่อใดดวงจิตชำระสิ้นความเกียจคร้านแล้ว นั้นแหละการชำระกิเลสนั่นเอง  ใจมีแต่ความขยันพากเพียรอย่างเดียว นั่นแหละการบรรลุมรรคผลนิพพาน สู่ความพ้นทุกข์แห่งโลกใหม่

7. สัมมาสติ  สติชอบ  รู้ปัจจุบัน  อดีตนำมาสู่ปัจจุบัน  ปัจจุบันนำไปสู่อนาคต  ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด  นำสติมาสู่ มารู้การกระทำของตน ณ นาทีนี้ วินาทีนี้ ทำถูกทำผิด รู้ตัวตลอด  นั่นแหละคือ ความไม่ประมาทแล้ว  ย่อมได้กระทำแต่ความดีทุกวัน ทุกนาทีวินาที แห่งชีวิต  แล้วนั้นแหละทางมรรคผลนิพพาน

8. สัมมาสมาธิ  สมาธิชอบ  เพิ่มพลังจิตด้วยสัมมาสมาธิ กล้าหาญในการต่อสู้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน  คบคนดี  ห่างไกลคนชั่ว  สร้างสังคมคนกล้าหาญขึ้นสู้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน และการบรรลุมรรคผลพร้อมกันเป็นหมู่เป็นพวก

อริยสัจธรรมโลกใหม่ที่ทรงวิจัยค้นพบ คือทุกข์ (อริยสัจธรรมข้อที่1) เป็นผลสรุปสุดท้ายของชีวิต ก็ คือ ความไม่เกิดอีก  ทรงพบว่า ภายหลังขัดเกลากิเลส ไล่ล้างตัณหา กาม  ภวะ  วิภวะ ตัณหา ไปหมดสิ้นจากใจแล้ว(ตามที่ทรงพบในอริยสัจข้อ 2) มีผลเกิดขึ้นต่อจิตใจแบบตรงข้ามของเดิม เดิมสกปรกกลายเป็นสะอาด เดิมขุ่นมัว เป็นสดใสสว่าง เดิมรุ่มร้อนกลายเป็นเย็น  สิ่งที่เหลือในจิตใจใหม่ โลกใหม่ ก็จะเป็น ความว่างเปล่าที่ไร้ขอบเขตเกิดขึ้นภายในดวงใจใหม่นั้นเอง  จึงเสมือนการหลุดพ้นจากโลกดิมไปสู่โลกใหม่อีกโลกหนึ่ง คือ โลกนิพพานขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเอง และนั่นแหละมรรคผลนิพพานละ (ตามสัจธรรมข้อที่ 3 นิโรธ)  

เป็นเรื่องของการศึกษาวิจัยชีวิตมนุษย์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ งานวิจัย เรื่องเหตุและผลสำหรับคนยุคใหม่โดยแท้จริงและนั่นแหละการรู้ความจริง ความจริง 4 ประการที่พุทธองค์ทรงตรัสรู้  ด้วยปัญญา การตรึกการตรอง หาเหตุและผลแห่งโลกนิพพาน หรือความจริงที่แท้จริง  ดวงใจใหม่ที่ล้วนสะอาด บริสุทธิ์ เสมือนทำความสะอาดดวงใจเก่าที่สกปรกให้สะอาดขึ้นเป็นใจใหม่และไม่มีอะไรเลย ที่ว่างเปล่า ไร้ขอบเขต นั่นแหละเหตุและผลแห่งโลกนิพพาน ที่พ้นทุกข์ พ้นจากการเกิดอีก น่าง่ายสำหรับคนยุคใหม่ ยุคเสรีชนคนวิทยาศาสตร์โดยแท้จริง.

-----*****-----
-----*****-----

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต  :

บทที่ 2  อริยสัจ 4 เป็นความรู้ของผู้ที่เรียกตนว่าเป็น พระพุทธเจ้า 

-----

เหตุผลเมื่อเราถามขึ้นว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?

คำตอบว่า พระเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 นั่นเป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้ว  เพราะพระองค์ทรงบอกเอง  บอกปัญจวัคคีย์คราวแสดงพระปฐมเทศนาโปรดพวกเขาว่า  หากไม่ทรงรู้แจ้งเรื่องอริยสัจ 4 แล้ว ผ่านการพิศูจน์ทดลองวิจัยมาแล้ว  จะไม่ทรงประกาศตนเป็นพระพุทธเจ้า

โดยย่อก็คือ  ทรงรู้ความจริงเกี่ยวกับ ทุกข์   รู้แบบเป็นสัจธรรมที่ทอดความสัมพันธ์ไปสู่อีก 3 ประการ  เป็นอริยสัจ 4 ประการเกี่ยวข้องกัน   คือความจริงที่มีเพียงอย่างนี้  อย่างอื่น ไม่ใช่  ตามที่ทรงประกาศว่า

                ทุกข์  เป็นเรื่องจริง  ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ไม่เคยมีใครพบมาก่อน ทรงพบทรงรู้ความจริงนี้เป็นคนแรก

                สมุทัย เหตุแห่งทุกข์    เป็นเรื่องจริง  ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ไม่เคยมีใครพบมาก่อน ทรงพบทรงรู้ความจริงนี้เป็นคนแรก

                นิโรธ  ความดับ  เป็นเรื่องจริง  ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ไม่เคยมีใครพบมาก่อน ทรงพบทรงรู้ความจริงนี้เป็นคนแรก

มรรค  ทางปฏิบัติสู่ความพ้น                ทุกข์  เป็นเรื่องจริง  ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ไม่เคยมีใครพบมาก่อน ทรงพบทรงรู้ความจริงนี้เป็นคนแรก

เร่ามาวิเคราะห์ ก็จะเห็นว่า ตรงนี้ พอเห็นได้เลยว่า เหมือนงานวิจัยยุควิทยาศาสตร์ยุคใหม่เรานี้เอง  คือในคืนวันตรัสรู้ วันเพ็ญ เดือน หก นั้นคืนนั้นทรงรู้ว่าทุกข์คืออะไร  สมุทัยคืออะไร  นิโรธ คืออะไร มรรคคืออะไร...แบบที่ไม่เคยมีใครรู้อย่างนี้มาก่อนเลย และทรงมั่นใจว่าเป็นความจริง ตามที่บอกปัญจวัคคีย์ว่าเป็น.....  อริยสัจจันติ เม ภิกฺขเว   ภิกษุทั้งหลายนี่เป็นสัจธรรมนะ  แล้ว  ....ก็ทรงศึกษาวิจัยต่อไปอีก ไม่ใช่จบลงในคืนนั้น    ที่เราทราบว่า  ทรงนั่งต่อไปที่ต้นโพธิ์นั้นไปจนครบ 7 วันไม่ลุกไปไหนเลย   แล้วย้ายไปนั่นใต้ต้นไทรต่อไปอีก 7 วัน   แล้วย้ายต่อไปนั่งใต้ต้นจิกอีก 7วัน แล้วย้ายต่อไปต้นเกตุอีก7 วัน   แล้วทรงกลับไปนั่งต้นโพธิ์ อีกจน รวม 49 วันนี้  ที่บอกเราว่า ทรงวิจัยสัจธรรม 4 ประการต่อไป จนทรงรู้แจ้งหมดความสงสัยและหมดความลังเลใจที่จะประกาศพระองค์ว่าทรงเป็นพระพุทธเจ้า  บัดนี้มีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิดขึ้นมาแล้ว

ก็ที่ทรงตรัสเรื่อง 3 รอบ  12 อาการนั้นเอง คือ 3 รอบ สำหรับแต่ละอริยสัจ รวม 4 อริยสัจ ก็เป็น  12 รอบ 12 อาการ

 (คำว่า อาการ เป็นคำแปล ที่กำกวม บาลีว่า

-----

-----

ยาวะกีวัญจะ   เม   ภิกขะเว   อิเมสุ   จะตูสุ   อะริยะสัจเจสุ

เอวันติปริวัฏฏัง   ทวาทะสาการัง    ยะถาภูตัง   ญาณะทัสสะนัง  นะ  สุวิสุทธัง อะโหสิฯ

เนวะ  ตาวาหัง  ภิกขะเว  สะเทวะเก  โลเก  สะมาระเก  สะพรัหมะเก    สัสสะมะณะพรามหมะณิยา   ปะชายะ  สะเทวะมะนุสสายะ   อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง  อะภิสัมพุทโธ   ปัจจัญญาสิงฯ

-----

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ 3 มีอาการ 12อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ  ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าโลก เป็นไปพร้อมกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์  ทั้งในสมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ไม่ได้เพียงนั้น)

--***--

ยะโต   จะ  โข  เม  ภิกขะเว  อิเมสุ   จะตูสุ   อะริยะสัจเจสุ

เอวันติปริวัฏฏัง    ทวาทะสาการัง    ยะถาภูตัง   ญาณะทัสสะนัง  นะ  สุวิสุทธัง   อะโหสิ ฯ

อะถาหัง   ภิกขะเว  สะเทวะเก  โลเก  สะมาระเก  สะพรัหมะเก    สัสสะมะณะพรามหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ   อะนุตตะรัง   สัมมา สัมโพธิง   อะภิสัมพุทโธ   ปัจจัญญาสิง ฯ

-----

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล  ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ 4 เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ 3 มีอาการ 12อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ชอบ  ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าในโลก  เป็นไปพร้อมกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์  ทั้งในสมณพราหมณ์ เทพยดา  มนุษย์)

-----

-----

นั้นเอง     ที่บอกว่านั่นคือหลักการวิจัยยุคใหม่นี้เอง (มี 1.สมมุตติฐาน- 2.เก็บข้อมูลมาพิศูจน์ ทดลอง ตรวจสอบความจริง-3. สรุปผล) ดูพระองค์ ทรงค้นพบและวิจัยอริยสัจ 4 ใช้เวลาถึง 49 วัน   ก็เพื่อรู้ตามพระองค์ไปแบบง่าย ๆ  ก็เพื่อบรรลุอรหันต์ไปเลยง่าย ๆ  ก็ขออธิบาย ตามลำดับ  3 รอบ 12 อาการของพระองค์  ดังต่อไปนี้

1. ทุกข์   ทรงวิจัยไปตามลำดับตามที่ทรงตรัสให้ปัญจวัคคีย์ฟัง

1.1.  เป็นความรู้ที่ไม่ทรงได้เคยฟังมาก่อน  ว่านี่เป็น  ทุกขอริยสัจ …..  อริยสัจจันติ เม ภิกขเว..... (นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..    คือไม่ผิดไปจากที่พระองค์สอน  ที่ผิดไปจากที่พระองค์สอนก็ไม่ใช่สัจจะ ก็พาปฏิบัติผิดไป   เมื่อไม่ใช่สัจจะ ก็ไม่พาไปพ้นทุกข์ได้

1.2  ทรงตรัสว่า   ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นเองเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้(คำแปลว่า กำหนดรู้ ให้ความหมายกำกวม) ในเชิงงานวิจัย จึงสามารถทำความเข้าใจได้  ให้ความหมายว่า คำว่ากำหนดรู้นี้แหละหมายถึงทรงวิจัยต่อมาอีก 49 วัน เพื่อหาเหตุหาผล พิศูจน์ให้ชัดเจนว่าเป็นอริยสัจธรรมจริง ๆ  ….ปะรัญเญย ยันติ เม  ภิกขะเว......(ภิกขุ ท. ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้)......  นั่นคือ  เรื่องทุกข์นี้ขอให้ตามศึกษา พิศูจน์ วิจัย ให้รู้จริง ๆ นั่นเอง

1.3   แล้วก็ทรงพบจากการพิศูจน์ทดลองความรู้จริงแล้ว   นั่นหมายความว่า  ทรงสรุปผลการวิจัยออกมาได้  ยืนยันเป็นอริยสัจ คือเป็นความจริงของชีวิต  ของโลก  วัฏฏะสงสาร  ที่พระองค์ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน  พระองค์เป็นคนค้นพบความจริงนี้เป็นคนแรก.....ปะริญญา ตันติเม ภิกขะเว.....(ภิกขูท.ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว).....ทรงค้นพบทุกข์คืออะไร ? ทุกข์ นี่แหละครอบโลก ครอบมนุษย์ ครอบเราทั้งหลายอยู่ แบบที่เราไม่รู้ มนุษย์ทั้งหลายไม่รู้ ถูกครอบด้วยอวิชชา ...จึงทรงจะให้รู้เพื่อประโยชน์ความพ้นทุกข์  มีสุขนิรันดรนั่นเอง

โดยสรุปของพระองค์เอง  เพียงแต่เข้าใจทุกข์  รู้แจ้งทุกข์อย่างสมบูรณ์ ตามลำดับที่ทรงสอนนับแต่ธัมมจักกัปปะวัตตนะสูตรอนัตตะลักขณะสูตรและอาทิตตะปริยายสูตร,  3 พระสูตรแรกที่ทรงสอนติดต่อกัน  ที่ยังผลให้ผู้ฟังบรรลุอรหันต์พลันที่แสดงธรรมจบลง ถึง 1005 องค์พร้อมกันนั้นเอง....แม้สมัยนี้เองยิ่งน่าให้ผลเร็วกว่านั้นเองอีก  เนื่องเพราะสติปัญญา นั้นเอง  ทรงยืนยันว่าทรงตรัสรู้ด้วยสติปัญญาไม่ใช่ ทรมานกายแบบทุกกรกริยาเลย   จึงขอเพียงเกิดปัญญารู้แจ้งทุกข์เท่านั้นก็สำเร็จอรหันต์ได้ และคนยุคนี้ทรงความรู้สติปัญญาไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนยุคพระพุทธเจ้าเลย  เพียงใช้ปัญญาคิด ดำริตามไปเท่านั้น  ฟังธรรมบทเดียวกับยุคทรงแสดงปฐมเทศนา แล้วก็บรรลุผลแบบเดียวกันได้  ฟังจบ ลุอรหันต์ทันทีได้โดยฟังเรื่องอริยสัจ 4 ให้รู้เข้าใจแบบทะลุปรุโปร่ง  ฟังจบเกิดนิพพิทาญาณ ไล่ตัณหาไปจากใจ  ก็บรรลุอรหันต์ได้ทันทีเช่นเดียวกัน

และที่นำมาอธิบายนี้ ก็โปรดอ่านให้เข้าใจไปเลย มีสิทธิลุมรรคผลได้

2.  ทุกขสมุทัย  ทรงรู้เหตุแห่งทุกข์คืออะไร ?   ...ตรงนี้หมายความว่า ต้องรู้ก่อนว่า ทุกข์คืออะไร ....ค่อยมาถามต่อว่าเหตุแห่งทุกข์นั้นคืออะไร.....  คือมองแบบ สัจจะ  คือ ตัณหา 3 ประการ  กามตัณหา   ภวะตัณหา  วิภวะตัณหา

2.1  ทรงรู้สัจธรรม เหตุแห่งทุกข์แล้ว  ตั้งแต่วันตรัสรู้ ...อริยสัจจันติ เม ภิกขะเว... ....(นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..

                2.2  ทรงเอาไปพิศูจน์ เชิงปัญญาวิจัย ต่อไปอีก 49วัน   ตามที่ ทรงตรัสว่า  .....ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว.....(ภิกขุ ท.นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ นี้แลควรละเสีย).....ตัญหานั้นต้องประหารเสียให้หมดสิ้นไปจากใจของเรา

2.3  ทรงทบทวนตรวจสอบพระองค์เองอยู่ 49 วัน จึงยืนยันได้ว่า ทรงละเสียซึ่งตัณหา3 ประการ ไปได้หมดไม่เหลือเลยแล้ว ....ปะนันติ เม ภิกขะเว.....(ภิกขุ ท. นี่ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว) ......ทรงประหารตัณหาเสร็จไปหมดไม่มีเหลือแล้ว

นี่เป็นวิทยาศาสตร์การวิจัยนั่นเอง  เพราะเมื่อรู้เหตุ  ทำลายเหตุแล้ว  ก็ไปสู่ผลเองโดยอัตโนมัต  และนั่นคือนิโรธอริยสัจข้อที่ 3

ที่นี้ประเด็นคือ การประหารกิเลสตัณหา3 ตัวตนนั้น  ทรงตรัสบอกต่อมาในพระสูตรต่อมาคือ อะนัตตะลักขณะสูตร  และเน้นลงไปใน อาทิตตะปะริยายะสูตร  ว่า  โดยการใช้วิชชา  สติ  ปัญญา(จักขุงญาณปัญญาวิชชาอาโลโก) พิเคราะห์พิจารณาให้รู้สัจธรรม(แบบให้รู้ ให้ตื่น ให้เบิกบาน หรือ enlightenment นั้นเอง)แล้ว รู้ทั่วทะลุปรุโปร่งไม่สงสัยอะไรอีกแล้ว ก็ย่อมบรรลุมรรคผลถึงสูงสุด คืออรหัตตผลเลยทีเดียว....และหยุดโลกลงได้เลยทีเดียวแบบไม่ล่าช้าเลย

ตรงนี้สำคัญมากทางปฏิบัติ

.....  หากไม่แล้ว ก็จะยาก และไปใช้วิธีอื่น ที่จะต้องอดทนทรมาน ยากลำบากและเนิ่นนาน โดยต้องเดินตามมรรคทั้ง  8 โดยเฉพาะหลักสัมมาสมาธิ โดยวางพื้นฐานการปฏิบัติ ทาง ทาน  ศีล สมาธิ ปัญญาแบบคนธรรมดาๆ หรือพระนักบวชธรรมดา ๆ   ก็จะยากต้องใช้ความพยายาม และความทรหดอดทน ไปเป็นปี หลายปี  แม้กระทั่งหลายชาติ ไปเลย  ฉะนั้น เอาวิธีทางปัญญาจะเร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากเลย โดยดูให้เข้าใจให้รู้จริง ๆ ถึงวิธีที่พระองค์ทรงโปรดสอนให้รู้ในเรื่องอริยสัจ 4 ให้ได้ ดังจะพบเหตุผลว่า เหตุใดจึงสามารถบรรลุอรหันต์ได้พลันทันทีง่าย ๆ ก็เพราะเมื่อได้รู้แจ้งทุกข์อริยสัจ ครบถ้วนทะลุปรุโปร่งแล้ว ผลคือนิพพิทาญาณ(ความเบื่อหน่ายไร้จิตยินดีหลงใหลในโลกจะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นอย่างแรง และนิพพิทาญาณนี้เองจะชำระกิเส ตัณหา อุปาทานได้พลันทันทีไปเลย  นั้นแหละรู้เรื่องชั่วเรื่องเลวแล้วชำระใจให้สดในสว่างไปได้ทันทีก็บรรลุอรหันต์ได้โดยวิธีนี้ นี่แหละผู้มีประสบการณ์มาแล้วดีแล้วประสงค์ให้ได้รู้อริยสัจธรรมจริง ๆ ไปคว้าเอาเถอะซึ่งรางวัลแห่งชีวิตที่เมื่อถึงแล้วจึงจะรู้คุณค่าอันสุดแสนประเสริฐสุดบรรยายไปเลย

3.  ทุกขะนิโรธะอริยสัจ

ทรงรู้ว่าทรงเข้าสู่สภาวะนิโรธ  โดยการปรากฎที่ใจ แล้วทันทีทันใด ตั้งแต่ทรงประหารกิเลสตัณหาอุปาทานสิ้นไปหมด ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างสัจธรรม ให้คนทั้งหลายทราบว่า   เช่นเดียวกันกับคนทั้งหลายชาติ ศาสนาใดเพศใดวัยใด ก็ตาม  หากสามารถละตัณหา 3 ประการได้แล้ว ก็เข้าสู่นิโรธได้เองโดยอัตโนมัติ  และนั่นคือ มรรคผลนิพพาน ระดับ อรหันต์ เลยทีเดียว

                3.1  ทรงเข้าสู่ภาวะนิโรธ ทรงรู้ว่านิโรธ คืออะไร (คือภาวะทางจิตที่ทรงคุณค่าล้ำเลิศ ประเสริฐแก่ชีวิต แด่คนทั้งหลายตั้งแต่วันตรัสรู้แล้ว.....อริยสัจจันติ เม ภิกขะเว....(นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..  รู้สัจธรรมว่าด้วย นิโรธ  คือพูดผิดไปจากนี้ สภาวะนี้ แล้วไม่ใช่ความจริง  เป็นนิโรธปลอม  หรือ  อรหันเก๊นั่นเอง

                3.2 และนี่แหละก็ทรงเอาไปวิจัยต่อ จากวันตรัสรู้ ไปอีกถึง  49 วัน  ...สัจฉิกาตัพพันติ เมภิกขะเว .....(นี่ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง)......เพื่อตรวจสอบยืนยันความจริงสิ่งที่พระองค์ได้พบ

                3.3  ก็ทรงรู้แจ้งยืนยันได้ว่า  นิโรธ  คือแดน มรรคผล นิพพาน  สำหรับพระอริยบุคคลอรหันต์โดยแท้จริง ...สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว.....(นี่ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นแล  อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว)......  เสมือนโลกอีกโลกหนึ่งที่พ้นทุกข์ไป ตามลำดับขั้น ชั้นของอริยบุคคล นับแต่ โสดาปัตติมรรค  โสดาปัตติผล  สกทาคามิมรรค  สกทาคามิผล  อนาคามิมรรค  อนาคามิผล  อรหัตตมรรค อรหัตตะผลลุถึงระดับ พุทธะ ที่สิ้นปัญหาโดยสิ้นเชิง  นั่นคือ โลกุตตระ

4.  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา

                4.1  ทรงรู้จักทางปฏิบัติเพื่อความปฏิบัติที่ถูกต้องไปสู่ความพ้นทุกข์ ตั้งแต่วันตรัสรู้แล้ว.....อริยสัจจันติ เม ภิกขะเว…....(นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..

                4.2   ทรงเอาไปพิจาณาต่อไปอีก  อย่างละเอียดอ่อน  เพราะเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น   (ไม่เกี่ยวกับพระองค์เท่าไร แต่เอาพระองค์เป็นแบบอย่าง)  จึงทรงพิจารณาต่อไป อีก 49 วัน .... ภาเวตัพพันติ เมภิกขะเว.....(ภิกขุ ท. ก็ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจนั้นแลควรทำให้เจริญ)..... . ทรงพบทาง8ทาง เป็นทางถูกทางจริง หากไม่ใช่ทางนี้  ก็ไปไม่ถึง นิพพาน

                4.3  ทรงพิจารณาเสร็จแล้ว  ได้ทางปฏิบัติ 8 ประการ  คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปโปสัมมาวาจา,   สัมมาอาชีโวสัมมากัมมันโต,   สัมมาวายาโม,   สัมมาสติ,   สัมมาสมาธิ,  ..... ภาวิตันติ เม ภิกขะว......(ภิกขุท. (ก็ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยะสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )...

ครบ 3 รอบ 12 อาการ การปฏิบัติธรรมขององค์พระเจ้าชายสิทธัตถะก่อนบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า

นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ  ความจริง  หรือสัจธรรมความจริงของชีวิตเราทั้งหลาย  และกรณีนี้ เป็นสัจธรรมที่ทรงคุณค่า ให้ประโยชน์แบบที่โลกไม่มีอย่างนี้เลย  จึงยกเป็น สัจธรรมชั้นสูง  และเรียกติดปากว่า  อริยสัจ   อริยสัจ 4  ...(มีคำว่า อริยะ ) ซึ่งความหมายอยู่ที่คำว่า  สัจจะ ความจริง  นั้นเอง  เมื่ออ้างว่า นี่เป็นอริยสัจ  ก็หมายความว่าเป็นความจริง หากผิดไปจากนี้ก็ไม่ใช่ความจริง  เมื่อปฏิบัติไปไม่ตรงความจริง  ก็ไม่อาจจะบรรลุอรหันต์ได้  อย่างเช่นคุณไม่เข้าใจความจริงเรื่อง สัมมาทิฏฐิ  ที่บอกสัจธรรมว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน  แล้วคุณไปอ้อนวอนเทพเจ้า  หรือ พระเจ้าองค์ใดก็ตาม นี้มันขัดความจริงนี้  คุณก็ไม่สามารถจะอ้อนวอนใครให้ช่วยคุณบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นอริยบุคคล โสดา ถึง อรหันต์ได้  ซึ่งคุณยังไม่เข้าใจเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำ  ก็ยาก  ...เพราะประพฤติตนไม่ถูกความจริง นั่นเอง   

ตัวอย่างจริงๆ ก็คือพระองค์เอง   ทรงตรัสว่าคนเรา  แม้พระองค์เอง  ต้องสังหารตัณหาทั้ง3ประการหมดสิ้นไปก่อนแล้วจะส่งผลเองถึงนิโรธ  คือนิพพพานมรรคผลระดับอรหันต์ได้   แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ทรงปฏิบัติไปตรงความจริงนี้ ผิดไปไม่ได้ ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า อย่างที่ทรงตรัสบอกปัญจวัคคีย์ไปว่า เรื่องตัณหาทั้ง 3 นี้  ทรงรู้แล้วว่ามันเป็นเหตุของทุกข์ และทรงรู้ต่อไปอีกว่า ต้องสังหารตัณหาให้สิ้นไปหมด  แล้วที่สุดก็ทรงพบว่าทรงประหารตัณหาสิ้นไปหมดแล้ว   ทรงมาทบทวนวิจัย ต่อมา49 วัน จึงพบว่า  นี่เป็นอริยสัจธรรม คือ ความจริง  ที่ต้องปฏิบัติไปให้ตรงอริยสัจธรรม  ตรงความจริงนี้ จึงจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แม้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าได้

เมื่อเราได้รู้ความจริงของอริยสัจ4 มาอย่างที่รู้ว่าเป็นความจริงอันแสนดีเลิศประเสริฐ แก่ชีวิตทั้งหลายเพื่อชีวิตได้พบความประเสริฐพ้นทุกข์นิรันดร พบเหตุ พบผลที่สัมพันธ์กัน พบหนทางเดินไปสู่โลกประเสริฐนั้น แล้ว

แน่ละ นี่เป็นข่าวอันประเสริฐแน่นอน

สรุปก็คือ การบรรลุมรรคผลนิพพานน่าไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับคนยุคนี้ ยุควิทยาศาสตร์ที่สามารถไปถึงดวสงจันทร์ คิดสร้างโลกใหม่มาอีก  เป็นเรื่องของศาสนาพุทธที่ชื่อก็บอกเองว่า  เป็นเรื่องของความรู้ (พุทธะ = ผู้รู้)  ขอให้รู้จักใช้ความรู้สติปัญญา โดยใช้สติปัญญา พิจารณาหาเหตุและผล หาความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างเหตุและผล  แบบนักการศึกษาในโรงเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นเอง  มีระบบ ทำเป็นระบบ เป็นชั้นเรียนทีละมากๆ  ทั้งโรงเรียน ทั้งโลก  หรือในโรงงานต่างๆ  ให้ได้สติความนึกคิดอยู่ในใจเรื่องอริยสัจ 4 ไปตลอด ก็ได้  มีการพิศูจน์ โดยเอาเราเองเป็นตัวอย่างการพิศูจน์เสมอไป

ข้อควรทราบ

อริยสัจ4 นี้ แท้จริง  เป็นเพียงอริยสัจ 1  ไม่ใช่อริยสัจ 4  เพราะเป็นความจริงเรื่องทุกข์  ว่าด้วยทุกข์ทั้งหมดเลย  ไม่มีอะไรนอกจากทุกข์  ไม่มีอะไรเกิดนอกจากทุกข์เกิด  ไม่มีอะไรตายนอกจากทุกข์ตาย นี้เป็นความรู้แจ้งทุกข์สูงสุด นำความคิดมาถึงตรงนี้ให้ได้

เพียงเรารู้เรื่องทุกข์อย่างเดียวก่อน เท่านั้นเอง  เพียงรู้แบบที่ท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้เท่านั้น คือ  คำ 2 คำนี้

คำแรกคือ  การเกิด ...สมุทะยะธัมมัง  และ

คำที่ 2 คือ การตาย...นิโรธธัมมัง  

เราแยกให้เห็นสัจจะ 2 คำนี้ คือ เกิด  กับ  ตาย   ตัวบทที่ท่านเข้าใจเองมีบาลี-คำแปลว่า

ยังกิญจิ  สะมุทะยะธัมมัง  สัพพันตัง  นิโรธะธัมมัง   สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา

คำแปลซึ่ง กำกวมอีกเช่นเคย ของนักแปล คนและ สถาบันแปลไทย ที่ต้องแปลให้ถูกสัจธรรม  นั่นคือ  ประธานของประโยค  ต้องเป็น ตัวเดียวกัน  ความหมายเดียวกัน ...คนไทยจะฟังไม่ค่อยเข้าใจจึงขอแยกให้เข้าใจสัจธรรม 2 คำนี้ คือ  การเกิด: สมุทะยะธัมมัง  และ การตาย:  นิโรธธัมมัง   อันเป็นเบื้องต้นของการเข้าใจอริยสัจเรื่อง ทุกข์ ระดับโสดาบันนั้นเอง   หากจะเข้าใจเลยระดับนี้  ต้องเข้าใจคำว่ากำกวมนั้น  คือคำว่า   ยังกิญจิ  กับคำว่า สัพพันตัง  ...ที่นักแปล ๆ ไม่ถูก  อันแสดงว่านักแปล  ก็แสนจะห่างไกลอริยะภาวะ แม้อริยบุคคลโสดาบัน  เพราะแปลแบบไม่ตรงสัจธรรม ทำความสับสนให้คนทั้งหลาย นำคนทั้งหลายห่างไปจากสัจธรรมอันกลาย เป็นการบาปจริง ๆ (มีท่านผู้รู้ภาษาไทยวิเคราะห์ว่า พวกเรียนเปรียญธรรมที่มีหน้าที่เล่าเรียนการแปลบาลีเป็นไทย  แต่ไม่เรียนวิชาภาษาไทยเลย  ผลการแปลเห็นได้ว่าสอบตกภาษาไทยไปถึงเปรียญ 9  ก็แปลกมากบ้าหรือเปล่าเพราะการแปลมันต้องรู้ต้องเก่งทั้ง 2 ภาษาจึงจะแปลได้ถูกต้อง  ท่านจะเห็นทั่วไปเลยเช่นการแปลนิทานธรรมะ  ที่แสนสนุก  แต่ฟังเขาแปลออกมา กลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายที่สุด ....จนไม่มีคนพูดถึงนิทานธรรมะเลย  แล้วก็แปลมั่วไปหมดแบบนี้แหละเสียสถาบันหมดเลย)   

