ReadyPlanet.com
dot dot
bulletBUDDHISM to the NEW WORLD ERA
bullet1.Thai-ไทย
bullet2.English-อังกฤษ
bullet3.China-จีน
bullet4.Hindi-อินเดีย
bullet5.Russia-รัสเซีย
bullet6.Arab-อาหรับ
bullet7.Indonesia-อินโดนีเซีย
bullet8.Japan-ญี่ปุ่น
bullet9.Italy-อิตาลี
bullet10.France-ฝรั่งเศส
bullet11.Germany-เยอรมัน
bullet12.Africa-อาฟริกา
bullet13.Azerbaijan-อาเซอร์ไบจัน
bullet14.Bosnian-บอสเนีย
bullet15.Cambodia-เขมร
bullet16.Finland-ฟินแลนด์
bullet17.Greek-กรีก
bullet18.Hebrew-ฮีบรู
bullet19.Hungary-ฮังการี
bullet20.Iceland-ไอซ์แลนด์
bullet21.Ireland-ไอร์แลนด์
bullet22.Java-ชวา
bullet23.Korea-เกาหลี
bullet24.Latin-ละติน
bullet25.Loa-ลาว
bullet26.Luxemberg-ลักเซมเบิร์ก
bullet27.Malaysia-มาเลย์
bullet28.Mongolia-มองโกเลีย
bullet29.Nepal-เนปาล
bullet30.Norway-นอรเวย์
bullet31.persian-เปอร์เซีย
bullet32.โปแลนด์-Poland
bullet33.Portugal- โปตุเกตุ
bullet34.Romania-โรมาเนีย
bullet35.Serbian-เซอร์เบีย
bullet36.Spain-สเปน
bullet37.Srilanga-สิงหล,ศรีลังกา
bullet38.Sweden-สวีเดน
bullet39.Tamil-ทมิฬ
bullet40.Turkey-ตุรกี
bullet41.Ukrain-ยูเครน
bullet42.Uzbekistan-อุสเบกิสถาน
bullet43.Vietnam-เวียดนาม
bullet44.Mynma-พม่า
bullet45.Galicia กาลิเซียน
bullet46.Kazakh คาซัค
bullet47.Kurdish เคิร์ด
bullet48. Croatian โครเอเซีย
bullet49.Czech เช็ก
bullet50.Samoa ซามัว
bullet51.Nederlands ดัตช์
bullet52 Turkmen เติร์กเมน
bullet53.PunJabi ปัญจาบ
bullet54.Hmong ม้ง
bullet55.Macedonian มาซิโดเนีย
bullet56.Malagasy มาลากาซี
bullet57.Latvian ลัตเวีย
bullet58.Lithuanian ลิทัวเนีย
bullet59.Wales เวลล์
bullet60.Sloveniana สโลวัค
bullet61.Sindhi สินธี
bullet62.Estonia เอสโทเนีย
bullet63. Hawaiian ฮาวาย
bullet64.Philippines ฟิลิปปินส์
bullet65.Gongni-กงกนี
bullet66.Guarani-กวารานี
bullet67.Kanada-กันนาดา
bullet68.Gaelic Scots-เกลิกสกอต
bullet69.Crio-คริโอ
bullet70.Corsica-คอร์สิกา
bullet71.คาตาลัน
bullet72.Kinya Rwanda-คินยารวันดา
bullet73.Kirkish-คีร์กิช
bullet74.Gujarat-คุชราด
bullet75.Quesua-เคซัว
bullet76.Kurdish Kurmansi)-เคิร์ด(กุรมันซี)
bullet77.Kosa-โคซา
bullet78.Georgia-จอร์เจีย
bullet79.Chinese(Simplified)-จีน(ตัวย่อ)
bullet80.Chicheva-ชิเชวา
bullet81.Sona-โซนา
bullet82.Tsonga-ซองกา
bullet83.Cebuano-ซีบัวโน
bullet84.Shunda-ชุนดา
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet85.Zulu-ซูลู
bullet86.Sesotho-เซโซโท
bullet87.NorthernSaizotho-ไซโซโทเหนือ
bullet88.Somali-โซมาลี
bullet89.History-ประวัติศาสตร์
bullet90.Divehi-ดิเวฮิ
bullet91.Denmark-เดนมาร์ก
bullet92.Dogry-โดกรี
bullet93.Telugu-เตลูกู
bullet94.bis-ทวิ
bullet95.Tajik-ทาจิก
bullet96.Tatar-ทาทาร์
bullet97.Tigrinya-ทีกรินยา
bullet98.check-เชค
bullet99.Mambara-มัมบารา
bullet100.Bulgaria-บัลแกเรีย
bullet101.Basque-บาสก์
bullet102.Bengal-เบงกอล
bullet103.Belarus-เบลารุส
bullet104.Pashto-พาชตู
bullet105.Fritian-ฟริเชียน
bullet106.Bhojpuri-โภชปุรี
bullet107.Manipur(Manifuri)-มณีปุระ(มณิฟูรี)
bullet108.Maltese-มัลทีส
bullet109.Marathi-มาราฐี
bullet110.Malayalum-มาลายาลัม
bullet111.Micho-มิโช
bullet112.Maori-เมารี
bullet113.Maithili-ไมถิลี
bullet114.Yidsdish-ยิดดิช
bullet115.Euroba-ยูโรบา
bullet116.Lingala-ลิงกาลา
bullet117.Lukanda-ลูกันดา
bullet118.Slovenia-สโลวีเนีย
bullet119.Swahili-สวาฮิลี
bullet120.Sanskrit-สันสกฤต
bullet121.history107-history107
bullet122.Amharic-อัมฮาริก
bullet123.Assam-อัสสัม
bullet124.Armenia-อาร์เมเนีย
bullet125.Igbo-อิกโบ
bullet126.History115-ประวัติ 115
bullet127.history117-ประวัติ117
bullet128.Ilogano-อีโลกาโน
bullet129.Eve-อีเว
bullet130.Uighur-อุยกูร์
bullet131.Uradu-อูรดู
bullet132.Esperanto-เอสเปอแรนโต
bullet133.Albania-แอลเบเนีย
bullet134.Odia(Oriya)-โอเดีย(โอริยา)
bullet135.Oromo-โอโรโม
bullet136.Omara-โอมารา
bullet137.Huasha-ฮัวซา
bullet138.Haitian Creole-เฮติครีโอล
bulletบุคคลแห่งปีของหนังสือพิมพ์ดี
bulletMystery World Report รายงานการศึกษาโลกลี้ลับ
bulletสารบาญโหราศาสตร์
bulletหลักโหราศาสตร์ว่าด้วยดวงกำเนิดและดวงฤกษ์รวมคำตอบคลี่คลายปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำนายชะตาชีวิต
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบนี้(เริ่ม ก.พ.55)
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น1
bulletประชาธิปไตยเท่านั้น 11
bulletทุกความคิดเห็นจากหน้า1(ก่อน ก.พ.55)
bulletทุกความคิดเห็นจากเวบบอร์ด(ถึงก.พ.55)
bulletภาค 11
bulletภาค 12
bullet54.Hmong ม้ง
bullet133.แอลเบเนีย
bullet133.แอลเบเนีย
bulletหน้าที่เก็บไว้




6.4..NWE 5..ธัมมจักก4..ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร สิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจจริง ๆ อยู่ตรงไหน?

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Thai-English

 

 

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
 สิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจจริง ๆ  อยู่ตรงไหน?

แด่วันอาสาฬหบูชา 24 ก.ค.2564

-----

บทต้น

ข้าพเจ้าจะขออธิบายเพิ่มเติมไปอีกสักหน่อย  เพื่อให้คลายประเด็นที่ยังเข้าใจกันไม่แจ่มแจ้งมาแต่เดิม และมาเข้าใจสิ่งที่ควรเข้าใจจริง ๆ ในพระปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร  อยู่ตรงไหน?

