การธุดงค์ของพระ นั้นแท้จริง มุ่งให้ฝึก ในเรื่อง การกิน กินอย่างพอเพียงพออิ่ม กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน รู้ระงับกิเลสความหิวโหย เวลาธุดงค์ก็มีความดีเรื่อง การแต่งตัว ผ้าสามผืนก็พอ พอผลัดเปลี่ยนใช้ได้ ไม่ฟุ้งเฟ้อ การนอน ที่อยู่อาศัย พอใจในที่อยู่อาศัย แม้ถ้ำ ป่า เขา ก็จัดการให้พอดีพอเพียงได้ ที่พอแก่ลมร้อนลมเย็น ลมหนาว และยารักษาโรคให้รู้จักหาเอาจากต้นไม้ในป่า เมื่อมีการธุดงค์ พระจะได้รับการฝึกอย่างหนักใน 4 อย่างที่กล่าวนี้(อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) เพราะในการเดินทางนั้น จะเลือกไม่ได้ จะมีโอกาสฝึกอย่างหนักยิ่งกว่าการอยู่วัดเฉย ๆ เป็นการฝึกความอดทน ฝึกจิตในการต่อสู้กับความทุกข์ยากลำบาก 4 อย่างดังกล่าว นั่นเอง สำหรับฆราวาสก็เหมือนกัน หากคิดในเรื่องการธุดงค์ ก็คิดในเรื่อง การกิน เรื่องอาหารการกินให้พอเพียง พอดี พออยู่ เรื่องเครื่องแต่งตัว ก็อย่าให้เกินไป ให้พอดี พอแก่การงานอาชีพของเรา การพักอาศัยหรือ บ้านช่องที่อยู่อาศัย ก็ให้พอดี พอแก่การงานอาชีพของเรา หรือยารักษาโรค ก็เข้าใจเรื่องการอนามัย ....สำหรับฆราวาสชาติไทยนั้น นับว่าโชคดี ที่มีแบบแผนอย่างดีสำหรังการปฏิบัติธรรมะธุดงค์ที่ว่า นั้นก็คือ งานการอาชีพนั้น ทำไปแบบเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง นั้นแหละการธุดงค์ของฝ่ายฆราวาสเลยทีเดียว ตั้งใจปฏิบัติไปอย่างสม่ำเสมอ ก็ไปสู่นิสัยธรรมะและเข้าเส้นทางธรรมะสายมรรคผลนิพพานได้
-
ถูกใจ
- ·
ตอบกลับ
- · 3 วัน