บทจบข้อควรพิจารณา

ประเด็นคือ รู้พิจารณาว่านี่คือทุกข์  แล้วมองความสัมพันธ์กัน มีเกิด แล้วก็มีตาย   มันมาพร้อมกันเสมอไปและเป็นสัจธรรม  คือ จริงอย่างนี้ไม่เป็นอื่นไปได้ และนี่แหละทุกข์ ....และหมั่นมองเราเอง ว่า เกิดมาแล้ว  วันนี้แก่แล้วยัง   เจ็บแล้วยัง   ถึงแม้ว่ายังเด็กอยู่  ยังหนุ่มอยู่ แต่ให้รู้จักคิดไปล่วงหน้าและระแวงระวังไปได้ล่วงหน้าเป็นอุปนิสัยเลย  นั้นเท่ากับสำเร็จโสดาบันแบบท่านอัญญาโกณฑัญญะเลย และให้ได้ตรงนี้ก่อนแล้ว  ความคิดสติปัญญาก็จะนำต่อไปเอง นำไปวิจัยต่อ  ปฏิบัติต่อในขั้นสูงขึ้นไปเอง  เข้า อริยสัจข้อต่อไปเอง  เข้าสกทาคามี  อนาคามี ก็จะเอาจริงขึ้นจนที่สุดถึง อรหันต์ได้แน่นอน  ....เพียงการคิด สติปัญญา  ให้มีการตรองตรึกนึกถึงสัจธรรมทั้ง 4 อย่างนึกไปตามแบบพระพุทธเจ้าท่านพิศูจน์ทดลองมานั้นเอง ก็ฟังคำของพระองค์ตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ ว่าพระองค์บรรลุมาด้วย    จักขุงอุทะปาทิ,   ญานังอุทะปาทิวิชชาอุทะปาทิปัญญาอุทะปาทิอาโลกโกอุทะปาทิ  คือทั้ง 5 อุทะปาทินี้ไปเน้นความหมายของปัญญา นั้นเอง  ให้ใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองดูตลอด  และพากเพียรไปไม่รู้หยุดลง จนรู้แจ้งสว่างขึ้นก็สำเร็จ   อย่าทิ้งไปเลย หากทิ้งไปบ้างก็กลับมาคิดใหม่ ๆ  ทำตรงนี้ไปพร้อมกับ ทำการงานอาชีพเราไปแบบสัมมาอาชีวะแบบสัมมากัมมันโตแบบมีสัมมาวายาโม มีความพากเพียรไม่รู้หยุดหย่อนไล่ล่ากิเสความเกียจคร้านให้หมดจากหัวใจ   ตลอดเลยนั้นแหละ  ให้ร่ำรวยไปแบบนี้ นั้นแหละแต่อย่าลืมเอาเรื่องอริยสัจ 4 มาทบทวนอยู่ตลอเดเวลา ว่างเมื่อไรคิด ๆ ๆ แต่เรื่องอริยสัจ 4   ไม่นานทำได้อย่างนี้ ไม่พ้น จากอรหันต์มรรคอรหันผลได้แน่นอน ...เตือนตนเองบอกตนเองว่า  อริยสัจ 4 เป็นความรู้ของผู้ที่เรียกตนเองว่าพระพุทธเจ้า  ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ๆ เลย  มันคือรางวัลแห่งชีวิต ที่ล้ำเลิศไปกว่ารางวัลใดใด สุดประเสริฐเลิศเลอเหลือค่าจะประมาณได้  และ  พ้นทุกข์ สู่ความสุขนิรันดรเมื่อตายไปก็สู่โลกนิพพาน ร่วมโลกกับพระอรหันต์  พระพุทธเจ้าทั้งหลายไปเลย (คือร่วมโลกกับความว่าง ไม่มีอะไรเลย....แต่นั่นแหละ  เป็นเรื่องยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้...เอาว่านั่นคือ โลกุตตระ โลกที่เหนือโลกนั่นเอง ก็แล้วกัน )

-----*****-----
-----*****-----                

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต  :

บทที่ 3 ไม่ผ่านกามตัณหาก็สำเร็จอรหันต์ไม่ได้  

-----

ทุกข์ นั้น   โลกของเรานั้น  ชีวิตเรา ชีวิตทั้งหลายนั้น  สรรพสิ่งทั้งหลายนั้น   เป็นผลผลิตของธรรมชาติ  แห่ง  อนิจจัง คือธรรมชาติของความไม่เที่ยงแห่งชีวิตสังขาร  ความไม่ยั่งยืน   ความไม่คงอยู่ตลอดไป  ความไม่อมตะ   มีแต่การเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา  และไปทางเดียวเท่านั้นเองคือไปสู่ความเสื่อมสลายลงไปเรื่อย ๆจนในที่สุดไปสู่ปลายทางคือความตาย หรือความวอดวาย พินาสน์ ของคนทั้งหลายและสรรพสิ่ง  ต้องรู้ว่านี่เป็นเช่นนี้เองโดยธรรมชาติ

ทุกข์ นั้น   โลกของเรานั้น  ชีวิตเรา ชีวิตทั้งหลายนั้น  สรรพสิ่งทั้งหลายนั้น   เป็นผลผลิตของธรรมชาติ  แห่ง  อนัตตา  คือธรรมชาติของความไม่เที่ยงแห่งชีวิตสังขาร  ความไม่ยั่งยืน   ความไม่คงอยู่ตลอดไป  ความไม่อมตะ   มีแต่การเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา  และไปทางเดียวเท่านั้นเองคือไปสู่ความเสื่อมสลายลงไปเรื่อย ๆจนในที่สุดไปสู่ปลายทางคือความตาย หรือความวอดวาย พินาสน์ ของคนทั้งหลายและสรรพสิ่ง  ต้องรู้ว่านี่เป็นเช่นนี้เองโดยธรรมชาติ

นั้นก็เพราะธรรมชาติเป็นเจ้าของ ของสรรพสิ่งนั้นเองที่เราไม่สามารถสั่งธรรมชาติให้เป็นไปตามใจตามความต้องการของเราได้เลย    เช่นเราสั่งให้เราอย่าอาพาธ อย่าป่วย  จงหายป่วย  เราก็สั่งไม่ได้   สั่งอย่าให้กูแก่เลย  เราก็สั่งไม่ได้   สั่งอย่าให้กูตายเลย  ก็สั่งไม่ได้  นั้นมันสั่งเขาไม่ได้   มีแต่เขาสั่งเราให้เป็นไปตามระบบของเขา   นั่นคือสั่งไว้แล้ว มึงต้องแก่  มึงต้องเจ็บ  มึงต้องตาย  ต้องวอดวายพินาสน์  และถ้าเป็นสิ่งของ วัตถุ  แม้สรรพสิ่ง(สัพเพ ธัมมา อนัตตา:สิ่งทั้งหลายทั้งปวงสั่งมันทำตามใจเราไม่ได้)  ที่สุดก็พบความพินาสน์ วอดวาย ไปทั้งสิ้น  ไม่มีผิดไปจากระบบทุกข์เช่นนี้เลย 

มนุษย์ทุกตัวตนที่เกิดมา จึงเป็นไปตามธรรมชาติ ที่คนเราไม่ได้พอใจเลยเช่นนี้  นั่นแหละที่เรียกว่าทุกข์ แต่เราก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบธรรมชาติ ที่นำการเกิดไปสู่ความวอดวายพินาสน์เช่นนี้ไม่ได้   เพราะภาวะอนัตตา  ที่เราสั่งให้เป็นไปตามใจเราไม่ได้นั่นเอง  นี่แหละทำให้เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง  อนัตตา จึงเป็นระบบแห่งทุกข์, ทุกขัง อนัจจัง อนัตตา รวมกันแล้วคือ ทุกข์)   ทุกข์กาย  ทุกข์ใจอยู่ตลอด   นั่นแหละที่พุทธองค์ตรัสไว้ใน อะนัตตะลักขณะสูตร   อะนัตตา หมายถึง  เราสั่งธรรมชาติให้เป็นไปตามความหยากของเราไม่ได้  สั่งให้เป็นไปตามใจของเราไม่ได้ และอย่างไรๆ คนเราและสรรพสิ่งที่เกิดมา  ที่มีอยู่  มีชีวิตอยู่  ต้องเดินไปทางเดียวกัน คือทางสู่ความเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ  จนที่สุดถึงจุดสุดท้ายคือความตาย ความสลายความวอดวายพินาสน์ (ให้รู้เพื่อหน่าย...หากรู้แล้วไม่หน่ายแปลว่ายังไม่รู้)

พุทธองค์จึงทรงค้นพบ ตรัสรู้มาว่า  การเกิดมานั้น มาพร้อมกับความตาย วอดวายพินาสน์ เป็นธรรมดา โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อเอาชนะการเกิดได้เท่านั้นเองจึงไม่มีความตาย ความวอดวายพินาสน์อีก  และที่ทรงค้นพบสัจธรรมอันล้ำเลิศก็คือทรงพบว่า  การเกิดนั้นเนื่องมาจากตัณหา 3 อย่าง คือ กามตัณหา  ภวะตัณหา  และวิภวะตัณหา  ที่คนเราเอาแต่สะสมไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่เกิดมา  และถึงแม้รู้ตัวบ้าง แม้ละไปแล้วบ้าง(เช่นพวกนักบวชพุทธคนพุทธ)แต่ยังละไม่หมด  ก็ยังมีตัณหาตกค้างอยู่ ในใจ ก็ต้องมาเกิดอีก   จนกว่าจะละล้างตัณหาได้หมดสิ้น   อย่างที่พระองค์เองทรงปฏิบัติมากว่าได้เป็นพระพุทธเจ้า (ทรงตรัสใน 3 รอบ 12 อาการที่ทรงเล่าออกมาเพื่อเป็นตัวอย่างทางการปฏิบัติที่ต้องละวาง-ฆ่าตัณหาทั้งหลายเท่านั้น)   เมื่อชำระล้างตัณหา ละวางตัณหาไปจากใจได้หมดสิ้นแล้ว ก็จะได้พบโลกใหม่ ที่พ้นไปจากระบบธรรมชาติหรือระบบนายทาส ทุกขัง  อะนิจจัง  อะนัตตา  นี้ไปได้โดยสิ้นเชิง   นั้นแหละเราจึงพ้นจากความเป็นทาส  สู่ความเป็นไทย ไม่มีใครสั่งการบังคับเราไปสู่ความตายได้อีก นี่คือโลกแห่งเสรีชน  เสรีภาพ นั่นเอง(ที่ชาวอเมริกันเอาไปจัดระบบการเมือง ระบอบประชาธืปไตยของอเมริกานั่นเอง  มาจากสัจธรรมพุทธโดยแท้ที่บอกว่าอเมริกา อเมริกันเป็นพุทธศาสนิกชนโดยแท้ ที่ต่างจากพุทธไทยที่กึ่งพุทธกึ่งพุทธเจ้าพ่อเจ้าแม่ ไม่ใช่พุทธแท้) 

ฉะนั้น  หลักของพระพุทธศาสนาจึงสอนให้ชำระล้างตัณหา  จะว่าอย่างไรก็ได้ให้ตรงคำว่าชำระล้าง   ละวาง   สังหารกิเลสเสียให้สิ้นซาก คือระบบโลกที่ใฝ่ต่ำด้วยความหยากทั้งหลาย ที่เราไทยพุทธ ลาวพุทธ  เขมรพุทธ พม่าพุทธ รู้จักกันทั่วไป ว่า กิเลส  ตัณหา  อุปาทาน นั้นเอง  ซึ่งเป็นรูปธรรม 3  คือ  กามตัณหา  ภวะตัณหา  วิภวะตัณหา อันคือความใฝ่หยากทางกามารมณ์อยากมีอยากได้ลาภยศสรรเสริญสุขทางกามไม่รู้สิ้นสุด จนลืมนึกถึง อนิจจัง อนัตตา ความตาย วอดวายพินาสน์ ที่รออยู่แบบเปลี่ยนแปลไม่ได้

ดังจะขอแนะนำในที่นี้ ที่คนยุคนี้สามารถปฏิบัติได้ผลทันที และมีประสิทธิภาพที่โลกตกตะลึง  นั่นคือ  สัจธรรมเกี่ยวกับกามตัณหาก่อน  โดยให้ชำระกามตัณหาให้ได้เสียก่อน  ด้วยการยกดวงจิต หรือ ยกความรู้สึกนึกคิดจิตวิญญาณ  จิตใจ  อารมณ์ ความใฝ่ความปรารถนาทางจิตใจเรา  ให้สูงขึ้น  วิจัยเรื่องระดับจิตที่สูง ๆ ต่ำ ๆอยู่ตลอดเวลา  เทียบกับจิตของสัตว์ เช่นสุนัข ที่ระดับกามจิตอยู่ต่ำจากมนุษย์  มนุษย์จึงไม่มีอารมณ์ทางกามกับสุนัข  ครั้นเรายกระดับจิตขึ้นไปนี้ ก็จะพ้นจากกระแสกามารมณ์ หรือกามตัณหา  ก็จะเหมือนดอกบัวบานเหนือน้ำนั่นเอง   กามตัณหา หรือ กามารมณ์ ก็ไม่สามารถบีบบังคับเราได้เราก็ว่างจากความรู้สึกทางกามารมณ์       

แล้วให้พอใจในการเพ่งอสุภะ(ศพ)  คือพอใจในการไปใกล้ชิด ดู เพ่งดูซากศพ ซากเน่าเปื่อย ซากความน่าเกลียดน่ากลัวน่าขยะแขยงน่าเบื่อหน่าย  น่ารังเกลียด หนีห่างไปไกล   ทำให้ได้เสมอ ๆ  เป็นอารมณ์เช่นนี้เสมอ ๆ  เท่านั้นเอง  นักบวช แม้คนทั้งหลาย ชาติ ศาสนาใด  เพศใด วัยใด อายุใด   ก็จะสามารถชำระสะสางกามตัณหาได้  ปฏิบัติเช่นนี้แหละ  ทำไปตามเหตุตามผล นี้ แบบวิทยาศาสตร์เลย (ให้ทำแบบพุทธธรรมบัญญัติเรื่อง กสิณ คือให้เพ่งดูแน่วแน่ กสิณแปลว่าเพ่ง อย่าแค่ให้ผ่านๆ ไป  มันจะมีผลต่ออารมณ์จิตใจขึ้นอย่างพิศูจน์ได้ด้วยตนเอง  ว่าให้เกิดการรังเกียจในกามารมณ์ขึ้นจิตใจจะเปลี่ยนไปจากความหลงไปเป็นการขยะแขยง ...นั่นแหละทำบ่อยๆ  เป็นประจำ ๆ)  ใครทำได้ก็ได้ ชำระกามตัณหาได้ในชีวิตนี้เอง  นั้นแหละเป็นอริยะบุคคลขึ้นมาได้ ไปสู่โลกนิพพาน  เริ่มโดยการชะระล้างกามตัณหาเสียก่อน  อรหันตภาวะจึงจะมีตามขึ้นมาได้ เนื่องเพราะกามตัณหาพิศูจน์เห็นชัดเจนแบบวิทยาศาสตร์ได้ง่าย แล้ว ตัณหาอย่างอื่นก็พ่ายตามไปแบบง่ายเลย 

หากไม่ผ่านกามตัณหาก่อนแล้ว  ใครก็ตาม ยากจะสำเร็จอรหันต์ได้  ไม่ผ่านกามตัณหาก็สำเร็จอรหันต์ไม่ได้   แม้สำเร็จอรหันต์แล้วในยุคนี้ ท่านก็จะทำอสุภะกสิณอยู่เป็นการพักผ่อนสำราญ สนุก ๆ  ประจำ ๆของท่าน  ใครไม่ทำจึงน่าไม่ใช่อรหันต์ โปรดแจ้งข่าวดีทางการปฏิบัตินี้ไปทั่วโลก เพื่อการหลุดพ้นพร้อมกันไปในยุคนี้

-----*****-----
-----*****-----
อริยสัจธรรมแห่งชีวิต 

บทที่ 4 โลกที่แสนตกต่ำยุคโควิด19นั้นแหละการเรียนรู้ทุกขอริยสัจอย่างสุดยอดเยี่ยมของการเรียนรู้  

-----

แท้จริง อริยสัจ4 นั้นเป็นเพียงอริยสัจ 1   เพราะทั้ง 4 อริยสัจนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ เรื่องทุกข์ คือ 1.  ทุกข์  2.  ทุกขสมุทัย 3. ทุกขนิโรธ  4. ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา

จึงสรุปลงได้ว่าสัจธรรมแห่งชีวิต คนเราทั้งหลาย  แม้สรรพสิ่งนั้น เป็นเรื่องทุกข์ทั้งหมดเลย   ไม่มีอะไรเกิดนอกจากทุกข์  ไม่มีอะไรเป็นอยู่นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตาย นอกจากทุกข์ คือ เรื่องราวทั้งหลายของชีวิตเรา และสรรพสิ่งนั้นไม่มีอะไรมีเรื่องเดียวเท่านั้นคือเรื่องทุกข์

ทุกข์จึงเป็นอะไรที่อยู่ใต้กฎธรรมชาติ โดยเริ่มที่มี การเกิด เหมือนชีวิตทั้งหลาย สรรพสิ่งทั้งหลายนั่นคือ เกิดมาแล้ว ก็อยู่ใต้กฎ อนิจจัง  อะนัตตา  เป็นไปตามหลักสัจธรรม ที่ทรงตรัสว่า  สัพเพ ธัมมา อะนัตตา (สิ่งทั้งหลายทั้งปวง สั่งมันทำตามใจเราไม่ได้)  ทุกข์นั้นเป็นอนัตตา  เราสั่งมันทำตามใจเราไม่ได้  ทุกข์นั้นเป็นอะนิจจัง  มันไม่ถาวร มั่นคง มันเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ทุกข์ นั้นเป็นทุกข์  เพราะมันเกิดแล้ว มันก็แก่ มันก็เจ็บ แล้วมันก็ตาย  มันไม่อาจจะอยู่ต่อไปนิรันดรได้   จุดเริ่มต้นคือการเกิด(สมุทยะธัมมัง)  และจุดสุดท้ายคือการตาย(นิโรธะธัมมัง) อันเป็นสัจธรรมเบื้องต้นที่โลกควรจะรู้ เพื่อทางสู่โสดาบันอริยบุคคล

พุทธองค์ทรงตรัสเรื่องของพระองค์ว่า  ทรงพบว่าเรื่องทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้  ควรวิจัยให้รู้แจ้งถึงความจริงเกี่ยวกับทุกข์   ปะรัญเญย   ยันติ  เม   ภิกขะเว  (ภิกขุ ท.ก็ทุกข์อริยสัจนั้นแลควรกำหนดรู้ ) นั่นก็คือ เรื่องความจริงเกี่ยวกับทุกข์นี้ควรตามศึกษา พิศูจน์  วิจัย  ให้รู้แจ้งจริง ๆ  จนสติปัญญาทั้ง 5 คือ จักขุงอุทะปาทิ  ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญาอุทะปาทิ  วิชชา อุทะปาทิ  และ อาโลโก อุทะปาทิ เกิดขึ้นแก่พระองค์  จึงทรงตรัสรู้อริยสัจ 4  หรือ  อริยสัจ 1 คือ ทุกข์ 

            และครั้นศึกษาจากชีวิตพระองค์ การที่ทรงสละราชบัลลังก์ จักรพรรดิออกบวช นั้น  ย่อมมองเห็นชัดเจนเลยว่า ทรงจากที่ที่แสนสุขสบายจากพระมหาราชวัง   ออกไปอยู่ป่า แบบสันโดษเดี่ยวเดียวดาย นั้นสุดแสนจะพบทุกข์อย่างหนัก  อยู่ถึง 6 ปี จนน่าคิดว่า  แท้จริงการที่ได้ทรงพบทุกข์หนักขนาดนี้นั่นเอง   นำไปสู่สติปัญญาการรู้แจ้งทุกข์อริยสัจ อย่างลึกซึ้ง สุดแสนประเสริฐ   หากพระองค์อยู่แต่ในพระราชวัง เสวยสุขไปเรื่อย ๆ  แม้ว่าจะมีการศึกษาเรื่องราวของชีวิตประการต่าง ๆไปอย่างฆราวาสวิสัย  แต่ก็จะหารู้แจ้งทุกข์อย่างลึกซึ้งไม่    จนครั้นตรัสรู้แล้ว  ก็ทรงยืนยันว่าเรื่องทุกข์เป็นอริยสัจธรรมที่ล้ำเลิศ ที่ชีวิตควรจะต้องเรียนรู้  เรื่องทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษา วิจัยเรียนรู้อย่างจริงจัง ดังที่ตรัสบอกปัญวัคคีย์ว่า  ทุกข์อริยสัจนั้นแลเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ให้รู้แจ้งไปปราศจากความสงสัยไปเลย เพราะแม้พระองค์เองครั้นได้มารู้แจ้งทุกขอริยสัจนี้แล้ว จึงทรงกล้าประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า หากไม่ทรงรู้แจ้งเรื่องทุกขอริยสัจ...ทั้ง  4 ประการแล้ว ก็จะไม่ประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเลย .... นั่นเอง            

2.

เราจะมาสู่ข้อสรุปร่วมกันโดยปราศจากความสงสัยว่า  การศึกษาอริยสัจธรรมเรื่องทุกข์อริยสัจนั้น  จำเป็นที่จะต้องไปพบ ไปเห็น  ไปเผชิญ ทุกข์ที่แท้จริง  อย่างเช่นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าทรงทำมาเป็นแบบอย่าง ที่จากพระราชวังไปอยู่ป่าถึง 6 ปี  และทั้งนักบวชทั้งหลาย  ผู้ที่ไปอยู่ป่า  แม้พระสาวก ผู้ฝึกทางธุดงค์กรรมฐาน ทั้งหลาย ที่ล้วนสำเร็จอริยธรรมมาจากการเรียนรู้เผชิญเรื่องทุกข์มาอย่างสาหัสทั้งนั้น   ที่เผชิญแต่ความทุกข์ยากทั้งหลาย  ที่หาความสุขสบายเท่าคนทั้งหลายไม่ได้เลย ไม่ว่าเรื่อง อาหารเลี้ยงชีวิต   เครื่องนุ่งห่มกันร้อนกันหนาว  ที่พักอาศัยปลอดภัยจากสัตว์ร้าย พายุลมฝน   ยารักษาโรค ก็ตาม   หากยังทรงอยู่ในพระราชวัง หรือแม้นักบวช ทรงสมณศักดิ์ใหญ่โต  ที่อยู่วัดใหญ่โตดังพระราชวัง มีทรัพย์สมบัติ การอยู่การกิน อย่างพระราชาคณะ  แล้ว  ยากที่จะได้เรียนรู้ทุกข์อริยสัจ  เกิดมาก็คงตายเปล่าไปทั้งชีวิต  และนั่นไม่อาจจะได้พบมรรคผลนิพพานได้เลย  การมีแต่สร้างตัวตน ฝึกตัวตนอยู่กับความสุขสบาย  ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขนั้น  เป็นการปิดตัวไปจากเส้นทางมรรคผลนิพพานอย่างสิ้นเชิง สร้างแบบอย่างอันเลวทรามแด่ศิษย์ ๆ และผู้มาทีหลัง  เกิดมาตายเปล่าไร้คุณค่าราคาอย่างแท้จริง    เรากำลังพูดถึงเรื่องภวะตัณหาและวิภวะตัณหา

            เรามารำลึกสัจธรรมเรื่อง ทุกข์อริยสัจ นี้  ก็โดยเหตุที่เวลานี้ โลกทั้งโลกนั้นกำลังเผชิญภัยร้ายของไวรัสโควิด-19 กันทั้งโลก เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2563 แล้ว  ส่งผลต่อสุขภาพของชีวิต และเศรษฐกิจโลกตกต่ำแบบไม่เคยพบมาก่อน ประชากร คนในโลก ในแต่ละประเทศ ทั่วโลกเลย ถึงแก่ความตายไปครั้งใหญ่ จนวันนี้(2 ก.ค.2565) มีการตายรวมทั้งโลก   6.34 ล้านศพแล้ว ตามลำดับลงไปจาก สหรัฐอเมริกา  1.01 ล้านศพ,  บราซิล 6.72 แสนศพ, อินเดีย 5.25แสนศพ,  ฝรั่งเศส 1.46 แสนศพ,   เยอรมัน 1.41 แสนศพ,....กองศพยิ่งกว่ากองภูเขาเลากา มีอเมริกาตายมากที่สุด จนกระทั่งไม่มีโลงศพใส่คนตาย เอาใส่กระสอบไว้เหมือนสัตว์ชนิดหนึ่ง  มีอาคารเก็บศพเป็นชั้น ๆ มีการขนส่งศพด้วยรถ10 ล้อขนาดใหญ่แล่นตามกันไปอย่างกับขนสินค้า     และที่เหลือมีชีวิตอยู่ นั่นแหละ กำลังเผชิญกับความทุกข์ของชีวิตอย่างแสนสาหัส ชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน เรื่องราคา ข้าวของ  การกินการอยู่การใช้จ่ายล้วนแต่ราคาแพงแสนแพง จนคนจำนวนมากต้องอพยพ หาที่ทำมาหากิน นับล้านชีวิต  แล้ว เกิดสงคราม ยูเครน รัสเซีย ก็เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ที่ต้องแก่งแย่งกันนั้นเอง  คนที่ฆ่าตัวตายก็เพิ่มมากขึ้น ๆ 

 นี่คืออะไร?  นี่แหละคำตอบว่าทุกข์คืออะไร  แต่ในเมื่อคนทั้งหลายไม่ได้รู้ทุกขอริยะสัจจเลย  จึงพากันเดือดร้อนเป็นทุกข์กันอย่างแสนสาหัส แต่แท้ที่จริงควรจะรู้ว่า นี่แหละมหาลาภแห่งโอกาสดี  ที่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดแล้ว  สำหรับคนทั้งหลายทั้งโลก จะได้เรียนรู้สัจธรรมแห่งชีวิต  เพื่อให้รู้ความจริงเกี่ยวทุกขอริยสัจ  ...ตามที่บอกมาแล้วแต่ข้างเริ่มต้นนั้นเองที่ว่า   นั้นเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เสียก่อนที่ว่า แท้จริง อริยสัจ4 นั้นเป็นเพียงอริยสัจ 1   เพราะทั้ง 4 อริยสัจนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน คือ เรื่องทุกข์

จึงสรุปลงได้ว่าสัจธรรมแห่งชีวิต คนเราทั้งหลาย  แม้สรรพสิ่งนั้น เป็นเรื่องทุกข์ทั้งหมดเลย   ไม่มีอะไรเกิดนอกจากทุกข์  ไม่มีอะไรเป็นอยู่นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตาย นอกจากทุกข์ คือ เรื่องราวทั้งหลายของชีวิตเรา และสรรพสิ่งนั้นไม่มีอะไรมีเรื่องเดียวเท่านั้นคือเรื่องทุกข์

3.

ทุกข์จึงเป็นอะไรที่อยู่ใต้กฎธรรมชาติเรื่อง การเกิด เหมือนชีวิตทั้งหลาย สรรพสิ่งทั้งหลายนั่นคือ เกิดมาแล้ว ก็อยู่ใต้กฎ อนิจจัง  อะนัตตา  เป็นไปตามหลักสัจธรรม ที่ทรงตรัสว่า  สัพเพ ธัมมา อะนัตตา (สิ่งทั้งหลายทั้งปวง สั่งมันทำตามใจเราไม่ได้)  ทุกข์นั้นเป็นอนัตตา  เราสั่งมันทำตามใจเราไม่ได้  ทุกข์นั้นเป็นอะนิจจัง  มันไม่ถาวร มั่นคง มันเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ไม่ได้เป็นทุกข์ตลอดไปเป็นอมตะ ทุกข์ นั้นเป็นทุกข์  เพราะมันเกิดแล้ว มันก็แก่ มันก็เจ็บ แล้วมันก็ตาย  มันไม่อาจจะอยู่ต่อไปนิรันดรได้  

ซึ่งตามกฎนี้  ทุกข์แสนสาหัสของชาวโลกเราทุกวันนี้ มันก็อยู่ใต้กฎของทุกข์คือมีเกิด  แก่   เจ็บ  และตายมลายหายไปในที่สุดนั้นเอง ขอให้อดทนไปจนถึงที่สุด คือที่สุดแล้ว ทุกข์ก็ถึงความดับสลายความสิ้นไปของมันเองตามกฎทุกขะอริยะสัจนั่นเอง

แต่ขณะที่มันยังไปไม่ถึงจุดสุดท้ายของมันนั้น   ตามหลักอริยสัจ 4  เราทั้งหลายก็ควรที่จะรู้สิ่งที่เรียกว่า ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ 8 ประการ  คือ ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา(ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์) 8 ประการหรือ มรรค 8 นั้นเอง  เราทั้งหลายจงเดินไปในทางที่ทุกข์แสนทุกข์นี้แบบการเดินไปถูกต้อง จึงจะไม่เป็นอันตรายเพิ่มไปจากที่เป็นอยู่  และจะค่อยไปสู่ทางที่ดีขึ้นทางที่พ้นทุกข์ขึ้น  นั่นคือ 

1.  สัมมาทิฏฐิ  ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มี ความเห็นชอบ ให้มีความเห็นชอบว่าอย่าไปคิดทำความชั่ว  อดทน  ทำแต่ความดี   อย่าคิดพึ่งเทวดา หรือ คนอื่น  ชีวิตเราจะประสบผลสำเร็จทางการงานอาชีพ ใดใด  ก็ด้วยการพยายาม  และการช่วยเหลือตัวเองเป็นหลักการสำคัญเบื้องต้น  ต้องระลึกสัจธรรมพุทธที่ว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน  การจะพยายามไปขอความบูชาความช่วยเหลือจากเทพเทวดา  นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  เพราะในความจริง สิ่งเหล่านี้ไม่เคยช่วยอะไรใครได้ มีแต่เราต้องฝึกฝนการช่วยเหลือตนเอง ให้ได้นิสสัยถาวรเพื่อว่าการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นไม่อาจจะพ้นไปจากหลักตนเป็นที่พึ่งของตนเลย  ตนเองเท่านั้นพาตนไปสู่มรรคผลนิพพานได้  ในการงานอาชีพประจำวันประจำชีวิตก็เช่นเดียวกัน ต้องอยู่บนสัมมาทิฏฐิเรื่องตนเองเท่านั้นเป็นที่พึ่งของตน ทุกคน ๆ เป็นอย่างนี้

2.  สัมมาสังกัปโป ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มี ความดำริชอบ  ความคิด ความดำริแต่ในเรื่องที่ดีที่ชอบ  เรื่องการงานอาชีพที่ชอบ เรื่องความพยายามที่ชอบ เรื่องความขยันเอาใจใส่ ไม่ขี้เกียจ  เรื่องความทรหดอดทน เรื่องของการเข้าอกเข้าใจคนอื่น เรื่องของความกล้าหาญอย่างวีรบุรุษ  มองคนทั้งหลายเป็นดุจเพื่อนมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมือนร่วมเดินทางไปกลางทะเลทรายด้วยกัน มีแต่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะหาไม่จนกว่าจะพ้นทะเลทรายอันกว้างใหญ่

3.  สัมมาวาจา ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีวาจาชอบ  ต้องมีแต่วาจาคำพูด ที่เป็นประโยชน์ ที่ประสานไมตรีจิตเพื่อนร่วมทุกข์กันทั้งสิ้น ระวังวาจาชั่วร้าย 4 ประเภท คือ (1.) การโกหกพกลม (2.) การพูดคำหยาบคาย  (3.) การพูดคำส่อเสียดให้เกิดการแตกแยก และ(4.) การพูดเพ้อเจ้อ คือไม่มีเหตุมีผล การโฆษณาชวนเชื่อ  นี่เป็นหลัก

4.