อยู่ที่  การตรัสรู้ของพระองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันสูงสุดที่สว่างเจิดจ้าไปจนเห็นอะไรทุกสิ่งทุกอย่างทะลุไปทั้งโลกนี้และโลกอื่นๆทั้งหลาย (ENLIGHTENMENT) จึงทรงรู้แจ้งอริยสัจ 4 คือความจริง 4 ประการเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์เราทั้งหลาย  คือ ทุกข์,  เหตุแห่งทุกข์:สมุทัย,  สภาวะความดับทุกข์: นิโรธ-นิพพาน-โลกุตตระ,  และ มรรค 8: ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ 8 ประการ และไปสู่นิโรธ:นิพพาน:โลกุตตระ

ซึ่งเรียงลำดับการตรัสรู้ตามที่พระองค์ทรงประกาศไป 12 ประการดังนี้

-----

(อริยสัจ 1. ทุกข์)

1. ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละทุกข์

2. ทรงรู้แจ้งว่า นี่แหละเรื่องทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้

3. ทรงรู้แจ้งว่า ทรงกำหนดรู้ทุกข์แล้ว:ทรงตรัสรู้อริยสัจเกี่ยวกับทุกข์แล้ว

-----

(อริยสัจ  2 สมุทัย:เหตุแห่งทุกข์)

4. ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละ สมุทัย,  เหตุของการดับทุกข์ 3 ประการ:กามตัณหา,  ภะวะตัณหา,  วิภะวะตัณหา

5.  ทรงรู้แจ้งว่า นี่แหละสมุทัย และ ควรละสมุทัยเสีย:ควรละกามตัณหา, ควรละภะวะตัณหา, ควรละวิภะวะตัณหา

6.  ทรงรู้แล้วว่า ทรงละสมุทัยแล้ว: เหตุของการดับทุกข์(ทรงละกามตัณหา,ทรงละภะวะตัณหาทรงละวิภะวะตัณหา) ได้หมดจดแล้ว

-----

(อริยสัจ  3  นิโรธ:สภาวะของความดับ,สภาวะของนิพพาน,สภาวะของโลกุตตระ)

7.  ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละ นิโรธ: สภาวะของความดับ,  สภาวะของนิพพาน,  สภาวะของโลกุตตระ

8.  ทรงรู้แจ้งว่า  นิโรธนั้นแหละ ควรทำให้รู้แจ้ง: ควรรู้แจ้งสภาวะของความดับ,ควรรู้แจ้งสภาวะของนิพพาน, ควรรู้แจ้งสภาวะของโลกุตตระ

9. ทรงรู้แจ้งแล้วเรื่องนิโรธนั้นแหละ.. ทรงทำให้รู้แจ้งเรื่องสภาวะนิโรธ:ทรงทำให้รู้แจ้งแล้วซึ่งสภาวะของความดับ,ทรงทำให้รู้แจ้งแล้วซึ่งสภาวะของนิพพาน,ทรงทำให้รู้แจ้งแล้วซึ่งสภาวะของโลกุตตระ

-----

(อริยสัจ 4 มรรค 8:หนทางดับทุกข์)

10. ทรงรู้แจ้งว่า  นี่คือหนทางดับทุกข์ 8 ประการ  หรือ มรรค 8

11.  ทรงรู้แจ้งว่า หนทางดับทุกข์ 8 ประการ:มรรค 8 นี้เป็นสิ่งที่ควรอบรม:เป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญ

12.  ทรงรู้แจ้งแล้วว่า  พระองค์ได้อบรมพระองค์เอง,พระองค์ได้ทำให้พระองค์เองเจริญ...ซึ่งหนทางดับทุกข์ 8 ประการ:มรรค 8 นี้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนหมดจดแล้ว    

-----

บทกลาง 1.

นี่คือบทสรุปเรื่อง  3 รอบ  12 อาการที่พระองค์ทรงยืนยันหากไม่ทรงรู้แจ้ง  3 รอบ 12 อาการนี้แล้ว จะไม่ทรงประกาศพระพุทธศาสนา หรือประกาศพระองค์ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นนับเป็นหลักการสำคัญสูงสุดของพระพุทธศาสนาหากมีหลักการอื่นใดขัดแย้ง หรือกล่าวผิดไปจากนี้  หลักการอื่นนั้นย่อมเป็นโมฆะไป นั้นเป็นธรรมดา

และที่เป็นประเด็นของชาวพุทธมาตลอด หากไม่เข้าใจประการใด โดยเฉพาะในประเด็นที่ 2  เรื่อง ความดับทุกข์หรือ เรื่อง สมุทัย นั้นเอง ซึ่งมาถึงเวลานี้วาระนี้แล้ว เราก็ต้องมองที่หลักการสำคัญนี้ คือหลัก 3 รอบ  12 อาการ ที่พระองค์ทรงประกาศความสำคัญสูงสุดเอาไว้  หากพระองค์ไม่ทรงรอบรู้ถึง หลัก 3 รอบ 12 อาการนี้แล้ว  จะไม่ทรงประกาศพระองค์ว่าทรงสำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระพุทธศาสนา พระรัตนตรัยก็จะไม่มีบังเกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้

และเพื่อความเข้าใจอย่างละเอียดรอบคอบไปอีก  จะขอจะขอยกเอา หลัก 3 รอบ 12 อาการ มาจากที่เคยได้แสดงแด่ท่านทั้งหลายมาคราวก่อนในเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร จักรที่ไม่มีจักรอื่นใดต้านทานได้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?

ธรรมะคืออะไร?แด่วันอาสาฬหบูชา 24 ก.ค.2564   และจะขอเพิ่มเติมเสริมความเข้าใจใหม่ ซึ่งเป็นข้อสรุปสั้นลงไปอีกของ 3 รอบ   12 อาการ  นี้เข้าไปเพื่อให้ได้พิจารณาอย่างรอบคอบจนเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งต่อไปอีกดังนี้  โดยจะเพิ่มบทสรุป นี้ลงไปในบทที่แล้วซึ่งจะได้ขยายทำความเข้าใจง่ายไปอีก ดังนี้

-----

บทกลาง 2.

ข้อความที่ยกมาบวกกับบทสรุปเพิ่มเติมที่เสริมต่อ

(ข้อความที่ยกมา) 1. ทุกข์

(ข้อความที่ยกมา) 1.1 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)  จึงทรงรู้แจ้งว่านี้เป็นทุกข์อริยสัจ (คือทรงรู้ว่านี่คือความจริงล้ำเลิศเรื่องทุกข์ของชีวิตและสรรพสิ่ง) (….นี่คือการรู้ในลักษณะ สมมติฐาน  หรือ เชิง  ปริยัติ  นั้นเอง ซึ่งบอกไปถึงภาวะที่ยังมีความสงสัยไม่ชัดเจนหมดจดอยู่)
(บทสรุปเพิ่มเติม : 1.)  ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละทุกข์

(ข้อความที่ยกมา)1.2 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)  จึงทรงรู้แจ้งว่าอริยสัจคือทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ (คือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้แจ้งเห็นจริงอย่างละเอียดชัดเจนทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องและทุกขั้นตอนที่กำหนดรู้ แบบหมดความสงสัยไปทั้งสิ้น) (นี้เป็นระดับปริยัติแห่งการปฏิบัติ ที่จะทรงปฏิบัติเพื่อการทดสอบให้รู้แจ้งเหตุและผล เป็นเชิง  ปฏิบัติ ทดสอบสมมติฐาน นั้นเอง)

(บทสรุปเพิ่มเติม 2.)ทรงรู้แจ้งว่า เรื่องทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ นี่แหละ