ประสานสามัคคีธรรม ประสานไมตรีจิตมิตรภาพของคนทั้งหลาย อย่าได้ขาดวาจาชอบเลย เพราะวาจาชั่วร้าย 4 ประการนั้นเองทำร้ายสังคม  ทำร้ายคนทั้งหลาย  ทำร้ายญาติมิตร บิดามารดา ทั้งครอบครัว หมู่บ้าน  ตำบล ชาติบ้านเมือง ทั้งโลก ทำคนให้กลายเป็นศัตรูกัน ถึงขั้นเข่นฆ่ากัน ทำร้ายกันได้อย่างไร้สติ ไร้ความคิด ไร้สามัญสำนึกของความเป็นคนไปได้

4.  สัมมากัมมันโต ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีการงานชอบ  ไม่พึงทำอะไร กายกรรม วจีกรรม  มโนกรรมใดใด ที่ไปส่งเสริมกิเลส ตัณหา อุปาทาน  ความอยากมีอยากได้ผิด ๆ อะไรชั่ว ๆ ให้เพิ่มพูนขึ้น ต้องส่งเสริมการงาน การกระทำที่เพิ่มพูนความพยายามสู่มรรคผลนิพพาน สู่สัมมาสติ  สัมมาวาจา  สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายาโม  การงานอะไรที่มีแต่ความกล้าหาญจัดการให้ได้สำเร็จลง ไม่ยอมแพ้

5.  สัมมาอาชีโว  ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีการอาชีพชอบ อาชีพที่สุจริต  แสวงหางานการอาชีพ ที่ทำมาหากินได้ อะไรที่ชอบธรรมไม่พึงรังเกียจ พึงลดละลงเสียซึ่งความเป็นเจ้าเป็นนาย มีภะวะ วิภะวะ ตัณหา ตัวตนใหญ่โต  ทำมาหากินไปแบบสุจริต ไม่เอายศถาบรรดาศักดิ์  หรือมีความรังเกียจ ในงานอาชีพที่ต่ำต้อย  ขณะเดียวกัน  อย่าพากเพียรในงานการอาชีพที่ทำลายล้างชีวิตที่ลดค่าของความเป็นมนุษย์ อาชีพการพะนัน อาชีพยาเสพติด  อาชีพค้าขายทางเพศ ที่ดูถูกดูแคลนตนเองจากความเป็นมนุษย์เสรีชนผู้มีศักดิ์ศรีความเสมอภาคกับคนทั้งหลาย  อาชีพที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น มีแต่ให้อุปการะซึ่งกันและกัน  ได้ด้วยกันเสียด้วยกัน  ด้วยความมีสายตามองความเป็นมนุษย์เสมอกันมีแต่เสรีภาพเท่าเทียมกันนั้นเอง

6.  สัมมาวายาโม ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีความพากเพียรชอบ นี่คือหลักการของความสำเร็จ ทั้งโลกธรรม และอริยธรรม  โดยรูปธรรมแล้ว คือความขี้เกียจนั้นมองให้เห็น ให้พบว่านั่นคือมารตัวโตที่ควบคุมชีวิตทั้งชีวิต การชำระล้างความขี้เกียจเสียได้จักปรากฏที่ดวงใจให้มีแต่ความว่าง มีแต่ความขยันขันแข็งใช้เวลาทุกนาทีทุกวินาทีให้เป็นประโยชน์ได้ เสมือนล้างตัณหาไปจากจิตใจได้แล้ว นั้นคือผลลัพธ์อันสุดแสนประเสริฐ และความพากเพียรชอบนี้เองที่คนทั้งหลายพึงฝึกฝนกันมาตั้งแต่เกิด ออกมาจากครรภ์มารดาเลยทีเดียวและทำไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตบนโลกนี้จนกว่าจะหมดความขี้เกียจ  เพราะความขี้เกียจนี้คือมารตัณหานั้นเองชำระเสียให้หมดความขี้เกียจไปจากใจนั้นคือชำระกิเลสตัณหาไปได้แล้วมีผลต่อมรรคผลโดยตรงเลยทีเดียว

7.  สัมมาสติ ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีสติชอบ การรู้ปัจจุบัน  รู้วินาที  นาทีแห่งชีวิตปัจจุบัน นั้นแหละทางแห่งความรอด ความไม่ประมาท  ไม่ใช่ทางแห่งความตายเลย แม้กิจการทุกอย่างที่เรารู้สติพิจารณาตลอดเวลาตลอดนาที วินาทีให้รู้ว่าทำดีหรือทำอะไรอยู่  แล้วนั้นแหละทางรอดของชีวิต  แม้ในเรื่องการงานอาชีพก็จะพบจะเห็นว่ามีศัตรูหมู่อมิตรคู่แข่งทำอะไรอย่างไรมิตรของเราอยู่ไหนทำอะไรอยู่ มาสู่ปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคนให้ดีให้ได้ แม้สร้างทางมรรคผล นิพพานก็มีการสร้างในเวลาปัจจุบันนี้เอง  อย่าหวังว่าจะเป็นวันพรุ่งนี้  แต่ต้องเป็นเวลานี้นาทีนี้ ที่นี่และเดี๋ยวนี้เลยทีเดียว

5.

8.  สัมมาสมาธิ ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีสมาธิชอบ  นั้นคือ การสร้างดวงจิต  การฝึกจิต  ความนึกคิดให้กล้าแกร่ง  มั่นคงดำรงธรรม  กล้าต่อสู้อุปสรรคศํตรู หมู่มารทั้งหลาย  ไม่ย่อท้อ  นั่นเอง  เมื่อมีสัมมาสมาธิเต็มที่แล้วนั้นแหละสามารถอุทิศตน สละชีพเพื่อปกป้องคุ้มครองความดี  คนดี  สิ่งที่ดีได้  และทั้งในที่สุด สมาธินี้เอง สามารถนำชีวิตจิตใจลัดไปสู่โลกุตระนิพพานได้

เรียนรู้ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์จากหลักอริยสัจธรรมข้อที่ 4  คือที่ทรงตั้งชื่อว่า  นิโรธะคามินีปะฏิปะทา (ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์) มรรค 8 หรือ ที่รู้กันแต่ต้นว่า  มัชฌิมาปะฏิปะทา ทางสายกลาง นั้นเอง 

ในเมื่อมีการถูกข่มขี่เผชิญสถานการณ์โลกอันแสนทุกข์ด้วยภัยเศรษฐกิจ ความอดอยากหิวโหย อันเกิดจากไวรัสร้ายโควิต19 อยู่ขณะนี้  และพยายามประพฤติธรรมตามหลักมรรค 8 นั้นในที่สุดก็จะได้เรียนรู้เข้าใจ ความจริงของสิ่งที่เรียกว่า ทุกข์  นั้นเอง เข้าใจชีวิตที่เป็นทุกข์  โลกที่เป็นทุกข์

และครั้นได้เรียนรู้แจ้งเรื่องทุกข์แล้ว

ก็จะได้รู้สัจธรรมว่า  ทุกข์ ก็คือ  ทุกขัง,  อะนิจจัง,  และ อะนัตตา,   ทุกข์มันเป็นทุกข์   มันไม่เที่ยง  และ ไม่มีใครสั่งให้มันเป็นไปตามใจปรารถนาของตนได้ (เช่นสั่งให้ทุกข์มันหนีไปเสียเถิด ก็สั่งไม่ได้)  .... และครั้นมีการเกิด มีทุกข์เกิดมาแล้ว  มันก็มีปลายทางของมัน เช่นเดียวกับคนเรา เช่นเดียวกับสรรพสิ่งสรรพธรรมทั้งหลาย มาพร้อมกับการเกิด เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นเองและแล้วก็ย่อมเป็นไปตากฎการเกิดคือ  มี  แก่   มีเจ็บ  และ มีตายไป เป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติเองอยู่แล้ว  ทุกข์วันนี้ ที่เราทั้งหลายทรมานกันอยู่  ก็จะเดินไปสู่จุดเสื่อมสลายลงไป ๆ เป็ฯธรรมดาและหมดลงไปเองอยู่แล้ว  จงเรียนรู้สัจธรรมแห่งทุกข์เช่นนี้เถิดชีวิตจะสบายใจขึ้น

โลกและชีวิต และทุกข์ทั้งหลาย ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์เกิด  ทุกข์เท่านั้นที่เป็นไป  ตลอดชีวิต หนึ่ง  และทุกข์เท่านั้น ที่ค่อยเสื่อมสลายหายคลายไปเอง จนที่สุด ทุกข์เท่านั้นตาย วอดวายไปเอง(ไม่ต่างไปจากภัยธรรมชาติ มหาสินามินั้นเอง) การรู้แจ้งโลกที่เป็นทุกข์เช่นนี้เอง นำไปสู่ความหน่ายคลายใจไปจากความหลงใหลในโลกนี้ พ้นไปได้จากภวะตัณหา วิภวะตัณหา  รู้ทุกข์แล้วย่อมบังเกิดใหม่ด้วยใจอันบริสุทธิ์เป็นอริยบุคคล อรหันต์ขึ้นมาพ้นทุกข์ไปเองโดยอัตโนมัต  นั่นแหละภาวการณ์รู้แจ้งโลกคือมีปัญญาหรือการรู้แจ้งเกิดขึ้น [enlightenment]   นำไปสู่การเกิดใหม่เป็นพระอริยบุคคลอรหันต์พ้นทุกข์ไปชั่วนิรันดร์กาล

รู้เช่นนี้ ก็จะกลายเป็นผู้รู้เรื่องราวสัจธรรมของชีวิตขึ้นมา เป็นปาฏิหาริย์ของความรู้แจ้ง(emlightenment) เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน อย่างพระพุทธเจ้าขึ้นมาได้  ฉะนั้นโอกาสดีที่สุดของโลกทั้งโลกเพื่อการรู้แจ้งทุกข์มาถึงแล้ว ขณะนี้ วันนี้เวลานี้   ครั้นรู้แจ้งอริยสัจธรรมแห่งทุกข์แล้ว    ก็พ้นทุกข์ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลอรหันต์ พ้นโลกสู่โลกุตตระนิพพานกันได้ทั้งโลก  

-----*****-----
-----*****-----

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต

บทที่ 5  เรื่องชีวิตจบลงตามแบบตามรอยพระพุทธเจ้า 3 รอบ12 อาการ  เป็นทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นไม่มี   

-----

เป็นความจริงอันประเสริฐที่ทรงได้ค้นพบมาอย่างนี้   อย่างอื่นไม่มี

เป็นพระธรรมคำสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าอย่างนี้  อย่างอื่นไม่มี

12 อาการของอริยสัจ 4 นี่แหละความรู้แจ้ง อันเป็นปาฏิหาริย์ นำสู่มรรคผล นิพพาน แดนอริยบุคคล  8 โสดาบันมรรค  โสดาบันผล,  สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล,  อนาคามิมรรค  อนาคามิผล, อรหัตมรรคอรหัตตผล,  แล้วเลยสู่  พุทธะ

-----

-----

อาการที่   1. ทุกข์ 

รอบที่ 1.....อริยสัจจันติ เม ภิกขเว..... (นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..   

อาการที่   2. ทุกข์ 

รอบที่ 2.....ปะรัญเญย ยันติ  เม  ภิกขะเว.....(ภิกขุ ท. ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้)

อาการที่  3. ทุกข์  

รอบที่ 3.....ปะริญญา ตันติเม ภิกขะเว.....(ภิกขุ ท.ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว)

 

อาการที่  4.  ทุกข์สมุทัย 

รอบที่ 1.....อริยสัจจันติ เม ภิกขะเว..... (นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..

อาการที่  5.  ทุกข์สมุทัย 

รอบที่ 2.....ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว.....(ภิกขุ ท.นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ นี้แลควรละเสีย)

อาการที่  6.  ทุกข์สมุทัย 

รอบที่ 3.....ปะนันติ เม ภิกขะเว.....(ภิกขุ ท. นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว

 

อาการที่  7.  ทุกข์นิโรธ  

รอบที่ 1.....อริยสัจจันติ เม ภิกขะเว.....(นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย)

อาการที่  8.  ทุกข์นิโรธ  

รอบที่ 2.....สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว .....(นี่ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง)

 อาการที่  9. ทุกข์นิโรธ

รอบที่ 3.....สัจฉิกะตันติ  เม  ภิกขะเว.....(นี่ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นแล  อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว)

 

อาการที่ 10.  ทุกข์นิโรธคามินี  ปฏิปทา

รอบที่ 1.....อริยสัจจันติ เม ภิกขะเว…..(นี่เป็นสัจธรรมอันประเสริฐเลยนะภิกขุทั้งหลาย) ..

อาการที่ 11.  ทุกข์นิโรธคามินี ปฏิปทา

รอบที่ 2.....ภาเวตัพพันติ เมภิกขะเว.....(ภิกขุ ท. ก็ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจนั้นแลควรทำให้เจริญ)

อาการที่ 12. ทุกข์นิโรธคามินี ปฏิปทา 

รอบที่ 3.....ทรงพิจารณาเสร็จแล้ว  ได้ทางปฏิบัติ 8 ประการ  คือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปโปสัมมาวาจา,   สัมมาอาชีโวสัมมากัมมันโต,   สัมมาวายาโม,   สัมมาสติ,   สัมมาสมาธิ,.....ภาวิตันติ เม ภิกขะเว......(ภิกขุท.ก็ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจนั้นแล อันเราเจริญแล้ว )

-----

-----

คือพิจารณาศึกษา เรื่อง ทุกข์ ให้ครบ 12 อาการ จึงจะเข้าใจเรื่องราวของชีวิต และมุ่งหมายมรรคผล นิพพานได้ ตามแบบพระพุทธเจ้า 

การศึกษาธรรมะปฏิบัติแบบใดไปก็ตาม  หากไม่เอามาเปรียบเทียบ ให้ถูกต้องสอดคล้องหลัก  3 รอบ  12 อาการนี้แล้ว ก็จะไม่ใช่วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา อาจจะหลงทางไปสุดกู่ด้วยซ้ำ และไม่อาจจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย 

และครั้นจบการศึกษา 3รอบ 12 อาการตามแบบพระพุทธเจ้าแล้ว  ก็  จบ    ชีวิตหนึ่งก็ จบลง ไม่มีอะไรอีก

และย่อมรู้เองว่า  แบบ 3 รอบ 12 อาการนี้เป็นทางเดียว ทางอื่นไม่มีจริงๆ

-----*****-----
-----*****-----

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต

บทที่ การละตัณหาก็จะหมดสิ้นสุดชาติพันธ์มนุษย์ เป็นคำสอนให้ทำลายชาติพันธ์มนุษย์น่ะสิ

-----

การละตัณหา  ละความอยากได้ อยากมี  อยากเป็น  ละกามตัณหา คือทำอย่างไร ?

คือ ละทั้งกาย ไม่ให้ร่วมเพศ

ละทั้งวาจาไม่ไห้โอ้โลมปฏิโลม เย้ายวนให้เกิดความรักความใคร่ ตัดสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างเพศ

ละทั้งใจ ไม่ให้คิดถึงเรื่องเพศ เรื่องการสัมพันธ์ทางเพศ คู่ผัวตัวเมีย  ให้ตายไปเสียจากเรื่องเพศทั้งหมด

ทำอย่างนั้น ...ก็จะหมดสิ้นสุดชาติพันธ์มนุษย์  กลายเป็นว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคำสอนให้ทำลายชาติพันธ์มนุษย์

ถ้าไม่ใช่อย่างนี้แล้ว คำว่า ละตัณหาหมายความว่าอะไร ?

คำตอบ 

เพราะเรายังไม่เข้าใจ   ทุกขอริยสัจ  ตามที่พระองค์ทรงสอนนั้นเอง  เริ่มแต่เข้าใจมา ตั้งแต่

อริยสัจ 4  (1.) ทุกข์  (2.)  ทุกขสมุทัย   (3.) ทุกขนิโรธ  (4.) ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา 

อริยสัจ 1:  ทุกข์  ไม่มีอะไรนอกจากทุกข์ ชิวิตเป็นทุกข์ โลกเป็นทุกข์  สรรพสิ่งเป็นทุกข์

เมื่อเข้าใจทุกข์แล้ว การมองชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ก็เป็นสิ่งที่ไร้ค่า น่าหน่าย  น่าขยะแขยง

อย่างเช่นหมู่หนอนในบ่อส้วมวัด นั้นเอง

ชีวิตมนุษย์ โลกมนุษย์ ตามสายตาผู้รู้แจ้งทุกข์นั้น จึงเป็นสิ่งไร้ค่า น่าหน่าย  น่าขยะแขยง    ไร้ประโยชน์ใดใด  ไร้ความหมายใดใด

เหมือนสายตาคนปุถุชนทั้งหลายมองหมู่หนอนในบ่อส้วมวัดนั้นเอง  ว่าหมู่หนอนนั้นเป็นสิ่งไร้ค่า น่าหน่าย น่าขยะแขยง ไร้ประโยชน์ใดใด  ไร้ความหมายใดใด  นั่นเอง

แต่ในเมื่อเรายังเป็นปุถุชน คนธรรมดา ยังไม่รู้แจ้งทุกข์ เหมือนอริยชนผู้ประเสริฐ ไม่เหมือนพระอรหันต์ทั้งหลาย  ก็มองว่าชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ เป็นสิ่งที่ดี มีความสุขที่ควรแสวงหา ที่สุดล้ำเลิศในรสชาติตัณหา แม้ในกามารมณ์เป็นความสุขที่ล้ำเลิศ  สุดแสนวิเศษ  ล้ำรส  แม้ว่ามีสุขทุกข์สลับกันไปจนตายลงไปโลกก็น่าอยู่ มีค่ามีราคา สำหรับมนษย์  นั้นคือความคิดอย่างปุถุชนคนทั้งหลาย

และด้วยสายตาปุถุชน เมื่อพุทธะมาสอนให้ละความอยากคือตัณหาเสีย  ละกามกิเลส  ละความรักความใคร่ ทั้งมวล  ละความสัมพันธ์ทางเพศ เสียแล้ว   ก็เท่ากับคำสอนให้หยุดวิถีทางธรรมชาตของมนุษย์  ให้หยุดชาติพันธ์มนุษย์ นั้นแหละ กลายเป็นเรื่องที่น่าตกใจของมวลหมู่มนุษย์ไปเสียอีก     

แต่สัจธรรมขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น  แท้จริง  คือการถ่ายโอน  เอาชีวิตจากโลกที่ไร้ค่านี้ ไปสู่ชีวิตใหม่  ไปสู่โลกใหม่

จากโลกนี้ ที่ไม่มีอะไร นอกจากทุกข์  มีแต่ทุกข์เป็นวัฏฏจักร  มีแต่ความไร้ค่าไร้ราคา น่าหน่ายน่าขยะแขยง ไร้ประโยชน์  ไร้ความหมายไปทั้งสิ้น  ทรงขนย้ายชีวิตนี้ จากโลกนี้ไปสู่โลกที่ประเสริฐ คือโลกนิพพาน  นั้นเอง 

อุปมาเหมือนหมู่หนอนในบ่อส้วมวัด  ว่าพวกหนอนมีแต่ความสุข อิ่มหมีพีมันกัน   เพราะอุดมด้วยอาหารการกินมีมาเองทุกค่ำ เช้า  สาย  บ่าย เย็น ไม่เคยขาด

และบังเอิญมีหนอนบำเพ็ญบารมีตายไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทวดา  มานึกสงสารเพื่อนหนอนในส้วม จึงมาชักชวนให้ไปอยู่สวรรค์ด้วย  พวกหนอนกลับพากันขับหนี บอกว่าที่ไหนจะมีความสุขอุดมสมบูรณ์เท่าบ่อส้วมนี้ไม่มี   เทวดาก็ได้แต่สมเพชเวทนา

โลกมนุษย์ปุถุชนที่มีแต่ทุกข์ ก็เหมือนโลกหมู่หนอนนี่เอง  มองตัวเองไม่เข้าใจหรอก เพราะตนเองเป็นเช่นเดียวกับความสกปรกกับสิ่งเลอะเทอะไร้คุณค่าน่าขยะแขยงนั้นเอง 

เหมือนมนุษย์  ที่หลงใหลในความเป็นมนุษย์หลงใหลว่าเป็นโลกที่น่าอยู่แม้ว่าจะได้พบว่าเป็นโลกที่ไม่เที่ยงแท้  ไม่มั่นคงถาวร มีความเกิด แล้วมีแก่  มีเจ็บ  มีตาย  แล้วมีวัฏฏะสงสาร  อยู่อย่างนี้ 

2.

และซึ่งความจริงเรื่องวัฏฏะสงสาร  เรื่องทุกข์อริยสัจ มีมาสอนจากการบังเกิดของพระพุทธเจ้านั่นเองจึงเป็นลาภพิเศษของชาวโลกที่ได้รู้ความจริงของชีวิต ว่าโลกมนุษย์นั้นไม่ต่างจากโลกในบ่อส้วมวัดของหมู๋หนอนนั้นเลย  จึงตาสว่างขึ้น

และพากันเร่งหนีไปจากโลก

และครั้นรู้อริยสัจ ข้อที่ 2  ทุกข์สมุทัย  ของพระพุทธเจ้า ที่บอกวิธีการไปเสียจากโลกเก่าทุเรศนี้  ว่าจงสังหาร ละวางกิเลส ตัณหาอุปาทานเสียก็จะพ้นไปได้

ก็พากันปฏิบัติตาม แล้วพอตัณหาหมดสิ้นไปหมดนั้นเอง    ก็เห็นทางสู่โลกใหม่ ที่ไปไกลลิบลับจากโลกเก่าที่น่าขยะแขยง และนั่นแหละการบรรลุมรรคผลนิพพาน  สู่อริยบุคคลอรหันต์

นั้นเอง จึงเท่ากับการขนย้ายถ่ายเทมนุษย์จากโลกเก่าไปสู่โลกใหม่  ไปสู่โลกมหานิพพาน ที่พ้นทุกข์มีแต่ความสุขแท้นิรันดร   นั้นเอง

คือขนถ่ายเทไปได้หมดทั้งโลก  ก็ยิ่งมีความดี มีความปารถนาเช่นนั้น

ให้โลกทั้งโลกหมดสิ้นชาติพันธ์อันต่ำต้อยน้อยความหมายและไร้ค่านี้  ไปสู่ชาติพันธ์ใหม่คืออริยชาติ  อริยบุคคล  แห่งโลกใหม่ โลกนิพพาน  นั่นเอง

ฉะนั้น เพียงทำความเข้าใจให้รู้แจ้งโลก  ให้รู้แจ้ง ทุกข์อริยสัจ ว่าโลก  ชีวิต ไม่มีอะไรเลย นอกจากทุกข์  เกิดแล้วแก่ เจ็บ และตายไป  แม้ตายไปแล้ว ก็ไปเกิดต่อเป็นกงเกวียนหมุนวนไปเหมือนเดิม  คือมีแต่ทุกข์   แล้วหมุนวนไปทางเดียวคือ แก่  แล้ว  เจ็บ แล้วตายไป   ไร้ค่า  น่าขยะแขยงไปเหมือนเดิม เป็นเช่นนี้มาและจะเป็นไปนับอนันตกาลประมาณเวลาไม่ได้เลย

เมื่อรู้ด้วยปัญญา  รู้แจ้งเห็นจริงเช่นนี้เอง  ก็ลัดเข้าไปสู่โลกพระอรหันต์ได้ทันที  และคนที่เข้าโลกใหม่นั้นมีชื่อใหม่ว่า พระอริยบุคคล   พ้นจากชื่อเดิม ว่าปุถุชน  ตามความหมายในพระพุทธศาสนา

จึงเสมือนพุทธองค์มาขนถ่ายชีวิตนี้ไปสู่โลกใหม่ โลกนิพพาน  นั้นเอง  อุปมาเหมือนจากโลกต่ำต้อยไปสู่โลกสูงส่ง  หาที่ติมิได้

ก็ทรงขนถ่ายไปยังไม่หมดโลก ก็ทรงปรินิพพาน  บรรดาพระสาวกก็สอนหลักการยกย้ายจากโลกปุถุชน สู่โลกอริยชน ต่อมา    ที่ยังอยู่ก็หาทางเข้าสู่โลกนิพพานต่อไป   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในโลกแห่งทุกข์  ที่มีแต่วัฏจักรแห่งความเกิด  แก่  เจ็บ และตาย  ลงแล้วย้อนมาเกิดใหม่  เป็นวัฏสงสารแห่งทุกข์ไม่รู้จบสิ้นเช่นนี้    นอกจากผู้ยังตาบอดอยู่ไม่มองเห็นอริยสัจธรรมแห่งทุกข์

ก็ตราบใดที่คนทั้งหลาย ยังไม่อาจจะผ่านโลกปุถุชนไปสู่โลกนิพพานได้ ยังไม่สำเร็จอรหันตบุคคล ก็ต้องปฏิบัติตนไปในทางที่ถูกต้อง ทางแห่งความรอด  นั่นคือ  อริยมรรค 8 ประการ  นันเอง คือ: สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา,  สัมมาอาชีโว, สัมมากัมมันโต,สัมมาวายาโม,สัมมาสติ,  สัมมาสมาธิ  ตามที่ได้อธิบายมาพอรู้แนวทางมาก่อนแล้ว

ซึ่งนี่คือหลักแห่งการครองชีพอยู่อย่างปุถุชนบนโลกนี้ สำหรับชนทุกชาติทุกศาสนา ทุกเพศ ทุกวัย ที่ ให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตแบบปุถุชนไปอย่างสูงสุด นั่นคือทั้งในด้านโลกธรรม และอริยธรรมไปพร้อมกันได้  เพราะทางปฏิบัติทั้ง 8 ทางนั้นสามารถปฏิบัติไปได้ เพื่อทั้งโลกธรรมและอริยธรรมพร้อมกัน  โดยไม่ออกนอกทางมรรคผลนิพพาน และส่งเสริมวิถีชีวิตปุถุชนด้วยการเดินตามอริยมรรค 8 นี้  ที่ค่อยนำตนพ้นกิเลส ตัณหา อุปาทานไปพร้อมวิถีชีวิตปุถุชน จนที่สุดพบความสำเร็จแม้ทางโลกธรรมและอริยธรรม ด้วย มรรค 8 นี้เอง  แม้ในชาตินี้ นาทีนี้  วินาทีนี้ ก็บรรลุมรรคผลนิพพาน โลกที่พ้นทุกข์ทั้งปวงไปได้.

-----*****-----

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต

บทที่  7 คำสอนที่ขัดแย้งอริยสัจธรรมสูงสุดเรื่องจิต และเรื่องอัฏฐิเป็นพระธาตุจึงเป็นพระอรหันต์ได้ 

-----

มีประเด็นทางปัญญา ที่มีการขัดแย้ง โต้ตอบกันมาตลอดไม่หยุดในวงการพระพุทธศาสนาไทยเราวันนี้  และเป็นเรื่องระดับสูงสุดของอริยะปัญญา ที่ให้ความหมายไปถึงอริยบุคคลอรหันต์ผู้ประเสริฐด้วย 

นั่นคือ เป็นประเด็น อรหันต์ผู้ประเสริฐที่แท้จริง เป็นอย่างไร  อรหันต์เก๊ เป็นอย่างไร  หรือ หากไม่ถึงระดับอรหันต์แล้ว จะเป็นอย่างไร อะไรคือ มรรค และ ผล  เช่น อรหันตมรรค  กับ อรหัตตผล  นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ?

อย่างที่ ท่านพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว)  เทศนาอะไรไป  และการอ้างอวดอรหันต์ขึ้นมาทีไร ก็มีเสียงตอบโต้ ว่าไม่สมกับเป็นอรหันต์บุคคล  โดยเฉพาะ ปฏิปทา เรื่อง สมาธิ นั้น ทำไม่ถูกมาตลอดทั้งสาย นับแต่หลวงปู่มั่นมา ....ทำผิดหลักสัมมาสมาธิของพระพุทธศาสนาไปทั้งหมด

เราซึ่งเป็นผู้ฝักใฝ่การปฏิบัติธรรมมาทั้งชีวิต  ที่พอจะเข้าใจปัญหาดี  และคิดว่าน่าจะมีการนำเรื่องข้อขัดแย้งนี้มาพิจารณา ให้เห็นหลักการพิจารณาแบบมีเหตุและผลชนิดที่ละเอียดอ่อน    โดยนำสัจธรรมระดับอรหันต์บุคคลมาพินิจพิจารณา  นั่นแหละมันจะบอกชัด ๆว่าเป็นบุคคลระดับใด 

อย่างหลวงตาบัว ท่านผู้นี้ขอเอามาเป็นตัวอย่าง ว่าการแสดงปัญญาของท่านในเรื่องจิต  หรือ จิตใจ  นั้น ยังไม่ถึงระดับสัจธรรมเลย

มีการเทศน์  เรื่อง  จิตใจ   การไปบอกนักศึกษาว่า กรรมเป็นสิ่งบันดาลให้ตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ นั้น ถือว่าเป็นธรรมะธรรมดา ๆ  ที่พระสาวกทั้งหลายแสดงกันดีอยู่แล้ว   แต่ประเด็นที่เกี่ยวกับปญญาระดับอรหันต์นั้นก็คือ การเทศน์ว่า ใจนี้ไม่เคยตาย เกิดในภพน้อยภพใหญ่ ใจไม่เคยตาย  แต่สั่งสมกรรมดีชั่วต่อไป   ใจเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักตาย   ตายลงไป ใครตาย แต่ใจไม่ตาย  ตกนรกไป  ใจก็ไม่ตาย  ขึ้นสวรรค์ไป ใจก็ไม่ตาย  นี่เป็นการบอกว่า ยังไม่รู้จริงเรื่องใจนั่นเอง  ซึ่งระดับพระอรหันต์ ท่านจะรู้จริงไปหมด ทั้งรูปธรรม นามธรรม  สัจธรรม อัตตา  กับ  อนัตตา    ที่บอกว่าตนสำเร็จอรหันต์จึงยังไม่รู้สัจธรรมสูงสุดเรื่องจิตใจนั้นเอง

ก็เสนอการพิจารณาจาก อริยสัจ 4 นั่นเอง

อริยสัจ 1  ทุกข์

อริยสัจ 2  สมุทัย

อริยสัจ 3  อะไร?