(ข้อความที่ยกมา)1.3  ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)   ทรงได้กำหนดรู้อริยสัจคือทุกข์นั้นแล้ว (ทรงรู้แจ้งเห็นจริงอย่างละเอียดชัดเจนทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องและทุกขั้นตอนที่กำหนดรู้ แบบหมดความสงสัยไปทั้งสิ้น) (นี่แหละ ปฏิเวธธรรมได้บังเกิด ให้เห็นจริงจริง ขึ้นแล้วคือ ทรงได้พบ ได้เห็น ได้กำหนดรู้ทุกขอริยสัจนั้นแล้วอย่างปราศจากความสงสัย  นี่จึงเรียกว่าระดับปฏิเวธธรรม)

 (บทสรุปเพิ่มเติม 3.) ทรงรู้แจ้งว่า ทรงกำหนดรู้ทุกข์แล้ว: ทรงตรัสรู้อริยสัจเกี่ยวกับทุกข์แล้ว

(ข้อความที่ยกมา) 2. สมุทัย(ทุกข์สมุทัย)

(ข้อความที่ยกมา) 2.1  ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงรู้อริยสัจคือทุกข์สมุทัย  เหตุแห่งทุกข์(คือทรงรู้ว่านี่คือความจริงล้ำเลิศเรื่องเหตุแห่งทุกข์ของชีวิตและสรรพสิ่ง) (ระดับปริยัติ  รู้แบบเป็นเชิงสมมติฐานอยู่แต่ยังไม่หมดความสงสัย ยังไม่ชัดเจนหมดจด)

(บทสรุปเพิ่มเติม 4.)  ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละ สมุทัย  เหตุของการดับทุกข์ 3 ประการ:กามตัณหา  ภะวะตัณหา  วิภะวะตัณหา

(ข้อความที่ยกมา) 2.2  ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงรู้ว่าอริยสัจทุกข์สมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ ควรตัดขาดไปให้ได้ (คือทรงรู้ว่านี่คือความจริงล้ำเลิศเรื่องทุกข์ของชีวิตและสรรพสิ่งแบบหมดความสงสัยไปทั้งสิ้นว่า จะต้องละเลิกตัดขาดไปไม่ปฏิบัติเหตุแห่งทุกข์นี้ให้ได้)(เป็นความรู้เชิงปฏิบัติ เพื่อพิศูจน์สมมติฐานนั้น )

 (บทสรุปเพิ่มเติม 5.)  ทรงรู้แจ้งว่า นี่แหละสมุทัย และ ควรละสมุทัยเสีย:ควรละกามตัณหา, ควรละภะวะตัณหา, ควรละวิภะวะตัณหาให้เสร็จเด็ดขาด

(ข้อความที่ยกมา) 2.3  ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงได้ละอริยสัจทุกข์สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว(คือทรงละเลิกไม่กระทำหรือตัดขาดไปจาก กามตัณหา  ภะวะตัณหา และ วิภะวะตัณหา สิ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ไปได้เรียบร้อยหมดจดแล้ว) (ปฏิเวธธรรมแห่ง  สมุทัย  คือ ทรงตัดขาด  ชำระล้าง  ขจัดไปทั้งสิ้นแห่งกิเลส ตัณหา  อุปาทาน  หรือที่ตรงเลยแบบเหตุ และ ผล ก็คือตัณหาทั้ง 3  กามตัณหา ภะวะตัณหา  และวิภะวะตัณหา ทรงขจัดไปได้หมดสิ้นแล้ว จิตใจของพระองค์สะอาดหมดจด ปราศจากสิ่งมัวหมอง สกปรกแม้เท่าธุลีดิน)

(บทสรุปเพิ่มเติม  6.) ทรงรู้แล้วว่า ทรงละสมุทัย: เหตุของการดับทุกข์,(ทรงละละกามตัณหา,ทรงละภะวะตัณหาทรงละวิภะวะตัณหา) ได้สะอาดหมดจดแล้ว

(ข้อความที่ยกมา) 3. นิโรธ(ทุกขนิโรธ)

(ข้อความที่ยกมา) 3.1 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงรู้แจ้งอริยสัจนิโรธ อริยสัจที่เป็นความดับทุกข์ (ทรงรู้แจ้งสภาวะของ นิพพาน ทรงรู้แจ้งเรื่องความหลุดพ้น  ทรงรู้แจ้งเรื่องความสุขอันเป็นอมตะ  ทรงรู้แจ้งเรื่องวัฏฏะสงสารการตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายวนไปมานับอนันตกาลเช่นนี้  ซึ่งยังคงเป็นระดับ สมมติฐานอยู่)

(บทสรุปเพิ่มเติม 7.)  ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละ นิโรธ: สภาวะของความดับ,  สภาวะของนิพพาน,  สภาวะของโลกุตตระ อันเป็นสภาวะของความพ้นทุกข์มีแต่ความสุขอมตะนิรันดร

(ข้อความที่ยกมา) 3.2 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงรู้แจ้งอริยสัจคือทุกข์นิโรธ ว่าเป็นธรรมที่ควรรู้แจ้ง (ตรัสว่า เป็นธรรมที่ควรรู้แจ้ง   คำว่า  ควร  นั้นเป็นระดับที่ยังไม่สิ้นสงสัย  ต้องเอาไปพิศูจน์ ทดลองก่อน จึงยังเป็นระดับ  ปฏิบัติธรรม  เพื่อ พิศูจน์ ทดลอง สมมติฐานอยู่)

 (บทสรุปเพิ่มเติม  8.)  ทรงรู้แจ้งว่า  นิโรธนั้นแหละ ควรทำให้รู้แจ้ง: ควรรู้แจ้งสภาวะของความดับ,ควรรู้แจ้งสภาวะของนิพพาน, ควรรู้แจ้งสภาวะของโลกุตตระ : สภาวะของความดับ,  สภาวะของนิพพาน,  สภาวะของโลกุตตระ อันเป็นสภาวะของความพ้นทุกข์มีแต่ความสุขอมตะนิรันดร

(ข้อความที่ยกมา) 3.3 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)   จึงทรงรู้แจ้งอริยสัจคือทุกข์นิโรธ: ทรงตรัสว่า เราได้รู้แจ้งอริยสัจคือทุกขนิโรธนั้นแล้ว  (....ระดับปฏิเวธ ดังที่ทรงประกาศว่า ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว  ว่าการพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก  นั้นเอง)

(บทสรุปเพิ่มเติม 9.) ทรงรู้แจ้งแล้วเรื่องนิโรธนั้นแหละ,.ทรงทำให้รู้แจ้งเรื่องนิโรธแล้ว:

ทรงทำให้รู้แจ้งแล้วซึ่งสภาวะของความดับ,

ทรงทำให้รู้แจ้งแล้วซึ่งสภาวะของนิพพาน,

ทรงทำให้รู้แจ้งแล้วซึ่งสภาวะของโลกุตตระ

สภาวะของความดับ,  สภาวะของนิพพาน,  สภาวะของโลกุตตระ อันเป็นสภาวะของความพ้นทุกข์มีแต่ความสุขอมตะนิรันดร

(ข้อความที่ยกมา) 4. มรรค(อริยมรรค) ความดับทุกข์

(ข้อความที่ยกมา) 4.1 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)   จึงทรงรู้แจ้งอริยสัจอริยมรรคที่เป็นความดับทุกข์…(ทรงรู้ในเชิง ปริยัติธรรม)

(บทสรุปเพิ่มเติม 10.) ทรงรู้แจ้งว่า  นี่คือหนทางดับทุกข์ 8 ประการ  หรือ มรรค 8

(ข้อความที่ยกมา) 4.2 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงรู้แจ้งว่าอริยสัจอริยมรรคเป็นธรรมที่ควรอบรม..(ทรงรู้ในเชิงปฏิบัติ ว่าจะต้องมีการอบรมตนเอง ตามสิ่งที่ตนรู้มาแล้วนั้น  ซึ่งก็ทรงปฏิบัติมาตลอดชีวิตพระองค์แม้ตั้งแต่เป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมารอยู่แล้ว)

(บทสรุปเพิ่มเติม11.)  ทรงรู้แจ้งว่า หนทางดับทุกข์ 8 ประการ:มรรค 8 นี้เป็นสิ่งที่ควรอบรม:เป็นสิ่งที่ควรทำให้เจริญ

(ข้อความที่ยกมา) 4.3 ทรงบำเพ็ญบารมีจนบังเกิด จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่าง (จักขุง อุทะปาทิ,ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญาอุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,อาโลโก อุทะปาทิ)    จึงทรงได้อบรมอริยสัจที่เป็นทางดับทุกข์นี้เต็มสมบูรณ์แล้ว….ทรงระดับปฏิเวธธรรมสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้า เป็นการรู้แจ้งครบถ้วนสมบูรณ์เด็ดขาดเป็นปฏิเวธธรรมสมบูรณ์ ลงที่เรื่อง มรรค 8 นี้เอง  จึงทรงเริ่มประกาศทางสายกลางและทางสายกลางคือ มรรค8)

(บทสรุปเพิ่มเติม  12.)  ทรงรู้แจ้งแล้วว่า  ตนเองได้อบรมตนเอง,ตนเองได้ทำให้ตนเองเจริญ....ซึ่งหนทางดับทุกข์ 8 ประการ:มรรค 8 นี้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนหมดจดแล้ว    

บทกลาง 3.