อริยสัจ 4 ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยะสัจ 3 พระองค์ บอกว่าอะไร ?....ทุกขะนิโรธ 

ทรงบอกว่า  นิโรธ  นี่แหละเป็นคำตอบ ที่ตอบให้ผู้มีปัญญา รู้แจ้งให้คลายหายสงสัย ในปัญหา อรหันตบุคคล  ไปได้   หากไม่เข้าใจ  นิโรธ  ก็ไม่เข้าใจ  อัตตา   อนัตตา   ไม่เข้าใจอริยสัจ 4 ก็ไม่ถึงระดับ อรหันตบุคคล

และที่บอกว่า  ใจเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักตาย   ตายลงไป ใครตาย แต่ใจไม่ตาย  ตกนรกไป  ใจก็ไม่ตาย  ขึ้นสวรรค์ไป ใจก็ไม่ตาย  นั้นมันไม่ถูกหลักอริยสัจ 4

แล้วยังมีพฤฒิกรรม จรรยา  มารยาท  ที่ไม่สะท้อนความเหมาะสมกับปัญญาพระอรหันต์  ที่น่าจะสังวร  กายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม อย่างดี  โดยที่หลวงตานี้  ยังมีพฤฒิกรรม  จรรยา  มารยาท  ที่ไม่สมกับ ความเป็นคนดีธรรมดา ๆ ด้วยซ้ำ ท่านไม่ระมัดระวังการเผายาสูบบุหรี่มวนโตต่อหน้าผู้คนทั้งหลาย  ออกอาการใหญ่ขากเสลดใส่ไมโครโฟน  แม้ขณะที่แสดงธรรม ต่อหน้าคนสำคัญ แม้ต่อหน้าสมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอด้วยซ้ำ ต่อหน้าพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จากมหาเถรสมาคม และไม่คิดว่า ออกไปทั่วอาณาจักร ไปทั่วโลก

นอกจากนั้น บอกว่า  พระอรหันต์ตายไปแล้ว อัฏฐิ หรือกระดูกของท่านจะกลายเป็นพระธาตุ พบกระดูกพระองค์ใดเป็นพระธาตุ นั้นยืนยันได้เลยว่า เป็นพระอรหันต์  โดยเฉพาะระยะหลัง ๆของชีวิตท่าน มานี้  มีการสอน ของหลวงตาบัวเอง อย่างใหญ่ยืนยัน ว่าอรหันต์องค์นั้นองค์นี้ที่ตายไปแล้ว  ก็มีอัฏฐิเป็นเพชรไปหมดแล้ว  แม้ลูกศิษย์  ก็มักอ้างว่า  อัฏฐิของหลวงตาบัว  ก็กลายเป็นพระธาตุ  เป็นเพชร ไปหมดแล้ว  ยืนยันถึงความเป็นอรหันต์ของท่าน แบบไม่ยอมให้ใครมีความสงสัยเลย    นั้นเอง  มันเป็นคำสอนที่ผิดพลาดไปจากสัจธรรมพระพุทธศาสนา ส่วนที่เกี่ยวโดยเฉพาะกับเรื่องมรรคผลนิพพานโดยตรง ขัดสัจธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนา ขัดหลักสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา

มาทบทวนอีก  การไปสอนว่า  อัฏฐิ  กลายเป็นพระธาตุ จึงจะบอกความเป็นพระอรหันต์ นั้น เป็นคำสอนที่ผิด....ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนา  ในแง่สัจธรรม  ผู้ที่มีปัญญารู้แจ้งทุกขอริยสัจเท่านั้นจึงบรรลุอรหันต์ได้  ไม่เกี่ยวกับรูปธรรมใดใดเลย กระดูกเป็นทองคำ เป็นเพชร แต่ปัญญาไม่รู้เลยเรื่องอริยสัจ 4 ก็จะบอกเลยว่านั่นคนโง่แท้ ๆ  และมีแต่คนโง่เท่านั้นสรรเสริญ  และบัดนี้ น่าทำให้สงสัยมองไปได้ว่าเอาวิชาวิทยาศาสตร์ มาย้อม หรือเอาน้ำยาเคมีมาชุบย้อมกระดูกให้ขาวดั่วเพชรหรือเปล่า  เพราะวิทยาศาสตร์สามารถทำได้   อันเป็นการโฆษณามากขึ้นไปเรื่อย ๆแบบไม่ละอายใจตนเอง  ลูกศิษย์ก็พูดตามไป แสวงหาโลกธรรม  ลาภ   ยศ  สรรเสริญ  สุข   อันเป็นการทำความชั่วผิดศีลผิดธรรมเป็นการหลอกลวงคนทั้งหลาย ธรรมดา ๆ เราดีๆ นี่เอง

เราจึงเสนอเหตุผลนี้มาเพื่อผู้มีปัญญา ใช้ปัญญา และอริยสัจธรรมในพระพุทธศาสนา  พิจารณาในเรื่องพิเศษนี้จริง ๆ    เพื่อให้รู้สัจธรรมที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา   อริยบุคคลจริงในพระพุทธศาสนา

เป็นเรื่อง   สัจธรรม  จริง ๆ เพื่อการรู้สัจธรรมจริงๆ รู้บุคคลอรหันต์ จริงๆ   เพราะเป็นเรื่องปัญญาระดับสูงสุดในพระพุทธศาสนา     ที่ต้องพิจารณาไปตามเหตุและผลของสัจธรรมระดับต่าง ๆ  ซึ่งระดับอรหันต์นี้ สิ่งที่ตัดสินก็คือ การพิจารณาจากสัจธรรมของใจ  หากพูดผิดเรื่องจิต หรือ ใจ ไปแล้ว  ไม่ถูกตามหลักของพระพุทธองค์ ซึ่งในที่อ้างมานี้ พูดว่า..... ใจเป็นสิ่งที่ไม่รู้จักตาย   ตายลงไป ใครตาย แต่ใจไม่ตาย  ตกนรกไป  ใจก็ไม่ตาย  ขึ้นสวรรค์ไป ใจก็ไม่ตาย .....  

ก็น่าจะไม่ถึงระดับอรหันตบุคคล...ไม่เข้าใจทุกขนิโรธะอะริยะสัจจะ  ...แต่น่าจะ  อนาคามิผล  หรือ  อรหัตตมรรค  หรือเปล่าอนึ่ง  อรหัตตผล ย่อมสมบูรณ์ไปด้วยสัมมาสติแห่งอริยมรรค 8 การสำรวม ทั้งกายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม  มีวจีกรรมขละ เช่นนี้ จะว่าสำรวมได้อย่างไร และการสอนว่า มีอัฏฐิเป็นพระธาตุเป็นเพชรเท่านั้นจึงเป็นอรหันต์ได้นั้น  เป็นคำสอนที่ผิดที่ลบล้างสัจธรรมอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง แล้วคนที่สอนธรรมะผิดร้ายแรงไปเช่นนี้ คนใดก็ตาม นั้นหรือจะควรอวดอ้างตนเป็นพระอรหันต์ ? และครั้นมีการอวดอ้างในสิ่งที่ไม่เป็นจริง  นั่นก็ ปาราชิกข้อที่ 4  อวดอุตตริมนุสสธรรมนั้นเอง ....(ได้โปรดอย่าเพิ่งตกใจนะครับ  นี่กล่าวไปตามเหตุผล แห่ง พระวินัยบัญญัติ)  

-----*****-----
-----*****-----

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต

บทที่ 8  สมาธิคืออไร?

1.

ความหมาย

สมาธิคำนี้ เป็นคำต่างประเทศคือ บาลี  นั้นไม่ใช่ภาษาไทย  เป็นคำต่างประเทศ และครั้นถามว่าภาษาไทยแปลว่าอะไร   ก็แปลเป็นบาลีก่อนว่า  จิตเตกคฺคตา  แต่ไปแปลว่า “ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันหนึ่ง”  นั้น น่าจะไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับที่อังกฤษแปล  ดูภาษาอังกฤษจะถูกต้องกว่า คือคำว่า concentration , one-pointedness of mind and meditation  แปลกลับไปเป็นไทยอีก แปลว่า จิตใจรวมกันเป็นเอกภาพ  นี่จึงน่าถูกต้องแล้ว 

และมีการเปิดสำนักปฏิบัติธรรม มีสำนักปฏิบัติธรรมใหญ่โตมากมาย  แต่แล้วก็มีคนเก่งเขาจบการศึกษาวิปัสสนาจารย์ออกมา แล้วพบว่าเป็นการศึกษาที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย   เท่ากับเป็นสำนักที่หลอกลวงคนทั้งหลาย เขาก็ออกมาพูด คือ แม่ชีท่านหนึ่ง แม่ชีแอ๋ว (ธวัลรัตน์ อุดมรัฐเสฏฐ์) อดีตแม่ชีวิปัสสนาจารย์สำนักปฏิบัติชื่อดัง  นั้นเอง จบ ปธ.9   จบหลักสูตรภาคปฏิบัติของสำนักใหญ่ หลายสำนัก  ออกคลิปมาเปิดเผยว่า อย่าเข้าไปสำนักปฏิบัติธรรมเลย ไม่มีประโยชน์มีแต่หลอกลวงหาเงินรายได้เห็นแก่ลาภ แก่เงิน  หาเงินกันเท่านั้น เลิกปฏิบัติธรรมเถอะปล่อยให้ร้างไปเลย  ....ก็ไม่เห็นมีสำนักปฏิบัติไหน ออกมาให้เหตุผลตอบโต้เขาไป  แสดงความจริงที่ตนสอนตนพาปฏิบัติไปเลย  

นี่แหละที่สะท้อนถึงปัญหาสมาธิของวงการมรรคผล  ศาสนาพุทธเราทุกวันนี้

เพราะไม่รู้ว่า  สมาธิคืออะไร ?

ความเป็นมา

ในพระปฐมเทศนา อริยสัจข้อที่ 4 ทุกขะนิโรธะ คามินี ปะฏิปะทา ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์  ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับ  มัชฌิมาปฏิปทา ทางปฏิบัติแบบทางสายกลาง  กับ มรรค 8  ที่ทรงใช้ชื่อว่า  ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา แปลว่า  ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

สิ่งที่ควรเข้าใจก็คือ สมาธินั้น เดิมทีเดียว เป็นเรื่องของมวลมนุษย์ชาติ เผ่าพันธุ์ต่างๆ  บนโลกยุคเริ่มต้นนั้น  เขาได้รู้กันมา  และได้ใช้ประโยชน์จากสมาธิกันมาแต่เริ่มเป็นมนุษย์แล้ว

มาเข้าใจวิถีทางมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ที่เพิ่งเป็นมนุษย์ขึ้นมาเมื่อหลายล้านปีก่อน  พวกเขาได้เผชิญภัยพิบัติมากมายถึงชีวิตเป็นประจำวัน  เกิดภัยต่างๆที่ต้องหนีเอาชีวิตรอด ต้องต่อสู้กับสัตว์ร้ายแบบมือเปล่า หรือมีอาวุธท่อนไม่ ก้อนดินก้อนหิน  และบางชนิดที่เป็นนักล่าเห็นเราเป็นเหยื่อ มาเราก็วิ่งหนีกันสุดชีวิต เพื่อเอาชีวิตรอด  การหนีภัย  หรือ การวิ่งหนีสุดชีวิตให้พ้นจากนักล่า เช่นเสือ  สิงโต  หรือสัตว์ใหญ่อย่าง  ไดโนเสา   นั้นแหละ  การได้พบสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ  พบเองจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอันตรายในยุคนั้น    จากนั้น ก็ฝึกการวิ่งสร้างนิสัยวิ่งเร็ว  ฝึกการหลบภัย  ขณะโดนไล่ล่านั้นจะต้องวิ่งหนีอย่างสุดชีวิต  ตั้งใจหนีด้วยความกลัว เท้าต้องวิ่งไปอย่างเร็วที่สุดสมองคิดไปหาที่หลบภัย  พอขึ้นต้นไม้ได้ก็ขึ้นต้นไม้  หรือ  ไปเข้าถ้ำ  รอดไปจากไดโนเสาด้วยสมาธิความตั้งใจหนีอย่างสุดๆ  จริง ๆ ทำเล่นๆ ไม่ได้เลย  หากทำเล่นๆ  ก็จะถูกฆ่าตาย หรือกลายเป็นเหยื่อเสือ สิงโตไปได้ 

จึงได้พบ  สมาธิ และเริ่มฝึกสมาธิกันมา  จนถึงทุกวันนี้ แต่ศาสนาพุทธและชาวพุทธเรา เราได้พบคำว่า สัมมาสมาธิ  จากปฐมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ประเด็นของศาสนาพุทธนั้น  ความสำคัญของการปฏิบัติธรรม ไม่ได้อยู่ที่ สมาธิ หากแต่อยู่ที่  การฝึกฝนปัญญาให้รู้แจ้งอริยสัจ 4  หรือ รู้แจ้งทุกข์โลกเป็นทุกข์ ชีวิตเป็นทุกข์  สรรพสิ่งล้วนเป็นทุกข์ และมีการเกิดมาแล้วพบกับความทุกขื ตายไปแล้ว เกิดมาใหม่ก็พบความทุกข์อย่างเดิมๆ ไป ไม่รู้หยุดหย่อนซึ่งเป็นมาหลายล้านๆ โกฏิปีมาแล้วและจะเป็นไปอย่างนี้  คือตายแล้วเกิดมาพบทุกข์อย่างนี้ต่อไปอีกนับ โกฏ ๆ ล้านปี  ก็เป็นอยู่อย่างนี้ ครั้นทรงพบความจริงเช่นนี้ จึงทรงเบื่อหน่ายและทรงแสวงหาทางพ้นทุกข์  จึงได้พบความจริงเรื่องอริยสัจ 4  พ้นทุกข์ไปง่ายๆ เพียงเข้าใจ รู้แจ้งเรื่องทุกข์ เรื่องโลกเป็นแดนทุกข์  แดนเกิดแก่เจ็บตาย  เรื่องปัญญารู้แจ้ง  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

2.

ความเข้าใจผิด

และตรงนี้  ดูจะมีการเข้าใจผิดกันมานาน เรื่องสมาธิในหลัก  ไตรสิกขา:  ศีล   สมาธิ   ปัญญา  และทั้งยังอ้างที่ไปที่มา  ว่ามาจากมรรค 8  คือมองว่า  สัมมาวาจา  สัมมาอาชีโว  สัมมากัมมันโต เป็นเรื่อง ศีล,   สัมมาวายาโม สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ  เป็นเรื่อง สมาธิ,   สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป  เป็นเรื่องปัญญา,  นั้นมันไม่ถูกต้องตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา เพราะหลักมัชฌิมาปฏิปทา 8 ข้อนี้  เป็นหลักสากล ไม่เฉพาะผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งไตรสิกขานี้มีเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้นที่จะปฏิบัติได้ครบถ้วน  แต่มัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉพาะสงฆ์ ห่มเหลืองเท่านั้น   แต่สำหรับคนทั้งหลาย ทั้งนักบวช พระสงฆ์องค์สามเณร ก็ปฏิบัติได้เท่ากันหมด มีสิทธิบรรลุมรรคผลนิพพานได้เท่ากันแล้วแต่ใครปฏิบัติได้ดีกว่ากันเท่านั้นเอง แต่หลักศีล  สมาธิ  ปัญญา นี้ ไม่มีใครปฏิบัติได้สมบูรณ์นอกจากพระสงฆ์สาวก  ที่ต้องปฏิบัติศีล 5  8  10  227  310 ข้อ ได้ ฆราวาสปฏิบัติไม่ได้ หลัก3ไตรสิกขา จึงจะไปอิงกับหลักมรรค 8 หรือมัชฌมาปฏิปทาไม่ได้ เพราะใครก็ตามปฏิบัติได้ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้  แม้เป็นสงฆ์สาวก แต่ปฏิบัติไม่ได้ก็สู้ฆราวาสผู้ปฏิบัติตรงได้ตามสัจจนี้ นี่คือ  มัชฌิมาปฏิปทา   เท่ากันหมดสำหรับผู้ปฏิบัติ ซึ่งเราจะต้องเข้าใจให้ตรงให้ถูกจริงๆในเรื่อง มรรค 8  นี้

และรวมถึงความเข้าใจเรื่อง สมาธิ  ด้วย 

โดยที่ต้องเข้าใจร่วมกันไปทั้ง8ประการเพื่อการบรรลุมรรคผล ตามชื่อมรรค 8 ทีทรงชื่อว่า  ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา  ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์  เมื่อปฏิบัติมรรค 8 ให้สมกับชื่อ ทางพ้นทุกข์  และสมกับเป็น อริยสัจ 4  ข้อที่ 4 เพื่อไปสู่มรรคผลนิพพานนั้น  เอง  จะบังเกิดขึ้นสมกับชื่อ และทรงตรัสว่า  นี่แหละเป็นมัชฌมาปฏิปทา ทางปฏิบัติแบบมีเหตุมีผล

คำว่ามัชฌิมาปฏิปทานั้นแท้จริง  ยิ่งความหมายที่สอดคล้องคำว่าทางดับทุกข์  ก็ในแง่ที่ว่า ใครๆ ก็ปฏิบัติได้ ไม่จำกัดชนชาติ เพศ  ฆราวาส หรือ นักบวช     เมื่อปฏิบัติได้ก็บรรลุได้ ถึงระดับอรหันต์บุคคลเลยทีเดียวไม่มียกเว้น

ดังที่หลักอริยสัจ 4 หรือ ทุกข์อริยสัจได้ให้ความหมายเอาไว้และส่งผลดั่งนั้นจริง

นั่นคือเป็นทางสายกลาง ใครปฏิบัติได้ คนนั้นก็ได้ ซึ่งจะผิดกับหลัก ศีล  สมาธิ  ปัญญา  มีลักษณะไม่สอดคล้องกับทางสายกลางนี้เพราะนับแต่เรื่องศีล  ศีล 5   8  10  227  310  ซึ่งฆราวาสญาติโยมทั้งหลายจะปฏิบัติไม่ได้  มีทางเดียวคือมาบวชเป็นพระสงฆ์ก่อน  และด้วยเหตุนี้จึงมีการเพิ่มทางปฏิบัติสำหรับญาติโยมผู้หวังมรรคผลนิพพานด้วยการเอา  ทาน มาเพิ่ม  เป็น  ทาน  ศีล สมาธิ  ปัญญา  วิถีทางของฆราวาส ญาติโยม คฤหัสถ์ ทั้งโลก จึงไม่มีทางจะปฏิบัติได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้   ทำได้แต่ทานอย่างเดียว  จึงเป็นผลให้เกิดการแข่งขันทำบุญทำทานกันอย่างเดียวเท่านั้น เป็นคล้ายการหลอกลวงเอาทรัพย์สินเงินทองเข้าสู่วัดวาอาราม   พระสงฆ์ วัดวาอารามกลายเป็นแดนเศรษฐีขึ้นมาแทนที่จะเป็นแดนที่พบศึกษาเรื่องทุกข์อริยสัจ   นั้นก็เพราะทำผิดหลักการ มัชฌิมาปฏิปทา นั้นเอง 

เราจะต้องไปทบทวนทำความเข้าใจให้ได้ชัดเจนว่า  มัชฌิมาปฏิปทา หรือหลักมรรค  8  ทางปฏิบัติไปสู่ความพ้นทุกข์นั้นเป็นหลักวางเอาไว้สำหรับคนทุกชนิด ทุกชาติ  ศาสนา  ทำได้เสมอเหมือนนักบวช  หรือ พระภิกษุ สามเณร  และมีสิทธิในการบรรลุพร้อมกันไปเลย  

3.

หลักการพิจารณา

เมื่อมาพิจารณาเรื่องสมาธิ    จึงเห็นว่าฝ่ายฆราวาส ตามหลักไตรสิกขานี้ จะไม่สามารถบรรลุสมาธิชั้นสูงได้เลย หากไม่ปฏิบัติตนในศีล ศีล 5  ศีล 8 ศ๊ล 10 ศีล 227  ศีล 310 ข้อ  และตามนี้จะมี่เพียงนักบวชพุทธสงฆ์เท่านั้นจะปฏิบัติสมาธิได้ คนอื่น ๆ  ปฏิบัติไม่ได้  ซึ่งไม่น่าเป็นเช่นนั้น

จนเมื่อมีท่านพุทธทาสภิกขุ ออกมาตำหนิว่าหลัก ศีล  สมาธิ  ปัญญา  นี้เป็นหลักการที่ไม่สอดคล้องหลักมัชฌิมาปฏิปทา   ควรกลับเสีย เป็น ปัญญา  สมาธิ   ศีล ซึ่งนี่เองที่ทำการปฏิบัติของชาวพุทธทั้งหลาย มาสู่ทางสายกลาง คือใครจะปฏิบัติก็ได้ โดยมุ่งใช้ปัญญา ความคิดตรึกตรองได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดสถานที่  นำการปฏิบัติทั้งหมด สมาธิ  ตามไป  ศีล  ตามไป  ใครก็ตามใช้ปัญญาถูกต้องก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้  และหากใช้ปัญญาไม่ถูกต้อง ใครก็ตาม  ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้

 

แม้องค์สมเด็จพระบรมศาสดา เอง ก็ทรงยืนยันแต่ต้นกับปัญจวัคคีย์ทั้ว 5 ว่า พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ก็ด้วยปัญญาแท้ ๆ  มิใช่จากการบำเพ็ญทุกรกริยาอันสาหัสฉกรรจ์แต่อย่างใด  ตามที่ทรงตรัสถึง  กามสุขัลลิกานุโยค  และอัตตะกิลละมะถานุโยค  ว่าเป็นธรรมอันเลว ไม่ประกอบด้วยประโยชน์  เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน  เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา

ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ 8 ประการหรือมรรค 8 จึงเป็นทางสายกลาง ที่ใครๆ ก็ปฏิบัติได้  ที่บ้านก็ได้  ที่ทำงานก็ได้  ในเรือกสวนไร่นา  หรือ บนยานอวกาศก็ได้   โดยหลักการพิจารณาด้วยปัญญา คือใช้ความคิด ความตรึกตรองหาเหตุและผล ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล  ให้ตรงกัน  ที่จะยืนยัน รู้แจ้งด้วยตนเอง   แบบที่ทรงปฏิบัติมาแบบ 3 รอบ  12 อาการนั้นเอง  ดังที่ทรงยืนยันว่า  ด้วย   จักขุง อทะปาทิ(ตาดีเกิดขึ้นแล้ว),  ญาณัง อุทะปาทิ(ความหยั่งรู้เกิดขึ้นแล้ว),  ปัญญา อุทะปาทิ(ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว),  วิชชาอุทะปาทิ(วิทยาเกิดขึ้นแล้ว),  อาโลกโก อุทะปาทิ(แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว)  จึงทรงตรัสรู้  รู้แจ้งโลกขึ้นมา

และโดยมัชฌิมาปฏิปะทา  การดำเนินชีวิตประจำวันของคนทั้งหลาย แม้ฆราวาสและนักบวชก็ตามทรงชี้นำทางอันเหมาะสมไว้แล้วสำหรับคนทุกฝ่าย ตามความเข้าใจไปเบื้องต้นตามลำดับไป ดังนี้

1.  สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบให้มีความเข้าใจเรื่องความจริง  ที่จะต้องพิศูจน์เห็นจริงไปตามเหตุและผล  หรือคนยุคใหม่มองไปตามหลักการวิทยาศาสตร์นั้นเอง ความคิดในเรื่องการพึ่งตนเอง เป็นประเด็นสำคัญมาก ซึ่งหมายถึง เราต้องมองเห็นเองว่าเรื่องการพึ่งคนอื่น  แม้การพึ่งเทพเจ้า หรือ พระเจ้านั้น  ก็ไม่ชอบด้วยเหตุและผลไม่ถูกหลักวิทยาศาสตร์  หากคิดไปพึ่งสิ่งที่นอกเหนือไปจากตนเองแล้ว ไม่สามารถบรรลุ มรรคผลนิพพาน  ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ นั่นคือ เราต้องปฏิบัติตามโอวาทะปาฏิโมกข์ 3 ข้อนั้นเอง คือ ละเว้นการทำชั่ว   ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์    นำตนพึ่งตนเองได้

2.  สัมมาสังกัปโป  ดำริชอบ  สิ่งที่เราทำอยู่ อะไรก็ตาม  เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ ชั่วหรือไม่  ทำใจเราสกปรกหรือไม่   นี่แหละที่ต้องคิดตรองตรึก  ดำริแต่สิ่งที่ทำได้ไปอย่างไม่ผิด  และดำริในเรื่องพาตนพ้นทุกข์ พาตนไปรู้แจ้งอริยสัจธรรม 4 ประการให้ได้ นั้นแหละนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้  เป็นการพ้นเสียได้ หลุดพ้นเสียได้จากโลกอันเต็มได้ด้วยความน่ารังเกียจ  ขยะแขยง ไปด้วยทุกข์และสิ่งสกปรกทั้งหลายตลอดเวลา นั่นคือนิพพิทาญาณ ญาณแห่งความหน่าย  ความรังเกียจขญะแขยง  นั้นเอง ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีการชำระล้างกิเลสไปโดยอัตโนมัตินำไปสู่มรรคผลนิพพาน สำเร็จอรหันต์ได้ทันที

4.

3.  สัมมาวาจา  แน่นอนในชีวิตที่แวดล้อมด้วยเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย  ต้องปฏิบัติด้านวาจาให้ออกมาทางเป็นมิตร ไม่ใช่ศัตรู    และเข้าใจสัจธรรมว่า  วาจา  สัมมาวาขจานี่แหละคือถ้อยคำแห่งธรรมะอันเลิศประเสริฐ ที่นำสัจธรรมไปสู่คนทั้งหลาย ได้พบลาภผลอันประเสริฐคือทางปฏิบัติเพื่การพ้นโลกทุกข์สกปรกนี้ ได้

4. สัมมากัมมันโต  ต้องดู 3 อย่างคือ  กายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม  ลองตรวจดูตามหลักพระพุทธศษสนาว่า  กรรมทั้ง3 นี้มันตรงกัน เป็นเส้นเดียวกันหรือไม่ ?  เป็นเส้นตรงเดียวกันหรือไม่ ? เช่นเราทำอะไรไป  ที่ตรงกับเราพูดไว้อย่างไร เราคิดไว้อย่างไร  กาย  วาจา ใจ  มันตรงกันเป็นเส้นเดียวกันหรือไม่  นี่แหละทางปฏิบัติชำระความสกปรกออกไปจากจิตวิญญาณ ให้เกิดความบริสุทธิ์สัตย์ซื่อจริง ๆ แบบสะอาดสะอ้านจริง ๆ ไม่มีการเสแสร้ง   พยายามให้กรรมทั้ง3อย่างนี้ ตรงกันเสมอๆ  นั่นแหละใกล้ความดับ(นิโรธ)เข้าไปทุกทีแล้ว

5.  สัมมาอาชีโว  เราต้องมองความจริงของชีวิต   เราต้องประกอบการงานอาชีพทุกคนๆ เกิดมาแล้ว พ่อแม่เรา ครู อาจารย์เรา  รัฐบาลผู้ปกครองเรา นั้นเองจะสอน จะบอกทางทำมาหากินให้เพื่อรอดชีวิตก่อน  หากเราไม่มีอะไรกิน  ดื่ม  มันก็จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ แม้อริยบุคคล อรหันต์ก็ยังต้องหากินหาใช้เพื่อเลี้ยงกายสังขารให้มีชีวิตอยู่  ฉะนั้นคนที่ดีคนที่เก่งนั้น คือคนที่เอาตัวรอดได้  รู้จักการทำมาหาเลี้ยงชีพเพื่อมีกิน มีอาหารเพียงพอ  มีเครื่องนุ่งห่มกันร้อนกันหนาวมีบ้านที่อยู่อาศัยกันแดดกันลมกันฝน กันพายุ  และครั้งเกิดเจ็บป่วยก็หายารักษามีเงินเข้าโรงพยาบาลจ่ายค่ายาค่ารักษาได้ โดยต้องเข้าใจให้ดีว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต   การทำมาหากิน ก็คิดไปตามหลักธรรมชาตินั้นเอง ทำถูกธรรมชาตินั้นแหละทำดี  ไม่มีโทษ  ตัวอย่างเช่น เราเป็นคน  ชาติพันธุ์คนนี้ จะกินอะไร ก็กินแบบคนนั้นแหละ  ไปตามธรรมชาติคนนั้นแหละ จึงเหมาะกับความเป็นคน 

นั่นแหละเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ผิด  ไม่มีโทษ ไม่กีดกั้นปัญญามรรคผลนิพพาน   เหมือนสัตว์ เช่นเสือ สิงโด  มันเป็นสัตว์ประเภทนี้  ธรรมชาติให้มันกินได้อย่างเดียวคือกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร จึงจะมีชีวิตอยู่  และกินมาแต่เกิด หากไม่กินก็จะไม่เติบโตจากลูกเสือไปเป็นเสือใหญ่  สิงโตใหญ่ มันก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้  มันเป็นธรรมชาติเช่นนี้   นั่นแหละมัชฌิมาปฏิปทา   คนก็เหมือนกัน   ทำอาชีพอะไร ก็ทำมาหากินไป ค้าขายไป ให้เหมาะกับความเป็นคน  ธรรมชาติของคนนั้นเอง  คือตามหลักพระพุทธศาสนา ไม่เป็นการปิดกั้นมรรคผล นิพพาน    เพียงแต่อาชีพก็ตามต้องเป็นอาชีพที่สุจริต  ไม่ไปทำร้ายอาชีพของคนอื่นเขา    ไม่ก่อเกิดการแก่งแย่งกัน ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง   รู้จักการแบ่งปันกันใช้   ไม่กีดกั้นจนก่อความเสียหายแก่คนอื่น  อยู่กินเผื่อแผ่เจือจานกันไป  

แต่ส่วนที่เกี่ยวกับอริยสัจธรรมนั้นก็คือ ในงานการอาชีพใด ๆๆ ก็ตามให้หมั่น มีเวลาปฏิบัติทบทวนสัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปโป  และสัมมาอื่นๆ อีกเป็นประจำบ่อย ๆ ทั้ง  8 อริยมรรคและอริยะสัจจ 4จึงสามารถพิจารณาทบทวนได้ตลอดเวลางานการทางอาชีพของเราอยู่แล้ว   จนรู้แจ้งด้วยปัญญาเรื่องทุกข์อริยสัจ รู้โลกรู้ชีวิตการเกิด   การตาย  ความพินาสน์ที่รอทุกสรรพสิ่งอยู่   รู้อย่างนี้เอง จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจขนาดใหญ่  กลายเป็นการหลุดพ้น ตามมาได้

6. สัมมาวายาโม  ความขยัน  ให้เข้าใจว่า ในจิตใจเราจะมีความขี้เกียจเป็นมารตัวโตควบคุมอยู่  พยายามขัดเกลาชำระล้างความขี้เกียจออกไปจากใจให้ได้  ก็ด้วยการทำตนขยันนั้นเอง  แม้เรื่องต้นๆ ของชีวิต คือขยันทำการงานเลี้ยงชีพ  ขยันหาเงินหาทองมาไว้ประกันความขาดแคลนในอนาคต อย่าซือบือ  ง่วงเหงาหาวนอนเวลาทำการทำงาน ก็ด้วยการทำตนขยันนั้นเอง  วันใดเอาชนะความขี้เกียจได้ ซึ่งมันจะพิศูจน์จากวิถีชีวิตเรานี้เอง ตอนเข้าเรียนอนุบาล  ประถม  มัธยม  นั้นมักขี้เกียจเสมอ  นั้นแหละต้องหัดชำระล้างความขี้เกียจมาตั้งแต่เกิดมาตลอดเวลา  แม้การทำอาชีพทำมาหากินก็ตรวจต่อมาอีกว่าความขี้เกียจหมดไปจากใจแล้วยัง ให้เข้าใจว่าความขี้เกียจนี้ต้องไม่ให้เหลือเลยในจิตใจของเรา แม้เท่าฝุ่นธุลีเม็ดเล็ก ๆ  นั่นแหละใจเข้าถึงความว่าง เข้าสู่มรรคผล นิพพานได้เลย  ก็นี่แหละมัชฌิมาปฏิปทา ที่ใครๆ ก็ปฏิบัติได้ทุกคนทุกชาติ ศาสนา  ทั่วโลก เหมือนกันหมดตรงที่ไล่ความขี้เกียจหมดไปจากใจ นั่นแหละนำสู่จิตว่าง ความดับลงพ้นทุกข์ตามทางพระพุทธศาสนาเลยละ

5.