ความเข้าใจที่สับสน
มาสู่ประเด็นสำคัญ 2ประการที่จะทำให้ลดความสับสน ในการทำความเข้าใจธรรมะระดับสูงสุดนี้

[1.]  พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแด่มนุษย์ ด้วยภาษามนุษย์  แสดงแด่คน 5 คนก่อนที่สุดแล้วค่อยเพิ่มไปเป็นร้อย  พัน ล้านคน ในโลกมนุษย์ มาจนถึงมนุษย์ยุคปัจจุบันนี้   และเราต้องเข้าใจเลยว่า  คำว่าขันธ์5นั้น เป็นส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของ ความเป็นมนุษย์-ความเป็นคน  เขียนเป็นสมการได้ว่า   คนที่มีชีวิตคนหนึ่ง = รูป(ร่างกาย)+เวทนา + สัญญา+สังขาร+วิญญาณ

และนำไปสู่ความเข้าใจของคนทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งว่า 

รูป = กาย,

นามธรรม: เวทนา+สัญญา+สังขาร+วิญญาณ = จิต,

เอาว่าความเข้าใจเรื่องคน  เราจะเข้าใจได้ว่าประกอบด้วยภาคภายนอก คือกาย,  และภาคภายในคือ จิต,   กายกับจิต หรือ ฝรั่งรู้ไปทั่วแล้วว่าเรื่อง BODY and MIND กายกับ จิต นั่นเอง,  เพราะการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์  นับจากนี้ไป จะพยายามพูดถึงเรื่องกายกับจิตเป็นหลัก จะไม่ค่อยสอนเรื่อง เวทนา  สัญญาณ  สังขาร  และวิญญาณ เลย  แต่เราจะต้องเข้าใจว่าเป็น รูปธรรม+นามธรรมทั้ง 4 นั้น เช่นทรงสอนพระโอวาทปาฏิโมกข์ หลังจากนี้ไป 8 เดือน  ทรงสอนพระอรหันต์1,250 องค์ ให้เข้าใจนามธรรมนี้ ซึ่งการสอนพระอรหันต์ทั้ง 1,250 องค์นี้เอง โดยบอกการเผยแผ่เรื่องจิต จะเข้าใจง่ายกว่านามธรรมทั้ง 4  ดังในปาฏิโมกข์นี้ มี 2 บท ที่ว่า  สะจิตตะปริโยธะปะนัง   การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,  และอีกบทหนึ่งที่สำคัญคือ  อะธิจิตเต จะอาโยโค  ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,  โปรดดูโอวาทะปาฏิโมกข์ที่ทรงสอนพระอรหันต์1,250องค์ใน8เดือนต่อมา พร้อมคำแปล(ตามบทสวดมนต์ประจำของสำนักใดหนึ่ง)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง     การไม่ทำบาปทั้งปวง,

กุสะลัสสูปะสัมปทา   การทำกุศลให้ถึงพร้อม,  

สะจิตตะปริโยทะปะนัง    การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,   

เอตัง พุทธานะสาสะนัง   ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,  

ขันตี  ปะระมัง  ตะโป  ตีติกขา  ขันติคือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง, 

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ  พุทธา   ผู้รู้หลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง, 

นะ  หิ  ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี    ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,  

สะมะโน  โหติ  ปะรัง  วิเหฐะยันโต    ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย, 

อะนูปะวาโท  อะนูปะฆาโต    การไม่พูดร้ายการไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข  จะ  สังวะโร    การสำรวมในพระปาฏิโมกข์, 

มัตตัญญุตา  จะ  ภัตตัสมิง     ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค, 

ปันตัญจะ  สะยะนาสะนัง     การนอนการนั่งในที่สงัด, 

อะธิจิตเต   จะอาโยโค   ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง, 

เอตัง   พุทธานะสาสะนัง     ธรรม 6 อย่างนี้เป็น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

-----

นอกจากนี้ ก็ทรงสอนเรื่องความสำคัญของจิต ไว้ ดังปรากฏใน  ยมกวคฺค วณฺณนา จกฺขุปาลลตฺเถระ วตฺถุ (ขุ.ธ. 25/15)  ว่า

มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา  มโนเสฏฺฐา  มโนมยา
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ,

มนสา  เจ  ปทุฏฺเฐนะ  ภาสติ  วา  กโรติ   วา
ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา,

ตโต  นํ ทุกขมเนฺวติ  จกฺกํว  วหโต  ปทนฺติ 
นั้นดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ ฉะนั้น

-----

และเรื่องการฝึกจิต(จิตตัสสะ ทะมะโถ  สาธุ)  นับเป็นความดีของคนทั้งหลาย ขาดไม่ได้เลยทีเดียว และที่สำคัญที่ควรรู้ก็คือเรื่องใจนี้เอง   ใจ เป็นที่สำหรับการปฏิบัติเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานโดยตรง มรรคผลนิพพานเกิดขึ้นที่ใจ อรหัตผลเกิดขึ้นที่ใจ

บทกลาง 3

นี่คือที่เข้าใจในชาวพุทธทั้งหลายอยู่แล้ว เรื่อง จิตเป็นนาย  กายเป็นบ่าว  และคำสอนของพระพุทธองค์จะเริ่มแต่เรื่องจิต ไปตลอดถึงตอนจบ  คือ เริ่มรู้จักพระพุทธธรรม ไป จนสำเร็จอรหันต์ ก็ด้วยเรื่องจิตนี้  ฉะนั้น   ในประเด็นที่สับสนในเรื่อง นามธรรมทั้ง 4  เวทนา  สัญญา สังขาร  วิญญาณ จึงเอาคำว่า  จิต แทนไปได้   และรวมเรียกว่า  กาย กับ ใจ  คือ  คนๆหนึ่ง  คน ๆ หนึ่งต้องมีกายกับจิตเสมอไป

ฉะนั้น  ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  และ ในอนัตตลักขณสูตร  ความหมายที่ว่า ขันธ์ 5 นี้ ในด้านนามธรรม สามารถเอาคำว่า  จิตใจ  ไปแทน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้  และ รู้จักขันธ์ 5 ในแบบ  กาย กับ จิต  เป็นคน ๆ หนึ่งในลักษณะ จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว   ก็จะทำให้ไม่สับสนและเรียนรู้ธรรมในเชิงการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ หรือแบบมองเหตุ มองผล ง่ายขึ้น

[2.]  ในเรื่องทุกข์ และ เหตุของทุกข์ ตามธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น  มีกล่าวถึง 2บทที่จะขออธิบายพอให้ทราบประเด็นสำคัญของจุดมุ่งหมายของพระสูตรนี้   คือ

(1.)  ที่ทรงตรัสในเรื่อง ทุกข์ว่า

อิทังโข ปะนะ ภิกขะเว  ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ  ชาติปิทุกขา ชะราปิ ทุกขา  มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา  อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข  ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข  ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง  สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ  