7.  สัมมาสติ  ที่พุทธองค์ตรัสปัจฉิมวาทะว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด   นั้นทำได้โดยเราเจริญสัมมาสติ นี่เอง   อย่าไปหลงคิดในเรื่องที่ผ่าน ๆ มาที่ไม่มีประโยชน์  อย่าไปหลงฝันหวานไปกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้ดูปัจจุบัน  เราทำอะไรอยู่   และทำปัจจุบันให้ดี  รู้ให้ดีว่าทำอะไรอยู่  ทำชั่วหรือทำดี หรือทำอะไรอยู่เมื่อรู้ดีรู้ชั่วตลอดเวลาปัจจุบัน นั้นแหละทำความไม่ประมาทได้แล้ว   และต้องเข้าใจเรื่องของมรรคผลนิพพาน  อย่าไปหวังในอนาคตแต่ต้องปัจจุบันที่นี่เองและเดี๋ยวนี้เอง  ประพฤติกับปัจจุบัน ให้ถูกต้อง จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ 

บทศึกษาเฉพาะ

8.  สัมมาสมาธิ   สมาธินั้นเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ได้ให้ความสนใจมาตั้งแต่มีชาติพันธ์เริ่มแรกความเป็นมนุษย์อยู่แล้ว  นั่นคือมันเป็นไปตามธรรมชาติของชีวิต มนุษย์ทั้งหลายอยู่ส่วนไหนของโลกชาติพันธ์ไหนก็ตาม ต่างรู้จักสมาธิมาแต่เริ่มต้นแล้ว   สิ่งที่มนุษย์เริ่มเข้าใจสมาธินั้น ก็เนื่องมาจาก ยุคที่มนุษย์เป็นเพียงกึ่งคนกึ่งสัตว์อยู่นั้นเอง  การที่ต้องเผชิญภัยอันตราย ต่างๆ รอบตัว  ที่หากเอาตัวไม่รอดแล้ว ก็จะถึงบาดเจ็บล้มตายไปเสมอ ๆ  โดยเฉพาะการที่ได้พบนักล่า เพื่อเอามนุษย์ไปเป็นอาหารการกิน  เช่นการเผชิญสัตว์ร้ายเผชิญ ช้างป่า เสือ  สิงโต ที่มันมาล่าเอาไปเป็นอาหาร

คนก็รู้จักสมาธิกันมาแบบนี้เอง

รู้ๆมาพร้อมกันไม่ว่าอยู่ส่วนไหนของโลกเช่นการรู้จักวิ่งหนีเอาชีวิตรอด แบบวิ่งอย่างสุดชีวิตให้พ้นนักล่าไปให้ได้  เช่นนี้แหละ ทำให้เกิดสมาธิขึ้น

นั่นคือ ความกลัวตาย กลัวนักล่าวิ่งไล่เอาไปเป็นเหยื่อ ทำให้รวมพลังวิ่งอย่างสุดชีวิต ร่างกายต้องรวมทำงานไปอย่างสุด ๆคือวิ่งหนีให้เร็วกว่านักล่า(แบบที่กวางน้อย วิ่งหนีเสือดาว นั้นเอง)   วิ่งเพื่อให้เร็วกว่านักล่า ให้รอดได้ จึงจะรอดชีวิต  และมีความคิดหาทางเอาตัวรอดอยู่ตลอดจะไปซ้ายไปขวาจะวิ่งขึ้นต้นไม้  จะขึ้นภูเขา จะเข้ารูเข้าถ้ำ  ใช้ความคิดไปหมด และความคิดนั้นก็รวมกันอย่างแรงคิดให้ได้ ตัดสินใจไห้ได้ เพื่อความรอด และในที่สุด วิ่งเข้าถ้ำถ้าหลุดรอดจากภัยไดโนเสาตัวใหญ่ได้ 

นี่แหละ สมาธิ  มันเกิดมาเองตามธรรมชาติ

และมีกันทุกคน ทุกชาติ ศาสนาทุกลัทธิ นิกายใดใด ทุกแดนดิน ทุกส่วนในโลก 

สมาธิเป็นเรื่องสากล ครั้นเวลาผ่านมาหลายล้านปี   มีเจ้าลัทธิ เจ้าศาสนาต่าง ๆ  ก็พัฒนาสมาธินี้ไปตามแบบลัทธิครูบาอาจารย์ตน  เจ้าศาสนาต่างๆก็พัฒนาสมาธินี้ไปตามแบบลัทธิครูอาจารย์ตนสอนมา ก็เลยมีสมาธิขึ้นมาหลายรูปแบบ

มีการสอนการฝึกไปหลายรูปแบบ

สำหรับพระพุทธศาสนาที่มีกล่าวไว้ตั้งแต่เริ่มต้นว่าเป็นทางปฏิบัติทางหนึ่งเพื่อความพ้นทุกข์

ตั้งชื่อว่า  สัมมาสมาธิ

นั้นก็คือ มีคำว่าสัมมา    เป็น สัมมาสมาธิ  ที่หมายถึง สมาธิที่นำไปสู่มรรคผลนิพพานเท่านั้น หากไปนอกมรรคผลนิพพานแล้วจะกลายเป็นผลร้าย  ไม่ใช่สัมมาสมาธิ 

ไม่ใช่นำสมาธิไปสร้างผลประโยชน์ชั่วร้าย เช่นพวกไสยศาสตร์ พวกอมนุษย์มาร  ปีศาจ   เป็นต้น

นั่นเป็นมิจฉาสมาธิ

6.

เรื่องของสมาธิ  ที่ผ่านมาจากลักษณะเป็นเองเป็นไปตามธรรมชาติเพราะคนยังโง่อยู่

ต่อมาจึงพัฒนาขึ้นมาตามความฉลาดของคน

ก็รู้จักการฝึกสมาธิขึ้นมา

ครั้นเก่ง ทำสมาธิได้โดยรู้จัก ทำกาย วาจาใจ ให้นิ่งลงได้ ให้นั่งสงบไม่เคลื่อนไหวไปได้ง่ายๆ 

ก็ได้พบประโยชน์จากสมาธิ

หรือแม้ได้รับโทษจากสมาธิก็มีมาอยู่ในทุกวันนี้

อย่างเช่นเจ้าชายสิทธัตถะ  เป็นผู้ได้ประโยชน์จากสมาธิสูงสุดที่นำไปสู่การบรรลุรู้แจ้งทางปัญญา จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

และสมาธิของพระพุทธเจ้านี้แหละ เป็นแบบอย่างสำหรับสมาธิที่แท้ ที่ให้ประโยชน์ได้

หากเป็นมิจฉาสมาธิก็จะเป็นว่า  ทำสมาธิไม่ถูก

นำโทษมาสู่ตน

อย่างเช่น พระเยซู เป็นผู้ทำสมาธิแบบมิจฉาทิฏฐิ  สมาธิแบบพระเยซูจึงเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาทิฏฐิ

พระศาสนทูต มุฮำมัด  ก็เช่นเดียวกัน   ไม่รู้จักสัมมาสมาธิ  สมาธิแบบมุฮำมัด จึงตามพระเยซูไปแบบเดียวกัน แบบมิจฉาสมาธิเช่นเดียวกัน

7.

คนทุกวันนี้  ที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกเรื่องทำสมาธิ  ก็มีเด็กหนุ่มอายุ 16ปีที่ชื่อ รามบาดู  รอมจัน  พุทธเนปาล ทำสมาธิ  แบบไม่ถึงกับเรียกว่า สัมมา  หรือ มิจฉา สมาธิ  แต่เป็นลักษณะที่ยังอ่อนเยาว์ ไม่รู้เรื่องสมาธิ ทำไปด้วยความศรัทธาหลงผิด  หากแต่พรรคพวกทีมงานที่หวังลาภหวังประโยชน์  ปล่อยข่าวโฆษณาชวนเชื่ออกมาให้ตื่นเต้น ว่ามุ่งการบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า    ทำสมาธิแบบเข้มจัด คือไม่กินข้าว ไม่กินน้ำไปได้ตลอด 6 เดือน  ตั้งใจจะให้สำเร็จธรรมแบบพระพุทธเจ้า  จึงเรียกว่า  พระพุทธเจ้าน้อย 

และเนื่องจากคนไม่รู้หลักการสมาธิก็หลงเชื่อไป ง่าย ๆ  เพราะแท้จริงแล้วมีหลักการแพทย์ยืนยันว่าการอดน้ำนั้น เกิน 3วันไปไม่ได้ จะถึงเสียชีวิต  และที่จริงที่ข่าวอ้างว่า เขาอดข้าวอดน้ำไปได้ตลอด 6 เดือนจึงไม่จริง   และความจริง เขาก็ไม่ได้ประพฤติยังคงกินนมกินน้ำ  กินอาหารเบาๆ  อยุ่ (ทำเล่หกะเท่เหมือนนักการเมืองไทยคนหนึ่งที่อดข้าวประท้วง แต่แอบกินอาหารบำรุงเวลาดึก ๆ) ซึ่งผู้รู้ทางสมาธิชั้นสูงจะบอกได้ว่าการอดน้ำได้เกิน 3 วัน  อดข้าวได้เกิน 7 วันไปนั้นต้องสำเร็จวิชาปราณมาก่อน  ต้องใช้หลักลมปราณมาบริหารเท่านั้นจึงจะรอดชีวิต   แล้วนานไป จนผ่านมาหลายปี เข้าวันนี้  ความที่ยังไม่สำเร็จอะไรเลยแม้สมาธิ  แม้มรรคผลนิพพานระดับต้น  ก็เลยแพ้แก่มารกามตัณหาไปตามระเบียบ  มีเรื่องราวการข่มขืนลูกศิษย์  หลายคน จนมีการฟ้องร้องขึ้นเป็นคดีความอยู่ขณะนี้  ซึ่งกรณีอย่างนี้ นั้นคือ สภาวะ  ปาราชิก นั้นเอง น่าเสียดายที่ทำบาปแรงร้ายไปแล้ว จนปิดกั้นมรรคผลนิพพานไปอย่างสนิท  ไม่อาจจะบรรลุอริยบุคคล  อริยมรรคอริยผลได้อีก

 

แล้วนานไป จนผ่านมาหลายปี เข้าวันนี้  ความที่ยังไม่สำเร็จอะไรเลยแม้สมาธิ  แม้มรรคผลนิพพานระดับต้น  ก็เลยแพ้แก่มารกามตัณหาไปตามระเบียบ  มีเรื่องราวการข่มขืนลูกศิษย์  หลายคน จนมีการฟ้องร้องขึ้นเป็นคดีความอยู่ขณะนี้  ซึ่งกรณีอย่างนี้ นั้นคือ สภาวะ  ปาราชิก นั้นเอง น่าเสียดายที่ทำบาปแรงร้ายไปแล้ว จนปิดกั้นมรรคผลนิพพานไปอย่างสนิท  ไม่อาจจะบรรลุอริยบุคคล  อริยมรรคอริยผลได้อีก

นี่ก็บอกไปถึงความเหลวไหล ของเรื่องสมาธินั้นเอง  เป็นผลผลิตของมิจฉาสมาธิ

แต่คนทุกวันนี้ ที่เก่งสมาธิแล้ว ใครก็ตาม ไม่ใช่พุทธก็ได้ ยิ่งฮินดู ศาสนาทั้งศาสนาฮินดูนั้นคือสมาธินั้นเอง  เก่งแล้วก็จะแปรสมาธิไปเป็นเรื่อง ๆ   สมาธิเฉพาะเรื่องไปอีกได้หลายเรื่องสุดแต่จะแยก จะแปรไป ตรงนี้แหละเรียกว่า  ฌาณ

ก็จะฝึกฌานขึ้นมาเพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ไปอีกเฉพาะเรื่อง ๆตามแต่จะต้องการอะไร

และนี่แหละมักนำไปสู่ มิจฉาสมาธิ  ที่จะเป็นเครื่องมืออย่างดีของนักไสยศาสตร์ ที่ไปเกี่ยวกับวงการไสยศาสตร์ได้    อันเป็นผลจากมีสมาธิแก่กล้า และแปรไปเป็นฌานเฉพาะเรื่อง เช่นเรื่องการสะกดจิต  เรียกเหยื่อมาด้วยฌานประเภทที่สะกดจิตจากทางไกลได้ สั่งให้มาหาได้ เป็นต้น

หรือแปรไปเป็นฌาน เรื่องการถอดดวงจิตออกจากกาย การเนรมิตภาพแห่งจินตนาการ  อย่างไรก็ได้ ให้น่ามหัศจรรย์พันลึก   ไปท่องเที่ยวไหนก็ได้ 

หรือเป็นฌาน แบบที่ พระอรหันต์ท่านเข้านิโรธสมาบัติ  นั้นก็ได้  คือให้เข้าใจว่า ฌาน นั้นขึ้นอยู่กับสมาธิหากคุณภาพสมาธิไม่แกร่งเข้มแข็งพอแล้ว  ก็ไม่อาจจะปฏิบัติทางฌานได้เลย เมื่อคุณพูดเรื่องฌานออกมานี่หากจริง ๆ ทำสมาธิไม่ได้ถึงระดับ2 คือ อุปปะจาระสมาธิเลยนี้  ก็จะกลายเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะ ตลกใหญ่ไปเลย สำหรับผู้รู้  จะต้องเข้าใจจริงๆว่าฌานนั้นแบบสากลนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสมาธินั้นเอง แยกสมาธิออกไปเป็นส่วน ๆสำหรับฌานแต่ละชนิดของฌานนั้นเอง

8.

ฉะนั้น  ฌาน แบบสากล  (ไม่ใช่แบบฌาณทั้ง 4: ปฐมฌาน, ทุติยะฌาน, ตะติยะฌาน,  จตุตถฌาน  ในหลักกรรมฐานของพุทธศาสนา...ซึ่งแท้จริงเป็นนัยยะที่แฝงอยู่ ไม่มีลักษณะเหมือน ฌานสากลที่กล่าวมาเลย หรือแท้จริง นี่ไม่ใช่ฌานเลย หากแต่เป็นกระบวนการเพื่อบรรลุมรรคผลอีกอย่างหนึ่ง)  จึงเป็นเรื่องสากล ใครๆ ศาสนาใด ก็ทำได้   และเกิดขึ้นจากพลังสมาธิเป็นฐานของฌานต่าง ๆ  และพลังสมาธิที่กร้าวแกร่งไม่เท่ากันนี้เอง บอกถึงฌานที่ไม่เท่ากันไม่เข้มแข็งเท่ากันด้วย  กล่าวคือแม้อยู่ระดับเดียวกันแต่พลังแตกต่างกันเสมอ 

ก็โปรดพิจารณาบุคคลที่น่าเป็นตัวอย่างคือ 

(1.)  หลวงพ่อสดวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้พบวิชาธรรมกาย 

( 2.)  หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี 

(3.) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวรมหาวิหาร  กทม.  

(4.)  ธัมมะชะโย   แห่วัดพระธรรมกาย 

ทั้ง 4 ท่านนี้ นี้เป็นระดับสมาธิระดับเดียวกัน แต่พลังต่างกัน     ผู้ที่ฝึกสมาธิได้สูงส่งจึงเป็นผู้ได้บริหารพลังทางจิตอย่างน่าประหลาดใจเสมอไป   หากเป็นสัมมาสมาธิ-ฌานนั้นก็จะเป็นประโยชน์เป็นของฝ่ายพระ ไม่ใช่ของฝ่ายปีศาจ  มาร อสูร ผีปอบ  ผีกะสือ หรือนักไสยศาสตร์   ที่จะเป็นเครื่องมือ นำสู่มรรคผลนิพพานนั้นเอง หรือช่วยแก้ไขปัญหาใดใดที่เกิดขึ้น   เช่นเรื่องที่เรารู้จักจากเรื่องนางนาคพระโขนงนั้นเอง ที่มีพระอริยสงฆ์(หลวงปู่สมเด็จโต) มาช่วยปราบผีนางนาค เป็นต้น

จุดเน้นเฉพาะ

สำหรับพุทธนั้น สมาธิ-ฌาน พวกนี้จึงต้องเป็นสัมมาเสมอไปเพราะเหตุที่เป้าหมายของศาสนาพุทธนั้นคือมรรคผลนิพพาน อันสุดล้ำเลิศประเสริฐเหนือเรื่องราวสมาธิใดใด  หากไม่เป็นสัมมาสมาธิก็จะออกนอกทางมรรคผลนิพพานบรรลุอริยมรรค อริยผลไม่ได้ ไม่เข้าหลักของ ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา ทางปฏิบัติเพื่อนนำไปสู่ความพ้นทุกข์

นี่ก็เป็นเรื่อง สัมมาสมาธิตามหลักอริยมรรค 8 ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

ซึ่งสัมมาสมาธิมีการฝึก หรือแม้มิจฉาสมาธิก็ตามสามารถฝึกฝนให้แก่กล้าขึ้นไปได้อย่างไม่มีจำกัดเลย  มีการบรรลุผลสำเร็จของสมาธิกันอย่างไรนั้น  ก็มีการสอน การพูดอยู่ตลอดเวลา

ทั้งลัทธินิกายอื่น ศาสนาอื่น  แม้ศาสนาพุทธนี้เอง

ที่การศึกษาทางปริยัติเกี่ยวกับสมาธินี้  จะเป็นเพียงการให้เข้าใจเรื่องสัมมาทิฏฐิ  กับมิจฉาทิฏฐิ นั้นเป็นอย่างไร  ที่น่าจะต้องพูด  ซึ่งผู้พูดจะระมัดระวัง  และผู้ฟังก็ต้องมีเหตุผล  เอาเหตุผลมาวิเคราะห์  จึงจะได้ความรู้แจ้งที่เป็น สัมมาสมาธิ   ที่นำไปสู่มรรคผลนิพพานเท่านั้น

·         อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 รวมพิมพ์โรพิเศษ  Microsoft Word

-----*****-----

-----*****-----

-----*****-----

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต  :

บทที่ 9  ความหมายอันประเสริฐแห่งวาทะคือ สัจจธรรม

-----

ถ้อยคำ หรือ คำพูดของ ใครคนหนึ่ง นั้น มีอิทธิพลต่อความนึกคิดของมนุษยชาติอย่างมากมายมหาศาล 

เพียงถ้อยคำหนึ่ง ๆ นั้น  บอกถึงความเป็นเสรีชนหรือ ทาส ได้   บอกอะไรได้หมด ที่นำทางชีวิต ๆหนึ่งทั้งชีวิต ให้เคลื่อนไหวไปทิศทางไหนอย่างไร

อย่างเช่น ถ้อยคำบทนี้ที่มีความหมายสำคัญที่สุดในพระคัมภีร์ศาสนาคริสต์ คือ พระคัมภีร์ ไบเบิล ว่า 

In the beginning was the Word, and the Word was with God and the Word was God.[John 1-1] 

:ในปฐมกาล พระวาทะดำรงอยู่ และพระวาทะทรงสถิตอยู่กับพระเจ้า  และพระวาทะเป็นพระเจ้า

-----

For God so love the world that He gave His only-begotten Son, so that whoever  believes in Him should not perish, but have everlasting life. For God did not sent His Son into the world to condemn the world  but in order that the world might be saved through Him.

:เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์  เพราะว่าพระเจ้าทรงให้พระบุตรเข้ามาในโลก มิใช่เพื่อพิพากษา ลงโทษโลก แต่เพื่อช่วยกู้โลกให้รอดโดยพระบุตรนั้น

-----

He who believes in Him is not condemned; but  he who does not believe is already condemneed, bcause he has not believed in the name of the only begotten Son of God.  [John 3:16-18]

ผู้ที่วางใจในพระบุตรก็ไม่ต้องถูกพิพากษาลงโทษส่วนผู้ที่มิได้วางใจก็ต้อง ถูกพิพากษาลงโทษอยู่แล้ว เพราะเขามิได้วางใจในพระนามของพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า

In the beginning God created the heavens and the earth. [Genesis 1-1]

 :ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน

-----

เราได้พบคำเหล่านี้จากพระคัมภีร์ไบเบิล คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวนี้ได้บอกถึงคำพูดคำสอนที่สำคัญ ถึงขนาดบอกว่า  เป็นพระเจ้า  (The Word was God) เลยทีเดียว   และบอกให้ทราบว่า พระเจ้ายะโฮวาห์ ทรงสร้างโลกนี้พร้อม ๆ กับทรงสร้างสวรรค์หลายชั้น ซึ่งทรงสร้างขึ้นมาด้วยเพียงการเนรมิต  เสร็จลงใน 6 วัน และวันที่ 7 ทรงพักผ่อน (ตรงกับวันอาทิตย์)   และต่อมา ทรงส่งพระบุตรองค์เดียวคือพระเยซูคริสต์ ลงมาสู่โลก เพื่อช่วยโลกให้รอด  ผู้ใดเชื่อในพระองค์ก็จะรอด  หากไม่เชื่อในพระองค์ก็จะพินาศน์วอดวายไป

 

และยังมี วาทะ ที่ทรงอิทธิพลต่อมาอีกที่เราได้พบในพระมหาคัมภีร์อัลกูรอาน ของศาสนาอิสลาม ดังนี้

-----

และบรรดาผู้ไม่เชื่อและกล่าวปฏิเสธคัมภีรต่าง ๆ  ว่าไม่ได้มาจากเรา(อัลเลาะห์)พวกนั้นแหละเป็นชาวนรก พำนักอยู่ในนั้นอย่างถาวร ไม่ออก ไม่ตาย [บทที่1 อัล-บะกีเราะห์ วรรคที่ 39 หน้า 19]

-----

หามีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การสักการบูชาในภพนี้ไม่ เว้นไว้แต่อัลเลาะห์เท่านั้น และแท้จริงอัลเลาะห์นั้นคือองค์ทรงอิทธิฤทธิยิ่งในด้านการปกครองของพระองค์ทรงประณีตยิ่งในบรรดางานของพระองค์ ...[บทที่ 2 อาล-อิมรอน วรรคที่ 62 หน้า 237]

-----

ผู้ใดไม่ศรัทธาในอัลเลาะห์และศาสนทูตของพระองค์แน่นอนเรา(อัลเลาะห์) ได้เตรียมเปลวเพลิงนรกอันร้อนแรงไว้แล้ว สำหรับบรรดากาฟิรผู้เนรคุณทั้งหลาย  [บทที่ 47 อัล-ฟัตห์  วรรคที่ 13 หน้า 2318]

-----

นี่ก็เป็นวาทะอีกกลุ่มหนึ่ง ที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าว่า  ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การสักการะบูชานอกจากพระองค์อัลเลาะห์   ผู้ใดไม่เชื่อในวาทะของพระองค์ในพระมหาคัมภีร์อัลกูระอานแล้ว  ผู้นั้นแหละเป็นชาวนรก  ตกนรกถาวรไม่มีวันออกมาจากนรกได้เลย 

ซึ่งนี่ก็คือสิ่งที่มนุษย์ยุควิทยาศาสตร์ จะได้พิจารณาโดยมองไปสู่ข้อสรุปว่าถ้อยคำเหล่านั้นเป็นความจริงหรือไม่ เมื่อเราเข้าใจความจริงเท่านั้นจึงจะเจริญไปได้ ในยุควิทยาศาสตร์

และต่อไปนี้ ก็เป็นถ้อยคำที่เอามาจากพระคัมภีร์ธัมมจักกัปปะวัตตนะสูตร  อันเป็นปฐมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ 2565 ปีก่อน  เพื่อพิจารณาเช่นกันว่าเป็นอย่างไร   นอกจากความเข้าใจว่าเป็นความจริงหรือไม่แล้ว หากได้เข้าใจความหมายของถ้อยคำไปด้วย นั่นแหละจะเป็นประโยชน์สำหรับโลกยุคใหม่นี้อย่างสุดที่จะประเมินประมาณไปเลย  มี 19 หมวดดังต่อไปนี้

1.  อภิสัมพุทธา   : ที่ตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

2. จักขุกะระณี : ด้วยปัญญาอันยิ่ง

3. ญาณะกะระณี : การทำญาณเครื่องรู้

4. อุปะสะมายะ : เพื่อเข้าไปสงบระงับ

5. อภิญญายะ :เพื่อความรู้ยิ่ง

6. นิพพานายะ :เพื่อความดับ

8. ทุกขัง อะริยะสัจจัง  : ความจริงแท้อันประเสริฐเรื่องทุกข์

9. ทุกขะสมุทะโย  : เหตุแห่งทุกข์

10. ทุกขะนิโรโธ : ความดับทุกข์ 

11. ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา  :ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

12. สัมมาทิฏฐิ : ความเห็นชอบ

13. สัมมาสังกัปโป : ความดำริชอบ

14. สัมมาวาจา  :วาจาชอบ

15. สัมมากัมมันโต  :การงานชอบ

16. สัมมาอาชีโว   :ความเลี้ยงชีพชอบ

17. สัมมาวายาโม  :ความเพียร(ความพยายาม)ชอบ

18. สัมมาสติ :สติชอบ

19. สัมมาสมาธิ :สมาธิชอบ(ความตั้งจิตชอบ)

ถ้อยคำทั้งหลายที่มีปรากฏมาในโลกมนุษย์ เนิ่นนานมา 2565 ปีในศาสนาพุทธแล้วนั้น  2022 ปี จากศาสนาคริสต์ นั้น  1422 ปีจากศาสนาอิสลามนั้น   อยู่ที่ความหมายว่าถ้อยคำเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่จริง เท่านั้นเอง    ซึ่งคนยุคใหม่ ที่เป็นยุควิทยาศาสตร์ ที่พิศูจน์อะไรด้วยเหตุ ด้วยผล เท่านั้น

จะร็จะเข้าใจดียิ่งว่า ถ้อยคำใดเป็นความจริง  ถ้อยคำใดไม่เป็นความจริง

และรู้ดีว่าความจริงเท่านั้นนำไปสู่ประโยชน์

ส่วนความไม่จริงหรือความเท็จนั้นย่อมนำไปสู่โทษ  เป็นถ้อยคำอันเลว เป็นธรรมอันเลว  เป็นของผู้มีกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย ไม่นำพาไปสู่มรรคผล  โสดาบันอริยบุคคลปฐมถึงระดับพระอรหันต์สูงสุด  แห่งโลกุตตระโลกนิพพาน

·         อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 9 ความหมายอันประเสริฐแห่งวาทะคือ สัจจะ ไทยต้นฉบับ

-----*****-----

-----*****-----

-----*****-----

Thai-English 64 languages

อริยสัจธรรมแห่งชีวิต  :

บทที่ 10  ทุกขะนิโรธะคามินีปฏิปะทา(มรรค8) ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรคของคนยุคกึ่งพุทธกาล 

-----

ยุคกึ่งพุทธกาลทำลายศาสนาเทวนิยมไปจนสิ้นสภาพ

ก็มาเกี่ยวข้องกับพุทธทำนาย ที่มาจากพระสูตร พระคัมภีร์หลายคัมภีร์ รวมกันลงว่า  พระพุทธศาสนา มีอายุ5000 ปี   และประเด็นคือทำไมจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คราวพุทธศาสนามาครบกึ่งพุทธกาล 2500 ปี เป็นต้นมา  ที่จะต้องมีการปรับปรุงการพระพุทธศาสนา จึงจะอยู่ต่อไปได้

ก็เป็นเหตุผลที่เห็นง่าย ๆ อยู่แล้ว นั่นคือยุคกึ่งพุทธกาลมาถึงวันนี้  2500 2565 นี้ เป็นยุคของโลกใหม่โดยแท้จริง  ยุควิทยาศาสตคร์ยุคที่มนุฤษย์คิดทำอะไรเอาเองด้วยสติปัญญาความคิดงานการวิจัยสัจธรรมธรรมชาติของมนุษย์เองล้วนๆ นั่นก็คือ เรื่องความเก่งของมนุษย์นั้น  เก่งทางวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของเหตุและผล บนผลของการผ่านการพิศูจน์ทดลองทางวิทยาศาสตร์มา  กลายเป็นยุคมนุษย์ ผู้พึ่งสติปัญญาของมนุษย์เองล้วนๆ อย่างแท้จริง 

นั่นคือความแตกต่าง  หากเปรียบเทียบไปกับยุคก่อนนี้ไปอีกเล็กน้อย  โดยเฉพาะยุคเมื่อ 2022 ปี  ที่มีเรื่องราวของศาสนาหนึ่ง- 2 ศาสนา มาฟื้นฟูความเชื่อที่ผิดๆ  ไปว่า ด้วยโลกมนุษย์นี้ถูกสร้างโดย พระเจ้า  และมนุษย์ได้กลายเป็นหนี้พระเจ้าตกเป็นใต้บุญคุณพระเจ้าที่ต้องคืนความตอบแทนพระเจ้าไปจนตลอดชีวิตทั้งชีวิตต้องเป็นทาสตอบแทนบุญคุณพระเจ้าเท่านั้น 

ทำให้ศาสนาใหม่ คือ คริสต์ อิสลาม  ที่มีศาสดาสอนเบี่ยงเบนออกไปจากหลักธรรมชาติ ดังปรากฏมาว่าสอนเรื่องโลกพระเจ้าสร้าง และเป็นโลกแบน มีขอบโลกลึกลิ่วลงไป  ให้ระวังเรือเดินไปในทะเล จะตกออกไปนอกโลก  ซึ่งคำสอนนี้ ก็ถูกลบล้างไปก่อนจากนักวิทยาศาสตร์  เริ่มแต่กาลิเลอี กาลิเลโอ  ตลอดมาจนถึงยุค  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์นั้นเอง

แม้คนยังไม่เชื่อ และทางศาสนจักรถึงกับมีการลงโทษจำคุกนักวิทยาศาสตร์ผู้กล่าวความจริง ในโทษที่ลบหลู่ไม่เชื่อฟังคำสอนของพระเจ้า  ดังที่รู้กันมาแล้ว จนที่สุดก็เริ่มยุคอาณานิคม นั่นคือ คนผู้เจริญด้วยเทกโนโลยี่ใหม่ๆ  ได้กล้าเสี่ยงทดลองเรื่องคำสอนพระเจ้า จนสามารถแล่นเรือใบไปรอบโลกได้  และนำมาสู่ยุคอาณานิคม   โลกกลมทั้งโลกกลายเป็นยุคอาณานิคมประเทศตะวันตกและอเมริกาไปทั้งโลก  จน ถึงยุคกึ่งพุทธกาลค่อยคืนสู่อธิปไตยของแต่ละประเทศอีกครั้งหนึ่ง 

คำสอนมาว่า พระเจ้ายะโฮวาห์ ทรงสร้างโลกขึ้นเสร็จใน 6 วันวันที่ 7ทรงพักผ่อน  แล้ว ต่อมาอีกองค์ คือ  พระเจ้าอัลเลาะห์ ก็มาอ้างความดีของตน ว่าแท้จริงพระยะโฮวาห์ ไม่ได้สร้างโลกหรอก องค์ที่สร้างแท้จริง  คือ  อัลเลาะห์  ศาสนาพระเจ้าก็เลยต้านทานความคิดคนยุคใหม่ ยุคกึ่งพุทธกาลไปไม่ได้ นำมาสู่ความเสื่อมสลายลงไปในยุควิทยาศาสตร์ ยุคกึ่งพุทธกาลนี้นั้นเอง

เหตุที่ศาสนาวิทยาศาสตร-ศาสนาพุทธพลอยเสื่อมลง

แต่ทำไมมาถึงยุคกึ่งพุทธกาลแล้วศาสนาพุทธ จึงพลอยเสื่อมทราม  ตามไปสู่สภาพสิ้นศาสนาพุทธที่แท้จริง เช่นเดียวกับศาสนาเทวนิยมทั้งหลาย

นี่คือประเด็นที่ว่าทำไม จึงบังเกิดความสำคัญขึ้นกับคำว่ายุคกึ่งพุทธกาลของพระพุทธศาสนา

ซึ่งนำไปสู่ความหวังกันว่า จะมีการฟึกฟื้นการสอนของพระพุทธศาสนาขึ้นมา ให้สอดคล้องหลักวิทยาศาสตร์ ให้เป็นไปตามหลักเหตุผลของศาสนาพุทธเอง

นั่นแหหละประเด็น ที่พระสาวกทั้งหลายยุคกึ่งพุทธกาลจะต้องคิด วิจัยสถานการณ์สากล   หาเหตุ ผล ให้พบความจริง   และนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกันในระหว่างชาวพุทธทั้งหลาย  ไปสู่แนวทางของศาสนาใหม่ในยุคกึ่งพุทธกาลไปถึง 5000 ปี ตามพระพุทธทำนาย 

นั่นคือ  เราพากันเดินไปไหนในวันนี้  เดินไปนอกทางพระพุทธมรรค  เฉออกไปเรื่อยๆ  อยู่แล้วจะต้องกลับมาทบทวน  เอาว่า  มาเริ่มทำความเข้าใจใหม่  ในพระพุทธศาสนา โดยทำความเข้าใจจากคำสอนครั้งแรกที่ทรงแสดงปฐมเทศนา นั้นเอง 