ซึ่งมีบทแปลว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้จัดเป็นอริยสัจจ คือทุกข์ ได้แก่ความเกิดจัดเป็นทุกข์ ความแก่จัดเป็นทุกข์ ความตายจัดเป็นทุกข์  ความเศร้าโศกความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และ ความคับแค้นใจจัดเป็นทุกข์  การพบกับอารมณ์ที่ไม่ชอบจัดเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากอารมณ์ที่ชอบจัดเป็นทุกข์  (การปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็จัดเป็นทุกข์  กล่าวโดยสรุปรวบยอด อุปาทานขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จิตคนเราเข้าไปยึดมั่น จัดเป็นทุกข์

ซึ่งประเด็นที่ว่า... สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธาทุกขาฯ   ซึ่งมีคำแปลว่า...กล่าวโดยสรุปรวบยอด อุปาทานขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จิตคนเราเข้าไปยึดมั่น จัดเป็นทุกข์...ซึ่งเราก็ไปสำคัญว่า หากไปยึดมั่นถือมั่น  สำคัญมั่นหมายหรือมีการสำคัญผิดในขันธ์ 5 แล้ว นั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์ ..ซึ่งมาจากคำว่าอุปาทาน  ปัญจ+อุปาทาน+ขันธ์ เป็นปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา  นั้นเป็นเหตุของทุกข์  ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจตามคำว่าอุปาทาน หรือ อุปาทานํ (ตรงกับสันสกฤตว่าอุปาทาน)    ที่ปทานุกรม 4 ภาษา บาลี ไทย อังกฤษ  สันสกฤต แปลว่า  ความถือมั่น, ความเข้าไปถือเอา,ถือมั่น,  เชื้อไฟหรือฟืน,  ตัณหา, attachment, clinging to existence; firewood, fuel 

 เมื่อแปลว่าเป็นความยึดมั่นถือมั่นสำคัญผิดในเรื่องขันธ์5 ไปเองว่าเป็นทุกข์ มันจึงเป็นทุกข์  ....ซึ่งดูจะง่ายเกินไป เป็นเพียงว่าคิดเอา,คิดให้ถูกตามที่ว่านี้   ที่ว่า ไปสำคัญผิดว่ามันเป็นทุกข์  จงเลิกคิดอย่างนั้น  ก็จะพ้นทุกข์  ง่ายๆ แค่นี้เองก็สำเร็จ ซึ่งมันไม่ใช่..และไม่มีใครบรรลุจากการคิดเอาง่าย ๆ เช่นนี้..  และที่จริง ต้อมองดูตามความเป็นจริง ดูความจริงกันดีกว่า ที่ว่า แก่  เจ็บ ตาย  นั้น มันไม่ใช่อุปาทาน มันเป็นเรื่องจริงของชีวิต  ที่มันมีเช่นนี้จริงๆทุก ๆ ชีวิต เกิด แก่ เจ็บตายกันจริงๆทั้งชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืช  และทุกสรรพสิ่ง   ซึ่งการแก้ปัญหา ก็ต้องให้ตรงกับปัญหา จึงจะสำเร็จได้   และต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้องจริงๆจึงจะพ้นทุกข์  และนี่แหละที่ต้องมีการรู้ถึงเหตุของทุกข์จริง ๆ  และผลของเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์จริง ๆ   การคิดแก้ไข  ไม่ให้แก่  เจ็บและ ตาย  ต้องรู้เหตุของมันจริง ๆ   เหตุของของทุกข์ที่แท้จริง  ซึ่งเหตุของทุกข์ที่แท้จริงนั้นเป็น 1 ข้อสำคัญของ อริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ที่นับเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าล้ำเลิศประเสริฐที่พิศูจน์ทดลองได้เลยทีเดียว   ที่ทรงบอกไว้แล้ว  นั่นคือ เรื่องสมุทัย( ทุกขสมุทัย)นั้นเอง

ซึ่งสมุทัย(ทุกขสมุทัย) มันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  หมายความว่าเราได้พบแล้ว  ถ้าเราทำลายเหตุนี้ลงได้  เราก็พ้นทุกข์ สู่โลกนิพพานนั่นเอง  และเหตุนั้นก็ทรงบอกตรง ๆ เลยว่าคือ ตัณหา 3 ประการ คือ  กามตัณหา  ภะวะตัณหา  วิภะวะตัณหา  ดังจะขอยกวาทะคำสอนของพระองค์ ที่เป็นบทสรุปมาว่าในเรื่องนี้ อีกครั้ง  ดังนี้

(บทสรุปเพิ่มเติม 4.)  ทรงรู้แจ้งว่า  นี่แหละ สมุทัย  เหตุของการดับทุกข์ 3 ประการ:กามตัณหา,  ภะวะตัณหา,  วิภะวะตัณหา}

(บทสรุปเพิ่มเติม 5.)  ทรงรู้แจ้งว่า นี่แหละสมุทัย และ ควรละสมุทัยเสีย:ควรละกามตัณหา, ควรละภะวะตัณหา, ควรละวิภะวะตัณหา, ให้เสร็จเด็ดขาด

(บทสรุปเพิ่มเติม  6.) ทรงรู้แล้วว่า ทรงละสมุทัย: เหตุของการดับทุกข์,(ทรงละละกามตัณหา,ทรงละภะวะตัณหา,ทรงละวิภะวะตัณหา) ได้สะอาดหมดจดแล้ว

 

นี่แหละคือศาสนาที่สอนเรื่องเหตุและผล ที่กลายเป็นเรื่องความศัทธาของนักวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นประดิษฐ์คิดค้นงานใหม่ ๆ แบบหาเหตุ หาผล ของสิ่งนั้น ๆ  เช่น การบิน  การอาวุธ การสร้างยานพาหนะ การไฟฟ้า  ดาราศาสตร์ และศาสตร์ทั้งหลายยุคใหม่นี้  ล้วนแต่มีความคิดมาจากการค้นหาหรือการวิจัยหาสิ่งที่เป็นเหตุและเป็นผลของงานนั้นๆ ทั้งนั้น    เชื่อและปฏิบัติในแบบพยายามหาเหตุของความเป็นไปต่างๆ จนพบแล้วได้ความเจริญก้าวหน้าทางการงานอาชีพและอะไรต่าง ๆ  ที่เนื่องจากการหาเหตุที่สอดคล้องกับผล  หรือผลที่สอดคล้องกับเหตุ หาวิจัยให้พบ นั้นเอง 

 

ฉะนั้นเหตุของทุกข์ของชีวิตจึงขอยืนยันว่า มาจากเหตุ 3 ประการนี้คือ กามตัณหา, ภะวะตัณหา, และ วิภะวะตัณหานี้ ตามอริยสัจ คืออริยสัจ 2 สมุทัย  และ  อริยสัจ 3 นิโรธ นั้นเอง   ที่คนยุคใหม่จะทำไปโดยกระทำตามพุทธองค์ที่ทรงชำระตัณหาเหตุแห่งทุกข์ได้เกลี้ยงเกลาหมดจด จึงสำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้  คนทั้งหลายก็เช่นกันหากทำลายตัณหาทั้ง 3 ประการได้  (ไม่ว่าวิธีใด)ก็บรรลุความรู้แจ้งอริยสัจธรรมสูงสุดสู่ประตูพระอรหันต์ได้

และซึ่งศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคำสอนต่อไปอีกหลายหลาก ในที่บอกทางปฏิบัติเพื่อการเอาชนะทุกข์ให้ได้ซึ่งสำหรับคนทั่วไป  สำหรับคนผู้ยังไม่พร้อมจะใช้สติปัญญาพิจารณาจากสัจธรรมในธัมมจักกัปปวัตนสูตร  ในอนัตตลักขณสูตร  ในอาทิตตปริยายสูตร หรือแม้วาทะคำสอนสั้น ๆ ของพระองค์ เช่นทรงตรัสแด่องคุลีมาล ว่า พระองค์หยุดแล้วเธอต่างหากที่ยังไม่หยุด แค่นี้ก็ทำให้องคุลีมาลบรรลุอรหัตตผลได้ เป็นต้น    แล้วก็จะมีคำสอนเรื่องอื่น ๆ ที่ล้วนออกไปจากเรื่องมรรค8  เช่นเรื่อง  ไตรสิกขา ศีล สมาธิ  ปัญญา  เรื่องสัมมาสติก็มีอาณาปานสติสูตร  และเรื่องสัมมาสมาธิ ก็มีเรื่องกสิณ ฌาน วิปัสสนา  เป็นทางปฏิบัติเพื่อเอาชนะตัณหานี้ ซึ่งเรื่องทั้งหลายก็จะมาจากมรรค 8 ทั้งสิ้น  แต่สำหรับขณะนี้ เรามองธัมมจักกัปปวัตนสูตร  อนัตตลักขณณสูตร  เลยไปถึงอาทิตตปริยายสูตร ให้เข้าใจทะลุปรุโปร่งไปทั้งหมดให้ได้ ก็จะสามารถบรรลุอรหันต์ได้ทันทีเหมือนกัน ไม่มีข้อยกเว้น  ตามเหตุตามผล นั้นเอง

บทท้าย

ที่ควรเข้าใจต่อไปอีกเล็กน้อย   สิ่งที่เราจะได้จากธัมมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณะสูตรและ อาทิตตปริยายสูตรนั้น  ก็คือการบรรลุมรรคผลด้วยการวิปัสสนาหรือการภาวนา คือการพิจารณา ๆ ๆ ๆ ใช้ความคิดพิจารณาแล้วพิจารณาเล่า  ต่อเนื่องไปไม่หยุดหย่อน   ให้รู้ความจริงของชีวิตของเบญจขันธ์ หากได้รู้ในเรื่องทุกข์โดยตลอดปลอดโปร่ง ได้รู้เรื่องเหตุของทุกข์โดยตลอดปลอดโปร่ง ได้รู้เรื่องของนิพพาน นิโรธ  วิมุตติแห่งใจ  และเรื่องโลกุตตระ ตามที่พระองค์ทรงแสดงไปเรื่อง 3 รอบ 12 อาการนั้นแล้ว  จะมีการรู้แจ้งขึ้น  ที่ได้รู้เรื่องทุกข์ ของคนทั้งหลาย  รู้เรื่องการเกิดการแก่ การเจ็บและการตายและการกลับมาเกิดอีก  แล้ววนไปในวัฏสงสารแบบเดิมไปไม่รู้หยุดหย่อนแล้วนั้นแหละนำไปสู่การเบื่อหน่ายในชีวิตเห็นชีวิตและโลกนี้ทั้งโลกทั้งจักรวาลเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย  ไร้ค่า ไร้ราคาแล้วก็จะส่งผลไปให้เกิดการชำระล้างตัณหากิเลสในดวงใจขึ้นจนเกลี้ยงเกลาไปเอง อันเป็นผลจากความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นจากการรู้แจ้งความจริงหรืออริยสัจว่าด้วยทุกข์ ในขณะสดับรับฟังหรือขณะอ่านทบทวนปัญหาไป  ก็จะไปล้างตัณหาในดวงจิตให้วอดวายไปหมดได้  ก็จะบรรลุอรหันต์ขึ้นมาแบบทันทีทันใดซึ่งนั่นเองเป็นผลจากการทำลายเหตุเสียได้ คือการทำลายตัณหาเหตุของทุกข์ได้ทั้งหมด 3 ประการ ทำความเกลี้ยงเกลาให้เกิดในดวงจิต  แบบปัญจวัคคีย์ ที่ได้ตั้งใจสดับรับฟังอนัตตลักขณสูต ฟังจบก็สำเร็จอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 องค์เช่นเดียวกับชฎิลทั้งหลาย 1003 รูปได้ฟังอาทิตตปริยายสูตรจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จบแล้วก็เกิดความหน่ายในชีวิตสังขารตนเองความหน่ายนั้นก็ไปชำระกิเลสตัณหาภายในให้สะอาดเลย จึงสำเร็จอรหันต์ได้โดยทันทีโดยง่ายได้

 

คนในโลกยุคนี้จึงน่าสำเร็จได้ง่ายๆเช่นเดียวกันเนื่องเพราะคนยุคนี้มีสติปัญญานึกคิดเฉียบแหลมกว่าคนมัยก่อนมากมายหลายเท่า  เพียงแต่ฟังหรืออ่านเรื่องนี้ให้ เข้าใจนทะลุปรุโปร่งจริง ๆ หมั่นพิจารณาแล้วพิจารณาอีกไม่หยุดหย่อน  ในเรื่องราวของ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  อนัตตลักณสูตแล อาทิตตปริยายสูตร  3 พระสูตรนี้ ขอให้อ่านเข้าใจไปจริงๆจนทะลุปรุโปร่ง จนรู้ความจริงรู้แจ้งเรื่องราวของชีวิต ก็จะเกิดความหน่ายขึ้นมา ก็จะเกิดปัญญาทำลายกิเสตัณหาในใจได้ฉับพลัน สามารถบรรลุอรหันต์ได้ แบบนี้เรียกว่า โดยวิปัสสนาภาวนา  คือการใช้ปัญญานึกคิดติดตามพิจารณาไปให้รู้แจ้งจนทะลุปรุโปร่งสิ้นความสงสัยเมื่อใดเวลาใดก็สำเร็จเมื่อนั้น   

 

บทส่งท้าย

หากทางนี้ไม่สำเร็จก็จะต้องไปวางพื้นฐานให้ความสำเร็จวิธีอื่น  โดยวางพื้นฐานทางสมาธิ ให้เจริญสมาธิไปถึงชั้นสูงสุดของสมาธิคือ ระดับอัปปนาสมาธิให้ได้  นั่นหมายถึงสภาพของใจ ที่ทรงกร้าวแกร่งแข็งแรงเป็นหนึ่ง   เมื่อถึงระดับอัปปนาสมาธินั้นแหละจะสามารถทะลุไปสู่โลกนิพพานได้สำเร็จ  หากแต่วิถีทางปฏิบัตินสมาธิและวิธีอื่น ๆอื่นนั้นจะยากและใช้เวลานาน และมีการสร้างพื้นฐานอุปนิสัยอย่างยาวนาน  แต่กระนั้นก็มีวิธีทางของคนยุคใหม่ ที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้จากชีวิตการงานประจำวันของตนนี้เอง  โดยเอาการปฏิบัติงานเป็นการปฏิบัติธรรม เอาบ้านและที่ทำงาน  เรือกสวนไร่นาตนเอง ที่ทำการ  บริษัท องค์กรของตนเอง เป็นวัด ซึ่งผู้รู้จะได้ให้คำแนะนำต่อไปว่าการสร้างสมาธินั้นแท้จริงสร้างได้อย่างดี อย่างยอดเยี่ยม จากวิถีทางทำการงานการอาชีพของตนคนเรานี้เอง คือสามารถสร้างความมีกินมีใช้ตลอดไปถึงความมั่งคั่งอุดมด้วยทรัพย์สินสฤงคาร ความร่ำรวยไปได้พร้อมการปฏิบัติบรรลุธรรมได้ด้วย ซึ่งนี่เองจะเป็นสิ่งใหม่สำหรับชาวโลกยุคกึ่งพุทธกาล แต่อย่างเดิมเช่น เอาจากธัมมจักกัปปวัตนสูตร  เอาจากอนัตตลักขณะสูตร แบบที่สำเร็จโดยพลันนี้ไปใช้ก็ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีปัญญาเจริญปัญญาอยู่ปกติชีวิตอยู่แล้ว   เพียงอ่านเข้าใจทุกข้อความทุกคำพูดขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วไปเกิดความหน่ายในชีวิตขึ้นมา จึงจะสำเร็จได้โดยง่าย แบบที่นี่และเดี๋ยวนี้เลยทีเดียว อยู่ที่ความพยายามความขยันไม่ทอดทิ้ง และไม่มีความเกียจคร้านในดวงใจเลย  นั้นย่อมหวังความสำเร็จได้ ปรากฏการณ์สิ่งล้ำค่าขึ้นในโลกยุคใหม่ยุคเทกโนโลยี่นี้ได้.....