และเริ่มมองจากคำสอนเรื่อง อริยสัจ 4 นั้นเอง  เป็นคำสอนสูงสุด มีความหมายสูงสุด เต็มที่  เป็นแม่หลักของคำสอนต่อ ๆมา

 เราได้เฉออกไปนอกทางพาคนทั้งหลายเฉออกไปนอกทางอย่างไร  แล้ว พากลับมาใหม่ เท่านั้นเอง  

ประเด็นที่ทำผิดมานาน

เมื่อจำเป็นต้องกลับไปทบทวนคำสอนปฐมบท คือ ธัมมจักกัปปะวัตตะนะสูตร อนัตตะลักขณะสูตร และ อาทิตตะปริยายสูตร 3 พระสูตรนี้ ที่ทรงเริ่มต้นแสดงแด่คนทั้งหลาย  และซึ่งส่งผลแด่การบรรลุอรหันตบุคคลขึ้นมาทันทีทันใด ถึงกว่า 1003 องค์ จากคำสอนครั้งแรกของพระพุทธองค์ นั้น

และดู คำสอนที่ทรงค้นพบที่ประเสริฐเลิศล้ำ  ก็คือ  อริยสัจ 4 นั้น  เราต้องเอามาทำความเข้าใจใหม่   ให้ถูกต้อง  ....และที่เป็นประเด็นสำคัญอยู่ขณะนี้  นั้นก็คือ   เรื่อง  ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา(มรรค 8):ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์  นั้น  จะต้องเข้าใจว่า  เป็นหลักการสากล   นั่นคือ เป็นทางปฏิบัติสำหรับคนทั้งหลายทุกชาติพันธ์ศาสนิกชนทั้งโลกทุกเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์สามารถปฏิบัติได้ที่ละล่วงไปทั้ง ปริยัติ  ปฏิบัติ  และ ปฏิเวธธรรม  สามารถบรรลุอรหันตะอริยะบุคคลได้ตามผลการปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น   ไม่ใช่ว่า  จะปฏิบัติได้เฉพาะพระสงฆ์สาวกเท่านั้น  ....และนี่แหละ  มาภายหลังยุคกึ่งพุทธกาลมาบัดนี้ ได้พาเฉออกไปนอกทาง  ไปก่อเกิดการจำกัดขึ้นมา สำหรับคนส่วนนิดน้อยกลุ่มหนึ่ง

ความหมายสำคัญทางสายกลาง

ซึ่งความหมายสำคัญนั้นต้องดูว่ามีความหมายของคำว่า มัชฌิมาปฏิปะทา หรือ  ทางปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ที่ทรงให้ความหมายถึงการปฏิบัติที่อยู่ระหว่างสุดโต่งสองอย่างคือ  กามสุขัลลิกานุโยค  กับ  อัตตะกิละมะถานุโยค  ที่ทรงบอกแต่ต้นเลยว่า  มัชฌิมาปะฏิปะทา  มี 8 ประการ  นั้นคือ สัมมาทิฏฐิ,  สัมมาสังกัปโป,  สัมมาวาจา,  สัมมาอาชีโว,  สัมมากัมมันโต, สัมมาวายาโม,  สัมมาสติ,  สัมมาสมาธิ,  และครั้นทรงแสดงไปถึงหลักอริยสัจข้อที่ 4 ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา (ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์)  หลักปฏิบัติทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา)นี้ ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ  หลักอริยสัจข้อที่ 4 นี้เอง  ซึ่งจะต้องฟังความหมายให้เข้าใจให้ดี  ว่า  เรื่องนี้ มีความสำคัญในลักษณะสากล นั้นคือเป็นทางสายกลาง และ ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ของคนทั้งหลาย (หมายความว่า ปฏิบัติแล้วบรรลุอริยมรรค อริยผลได้ ทุกคน)   ทางปฏิบัติทั้ง  8  ประการนี้   สำหรับคนทั้งโลก ทุกเชื้อชาติศาสนา เผ่าพันธุ์  ทุกเพศ ทุกวัย นั้นเอง     สุดแต่ว่า ได้บังเกิดปัญญารู้แจ้งสัจธรรมเรื่องทุกข์, เหตุแห่งทุกข์, นิโรธ, และ ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ทั้ง 4 ประการเพียงไรเท่านั้นเอง 

ปัญญา-สมาธิ-ศีล

นั่นก็คือ จะต้องมีความเข้าใจเรื่อง มรรค8 ว่า เป็นทางปฏิบัติของคนทั้งหลายในโลกนี้ ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ ด้วยพระมหาเมตตานั่นเอง เพื่อประโยชน์ทั้งทางโลกธรรมและอริยธรรม พร้อมกันไป จะกล่าวว่ามรรค 8 เป็นวิถีทางของมนุษยโลกก็ได้เลย ผู้จะปฏิบัติ มรรค 8 นี้ - มัชฌิมาปะฏิปะทา เพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานนี้ ได้นั้น  ไม่ใช่เพียง พระสงฆ์สาวกเท่านั้น  ใครๆ ก็เอาไปปฏิบัติได้และสามารถบรรลุได้พอ ๆ กัน หรือยุควิทยาศาสตร์นี้อาจจะยิ่งกว่าพระสงฆ์สาวกก็ได้  อยู่ที่ว่า  ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปได้เพียงใดก็สามารถบรรลุสู่ อริยบุคคลอริยมรรคอริยผลได้เพียงนั้น 

นั้นหมายความว่า     คนทั้งหลาย  ปฏิบัติมรรค 8  ไปในฐานะชีวิตหนึ่ง นั่นเองมรรค 8 เป็นวิถีชีวิตปกติวิถีหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในประเด็นนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุ  ได้สอนไว้แล้ว ให้กลับมาใช้หลัก  ปัญญานำสมาธิ และศีล เป็น ปัญญา-สมาธิ ศีล ไม่ใช่ ศีล - สมาธิ - ปัญญา เหมือนเดิม   ได้เทศนาออกมาก่อนแล้ว่ว่า  การปฏิบัติธรรมนั้น ก็คือการปฏิบัติงาน การอาชีพ   การงานประจำวัน ของชีวิตหนึ่งนั้นเอง นั้นหมายความว่าแม้คนธรรมดา ฆราวาส คนทั้งหลายชายหญิง ใดก็ตาม ก็ปฏิบัติได้ บรรลุมรรคผลได้พอ ๆ กับพระสงฆ์? สาวก นักบวช โดยปฏิบัติไปพร้อมกับวิถีชีวิตปกติธรรมดาทุกอย่าง  โดยการบริหารปัญญา ให้เข้าใจการใช้ปัญญา ตรึกตรอง พิจารณาธรรมว่าด้วยทุกข์อริยสัจได้ตลอดเวลาของการปฏิบัติงานใดใดในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง  นาที  วินาที ใช้ปัญญาพิเคราะห์ พิจารณ์ ตรองตรึกใคร่ครวญอยู่เนือง ๆ ใช้ปัญญาได้ในการปฏิบัติงานในทุกสถานที่ ในทุกกาลเวลา  เอาปัญญาความคิดเป็นใหญ่(แจกดวงตาไปให้ทั่ว) 

ปัญญาเพ่งทุกข์อริยสัจแตกก็สำเร็จอรหันต์

การใช้ปัญญา ความคิด พิจารณาตรึกตรองธรรมะ หรือ เพียงเรื่องเดียวคือทุกข์อริยสัจเป็นประจำ เป็นการต่อเนื่องนั้นเอง  เป็นการปฏิบัติธรรมและซึ่งจะทำให้บรรลุอรหันต์ได้ในที่ใดใดทุกแห่ง ทุกสถานที่ ไม่ว่าอยู่สถานที่ไหน  ทุกเวลา  ทุกเพศ ทุกวัย   ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงบอกไว้แต่ต้นเลย  ว่า  ทรงบรรลุตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้  ด้วยปัญญาความคิดนี้เอง มิใช่ด้วยการบำเพ็ญทุกกะระกิริยาอย่างเอาเป็นเอาตายจนแทบสิ้นพระชนม์ไปเสีย   หากแต่ด้วย  จักขุง อุทะปาทิ(การบังเกิดดวงตาสว่างขึ้น) , ปัญญาอุทะปาทิ(การบังเกิดปัญญาความรู้ขึ้น),  ญาณังอุทะปาทิ(การเกิดญาณความหยั่งรู้เกิดขึ้น),  วิชชาอุทะปาทิ(วิทยาอุบัติขึ้น),  อาโลโกอุทะปาทิ(แสงสว่างทอจรัสจ้าขึ้น), เป็นเรื่องการใช้ปัญญาทั้งสิ้นจึงทรงตรัสรู้ พระอภิสัมโพธิญาณ

ศีล-สมาธิ-ปัญญา ลดทอนหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง

สิ่งที่ปรากฏในวงการพระพุทธศาสนา มีการกระทำผิดที่เฉไปก็คือ มีการอ้างหลักมัชฌิมปะฏิปะทา และหลักทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา 8 ข้อปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานนี้  ไปเป็นหลัก  ไตรสิกขา  มาตั้งแต่เมื่อไร.....  นั้นเป็นการอ้างผิด  และทำมาผิดตั้งแต่นั้นและส่งผลเสียหายมาดังกล่าว  นั่นคือปิดทางคนทั้งหลาย  ทำให้คนทั้งหลายเชื่อผิด คิดว่าทางบรรลุมรรคผลนิพพานของฆราวาสไม่มี มาทางเดียวเท่านั้นคือ  ทางศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น  และยังมีการเน้นไปผิดๆมาตลอดว่า ต้องเริ่มด้วยศีลเสียก่อน   เพราะไม่มีศีล ก็ไม่เกิดสมาธิ   ไม่มีสมาธิ  ก็ไม่เกิดปัญญา    ศีล ทำให้เกิดสมาธิ  สมาธิ ทำให้เกิดปัญญา  ไม่มาทางศีล สมาธิ มีปัญญาไม่ได้ เพราะปัญญาเกิดจากสมาธิ  สมาธิเกิดจากศีล นั้นเองเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งใหญ่ เป็นความผิดพลาดเชิงการสลับความหมายอันซับซ้อน  ไม่เข้าใจสัมมาสมาธิ  สมาธิไม่จำเป็นต้องฝึกมาจากศีลเลยก็ได้ได้ ็ได้  และเลยต่อเติมคำสอนแบบ โลภะหวังประโยชน์ ไปอีก ให้ฆราวาสญาติโยมทุ่มเทให้เพียงเรื่อง ทาน กลายเป็นหลัก  ทาน  ศีล สมาธิ  ปัญญา  ไปอีก  แล้ว ทาน กลับเป็นเครื่องมือของโลภะ  มารตัวฉกาจยุคนี้  ไปทำลายนักบวชพุทธไปตามลำดับหลอกพุทธบริษัท คนทั้งหลายให้หวังอะไร ๆ ในชาติหน้า  ชาตินี้เอาแค่ทำบุญทำทาน......ไปก่อน นั้นแหละ  อวิชชาแท้ ๆ   

มรรค 8 ทางประเสริฐ

แม้ข้อเท็จจริงอันประเสริฐ คือ  หลัก มรรค 8 นั้นเอง อันเป็นหลักสูงส่ง เป็น อริยสัจ 4 อยู่แต่ต้นแล้ว หมายความว่า หลัก มรรค 8 แต่ละข้อนั้น  มีความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ พอแก่การนำไปปฏิบัติ เพื่อมรรคผล นิพพานได้เต็มที่อยู่แล้ว  ตั้งแต่พระองค์ทรงเริ่มปฐมเทศนา มา กล่าวคือมีความหมายกว้างขวางเป็นสากลไปกว่าหลักไตรสิกขา มีการลดคุณค่าลดราคา ลดคำสอนของมรรค 8 ลงมาอย่างคับแคบ จนกลายเป็นหลักเฉพาะสำหรับพระสงฆ์สาวกเท่านั้น  ฆราวาส คนทั้งหลายที่ไม่ใช่นักบวชพุทธ ไม่มีสิทธิที่จะบรรลุ มรรคผลนิพพาน  สู่ อริยยศ อริยศักดิ์  อริยฐานันดร  อริยสงฆ์ คือ  โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี  และ  อรหันต์  จนทำให้  อริยสงฆ์ ค่อยหดหายไปจากโลก  และมายุคกึ่งพุทธกาล  แทบว่า  หาอริยสงฆ์  อริยบุคคลไม่มีเลย   

ไตรสิกขาไม่เข้าใจเนื้อหาสำคัญของอริยมรรคแต่ละข้อ

นั่นคือเอาหลักมรรค 8 ไปจำกัดลงไป เป็น ศีลส่วนหนึ่ง  สมาธิส่วนหนึ่ง  และ  ปัญญาส่วนหนึ่ง เรียกว่า ไตรสิกขา  นั้นเอง  นั่นคือ

สัมมาวาจา + สัมมาอาชีโว + สัมมากัมมันโต   รวมกันเป็นเป็นเรื่องหนึ่ง   =  ศีล,  

สัมมาวายาโม + สัมมาสติ + สัมมาสมาธิ  รวมกันเป็นเรื่องหนึ่ง  = สมาธิ,  

สัมมาทิฏฐิ + สัมมาสังกัปโป    รวมกันเป็นเรื่องหนึ่ง  = ปัญญา

ซึ่งนั้นมันไม่ถูกต้องตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา และแม้ความหมายของสัมมาอริยมรรคแต่ละข้อ  ไตรสิกขาไม่เข้าใจเนื้อหาสำคัญของอริยมรรคแต่ละข้อ  และไม่เข้าใจความหมายทางสายกลาง

ซึ่งจะเห็นว่า ทางปฏิบัติไตรสิกขานี้  เป็นทางปฏิบัติเฉพาะหมู่สงฆ์สาวก   ไม่เป็นมัชฌิมาปะฏิปะทา  ทางสายกลาง สำหรับคนทั้งหลายคนทั้งโลกได้นั้นเอง 

เมื่อเอา สัมมาอาชีโว + สัมมากัมมันโต+สัมมาวายาโม ไปป็นศีลเสีย  คนทั้งหลายคนพุทธ ทั้งหลาย ก็ย่อหย่อนลงไปในการปฏิบัติแบบทางสายกลาง  ในเรื่องการทำอาชีพของเขา  ในเรื่องการงานของเขา  ในเรื่องความพยายามของเขา  ในการทำมาหากิน  ในการประกอบอาชีพ  ในการทำมาหาเลี้ยงชีวิต ไปอย่างเต็มขีดวิสัยความเป็นคน  มีชีวิตแบบคนไป   กลายมาระมัดระวังเรื่อง ศีลกันใหญ่  ขาดตกบกพร่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นของชีวิตและมองไม่เห็นมรรค 8

และเมื่อ มองว่าสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว  เป็นศีล   ก็เลยขาดความคิดเชิงสร้างสรรค์สากลแบบมัชฌิมาปฏิปะทา  ที่โดยหลักธรรมข้อนี้เอง เมื่อปฏิบัติไปแบบสากล ใครก็ปฏิบิติได้แล้วก็สามารถนำดวงจิตไปสู่ความสงบ สิ้นกิเลส สิ้นทุกข์ได้  แม้เรื่องทางโลกเองก็คือ  เรื่อง  สัมมาอาชีโวตามหลัก มัชฌิมาปะฏิปะทา และมรรค 8 นี้  หากเอามาจำกัดว่าเป็น ศีล แล้ว แทบว่า คนพุทธจะทำมาหาเลี้ยงชีพอะไรไม่ได้เลย   แม้ท้องนากว้างใหญ่ไพศาล หน้าฝนมีปลามีอาหารตามน้ำมามากมายแต่ชาวพุทธจะทำมาหาเลี้ยงชีพตามธรรมชาติไปไม่ได้เลย  แม้ธุรกิจต่าง ๆ ฯลฯ รวมไปทั้ง สัมมาวายาโม  ความพยายามใดใด  ก็จะหดหายไปจากการทำการงานเลี้ยงชีพ  ไปพยายามทางศีล 5 8 10 227 310 ข้อ ตามอย่างนักบวชพุทธไป หากแต่กลับไม่กล้าอาจเอื้อมมรรคผลนิพพานแบบนักบวชทางโลกธรรมก็ไม่ได้ ทางอริยธรรมก็สูญ

ประเทศพุทธโลกที่ 4 ยากจนที่สุดในโลก

ซึ่งตรงนี้เอง ตอบคำถามให้หายสงสัยไปได้  ที่ปรากฏผลมาตลอด  ที่ว่าทำไมประเทศพุทธศาสนาในเอเชียนี้เอง โดยเฉพาะลาว  เขมร  พม่า  ลังกา  อินเดีย  และ ไทย ประเทศพุทธในเอเชียจึงมักจะยากจน และไม่กระตือรือร้นในการสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้มั่นคงฐาวรและร่ำรวย  ซึ่งล่าสุด องค์การสหประชาชาติวัดออกมาแล้วพบว่า  ลาว เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเขาจัดเป็นระดับที่ 3 (คือระดับ พัฒนา,  กำลังพัฒนา,  ด้อยพัฒนา) ก็ไม่ได้ เพราะมันต่ำกว่าระดับด้อยพัฒนา(under devellopment)ไปอีก   เขาจึงตั้งเป็นกลุ่มโลกระดับที่ 4 เรียกว่า  The Fourth World โลกที่ 4  คือเป็นกลุ่มประเทศที่ยากจน ลงไปกว่าประเทศกลุ่มที่ 3 ที่เรียกว่าประเทศด้อยพัฒนา อย่างไทยเรานี้เองก็เป็นไม่ได้ ไม่สมกับฐานะ   เขาจึงตั้งชื่อใหม่ เป็นโลกด้อยพัฒนาระดับที่ 4: The Fourth World  ที่มีมาเพิ่มเรื่อย ๆ และวันนี้ รวมพม่าเข้าไปด้วยแล้ว   เขมร  เข้าไปด้วยแล้ว ศรีลังกา อินเดีย    และไทยก็กำลังเข้าไปสู่กลุ่มนี้นั้นล้วนเป็นประเทศที่รับคำสอนพุทธ เรื่องไตรสิกขามาทั้งนั้น  คือมองศีลเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของชาวพุทธ  อยู่ในศีล จนทำมาหากินอะไรไม่ได้ ทำจิตคิดริเริ่มทันสมัยหยุดหายไปหมด  เพราะเมื่อคำนึงถึงเรื่องศ๊ล 5  ก็พัฒนาไปศีล8  พัฒนาไปเป็นศีล 10  ศีล 227  ศีล 310 ข้อ  ซึ่งเป็นทางปฏิบัติเฉพาะพระสงฆ์สาวกผู้บวชเท่านั้น  หากแต่ผู้บวชกลับเอาไปบอกโยมให้ปฏิบัติตามตนไป  เข้าวัดวาอารามไปจำศีลบ่อย ๆ  ไม่ต้องเคลื่อนไหวไปทำมาหากิน อะไรประมาณนั้น 

ดังมีเรื่องเล่ากันมาสรรเสริญกันมาว่า มีพระอรหันต์อิสานไทย-ลาว ท่านหนึ่งเคร่งครัดในศีล และมีเมตตากรุณามากมาพบโยมกำลังสาวใยไหม ออกมาจากหม้อน้ำร้อน ๆ  ท่านบอกว่าอาชีพแบบนี้ไปทำลายชีวิตคนอื่นเขา เป็นเรื่องโหดร้าย  เลิกทำเสียเถิด  ท่านว่าอย่างนั้น  ก็เชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ท่านบอกด้วยเมตตากรุณาสูงสุด  ก็พากันเชื่อท่านไป  เลยไปถึงการประกอบอาชีพอย่างอื่น  แม้เรื่องอาหารการกิน อาชีพเลี้ยงโค กระบือ สุกร  สัตว์สี่เท้า 2 เท้า  อันเป็นธรรมชาติของชีวิตอย่างคน ที่มีความเป็นกลางที่จะทำได้ตามระบบธรรมชาติของชีวิต ตามความเป็นปกติธรรมดา 

โดยสรุปคำสอนอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา ฆราวาส ญาติ โยม  คนทั้งหลาย ที่ไม่ใช่นักบวชพุทธ  มีสิทธิปฏิบัติมรรค 8 ไปในขณะการปฏิบัติงานการอาชีพประจำวันของเรานั้นเองที่เป็นไปตามวิถีชีวิตธรรมชาติ   ไม่ย่อหย่อนไปจากพระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงศีล  เมื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วนเต็มอัตราของมรรค8 ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นเสียจากทุกข์แล้วก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้   พร้อมๆ กับการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม นั้นเอง    ปฏิบัติอาชีพใดใดตามแบบธรรมชาติของคน  เช่นทหาร ตำรวจ ที่ไปรบ เพชฆาต ที่ประหารชีวิตนักโทษ  นายพรานไล่ล่าเนื้อที่เป็นอาชีพการอาชีพของเขา   ครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักการเมืองทั่วโลก  นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย คนในโรงงาน ทั่วโลก ครอบครัวทุกครอบครัวในโลก  คนทั้งหลายผู้แสวงหาความร่ำรวย ตามหลักการอาชีพที่สุจริต หรือสัมมาอาชีโว ของเขา นั้นก็ย่อมมีสิทธิพบความสำเร็จมรรคผลไปพร้อมกันเลยทั้งทางโลกธรรมและอริยธรรมคือวันหนึ่งที่ร่ำรวย นั้น จะมาพร้อมกับวันบรรลุอรหันต์ได้   สำหรับโลกยุคกึ่งพุทธกาล  นั้นเอง

-----*****-----

มาทบทวนสัจธรรมอันสูงสุดกันอีกครั้งหนึ่ง

ฉะนั้น อริยสัจธรรมข้อที่ 4 ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปทา (มรรค 8) มัชฌิมาปฏิปทา(ทางสายกลาง)   จึงเป็นพุทธธรรมข้อสำคัญที่สุด เป็น อริยะธรรม 1 ใน 4 อริยะสัจจะสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา  ที่คนทั้งหลายควรศึกษาอย่างรู้แจ้งเห็นจริง  เพื่อประโยชน์สูงสุดทางอริยะมรรคอริยะผลโดยเฉพาะ  อันสุดล้ำเลิศเหนือการคณานับได้

โปรดมาทำความเข้าใจอริยะสัจ 4  ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ  มรรค   โดย ณ ที่นี้ เรื่อง มรรค 8 นั้นจะต้องเข้าใจว่าเป็นทางปฏิบัติที่ล้ำเลิศประเสริฐจริง ๆ สำหรับคนมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้  ในแต่ละข้อ แต่ละสายทาง แต่ละเรื่องนั้น นำไปสู่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งนั้น  และเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ที่คนทั้งหลาย ไม่นัยบชาติใด สกุลใด ศาสนาใด  ทั้งโลกนี้   มาศึกษามรรค 8 กันให้ดี   ให้ยิ่งกว่าทานและศีล ตามที่เคยนำเสนอมาตามลำดับแล้ว   ดังต่อไปนี้ได้โปรดตั้งใจศึกษาพิจารณาไปด้วยความคิดสติปัญญาให้เข้าใจเหตุผลของแต่ละมรรค แต่ละข้ออริยสัจที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์นั้น   :-  

-----*****-----

-----*****-----

-----*****-----

ทำความเข้าใจ มัชฌิมา ปะฏิปะทา (ทางสายกลาง) -
ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา  ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์(มรรค 8)

(รวมมาจากบทก่อน ๆ)

-----*****-----

1. สัมมาทิฏฐิ(1.):  ความเห็นชอบ  อย่าไปเชื่อว่าจะมีใครทำอะไรให้เราได้ต้องพบความจริงว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน อย่าคิดเรื่องการดลบันดาลของเทพ เทวดา พญานาค พญางู แม้ พระเจ้า  ตนต้องทำเอาเองทุกสิ่งทุกอย่างแม้การแสวงหาความหลุดพ้นก็ต้องทำเอาเองจึงจะสำเร็จมรรคผลนิพพานได้

1.  สัมมาทิฏฐิ(2.): ความเห็นชอบ  วันนี้ แม้นักปราชญ์ นักบวช แม้สงฆ์สาวกนักบวชพุทธ ชาวพุทธก็ยังไม่บรรลุความเชื่อมั่น ไปสู่สัมมาทิฏฐิ เรื่องความเชื่อ ความเห็น  หรือ เรื่องศาสนานั้นเอง  ไม่มีสัมมาทิฏฐิที่ว่า ศาสนานั้น มีอยู่เพียงศาสนาเดียวในโลกนี้ คือศาสนาวิทยาศาสตร์ ศาสนาพุทธเท่านั้น   นอกนั้นเป็นเพียง ทิฏฐิหนึ่ง ๆ เท่านั้นเองที่เป็นเพียงความเชื่อ ที่หาอริยสัจธรรมไม่ได้ เช่นเดียวกับในยุคพุทธองค์ มีทิฏฐิอยู่ถึง 62 ทิฏฐิที่เป็นเพียงความเชื่อ หาสัจธรรมไม่ได้เลย   สัมมาทิฏฐิก็คือ เข้าใจศาสนา เข้าใจคำสอนของศาสนาอย่างถูกต้องเข้าใจคำสอนอย่างถูกต้อง   เพื่อการช่วยเหลือตนเองผู้ปฏิบัติ  และทั้งมวลหมู่มนุษย์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ได้จริง    แต่ก็หาได้เข้าใจไม่ และยังกลับไปมีทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องเหมือนเดิมอีก เพราะความเขลาอวิชชา  ไม่มีสัมมาทิฏฐินั่นเอง

1.  สัมมาทิฏฐิ(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มี ความเห็นชอบ ให้มีความเห็นชอบว่าอย่าไปคิดทำความชั่ว  อดทน  ทำแต่ความดี   อย่าคิดพึ่งเทวดา หรือ คนอื่น  ชีวิตเราจะประสบผลสำเร็จทางการงานอาชีพ ใดใด  ก็ด้วยการพยายาม  และการช่วยเหลือตัวเองเป็นหลักการสำคัญเบื้องต้น  ต้องระลึกสัจธรรมพุทธที่ว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน  การจะพยายามไปขอความบูชาความช่วยเหลือจากเทพเทวดา  นั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  เพราะในความจริง สิ่งเหล่านี้ไม่เคยช่วยอะไรใครได้ มีแต่เราต้องฝึกฝนการช่วยเหลือตนเอง ให้ได้นิสสัยถาวรเพื่อว่าการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นไม่อาจจะพ้นไปจากหลักตนเป็นที่พึ่งของตนเลยตนเองเท่านั้นพาตนไปสู่มรรคผลนิพพานได้ในการงานอาชีพประจำวันประจำชีวิตก็เช่นเดียวกัน ต้องอยู่บนสัมมาทิฏฐิเรื่องตนเองเท่านั้นเป็นที่พึ่งของตน ทุกคน ๆ เป็นอย่างนี้

1.  สัมมาทิฏฐิ(4.): ความเห็นชอบให้มีความเข้าใจเรื่องความจริง  ที่จะต้องพิศูจน์เห็นจริงไปตามเหตุและผล  หรือคนยุคใหม่มองไปตามหลักการวิทยาศาสตร์นั้นเอง ความคิดในเรื่องการพึ่งตนเอง เป็นประเด็นสำคัญมาก ซึ่งหมายถึง เราต้องมองเห็นเองว่าเรื่องการพึ่งคนอื่น  แม้การพึ่งเทพเจ้า หรือ พระเจ้านั้น  ก็ไม่ชอบด้วยเหตุและผลไม่ถูกหลักวิทยาศาสตร์  หากคิดไปพึ่งสิ่งที่นอกเหนือไปจากตนเองแล้ว ไม่สามารถบรรลุ มรรคผลนิพพาน  ไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ นั่นคือ เราต้องปฏิบัติตามโอวาทะปาฏิโมกข์ 3 ข้อนั้นเอง คือ ละเว้นการทำชั่ว   ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์    นำตนพึ่งตนเองได้

-----*****-----

2. สัมมาสังกัปโป(1.): ความดำริชอบ การคิด การตรองการตรึกอะไรให้ ดำริในการใฝ่ศึกษาอริยสัจ 4 ของพุทธองค์  ไปให้ได้จนกว่าจะบังเกิดดวงตาสว่างไสว รู้แจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นมา บรรลุมรรคผลนิพพานได้

2. สัมมาสังกัปโป(2.): ความดำริชอบ ความดำริชอบไม่มี  เพราะการดำริของคนทั้งหลายแม้พระสงฆ์สาวกยุคปัจจุบันนี้  ล้วนแต่มีความดำรินอกสัมมาสังกัปโป ทั้งสิ้น  ดังจะพบว่า ล้วนแต่ดำริในเรื่องโลกธรรม 4 8 คือดำรินึกคิดไปแต่เรื่องลาภผล สมบัติ  คือคิดแต่เรื่องการได้ลาภ ความอยากมีอยากได้ลาภปัจจัยสิ่งของ วัตถุนิยม เงินทองให้ไหลมาเทมา ทำอย่างไร   ดำริเรื่อง ยศถาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งการปกครอง ให้ได้มาหาลาภต่อ ดำริแต่เรื่องทำอย่างไรคนจะมาใฝ่ใจสรรเสริญเรามาก ๆ  ให้เงินลาภะไหลมาเทมา ตามความอยากมีอยากได้ ดำริเรื่องชื่อเสียงคำสรรเสริญเยิรยอ  ทำอย่างไร ให้คนเข้าใจสรรเสริญศรัทธาตน จนกระทั่งอ้างตนเป็นพระอรหันต์ก็มี เป็นพระโพธิญาณโพธิสัตว์พระศรีอาริยเมตไตรยก็ยังมีแล้วมีแต่ดำริเรื่องลาภผล แล้วไปสู่ความสุขทางกาม จากคำชมสรรเสริญของคนทั้งหลาย  ซึ่งล้วนเป็นการใฝ่แสวงหาสิ่งที่เป็นตัณหาทั้งสิ้น มีความดำริความวิตกกังกวลในมิจฉาสังกัปโป การคิดผิดไปเป็นเหตุให้เกิดการตกต่ำ อันเป็นการก่อเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น  แทนที่จะเป็นเหตุแห่งการประพฤติที่ถูกต้องตรงอริยสัจจข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์  กลับเป็นทางแห่งความเพิ่มทุกข์ไปอีก  ตามสัจจธรรมที่ว่า  ทุกขสมุทัย  ที่ต้องสละเหตุแห่งทุกข์ไม่มีเหลืออยู่ จึงจะพ้นทุกข์ได้ 

2.  สัมมาสังกัปโป(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มี ความดำริชอบ  ความคิด ความดำริแต่ในเรื่องที่ดีที่ชอบ  เรื่องการงานอาชีพที่ชอบ เรื่องความพยายามที่ชอบ เรื่องความขยันเอาใจใส่ ไม่ขี้เกียจ  เรื่องความทรหดอดทน เรื่องของการเข้าอกเข้าใจคนอื่น เรื่องของความกล้าหาญอย่างวีรบุรุษ  มองคนทั้งหลายเป็นดุจเพื่อนมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมือนร่วมเดินทางไปกลางทะเลทรายด้วยกัน มีแต่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะหาไม่จนกว่าจะพ้นทะเลทรายอันกว้างใหญ่