@พระครูพุทธิพงศานุวัตร  ผจล.วัดมหาพุทธาราม อ.เมืองจ.ศรีสนะเกษ  14ก.ค.2564  21.00 น.

-----
-----

Thai-English

 

 

Dhammacakkappavattana Sutta

 Where is the thing that should be known and should really be understood?

On Asanha Bucha Day 24 July 2021

-----

Intro

intro

Let me explain a little more. in order to alleviate issues that have not been understood previously and came to understand what should really be understood in the first sermon Where is the Dhammacakkappavattana Sutta?

It is in His enlightenment the enlightenment with the supreme wisdom that shines so brightly that everything sees through this and all other worlds. (ENLIGHTENMENT) thus enlightened the Four Noble Truths, namely the four truths concerning our human life: Suffering, the cause of suffering: Samudaya, the state of cessation of suffering: Nirodha-Nibbana-Lokuttara, and the 8th Path: The Practice for The Eight of Suffering and Going to Nirodha: Nirvana: Lokuttara

which is in order of enlightenment as announced by him in 12 things:

-----

(Noble Truths 1. Suffering)

1. He knows that this is suffering.

2. He knew that This is the matter of suffering that should be defined and known.

3. He knew that He has established the knowledge of suffering: He has enlightened the Noble Truth of Suffering.

-----

(Noble Truth 2 Samudaya: Cause of Suffering)

4. He knows that this is Samudaya, the three causes of the cessation of suffering: Kama tanha, Bhava tanha, Vibhava tanha.

5. He was enlightened that This is Samudaya, and samudaya should be abandoned: one should abandon lust, one should abandon lust, one ought to abandon lust.

6. He knew that Has abandoned Samudaya: The cause of the cessation of suffering (The Lord's liberation of lust, the liberation of lust) has been completely abandoned.

-----

(The 3 Noble Truths Nirodha: The state of cessation, the state of nirvana, the state of lokuttra)

7. He knows that this is Nirodha: the state of cessation, the state of nirvana, the state of lokuttara.

8. He was enlightened that That's Nirodha should be enlightened: should know the state of cessation, should know the state of nirvana, should know the state of lokuttara

9. He has already realized that Nirodha.. He enlightened the state of nirvana: He enlightened the state of cessation, He enlightened the state of nirvana, He enlightened the state of seclusion.

-----

(The Noble Truth of the Four Path 8: the way to the cessation of suffering)

10. He is enlightened that This is the eight paths to the cessation of suffering, or the eightfold path.

11. He knew that Eight Paths to the End of Suffering: This Eightfold Path is what should be cultivated: It is what should be cultivated.

12. He knew that He has educated Himself, He has made Himself prosperous...The Eight Path to End Suffering: This Eightfold Path is complete and complete.

-----

-----

Middle Chapter 1.

Middle Chapter 1.

This is a summary of the story of 3 rounds of 12 symptoms that His Highness confirmed if he had not enlightened for 3 rounds of 12 symptoms, then He would not preach Buddhism. or proclaiming him as the Lord Buddha Therefore, it is considered the most important principle of Buddhism if any other principles conflict. or misrepresented from now on Any other principle would be null and void. that is normal

and that has always been an issue for Buddhists If you don't understand anything Especially in the second issue, the cessation of suffering or the issue of Samutai, which has reached this time and agenda. We have to look at this important principle, which is the principle of 3 cycles, 12 symptoms, which His Highness declared the highest importance. If he had not been aware of the three principles around the 12 symptoms, then he would not have declared him that he had attained enlightenment, Buddhism, and the Triple Gem would not have arisen in this human world.

and for a more thorough understanding I would like to ask for the digits of 3 rounds of 12 symptoms from the ones I have shown to you in the past in the story. Dhammacakkappavattana Sutra A Chakra that no other Chakra can resist. What did the Buddha enlightenment?

What is Dharma? On Asanha Bucha Day 24 July 2021 and will ask for more to add new understanding. Which is a shorter summary of 3 rounds of 12 symptoms. This goes into for careful consideration until it is fully understood as follows. by adding a summary This goes into the previous chapter, which will be expanded to be easier to understand as follows.

-----

-----

Middle Chapter 2.

Middle Chapter 2.

Quoted text plus additional summaries added to

(Quoted text) 1. Suffering

(Quoted text) 1.1 He performed asceticism until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko U. dapadi), he knew that this was the noble truth of suffering. (that is, knowing that this is the ultimate truth of suffering of life and things) (....this is knowledge in the form of hypothesis or primitiveness, which indicates a state of doubt that is not completely clear)

(Additional conclusion: 1.) He knows that this is suffering.

(quoted text)1.2 He asceticed until the birth of wisdom, wisdom, wisdom and light (Chakhung Udapadi, Janang Udapadi, Wisdom Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko Udapadi), therefore he knew. declare that the Noble Truth is suffering and the truth that should be known (that is, it is necessary to have a thorough and thorough knowledge of everything involved and every step completely out of doubt) (This is the default level of practice. to practice in order to test the cause and effect as a practical test of that hypothesis)

(more summary 2.) He knew that Suffering is something that should be known.

(Quoted text) 1.3 He performed the prestige until the birth of the eye, wisdom, wisdom and light (Chakhung Udapadi, Janang Udapadi, Wisdom Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko Udapadi). know the noble truth of suffering (He enlightened in detail and clearly all matters involved and every step that was established. without all doubts) (This is where the adversity arises. to see it as it really is, that is, He has met, seen, and has determined all the noble truths without doubt. This is called the level of denial.)

 (Additional conclusion 3.) He was enlightened that He has established the knowledge of suffering: He has enlightened the Noble Truth of Suffering.

(Quoted text) 2. Samuthai (Sukha Samuthai)

(Quoted text) 2.1 He asceticism until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom, and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Vijja Udapadi, Aloko U dapadi) he knows the Noble Truth of Suffering. Cause of Suffering (that is, He knows that this is the ultimate truth of the cause of suffering of life and all things) It is hypothetical, but still has no doubts. not completely clear)

(Additional conclusion 4.) He knows that this is Samudaya, the three causes of the cessation of suffering: Kama tanha, bhava-tanha, vibhava-tanha.

(Quoted text) 2.2 He asceticism until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko U dapadi), he knows that the Noble Truth of Suffering is the dharma that should be abandoned should be cut off (that is, He knows that this is the supreme truth of the suffering of life and all things, with no doubt that must give up, cut off and not practice this cause of suffering) (this is practical knowledge to prove that hypothesis)

 (Additional conclusion 5.) He was enlightened that This is Samudaya, and samudaya is to be abandoned: one should abandon lust, one should abandon lust, one ought to completely abandon lust.

(Quoted text) 2.3 He performed asceticism until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom, and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko U tapadi), thus having abandoned the Noble Truth of Suffering, the cause of suffering (that is, He renounced not doing or cutting off from Kata, bhava-tanha, and vibhava-tanha, which is the cause of suffering.) The Dharma of Samudaya is that he cuts off, purifies, eradicates all defilements, lust, clinging, or exactly the way of cause and effect, that is, the three lusts: kama tanha, bhava tanha, and vibhava tanha. He had completely eliminated it. His mind was clean. free from tarnish as dirty as dirt)

(Additional conclusion 6.) He knows that the Lord has abandoned Samudaya: the cause of the cessation of suffering, (The Lord's abandonment of lust, the Lord's abandoning of Vibhava-Thanha) has been completely clean.