2.  สัมมาสังกัปโป(4.):  ดำริชอบ  สิ่งที่เราทำอยู่ อะไรก็ตาม  เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ ชั่วหรือไม่  ทำใจเราสกปรกหรือไม่   นี่แหละที่ต้องคิดตรองตรึก  ดำริแต่สิ่งที่ทำได้ไปอย่างไม่ผิด  และดำริในเรื่องพาตนพ้นทุกข์ พาตนไปรู้แจ้งอริยสัจธรรม 4 ประการให้ได้ นั้นแหละนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้  เป็นการพ้นเสียได้ หลุดพ้นเสียได้จากโลกอันเต็มได้ด้วยความน่ารังเกียจ  ขยะแขยง ไปด้วยทุกข์และสิ่งสกปรกทั้งหลายตลอดเวลา นั่นคือนิพพิทาญาณ ญาณแห่งความหน่าย  ความรังเกียจขยะแขยง  นั้นเอง ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีการชำระล้างกิเลสไปโดยอัตโนมัตินำไปสู่มรรคผลนิพพาน สำเร็จอรหันต์ได้ทันที

-----*****-----

3. สัมมาวาจา(1.):  วาจาชอบ  จง ใช้วาจาเป็นสายสัมพันธ์แห่งไมตรีจิต  เชื่อมสายใยแห่งการตลาดการงานอาชีพให้รุ่งเรืองด้วยการคบคนดีเป็นมิตรการใช้วาจาทรงคุณค่าให้ความรู้อริยสัจธรรม  นำสัจธรรมไปสู่มิตรร่วมโลกโดยตลอด

3. สัมมาวาจา(2.) : การพูดจาชอบ  ล้วนเป็นคำพูดคำโฆษณาตัวเอง ไปแทบไม่ตรงความจริง มีแต่การโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างตนเองไปทั้งสิ้น  มีการพูดคำหยาบ  คำโกหกพกลม  คำส่อเสียด   และเพ้อเจ้อ ไร้เหตุผล อันมุ่งหมายไปอย่างผิด ๆ แบบไม่มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป  มุ่งหาลาภหายศ  หาความสรรเสริญ   หาสุข  โลกธรรม นั้นเอง

3.  สัมมาวาจา(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีวาจาชอบ  ต้องมีแต่วาจาคำพูด ที่เป็นประโยชน์ ที่ประสานไมตรีจิตเพื่อนร่วมทุกข์กันทั้งสิ้น ระวังวาจาชั่วร้าย 4 ประเภท คือ (1.) การโกหกพกลม (2.) การพูดคำหยาบคาย  (3.) การพูดคำส่อเสียดให้เกิดการแตกแยก และ(4.) การพูดเพ้อเจ้อ คือไม่มีเหตุมีผล การโฆษณาชวนเชื่อ  นี่เป็นหลักประสานสามัคคีธรรม ประสานไมตรีจิตมิตรภาพของคนทั้งหลาย อย่าได้ขาดวาจาชอบเลย เพราะวาจาชั่วร้าย 4 ประการนั้นเองทำร้ายสังคม  ทำร้ายคนทั้งหลาย  ทำร้ายญาติมิตร บิดามารดา ทั้งครอบครัว หมู่บ้าน  ตำบล ชาติบ้านเมือง ทั้งโลก ทำคนให้กลายเป็นศัตรูกัน ถึงขั้นเข่นฆ่ากัน ทำร้ายกันได้อย่างไร้สติ ไร้ความคิด ไร้สามัญสำนึกของความเป็นคนไปได้

3.  สัมมาวาจา(4.):  แน่นอนในชีวิตที่แวดล้อมด้วยเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย  ต้องปฏิบัติด้านวาจาให้ออกมาทางเป็นมิตร ไม่ใช่ศัตรู    และเข้าใจสัจธรรมว่า  วาจา  สัมมาวาจานี่แหละคือถ้อยคำแห่งธรรมะอันเลิศประเสริฐ ที่นำสัจธรรมไปสู่คนทั้งหลาย ได้พบลาภผลอันประเสริฐคือทางปฏิบัติเพื่การพ้นโลกทุกข์สกปรกนี้ ได้

-----*****-----

4. สัมมากัมมันโต(1.): การงานชอบ ไม่ใฝ่หาการงานที่เลี้ยงกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เป็นงานที่บริสุทธิ์ปราศจากความโลภ  โกรธ  หลง และการงานนั้นเพิ่มการสร้างสังคมผู้ดี ผู้ใกล้ชิดรอบตัวเรา  ให้พร้อมเจริญไปด้วยกันในทางสู่ความรู้ สติปัญญาทางการพ้นทุกข์  รู้แจ้งสัจธรรมแห่งชีวิตจนสิ้นความสงสัยใดใด

4. สัมมากัมมันโต(2.) : การทำการงานชอบ     การประกอบการงาน หรือการกระทำใดใดอันตรงกับหน้าที่ของความเป็นความมีชีวิตอยู่  ที่เป็นธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ที่ตรงกับกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ทางกฎหมายของสังคมของประเทศ  อาชีพการงานที่ตนมีความสามารถ มีหน้าที่ แต่บิดเบือนไปในเชิงการหลอกลวง เพื่อให้ได้มีได้เป็นในสิ่งที่เป็นอาหารการเลี้ยงดูเพิ่มเติมตัณหาอวิชชาไปทั้งสิ้นนั้น นั่นแหละ แทนที่จะก่อเหตุแห่งความพ้นทุกข์ กลับนำดิ่งลงไปสู่ทุกข์ไปอีก

4.  สัมมากัมมันโต(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีการงานชอบ  ไม่พึงทำอะไร กายกรรม วจีกรรม  มโนกรรมใดใด ที่ไปส่งเสริมกิเลส ตัณหา อุปาทาน  ความอยากมีอยากได้ผิด ๆ อะไรชั่ว ๆ ให้เพิ่มพูนขึ้น ต้องส่งเสริมการงาน การกระทำที่เพิ่มพูนความพยายามสู่มรรคผลนิพพาน สู่สัมมาสติ  สัมมาวาจา  สัมมาอาชีวะ และสัมมาวายาโม  การงานอะไรที่มีแต่ความกล้าหาญจัดการให้ได้สำเร็จลง ไม่ยอมแพ้

4. สัมมากัมมันโต(4.):  ต้องดู 3 อย่างคือ  กายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม  ลองตรวจดูตามหลักพระพุทธศาสนาว่า  กรรมทั้ง3 นี้มันตรงกัน เป็นเส้นเดียวกันหรือไม่ ?  เป็นเส้นตรงเดียวกันหรือไม่ ? เช่นเราทำอะไรไป  ที่ตรงกับเราพูดไว้อย่างไร เราคิดไว้อย่างไร  กาย  วาจา ใจ  มันตรงกันเป็นเส้นเดียวกันหรือไม่  นี่แหละทางปฏิบัติชำระความสกปรกออกไปจากจิตวิญญาณ ให้เกิดความบริสุทธิ์สัตย์ซื่อจริง ๆ แบบสะอาดสะอ้านจริง ๆ ไม่มีการเสแสร้ง   พยายามให้กรรมทั้ง3อย่างนี้ ตรงกันเสมอๆ  นั่นแหละใกล้ความดับ(นิโรธ)เข้าไปทุกทีแล้ว

-----*****-----

5. สัมมาอาชีโว(1.):  อาชีพชอบ  ทำอาชีพเลี้ยงตนเองแบบบริสุทธิ์  ตามธรรมชาติของชีวิต  ให้อยู่มีชีวิตทำกิจกรรมแห่งความดีไปได้ ตราบบรรลุมรรคผลนิพพาน แม้อาชีพนั้น ทำความสำเร็จร่ำรวย กิจการค้า ก้าวหน้าเจริญไปไม่หยุด ก็ด้วยความดีไม่หยุด ก้าวหน้าในความดีไปเรื่อย ๆ ทำอาชีพให้สำเร็จร่ำรวยไปเรื่อย ๆ พร้อมมรรคผลนิพพานนั้นด้วยความดีนั่นเอง

5.  สัมมาอาชีโว(2.) : การเลี้ยงชีพชอบ  ไม่รู้หลักการเลี้ยงชีวิตที่ดี  ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร  รู้แต่การหาโลกธรรม 4 หา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มาอย่างไรก็ได้  ไม่คำนึงความถูกต้อง  ทั้งทางกฎหมายและธรรมะทางศาสนา ยิ่งหาอาชีพที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ลาภเพราะเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ข่มขู่บีบบังคับเอาด้วยอำนาจเป็นธรรม ด้วยคนมียศใหญ่ตำแหน่งใหญ่บีบรัดเอาจากคนมียศน้อยตำแหน่งน้อย  หรือคนธรรมดา ๆ   นั้นแหละเป็นมิจฉาอาชีวะ  หรือโจรกรรมนั่นเอง มีแต่จะเพิ่มตัณหาไปอีก

5.  สัมมาอาชีโว(3.):  ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีการอาชีพชอบ อาชีพที่สุจริต  แสวงหางานการอาชีพ ที่ทำมาหากินได้ อะไรที่ชอบธรรมไม่พึงรังเกียจ พึงลดละลงเสียซึ่งความเป็นเจ้าเป็นนาย มีภะวะ วิภะวะ ตัณหา ตัวตนใหญ่โต  ทำมาหากินไปแบบสุจริต ไม่เอายศถาบรรดาศักดิ์  หรือมีความรังเกียจ ในงานอาชีพที่ต่ำต้อย  ขณะเดียวกัน  อย่าพากเพียรในงานการอาชีพที่ทำลายล้างชีวิตที่ลดค่าของความเป็นมนุษย์ อาชีพการพะนัน อาชีพยาเสพติด  อาชีพค้าขายทางเพศ ที่ดูถูกดูแคลนตนเองจากความเป็นมนุษย์เสรีชนผู้มีศักดิ์ศรีความเสมอภาคกับคนทั้งหลาย  อาชีพที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น มีแต่ให้อุปการะซึ่งกันและกัน  ได้ด้วยกันเสียด้วยกัน  ด้วยความมีสายตามองความเป็นมนุษย์เสมอกันมีแต่เสรีภาพเท่าเทียมกันนั้นเอง

5.  สัมมาอาชีโว(4.):  เราต้องมองความจริงของชีวิต   เราต้องประกอบการงานอาชีพทุกคนๆ เกิดมาแล้ว พ่อแม่เรา ครู อาจารย์เรา  รัฐบาลผู้ปกครองเรา นั้นเองจะสอน จะบอกทางทำมาหากินให้เพื่อรอดชีวิตก่อน  หากเราไม่มีอะไรกิน  ดื่ม  มันก็จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ แม้อริยบุคคล อรหันต์ก็ยังต้องหากินหาใช้เพื่อเลี้ยงกายสังขารให้มีชีวิตอยู่  ฉะนั้นคนที่ดีคนที่เก่งนั้น คือคนที่เอาตัวรอดได้  รู้จักการทำมาหาเลี้ยงชีพเพื่อมีกิน มีอาหารเพียงพอ  มีเครื่องนุ่งห่มกันร้อนกันหนาวมีบ้านที่อยู่อาศัยกันแดดกันลมกันฝน กันพายุ  และครั้งเกิดเจ็บป่วยก็หายารักษามีเงินเข้าโรงพยาบาลจ่ายค่ายาค่ารักษาได้ โดยต้องเข้าใจให้ดีว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต   การทำมาหากิน ก็คิดไปตามหลักธรรมชาตินั้นเอง ทำถูกธรรมชาตินั้นแหละทำดี  ไม่มีโทษ  ตัวอย่างเช่น เราเป็นคน  ชาติพันธุ์คนนี้ จะกินอะไร ก็กินแบบคนนั้นแหละ  ไปตามธรรมชาติคนนั้นแหละ จึงเหมาะกับความเป็นคน 

นั่นแหละเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ผิด  ไม่มีโทษ ไม่กีดกั้นปัญญามรรคผลนิพพาน   เหมือนสัตว์ เช่นเสือ สิงโด  มันเป็นสัตว์ประเภทนี้  ธรรมชาติให้มันกินได้อย่างเดียวคือกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร จึงจะมีชีวิตอยู่  และกินมาแต่เกิด หากไม่กินก็จะไม่เติบโตจากลูกเสือไปเป็นเสือใหญ่  สิงโตใหญ่ มันก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้  มันเป็นธรรมชาติเช่นนี้   นั่นแหละมัชฌิมาปฏิปทา   คนก็เหมือนกัน   ทำอาชีพอะไร ก็ทำมาหากินไป ค้าขายไป ให้เหมาะกับความเป็นคน  ธรรมชาติของคนนั้นเอง  คือตามหลักพระพุทธศาสนาการปฏิบัตินี้สอดคล้องวิถีทางธรรมชาติ   ไม่เป็นการปิดกั้นมรรคผล นิพพาน    เพียงแต่อาชีพก็ตามต้องเป็นอาชีพที่สุจริต  ไม่ไปทำร้ายอาชีพของคนอื่นเขา    ไม่ก่อเกิดการแก่งแย่งกัน ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง   รู้จักการแบ่งปันกันใช้   ไม่กีดกั้นจนก่อความเสียหายแก่คนอื่น  อยู่กินเผื่อแผ่เจือจานกันไป   

แต่ส่วนที่เกี่ยวกับอริยสัจธรรมนั้นก็คือ ในงานการอาชีพใด ๆๆ ก็ตามให้หมั่น มีเวลาปฏิบัติทบทวนสัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปโป  และสัมมาอื่นๆ อีกเป็นประจำบ่อย ๆ ทั้ง  8 อริยมรรคและอริยะสัจจ 4จึงสามารถพิจารณาทบทวนได้ตลอดเวลางานการทางอาชีพของเราอยู่แล้ว   จนรู้แจ้งด้วยปัญญาเรื่องทุกข์อริยสัจ รู้โลกรู้ชีวิตการเกิด   การตาย  ความพินาสน์ที่รอทุกสรรพสิ่งอยู่   รู้อย่างนี้เอง จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจขนาดใหญ่  กลายเป็นการหลุดพ้น ตามมาได้

-----*****-----

6.  สัมมาวายาโม(1.):  ความเพียรพยายามชอบ อย่าให้ความขี้เกียจครอบครองจิตใจ  ไล่ละฆ่ามารขี้เกียจเท่ากับล้างตัณหาจากใจได้เลยทีเดียว เมื่อใดดวงจิตชำระสิ้นความเกียจคร้านแล้ว นั้นแหละการชำระกิเลสนั่นเอง  ใจมีแต่ความขยันพากเพียรอย่างเดียว นั่นแหละการบรรลุมรรคผลนิพพาน สู่ความพ้นทุกข์แห่งโลกใหม่

6. สัมมาวายาโม(2.) : ความพากเพียรชอบ  ความเพียรไม่มีเลย ความพยายามในการทำดี ละเว้นความชั่ว ใฝ่ในความประพฤติเป็นธรรม บริสุทธิ์แทบไม่มีเลย  เป็นทาสของมารความเกียจคร้าน ตลอดไป เป็นมิจฉาวายาโม  นั่นคือ เป็นทาสความเกียจคร้านไม่ยอมเดินทาง อยู่กับที่ตลอดไปนั้นเอง

6.  สัมมาวายาโม(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีความพากเพียรชอบ นี่คือหลักการของความสำเร็จ ทั้งโลกธรรม และอริยธรรม  โดยรูปธรรมแล้ว คือความขี้เกียจนั้นมองให้เห็น ให้พบว่านั่นคือมารตัวโตที่ควบคุมชีวิตทั้งชีวิต การชำระล้างความขี้เกียจเสียได้จักปรากฏที่ดวงใจให้มีแต่ความว่าง มีแต่ความขยันขันแข็งใช้เวลาทุกนาทีทุกวินาทีให้เป็นประโยชน์ได้ เสมือนล้างตัณหาไปจากจิตใจได้แล้ว นั้นคือผลลัพธ์อันสุดแสนประเสริฐ และความพากเพียรชอบนี้เองที่คนทั้งหลายพึงฝึกฝนกันมาตั้งแต่เกิด ออกมาจากครรภ์มารดาเลยทีเดียวและทำไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตบนโลกนี้จนกว่าจะหมดความขี้เกียจ  เพราะความขี้เกียจนี้คือมารตัณหานั้นเองชำระเสียให้หมดความขี้เกียจไปจากใจนั้นคือชำระกิเลสตัณหาไปได้แล้วมีผลต่อมรรคผลโดยตรงเลยทีเดียว

6. สัมมาวายาโม(4.):  ความขยัน  ให้เข้าใจว่า ในจิตใจเราจะมีความขี้เกียจเป็นมารตัวโตควบคุมอยู่  พยายามขัดเกลาชำระล้างความขี้เกียจออกไปจากใจให้ได้  ก็ด้วยการทำตนขยันนั้นเอง  แม้เรื่องต้นๆ ของชีวิต คือขยันทำการงานเลี้ยงชีพ  ขยันหาเงินหาทองมาไว้ประกันความขาดแคลนในอนาคต อย่าซือบือ  ง่วงเหงาหาวนอนเวลาทำการทำงาน ก็ด้วยการทำตนขยันนั้นเอง  วันใดเอาชนะความขี้เกียจได้ ซึ่งมันจะพิศูจน์จากวิถีชีวิตเรานี้เอง ตอนเข้าเรียนอนุบาล  ประถม  มัธยม  นั้นมักขี้เกียจเสมอ  นั้นแหละต้องหัดชำระล้างความขี้เกียจมาตั้งแต่เกิดมาตลอดเวลา  แม้การทำอาชีพทำมาหากินก็ตรวจต่อมาอีกว่าความขี้เกียจหมดไปจากใจแล้วยัง ให้เข้าใจว่าความขี้เกียจนี้ต้องไม่ให้เหลือเลยในจิตใจของเรา แม้เท่าฝุ่นธุลีเม็ดเล็ก ๆ  นั่นแหละใจเข้าถึงความว่าง เข้าสู่มรรคผล นิพพานได้เลย  ก็นี่แหละมัชฌิมาปฏิปทา ที่ใครๆ ก็ปฏิบัติได้ทุกคนทุกชาติ ศาสนา  ทั่วโลก เหมือนกันหมดตรงที่ไล่ความขี้เกียจหมดไปจากใจ นั่นแหละนำสู่จิตว่าง ความดับลงพ้นทุกข์ตามทางพระพุทธศาสนาเลยละ

-----*****-----

7. สัมมาสติ(1.):  สติชอบ  รู้ปัจจุบัน  อดีตนำมาสู่ปัจจุบัน  ปัจจุบันนำไปสู่อนาคต  ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด  นำสติมาสู่ มารู้การกระทำของตน ณ นาทีนี้ วินาทีนี้ ทำถูกทำผิด รู้ตัวตลอด  นั่นแหละคือ ความไม่ประมาทแล้ว  ย่อมได้กระทำแต่ความดีทุกวัน ทุกนาทีวินาที แห่งชีวิต  แล้วนั้นแหละทางมรรคผลนิพพาน

7. สัมมาสติ(2.) : ความระลึกชอบ(สติ)  มีแต่ความใฝ่ฝันในอนาคต ในวันพรุ่งนี้  กลับไม่เข้าใจว่าปัจจุบันนั่นเองเป็นทางไปสู่อนาคต  เป็นเหตุของอนาคต  หากปัจจุบันไม่ดีเสียแล้ว อนาคตก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน  การมีสัมมาสติจึงหมายถึงการกระทำที่ดีในปัจจุบัน  ณที่นี่ เวลานี้ เดี๋ยวนี้เอง ทำชีวิตชาตินี้แหละให้สำเร็จลงให้ได้ ไม่ต้องคิดเรื่องชาติหน้า ไม่คิดจะเอาดีชาติหน้า แต่ชาตินี้เอง   และนั่นแหละ นำไปสู่อนาคต ความใฝ่ความหวังที่ดี    นั้นเอง มาจากสัมมาสติที่รู้ดีรู้ชั่ว มีสติอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน  คือการกระทำขณะนี้เดี๋ยวนี้  เวลานี้ ว่าทำอะไรอยู่  รู้ว่าทำอะไร รู้ว่านี่แหละนำไปสู่อนาคตที่ดี  นั้นเองมาจากรู้ตัว  รู้ดี  รู้ชั่ว มีสติอยู่กับการกระทำของปัจจุบันให้ชัดเจน แล้วก็ไม่กังวลกับอนาคตเลย  ปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตก็เป็นเช่นนั้น

7.  สัมมาสติ(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีสติชอบ การรู้ปัจจุบัน  รู้วินาที  นาทีแห่งชีวิตปัจจุบัน นั้นแหละทางแห่งความรอด ความไม่ประมาท  ไม่ใช่ทางแห่งความตายเลย แม้กิจการทุกอย่างที่เรารู้สติพิจารณาตลอดเวลาตลอดนาที วินาทีให้รู้ว่าทำดีหรือทำอะไรอยู่  แล้วนั้นแหละทางรอดของชีวิต  แม้ในเรื่องการงานอาชีพก็จะพบจะเห็นว่ามีศัตรูหมู่อมิตรคู่แข่งทำอะไรอย่างไรมิตรของเราอยู่ไหนทำอะไรอยู่ มาสู่ปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคนให้ดีให้ได้ แม้สร้างทางมรรคผล นิพพานก็มีการสร้างในเวลาปัจจุบันนี้เอง  อย่าหวังว่าจะเป็นวันพรุ่งนี้  แต่ต้องเป็นเวลานี้นาทีนี้ ที่นี่และเดี๋ยวนี้เลยทีเดียว

7.  สัมมาสติ(4.):  ที่พุทธองค์ตรัสปัจฉิมวาทะว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด   นั้นทำได้โดยเราเจริญสัมมาสติ นี่เอง   อย่าไปหลงคิดในเรื่องที่ผ่าน ๆ มาที่ไม่มีประโยชน์  อย่าไปหลงฝันหวานไปกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้ดูปัจจุบัน  เราทำอะไรอยู่   และทำปัจจุบันให้ดี  รู้ให้ดีว่าทำอะไรอยู่  ทำชั่วหรือทำดี หรือทำอะไรอยู่เมื่อรู้ดีรู้ชั่วตลอดเวลาปัจจุบัน นั้นแหละทำความไม่ประมาทได้แล้ว   และต้องเข้าใจเรื่องของมรรคผลนิพพาน  อย่าไปหวังในอนาคตแต่ต้องปัจจุบันที่นี่และเดี๋ยวนี้  ประพฤติกับปัจจุบัน ให้ถูกต้อง จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ 

-----*****-----

8. สัมมาสมาธิ(1.):  สมาธิชอบ  เพิ่มพลังจิตด้วยสัมมาสมาธิ กล้าหาญในการต่อสู้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน  คบคนดี  ห่างไกลคนชั่ว  สร้างสังคมคนกล้าหาญขึ้นสู้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน และการบรรลุมรรคผลพร้อมกันเป็นหมู่เป็นพวก

8. สัมมาสมาธิ(2.) : ความตั้งใจมั่นชอบ(สมาธิ) เป็นเรื่องของจิตใจ และจิตใจย่อมเป็นนายกายเป็นบ่าว  จึงต้องฝึกจิตอยู่ตลอดเวลา ให้จิตเราเข้มแข็ง ให้จิตเราเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ให้จิตเรารู้นิ่ง หนักแน่น  คิดแก้ไขในสิ่งผิด  ให้จิตมีพลัง  เพิ่มพลังขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่าปล่อยให้จิตอ่อนแอ เป็นเด็กอ่อนไม่รู้จักโต ต้องฝึกจิต  ฝึกสมาธินั้นเอง ให้สมาธิเจริญเติบโต ก้าวหน้าไปไม่หยุด  มีพลัง  นั้นเป็นมหาอำนาจจิตตนนั่นเอง   หากจิตเราอ่อนแอ ก็มีแต่จะตกเป็นทาสของกิเลส  กามตัณหา  ภวะตัณหา วิภวะตัณหา   อุปาทาน     ไปทั้งสิ้น

8.  สัมมาสมาธิ(3.): ทุกข์ยากลำบากเพียงไหนก็ตามขอให้มีสมาธิชอบ  นั้นคือ การสร้างดวงจิต  การฝึกจิต  ความนึกคิดให้กล้าแกร่ง  มั่นคงดำรงธรรม  กล้าต่อสู้อุปสรรคศํตรู หมู่มารทั้งหลาย  ไม่ย่อท้อ  นั่นเอง  เมื่อมีสัมมาสมาธิเต็มที่แล้วนั้นแหละสามารถอุทิศตน สละชีพเพื่อปกป้องคุ้มครองความดี  คนดี  สิ่งที่ดีได้  และทั้งในที่สุด สมาธินี้เอง สามารถนำชีวิตจิตใจลัดไปสู่โลกุตระนิพพานได้

8.  สัมมาสมาธิ(4.):  เพราะเหตุที่เป้าหมายของศาสนาพุทธนั้นคือมรรคผลนิพพาน อันสุดล้ำเลิศประเสริฐเหนือเรื่องราวสมาธิใดใด  หากไม่เป็นสัมมาสมาธิก็จะออกนอกทางมรรคผลนิพพาน  ไปผิดทาง  ไม่ถึงอริยมรรค อริยผล นั่นเอง  ไม่เข้าหลักของ ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา ทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์

โดยที่สมาธินั้น จะต้องผ่านระดับสมาธิ แบบพุทธมี 3 ระดับ คือ  (1.) คณิกะสมาธิ  (2.)  อุปปะจาระสมาธิ  และ  (3.)  อัปนาสมาธิ  การที่นำสมาธิมาตามลำดับขั้นทั้ง 3 ขั้นนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเลยทีเดียว  แม้อาจจะตลอดชีวิตก็ยังบรรลุระดับ อัปนาสมาธิไม่ได้  

แต่ทางมรรคผลนิพพานนั้นหากมาทางสายนี้คือเอาสมาธิเป็นหลัก  ต้องการสมาธิถึงระดับอัปปนาสมาธิเลยโดยตรง  เมื่อใดเข้าระดับอัปนาสมาธิได้แล้ว นั้น นั่นแหละ มีความหวังอันสดชื่นรออยู่ข้างหน้าเลยทีเดียว สมาธิเป็นฐานให้กรรมฐานหลายอย่างสำเร็จลงได้ นับแต่เรื่องฌาน และกสิณโดยเฉพาะอศุภะกสิณ อาวุธปราบกามตัณหา ได้ผลสำเร็จเยี่ยมจากสมาธิอันกร้าวแกร่งนี่เอง ครั้นได้สำเร็จระดับอัปนาสมาธิแล้ว หมั่นฝึกฝนสภาวะของอัปนาสมาธิ ให้ได้นานนาน นาน ไปเรื่อยๆ นั่นคือ จะพบสภาวะ  นิ่งสงบ  ไร้ตัวตน   ทำให้นาน ฝึกให้ได้นาน ๆ  จนไปตลอดคืน  อย่าหยุดเลย ตลอดชีวิต  ต้องพบเข้าในวันหนึ่ง แล้วคืนหนึ่ง ก็จะซึมหรือลัด หรือทะลุเข้าไปสู่ มรรคผลนิพพานระดับอรหันต์ได้เลย     เข้าสู่ภาวะนิโรธ ได้  หมายถึง มรรคผลระดับอรหันต์บุคคลไปเลย (โปรดอ่าน อริยสัจธรรมแห่งชีวิตบทที่ 8 สมาธิคืออะไร)

8.  สัมมาสมาธิ(4.):  เพราะเหตุที่เป้าหมายของศาสนาพุทธนั้นคือมรรคผลนิพพาน อันสุดล้ำเลิศประเสริฐเหนือเรื่องราวสมาธิใดใด  หากไม่เป็นสัมมาสมาธิก็จะออกนอกทางมรรคผลนิพพาน  ไปผิดทาง  ไม่ถึงอริยมรรค อริยผล นั่นเอง  ไม่เข้าหลักของ ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา ทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์

โดยที่สมาธินั้น จะต้องผ่านระดับสมาธิ แบบพุทธมี 3 ระดับ คือ  (1.) คณิกะสมาธิ  (2.)  อุปปะจาระสมาธิ  และ  (3.)  อัปนาสมาธิ  การที่นำสมาธิมาตามลำดับขั้นทั้ง 3 ขั้นนั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกเอา ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากเลยทีเดียว  แม้อาจจะตลอดชีวิตก็ยังบรรลุระดับ อัปนาสมาธิไม่ได้   แต่ทางมรรคผลนิพพานนั้นหากมาทางสายนี้คือเอาสมาธิเป็นหลัก  ต้องการสมาธิถึงระดับอัปปนาสมาธิเลยโดยตรง  เมื่อใดเข้าระดับอัปนาสมาธิได้แล้วนั้น นั่นแหละ มีความหวังอันสดชื่นรออยู่ข้างหน้าเลยทีเดียว

สมาธิเป็นฐานให้กรรมฐานหลายอย่างสำเร็จลงได้ นับแต่เรื่องฌาน และกสิณ     โดยเฉพาะอศุภะกสิณ อาวุธปราบกามตัณหาที่เด็ดขาดนี้   ได้ผลสำเร็จเยี่ยมจากพื้นฐานสมาธิอันสูงส่งระดับอัปนาสมาธินี้เอง  ครั้นได้สำเร็จระดับอัปนาสมาธิแล้ว หมั่นฝึกฝนสภาวะของอัปนาสมาธิ ให้ได้นานนาน นาน ไปเรื่อยๆ นั่นคือ จะพบสภาวะ  นิ่งสงบ  ไร้ตัวตน โดดเดี่ยวเดียวดาย ไร้สัมผัสใดมาต้อง    ทำให้นาน ฝึกให้ได้นาน ๆ คืน หลายคืน  หลายวัน หลายปี  อย่าหยุดเลย ตลอดชีวิต  ต้องพบเข้าในวันหนึ่ง แล้วคืนหนึ่ง ก็จะค่อยแซกซึมผ่านด่านเข้าไป  หรือลัด หรือทะลุเข้าไปสู่ มรรคผลนิพพาน  ลุอรหันต์ภาวะเข้าสู่นิโรธ ได้  หมายถึง มรรคผลระดับอรหันต์บุคคลไปเลย (โปรดอ่าน อริยสัจธรรมแห่งชีวิตบทที่ 8 สมาธิคืออะไร) 1

และหากมีการนั่งสมาธิกันเป็นหมู่ใหญ่ กี่ร้อยพันคนก็ตาม หรือมีการนัดกันนั่งสมาธิพร้อมกันทั้งโลก  พากันเดินสมาธิสู่ อัปนาสมาธิให้ได้ แล้วนิ่งอยู่นานๆ  ในนาทีนั้นเอง อาจบรรลุสู่ความสงบระงับ ภาวะนิโรธได้ โดยพลันทันทีได้  นั่นคือสำเร็จมรรคผลพร้อมกันทั้งหมู่ใหญ่เลยก็ได้

และที่พิเศษ สำหรับนักสมาธิในต่างศาสนา  ผู้มีสมาธิแก่กล้าอยู่แล้ว  โดยเฉพาะครูสมาธิในต่างศาสนา ระดับศาสดา  ระดับอิหม่ามในศาสนาพระเจ้า  หากเป็นฮินดู คริสต์ อิสลาม มีสมาธิแก่กล้าแล้ว   เพียงมาหยุดอยู่ ณ อัปนาสมาธิ  นิ่งสงัดเป็นหัวหิน หัวตอ  สู่อัปนาสมาธิ เท่านั้นเอง นิ่งอยู่ในอัปนาสมาธิ  แล้วท่านเพียงแต่เอาพระเจ้าออกไปจากใจไปสักชั่วขณะ ชั่วคราวเท่านั้นเอง  ก็บรรลุอรหันต์ เป็นพระอริยบุคคลล้ำเลิศประเสริฐไปได้ทันที 

นี่คือหลักการ ตามสัจธรรมแห่งพุทธที่ว่าด้วยอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง    ติดอยู่แค่อุปาทาน ที่จะเข้าใจภายหลังว่า พระเจ้า เป็นเพียงอุปาทานเท่านั้นเอง  คือเพียงคิดเอาเท่านั้นเอง เมื่อเพียงเอาพระเจ้าออกไปจากใจไปเสียชั่วขณะเท่านั้นเอง  จิตก็ว่างได้  ขณะนั่งสมาธิ จิตนิ่งชงัดเป็นหินเป็นตอหากแต่ยังยึดมั่นถือมั่นในพระเจ้าผู้สูงส่งอยู่ ....พระเจ้า   อุปาทาน เพียงแต่อยู่กับใจอยู่ครั้นเอาอุปาทานออกไปเสีย เท่านั้นเองจิตว่างก็เกิดขึ้น และลุเลยสู่มรรคผลนิพพานในทันที    นั่นแหละ ได้พบโลกใหม่   โลกใหม่ที่สะอาดสะอ้าน ไร้ร่องรอยแห่งทุกข์ใดใด  นั่นคือการบรรลุสู่ภาวะอรหันต์บุคคลผู้ไร้กิเลสได้โดยพลันทันใด  ด้วยเหตุผลเพียงง่าย ๆ ก็คือเอาอุปาทานเรื่อง พระเจ้าออกจากใจไปชั่วขณะ เท่านั้นเอง

ฉะนั้นสำหรับเพื่อนต่างศาสนา  เพียงลองลืมพระเจ้า ไปชั่วขณะนั่งสมาธิในระดับอัปนาสมาธิ เท่านั้นเอง ลืมพระยะโฮวาห์  ลืมพระเจ้าอัลเลาะห์ ลืมพระอิศวร พระนารายณ์ พรหม ไปเพียงชั่วขณะ  จิตก็เข้าสู่ นิโรธสมาบัติ  บรรลุมรรคผลนิพพาน ในพระพุทธศาสนาได้ เป็นพระอริยบุคคลอรหันต์ ระดับสูงสุดได้ง่าย ๆ  ในโลกนิพพาน อันเป็นแดนเสรีชน และเสรีภาพ พ้นทุกข์  พ้นกิเลส ตัณหาไปทั้งปวง  นี่แหละเป็นข่าวดีล้ำเลิศประเสริฐในโลกยุคใหม่นี้   

-----*****-----

-----*****-----

บทวิเคราะห์ภาพรวมของมรรค 8 

บทที่ 1. เรื่องมรรค 8 สำหรับโลกยุคใหม่

เพื่อมรรคผลนิพพาน  เพื่อโลกธรรมพร้อมกับอริยธรรมพร้อมกันไปได้เลย

-----*****-----

เอาสัมมาทิฏฐิมาก่อน, คิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆอย่างมีเหตุมีผลเสมอไป สัมมานั้นหมายถึงวิธีวิทยาศ่าสตร์ มีการวิจัยหาเหตุหาผลก่อนวางแผนงานเสมอไป, นั่นก็คือ ความคิดที่เราคิดอยู่ คิดทำอะไรคิดงานการอาชีพอะไร เรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ขนาดระดับยุทธศาสตร์ แห่งชาติ  แห่งโลกก็ดีเราต้องรู้ทะลุปรุโปร่งไป, คิดให้เห็นความตรงกันความสอดคล้องกันระหว่างส่วนเหตุ กับ ส่วนผลเสียก่อน, มีการวางแผนการปฏิบัติไปตามความสอดคล้องต้องกันของส่วนเหตุและส่วนผลนั้นเสมอไป   จึงค่อยดำเนินการกระทำไปตามเหตุนั้นจึงจะบรรลุผลตามต้องการได้

แล้วต่อไป ก็เอาหลักสัมมาวายาโมมาใช้, นั่นคือ ทำงานที่ตรองมาอย่างดีตามเหตุตามผลนั้นไปอย่างขยันขันแข็ง  มีความพยายามอย่างไม่ลดละ กว่าจะเสร็จงาน  ให้ฆ่าความเกียจคร้านระหว่างนั้นไปให้หมด  นั่นแหละสัมมาวายาโม,    แล้วตลอดเวลาการทำงาน ให้นำหลักสัมมาสติมาตรวจสอบงานทุกขณะคือให้รู้อะไรเป็นอะไรตามที่มันเป็นอยู่ว่าเป็นไปตามแผนงานหรือไม่, ตรงสู่เป้าหมายหรือไม่  อันเป็นการ ป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดไปจากแผนงาน จากวิธีทำงาน ที่เป็นเรื่องของความไม่ประมาทนั้นเอง ความรู้ตัวมีสติไม่ประมาท  ทำให้เกิดผลงานที่ถูกต้องไปตลอด  นั่นแหละสัมมาสติ,    แล้วในเรื่องสัมมาสมาธิ ก็คือ การทำงานใดใดก็ตามต้องทำอย่างมีความตั้งใจทำจริง ๆ  มีกำลังใจในการทำงาน ความตั้งใจจะต้องมีเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ  ไม่มีความท้อถอยมีพลังใจเข้มแข็งแบบนักรบในสงคราม ที่ยอมตายในการรบ ในการทำงานตามแผนนั้นนั่นแหละสัมมาสมาธิ การยอมตายในการรบกับงานนั้นเลยทีเดียว 

และในการคบหาสมาคม การร่วมงานของคนหมู่มากเราต้องสร้างมิตร ไม่ใช่สร้างศัตรู  แม้ในทางการเมืองที่เป็นงานใหญ่ระดับชาตินั้นเอง ก็ต้องเป็นการสร้างมิตรแม้ในความขัดแย้ง หรือความเห็นต่าง ตามระบอบประชาชน ประชาธิปไตย (ท่านว่ามี ภราดรภาพ Fraternity แม้ขณะตอบโต้ทางวาทะเหตุผลกัน)  และนั่นแหละจึงต้องคำนึง สัมมาวาจา  อย่ากล่าวคำหยาบคายคำเท็จโกหกพกลมกันและกัน, คำยุแยกคือคำส่อเสียดและคำที่ไร้เหตุผลคือคำเพ้อเจ้อ,กล่าวอะไรแม้กล่าวโทษใครก็ต้องมีเหตุมีผลไม่ใช่เพ้อเจ้อไร้เหตุผลไปหมด    ที่ล้วนส่งผลทางความแตกแยกทั้งสิ้น  ทำลายมิตรไมตรีจิตกันและกัน ทำลายสามัคคีธรรมของคนในชาติไปทั้งสิ้น  จึงต้องคำนึงสัมมาวาจาเสมอไป

และงานการอาชีพของเราทุกชนิดทุกอาชีพการงาน  ก็ต้องคำนึงหลักการของ สัมมาอาชีโว, และสัมมากัมมันโต, นั่นคือทำให้ถูกหลักกฎหมายของสังคม ถูกหลักวัฒนธรรมของสังคม   โดยมีสัมมาสังกับโป ความดำริชอบ  ควบคุมดูแล และความริเริ่มอะไรใหม่ ๆให้สดคล้องหลักเหต-ผล อยู่ตลอดไป

นี่แหละสำหรับคนทั้งหลาย  ผู้มีอาชีพทำงานทำมาหากินกัน ในยุคอันยากลำบากยากจนด้วยภัยอันตรายจากไวรัสร้ายแห่งโลกอยู่  และยังมีสงครามอีกด้วยนั้นจะได้รำลึกถึงคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า   และเมื่อฉลาดมีปัญญา ทำไปให้สอดคล้องเหตุ-ผล แห่งมรรค-ผล-นิพพาน นั้นแหละการบรรลุความเลิศประเสริฐอันแท้จริงของชีวิตอันประเสริฐที่แท้จริงของชีวิตหนึ่งที่พ้นทุกข์ไปชั่วนิรันดร

แม้เรื่องโลกียวิสัยก็ให้ทำไปอย่างสอดคล้องหลักมรรค 8 เถิด  จะเกิดผลสำเร็จแด่ชีวิต  ไปตามทำนองที่กล่าวมานี้.

Phayap Panyatharo
5
มี.ค. 2565 10.00 น.  

-----*****-----
-----*****-----
-----*****-----

บทที่ 2. อริยสัจ 4 ข้อที่ 4 อัฏฐังคิโกมัคโคมรรค 8,  สัมมาอาชีโว  สัมมาวายาโม

-----

ที่ทรงตรัสไว้เต็มๆ ว่า ทุกขะนิโรธะคามินี ปฏิปะทา  นั่นคือ ข้อปฏิบัติ 8 ข้อที่นำไปสู่ความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์  เป็นอริโย อัฏฐังคิโก มัคโค  มรรค 8 อันประเสริฐ

การทำความเข้าใจเรื่อง มรรค 8( อัฏฐังคิโก มัคโค) นี้ ก็โดยเริ่มจากคำว่า สัมมา” 8 ประการ ที่ทรงตรัสว่าเป็น อริโยอัฏฐังคิโก มัคโค  (เส้นทาง8สายอันประเสริฐ)  นั่นคือข้อปฏิบัติอันประเสริฐแปดประการเพื่อความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งสิ้น   คือ  สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)สัมมาสังกัปโป(ความดำริชอบ), สัมมากัมมันโต(การงานชอบ)สัมมาวาจา(วาจาชอบ), สัมมาอาชีโว(อาชีพชอบ), สัมมาวายาโม(ความเพียรพยายามชอบ)สัมมาสติ(สติชอบ)สัมมาสมาธิ(สมาธิชอบ), ซึ่งเป็นอันเดียวกับที่ทรงตรัสไว้แต่ต้นแล้วว่าเป็น มัชฌิมาปะฏิปะทา 8 ประการ

ฉะนั้น คำว่า  สัมมา”  หรือคำแปลว่า ชอบ”  :- ความเห็นชอบความดำริชอบ,การงานชอบ, วาจาชอบ),อาชีพชอบ,ความเพียรพยายามชอบสติชอบสมาธิชอบ,ย่อมหมายถึง ทางปฏิบัติ8ประการที่นำไปสู่มรรคผลนิพพาน นั้นเอง หากไม่นำไปสู่มรรคผลนิพพานแล้ว จะถือว่า สัมมา หรือ ชอบ  ไม่ได้

เพื่อความเข้าใจเรื่องมรรค 8: อริโย อัฏฐังคิโกมัคโค นี้ จึงเขียนอีกคำได้ว่า  สัมมา อัฏฐังคิโกมัคโคนั่นเอง   หรือ มรรคแปดชอบนั่นเอง ซึ่ง อริโย มัคโคหมายถึง สัมมามัคโคนั่นเอง แปลว่าทางไปสู่ความประเสริฐล้ำเลิศ  ที่นำไปสู่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และ  ตรงกันข้ามกับคำว่า  มิจฉา” :  มิจฉา ทิฏฐิ(ความเห็นผิด), มิจฉา สังกัปโป(ความดำริผิด),มิจฉากัมมันโต(การงานผิด), มิจฉา วาจา(วาจาผิด), มิจฉา อาชีโว(อาชีพผิด),มิจฉา วายาโม(ความเพียรพยายามผิด), มิจฉา สติ(สติผิด)มิจฉา สมาธิ(สมาธิผิด),

ซึ่งสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจก็คือ มรรค 8 นี้ ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของฝ่ายสงฆ์สาวกหรือนักบวชพุทธ หรือคนพุทธ แต่เพียงฝ่ายเดียวเลย  หากแต่เป็นของสำหรับคนทั้งหลายทุกวัย ทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา   ทุกอาชีพการงาน ทุกคนในโลกนี้  โดยหวังผลได้ คือความพ้นทุกข์ ทั้งทุกข์ทางโลกเอง และทุกข์ทางธรรม นั้นคือการมุ่งสู่มรรคผลนิพพานได้ด้วยพร้อมกันนี้เลย 

เอาเพียงประการแรก ๆ ก่อน

เรื่อง สัมมาอาชีโว  อาชีพชอบ  นั้นหมายถึงคนทั้งหลาย ที่มีหน้าที่มีภาระการงานเลี้ยงชีพตนเองทั้งครอบครัว  ที่ต้องทำมาหากิน ทำอาชีพการงานเพื่อการเลี้ยงชีวิตตนเองเป็นประจำทุกวัน ทุกเวลานาที อย่างขาดไม่ได้นั้น  หากเข้าใจหลักมรรค 8 เข้าใจคำว่า สัมมา หรือ อริโย ก็จะสามารถปฏิบัติงานการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพไปได้ จนประสบความสำเร็จ และทำความก้าวหน้า สามารถสร้างความร่ำรวย ได้ผลงาน ได้กำไร  ได้ผลทางเศรษฐกิจ  ได้เป็นถึงข้าราชการงานเมืองสูงสุด ได้ความร่ำรวยระดับเศรษฐีมหาเศรษฐี ตกทอดมรดกไปสู่บุตบริวารได้   โดยหากการประกอบการงานไปแบบมีสัมมา ในทุกอย่าง ก็หมายถึงการบรรลุผลทางเศรษฐกิจอย่างสูงสุดไปพร้อมกันกับมรรคผล นิพพานได้ด้วย

นั่นคือ ให้ระวังการประกอบอาชีพนั้นต้องเป็นอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย  ไม่ขัดศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีของชาติบ้านเมือง   โดยการประกอบการงานอาชีพนั้น ต้องคำนึงเรื่องสำคัญที่สุดคือ  สัมมาวายาโม  ความเพียรพยายามชอบ 

นั่นคือ อริโย วายาโม   คือ มีความมานะพยายาม หรือความขยันขันแข็ง ไปตามหลักการอริยมรรค  อริโยอัฏฐังคิโก นั่นเอง เมื่อมีความขยันขันแข็ง ใฝ่ในการสร้างสรรค์การงานอาชีพให้ก้าวหน้าไปด้วยความดี มุ่งไปสู่เป้าหมายอันเป็นผลกำไร ให้ร่ำรวยให้ได้ด้วยความดี  เป็นการปฏิบัติแบบ สัมมา  คือ  ไปในวิถีทางแห่งมรรคผล นั้นเอง โดยมีหลักการพิจารณา ตามหลักโอวาทะปาฏิโมกข์3 ประการ คือ  ทำชั่วไม่ได้ ทำแต่ความดี และระวังไม่ให้จิตใจตกต่ำบาปและสกปรกจากการทำการงานอาชีพเรานั้นเอง

ซึ่งสิ่งที่เป็นสัจจะที่ต้องรู้ก็คือการปฏิบัติงานด้วยความขยันขันแข็งมีความเพียรชอบ(มี สัมมาวายาโม)  นั้นคือความดี แต่หากปฏิบัติงานการอาชีพไปอย่างเกียจคร้านนั่นจะเป็น ความชั่วหรือบาปอกุศล  ตามหลักพระพุทธศาสนานั้นเอง  และในการวิเคราะห์ประเด็นนี้  ความขี้เกียจนั้นแหละคือตัวความชั่ว ตัวบาป อกุศล  และนี่เองคือ ตัวกิเลส ตัณหา และอุปาทาน  เหตุแห่งทุกข์ที่คนทั้งหลายมองเมินไปเสีย นั่นเอง

2.

ในการประกอบการงานอาชีพใดก็ตามจึงต้องวิเคราะห์ให้เห็นด้วยปัญญาว่าอะไรคือมารของการทำงานของเรา  และจะเห็นนั่นแหละความเกียจคร้าน เป็นมารตัวโตเลยทีเดียว  ต้องสังหาร ต้องละเสียให้หมดไปจากใจให้ได้ให้เหลืออยู่แต่ความขยันขันแข็งแต่อย่างเดียวเท่านั้น

นั่นแหละ การขับไล่ ขัดถูความขี้เกียจออกจากใจจึงเป็นการฆ่า การประหารกิเลส ไปจากใจนั้นเอง(ความเกียจคร้านเป็นกิเลสมารตัวโตแต่มันไม่ได้ชื่อว่ากิเลส มาร มันชื่อว่า ความขี้เกียจ เพื่อเอาไปหลอกคนตาบอด)

ผลก็คือ เมื่อขจัดมารขี้เกียจไปได้เกลี้ยงแล้ว ดวงใจเรามีเหลืออยู่แต่สิ่งเดียวกันเท่านั้น คือ ความขยัน พากเพียร  ที่มีแต่สร้างอุปนิสัยความขยัน พากเพียร ให้ต่อไปอย่างไม่ท้อถอยลงเลย แล้วในที่สุด เมื่อสังหารสิ่งที่เรียกว่าความขี้เกียจไปหมดจากหัวใจไปแล้ว ก็จักกลายเป็นคนใจใหม่ ที่ไม่มีความขี้เกียจเลยแม้แต่น้อย ในดวงจิตมีแต่ความขยันขันแข็งอย่างเดียว  นั่นแหละ อริยะบุคคลละ 

และในทางโลก เมื่อมีแต่ความขยัน หมั่นเพียรแบบไม่มีเงื่อนไขเลย ก็ย่อมได้ผลงาน การอาชีพที่ย่อมเพิ่มพูนไป ได้ดีที่สุดและย่อมสร้างผลงาน กำไรผลประโยชน์ ไปสู่ความมั่งคั่ง สมบูรณ์ร่ำรวยได้ และเมื่อทำแต่การงานอาชีพที่ดี ที่ถูกกฎหมาย ถูกวัฒนธรรม(เป็นอาชีพชอบหรือสัมมาอาชีโว)  ย่อมนำไปสู่ความสำเร็จทุกอย่าง และเมื่อดวงใจเหลืออยู่แต่เพียงความขยัน  ก็เท่ากับการซักฟอกจิตใจให้สะอาด ขัดเกลาความสกปรกไปหมดสิ้นแล้ว นั่นเอง  และนั่นแหละ มรรคผลนิพพานละ

อีกนัยยะหนึ่ง  ในขณะเดียวกัน  จิตใจที่มีแต่ความขยัน   ประหาร ขัดล้าง ขัดถู ให้ความขี้เกียจไปหมดสิ้น  เมื่อหันเข้าหาการปฏิบัติธรรม  สู่เรื่องมรรคผลนิพพานโดยเฉพาะ ก็ย่อมพลันสำเร็จได้โดยง่ายดาย ไวต่อการบรรลุมรรคผลนิพพานได้ทันที  โดยเป็นผลบังเกิดขึ้นเองจากการไล่ล้างความขี้เกียจสำเร็จลง  มิต่างอะไรจากการปฏิบัติธรรมของพวกพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน หรือพระธุดงค์  ที่แบกกลดเข้าป่าแสวงหาความวิเวกเลย  หากแต่นี่เป็นความสำเร็จพร้อมกันทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมพร้อมกันได้เลย ที่เหมาะสำหรับคนยุคใหม่โดยแท้จริง  เหมาะกับคนทุกชนชั้น ทุกระดับการศึกษา ทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว

3.

นี่คือการวิเคราะห์ด้วยปัญญาที่เล็งเห็นบทบาทของมาร, หรือ กิเลส, ตัณหา, อุปาทาน,   ว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับคำว่า ความขี้เกียจ หรือความเกียจคร้าน ที่ไม่กระตือรือร้น   และเราจะพิศูจน์ได้เมื่อได้ขับไล่ล้างความขี้เกียจไปหมดสิ้นจากดวงใจ มีแต่ความขยันขันแข็งอยู่อย่างเดียว ซึ่งนั่นคือความสำเร็จในการงานอาชีพเรา ถึงความร่ำรวย ถึงสถานะเศรษฐกิจ ที่มั่นคง พร้อมกันกับผลดีทางธรรมะเป็นขณะเดียวกันกับการบรรลุมรรคผลนิพพานนั้นเอง

เพราะฉะนั้น คำว่าสัมมา หรือ ชอบ  ในที่นี้ก็ตรงกับบทบาทการกระทำที่เรียกว่า ความขยัน นั่นเอง

จงเอาไปปฏิบัติเถิด  เริ่มสอนกันเถิด สอนนักเรียนลูกศิษย์ของท่าน  ให้เข้าใจ เห็นความจริงว่า ความขี้เกียจนี่แหละเป็นกิเลส  เป็นตัณหา เป็นอุปาทานประจำตัวตนตัวคนมาช้านานแล้ว  และความขยัน หรือ (สัมมาวายาโม) ความเพียรชอบนี้ ย่อมเป็นตัวอุดมการณ์หลักของการปฏิบัติมรรค 8 โดยแท้ทุกประการ  

เพียงจิตวิเคราะห์ด้วยเหตุและผลก็จะได้พบเองว่า  การขาดความขยันไป มีแต่ความขี้เกียจนั้น เท่ากับการพ่ายแพ้กิเลส ตัณหา อุปาทานไปแล้ว ก็จะสามารถบรรลุธรรม มรรคผลนิพพาน ได้อย่างไร

ประเด็นสัมมาวายาโม(ความเพียร ความพากเพียรชอบ)จึงเป็น ธรรมะข้อสำคัญที่นำไปสู่การละ การขจัดทิ้งความไม่เหลือแห่งทุกข์ที่เหมาะกับโลกยุคใหม่  คนยุคใหม่ ที่สามารถปฏิบัติธรรมไปพร้อมการงานอาชีพของตน ในบ้าน  ในสถานที่ทำงาน  ระบบการงานอาชีพของเราเอง แต่ละคนแต่ละอาชีพ แม้บนเวทีการบันเทิงสุดๆ แห่งกามตัณหาก็ตาม  ที่ให้ได้ทั้งโลกียทรัพย์  และอริยทรัพย์ไปพร้อมกันเลยทีเดียว . เมื่อบรรลุความร่ำรวย พร้อมกับการบรรลุดวงจิตที่สะอาดผ่องแผ้วไร้กิเลศ มารความขี้เกียจอยู่อีกเลยแม้ละอองฝุ่นเล็กน้อย  นั่นคือ การบรรลุมรรคผลนิพพานทันที 

ฉะนั้น อย่ามัวรอช้าเลย  จงลุกขึ้นเลี้ยงความขยันขันแข็ง  ไล่ล่าสังหารความขี้เกียจให้หมดสิ้นไปจากดวงใจ  ไม่นาน  ก็จะได้พบดวงจิตอันเข้มแข็งสุดสะอาด และสว่างนุ่มนวลขึ้นมาแทน นั่นเอง (สัมมาวายาโม) ความเพียรชอบ  นำมาแล้วซึ่งการละเสียซึ่งเหตุแห่งทุกข์ทุกประการ แล้วได้ดวงใจใหม่ที่สุดแสนประเสริฐล้ำเลิศเข้ามาแทนทันที นั่นแหละมรรคผลนิพพานละ.

-----

นี่คือมรรค 8 ที่โลกต้องการ  หากแต่ทุกวันนี้ คนทั้งหลาย แม้พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีหน้าที่ฝ่าโลกสู่อริยธรรม  ก็ยังหาเข้าใจวิถีทางแห่งมรรค 8 ไม่  แล้ว จะบรรลุถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์ได้อย่างไร   มีแต่จะพาหลงไปในกิเลส ตัณหาไปเรื่อยๆ และมีความสุขอยู่กับความเป็นทาสตัณหา ต่อไปในอนันตกาลนั่นเอง

คิดวิจัยชีวิตดูเถิด  ไม่มีสัมมาทิฏฐิ  มีแต่มิจฉาทิฏฐิ, ไม่มีสัมมาสังกัปโป  มีแต่มิจฉาสังกัปโป, ไม่มีสัมมาวาจา มีแต่มิจฉาวาจา, ไม่มีสัมมาอาชีโว มีแต่มิจฉาอาชีโว,ไม่มีสัมมากัมมันโต มีแต่มิจฉากัมมันโต, ไม่มีสัมมาวายาโม มีแต่มิจฉาวายาโม, ไม่มีสัมมาสติมีแต่มิจฉาสติ, ไม่มีสัมมาสมาธิ มีแต่มิจฉาสมาธิ มันก็เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ  แบบที่คนโง่กลับคิดว่าเจริญก็มี  เช่นสภาวะขณะนี้ของโลกยุคใหม่ ผู้ใดรู้จริง จึงย่อมทนอยู่ไม่ได้.    

นี่คือแนวทางธรรมปฏิบัติยุคโลกใหม่   ยุคโลกกึ่งพุทธกาล   ยุคเสรีชน  และ เสรีภาพ 

ไปสู่จุดสูงสุดคือ เสรีชนพ้นจากความเป็นทาสของกิเลส ตัณหาอุปาทาน    เสรีภาพ ที่พ้นจากทาสตัณหาทั้งหลายได้  นั้นเอง

·         อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 10 ทุกขะนิโรธะคามินีปฏิปะทา(มรรค 8) ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรคของคนยุคกึ่งพุทธกาล ไทย

-----*****-----

-----*****-----   

-----*****-----

·       แฟ้ม: อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 รวมพิมพ์โรพิเศษ

-----*****-----

  




55.Macedonian มาซิโดเนีย

1..วาทะที่ 1..Wuhan virus, 1.. Зборови 1.. Вухан вирус Како светот ќе г
3..วาทะที่ 3.14 วันสันโดษ.3.. Збор 3.. Целиот свет мора да го избегнувk
41..วาทะที่ 41.. สคส.2564 43 ภาษาโลก Испраќање среќа 2021 година, говор 41.. SorKhorSor. 2021 г
61. วาทะที่ 61สัญญาณแห่งสันติธรรมโลกยุคใหม่
62..ยอดสุภาษิตโลก (63ภาษา) world proverb(63 languages)
69..วันสำคัญของมวลมนุษย์ทั้งโลก รอบ 16 ก.พ. 2565Ден на Маха Буча, важен ден за целот
70..แด่สงครามรัสเซีย-ยูเครน До Руско-украинската војна
75..อริยสัจธรรมข้อที่ 1 ทุกข์ 75..Првата благородна вистина: страдање
76..อริยสัจธรรมข้อที่ 2 สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ Втората благородна вистина на стр
77..อริยสัจธรรมข้อที่ 3 ทุกขนิโรธ Третата благородна вистина: Дука Нир
79.. The 4 Noble Truths, 4 manuscripts for translations of 64 world languages, complete the 4 Truths, Samutaib, Nirodha, the Path. 79..อริยสัจธรรม 4 ต้นฉบับ สำหรับการแปล 64 ภาษาโลก ครบ 4 สัจจะทุกข สมุทัยบ นิโรธ มรรค
90 อริยสัจ ๔ Please translate to your language by Google translate
91 คำชี้ทางปฏิบัติ สังหารกามกิเลสลงได้จริง Please translate to your language
93 Тајландските муслимани не ги разбираат и&#
99..อริยสัจธรรมแห่งชีวิต บทที่ 1 2 3 4 5 Please translateto your language by Google translate
100..Што учи будизмот? Ова е одлична вест. Нека с&
101..การเมือง เสนอให้คิด คนไทยไปสู่ประชาธิปไตยจริง ๆ ชุดที่1-5 18 เรื่องต้นฉบับไทยสมบูรณ์
102..Please translate NWE ต้นฉบับ ยอดสุภาษิต เดือนกันยายน 2565 50บท ภาษา ไทย-อังกฤษ
103 Please translate Phayap Panyatharo ประวัติชีวิตนักปฏิบัติธรรมทั้งชีวิต พระพยับ ปัญญาธโร (เล่าเอง) ตอนที่ 1-2 ไทย 48 บท
104.pleasetranslate รวมยอดสุภาษิต ถ่ายทอดไป 138ภาษาโลก ครอบพลเมือง 7.6 พันล้านคน
105 please translate รวมยอดสุภาษิตวรรคสั้น 210 บทต้นฉบับ ถ่ายทอดไป 138 ภาษาโลกครอบ 8พันล้านประชากรทั้งโลก
106 please translate ปัญหาของพระพุทธศาสนาแก้ไขได้ง่ายทั้งระบบสงฆ์แล้วนั้นหมายถึงสว่างรุ่งเรืองไปทั้งโลกยุคนี้
107. ส.ค.ส.(ส่งความสุขปีใหม่) 2566 แด่พลโลก 8พันล้านชีวิต
108.Please translate อิสลาม-พุทธศาสนา รายวัน 21 ธ.ค.2565 สมาธิ3ระดับสุดยอดมหานิพพาน
109. Please translate รายงานการวิจัยความคิดเห็นของคนไทยต่อปัญหาเดินขบวนในกรุงเตหะราน อิหร่าน
110.please translate พุทธศาสนารายวัน 26 ต.ค.65-5 ม.ค.66(21ตอน)ปัญหาพุทธศาสนาวันนี้แรงร้ายแต่แก้ไขได้ด้วยพุทธิปัญญา ไทย
111.please translate พุทธศาสนารายวัน 26 ต.ค.65-5 ม.ค.66(21 ตอน ๆ ที่21) กลับมาทำหน้าที่เถิด
111.please translate การเมืองโลก ประชาธิปไตยอเมริกาจากธัมมจักกัปปวัตนสูตร สู่กาลามสูตร ต้นฉบับ 138 ภาษาโลก
112 please translate พุทธศาสนาวันนี้ รำลึกวันอาสาฬหบูชา วันพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
120 แด่เพื่อน 2567
121 เรื่องราวของชีวิต ตอนที่ 1+2+3+4 ต้นฉบับไทย
122.การเมืองไทยวันนี้ 22สค.2566 ทักษิณกลับไทยแบบมหาเศรษฐีต้องโทษอาญาแผ่นดินเข้าคุกทันที8ปีทบทวน11กพ.2567
123 โหราศาสตร์ชี้ชะตาสงครามรัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-ฮามาส
124 โหราศาสตร์ ดาว6ดวงเคลื่อนมารวมกัน ใน7เม.ย.2567 อะไรจะเกิดขึ้นแก่ประเทศไทย
125 พุทธศาสนา โอวาทปาฏิโมกข์ วันมาฆะบูชาของชาวพุทธไทยและชาวพุทธทั้งโลก
126 การเมืองไทยวันนี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ พิธา-ก้าวไกลคิดล้มล้างการปกครอง ไม่ผิดหรอก
127 การเมืองไทยคัวอย่างที่น่าอัยอาย อำนาจตุลาการสูงสุดถูกแทรกแซงก้าวก่ายลดน้อยด้อยค่ามาตลอดจากอำนาจยริหารแม้หน่วยงานกระจิบกระจ้อยต้อยต่ำแค่กรมราชทัณฑ์ยังทำได้
128 เรื่องราวของชีวิต ตอนที่ 5
129 พุทธศาสนารายวัน 9 มี.ค.2566 มรรค 8 เพื่อบรรลุอริยบุคคลอรหันต์
130 การเมืองไทยวันนี้ 11 มี.ค. 2567 ศึกษาการเมืองไทย ประชาธิปไตยไม่เหมาะแก่การเมืองสัตว์ป่า จ่าฝูงเผด็จการทุกชนิด ประชาชนไทยต้องตื่นทำหน้าที่แล้วดูนายพลยอร์จ วอชิงตัน ผู้รู้ธรรมะประชาธิปไตยโลก
131 พุทธศาสนา สมาธิสูงสุดปราณ และ 9 เทกนิคการฝึกสมาธิของแพทย์ประสานกัน
132 การเมืองไทยวันนี้ยังเละเทะสับสนด้วยยุคซ็อฟท์เพาเวอร์ และพลังสงครามจิตวิทยา อันซ่อนเร้นเกินความรู้สึกอันเกี่ยวกับการเมืองอันตรายทั้งสิ้น
133. รวมเรื่องร้ายกาจรายวันในโลกยุคนี้ 4 เรื่อง
134 การเมืืองไทยวันนี้ 30 มี.ค.2567 บอกความคิดอ่านยังด้อยพัฒนาเป็นการเมืองต่ำต้อยด้อยพัฒนาจริง ๆ
135. การเมืองไทยในรัฐสภาวันนี้ 28 มี.ค. 2567 รับเรื่องบ่อนการพนันครบวงจรถูกกฎหมาย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์ สื่อของเราทั้งหมดนี้ ได้กลายเป็นแดนสนุกน่าท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกกว่า 8 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน 8 พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น.