(Quoted text) 3. Nirodha (Dukkha Nirodha)

(Quoted text) 3.1 He performed asceticism until the birth of the eye, wisdom, wisdom, and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Vijja Udapadi, Aloko U. tapadi), thus he realized the Noble Truth the noble truth of the cessation of suffering (He knows the state of nirvana, He knows the liberation He was enlightened about eternal happiness. He was enlightened about the cycle of sympathy for death and birth. Born and died in infinity like this which is still a level hypothesis exists)

(Summary 7.) He knows that this is Nirodha: the state of cessation, the state of nirvana, the state of lokuttara. which is the state of cessation of suffering, but eternal happiness

(Quoted text) 3.2 His majesty until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Vijja Udapadi, Aloko U tapadi), thus he knew the Noble Truth of Suffering and Nirodha. that it is the truth that should be enlightened (said that it is the truth that should be enlightened; the word ought to be the level that has not yet ceased to be doubtful) must be taken to prove and test it first, so it is still a level of Dharma practice in order to prove and test hypotheses)

 (Additional Conclusion 8.) He was enlightened that That's Nirodha should enlighten: should know the state of cessation, should know the state of nirvana, should know the state of lokuttatra: the state of cessation, the state of nirvana, the state of lokuttatra which is the state of cessation of suffering, but eternal happiness

(Quoted text) 3.3 Ascetic asceticism until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom, and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko U Tapati) thus enlightened the Noble Truth of Suffering: He said: I have enlightened the Noble Truth of Suffering. (....the level of denial As He proclaimed, “Well, the wisdom of seeing has come to us. that our special cessation does not relapse This nation is finally Now there is no more birth.”

(Supplementary 9.) He has already enlightened about Nirodha,. He has made known Nirodha:

He has enlightened the state of cessation,

He has enlightened the state of nirvana,

He has enlightened the state of the world

state of cessation, state of nirvana, state of lokuttara which is the state of cessation of suffering, but eternal happiness

(Quoted text) 4. The Noble Path (Noble Path) The cessation of suffering

(Quoted text) 4.1 Ascetic asceticism until the birth of the eye, wisdom, wisdom, and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko U Tapadi), thus he knows the noble truth of the path which is the cessation of suffering

(Additional Conclusion 10.) His Highness knew that This is the eight paths to the cessation of suffering, or the eightfold path.

(Quoted text) 4.2 Ascetic asceticism until the birth of Chakhu, wisdom, wisdom and light Tapadi), therefore he knows that the Noble Truth of the Noble Path is the Dharma that should be cultivated.. (He knows it in practice. that there must be self-training according to what they already knew which he has practiced all his life, even since he was the Crown Prince.)

(Additional Conclusion 11.) He was enlightened that Eight Paths to the End of Suffering: This Eightfold Path is what should be cultivated: It is what should be cultivated.

(Quoted text) 4.3 Ascetic asceticism until the birth of the eye, wisdom, wisdom, and light (Chakhung Udapadi, Yanang Udapadi, Panya Udapadi, Wijja Udapadi, Aloko U Tapati), therefore he has fully cultivated this noble truth which is the way to the cessation of suffering….He is at the level of acknowledgment of the Buddha's enlightenment and enlightenment. It is absolute enlightenment, complete denial of the Dhamma, it is on this eightfold path that he begins to proclaim the Middle Way and the Middle Way, which is the 8th Path.

(Additional conclusion 12.) His Highness already knew that Oneself has cultivated oneself, oneself has made oneself prosperous.... The Eight Path to End Suffering: This Eightfold Path is complete and complete.

Middle chapter 3.

middle chapter 3

This is what is already understood in all Buddhists. The mind is the master, the body is the slave, and the Buddha's teaching starts with the mind. all the way to the end, that is, starting to know the Buddha Dharma until reaching the Arahant Because of this mind, therefore, on the confusing issue of the four abstract subjects, feeling, sankhara, sankhara, and spirit, the word citta can be replaced and collectively referred to as body and mind, meaning that a person must always have a body and a mind.

Therefore, in the Dhammacakkappavattana Sutta and in the Anattalakkhana Sutta The meaning of this five aggregates in the abstract can take the word mind to replace feeling, contract, sankhara, spirit, and know the 5 aggregates in the body and mind as one of the characteristics The mind is the master, the body is the slave. It will make it not confusing and learn the Dharma in a scientific way. or looking at the cause, looking at the result easier

[2.] In regard to suffering and the cause of suffering according to the Dhammacakkappavattana Sutta, there are two chapters that would explain it enough to know the main point of this sutra:

(1.) He said on the subject of suffering:

Itangko Pana Bhikkhawe Dukkhae Ariyasacchan Chat Pidukkha Charapi Dukkha Maranaampi Dukkha Sokaparideva Dukkha Tomanas Supayasapi Dukkha Up Piyehi Sampayoko Dukkho Piyehi Vippayoko Dukko Yampicchang na Labhati Tampi Dukkham Sangkhittena Panjupatanakhantha Duk legs

which has a translation

Bhikkhus, what is to be said herein is the Noble Truth, which is suffering; birth is suffering. old age is suffering death is suffering Sorrow, lamentation, physical sorrow, sorrow, and despair are suffering. Encountering an unsatisfactory emotion is suffering. detachment from the miserable mood (Wishing something that is not obtainable is suffering. In summary, the five clinging khandhas (forms, feelings, sankharas, sankharas, and spirits that one's mind cling to are suffering.

Which the issue that... Sangkhittena Panjupatana, Khantha Dukkha Which has a translation that... said in summary, the top 5 clings (forms, feelings, contracts, sankharas, and spirits that one's mind clings to. Organized as suffering... which we go to important that If going to hold on to believe If there is a significance or a mistake in the five aggregates, that is the cause of suffering. ..which comes from the word prejudice Pancha+upathan+khan It is a panjupadanakhandha, every leg is the cause of suffering. which is the understanding according to the word upatana or upathanam (corresponds to Sanskrit that upatan) in the 4 language dictionary, Pali, Thai, English, Sanskrit means confidence, take hold, hold, tinder or firewood, lust, attachment, clinging to existence; firewood, fuel

 when interpreted as the wrong adherence to the aggregates.5 go by yourself as suffering so it is suffering ....which seems too easy It's just that it's just thinking about it, thinking it right according to this saying that it's misleading that it's suffering. Stop thinking like that. You will be free from suffering. It's as simple as that. You will be successful. which it is not.. and no one achieves from such a simple idea.. and in fact, one has to look at it realistically. Let's look at the truth that old age, sickness, and death are not prejudice. It's a fact of life. That it really is like this, every life. Birth, old age, sickness and death. Human life, animals and plants, and everything. which solves the problem must match the problem so it can be successful and must really solve the problem correctly in order to be out of suffering And this is where there is a need to know the real cause of suffering and the result of the real cause of suffering. Thinking about solving it, not giving up on pain and death, must know its true cause, the true cause of suffering. The true cause of suffering is one of the four Noble Truths that only the Buddha has discovered. which is considered to be the most precious and precious thing that can be tested What His Highness has already said is the story of Samutaya (Dukkhasamutaya).

which Samuthai (Dukkhasamutai) is the cause of suffering means we have found If we can break this down we are out of suffering to the world of nirvana And that's why He directly stated that these are the three kinds of craving: kama tanha, bhava tanha, vibhava tanha, as he would ask for his teachings. That is the conclusion that in this matter again as follows:

(Additional conclusion 4.) He knows that this is Samudaya, the three causes of the cessation of suffering: Kamatanha, Bhava-tanha, Vibhava-tanha.}

(Additional conclusion 5.) He was enlightened that This is Samudaya, and samudaya should be abandoned: one should abandon sensuality, one should abandon one's desire, one should abandon one's vibhava-tanha, and complete it.

(Additional conclusion 6.) He knows that the Lord has abandoned Samudaya: the cause of the cessation of suffering, (The Lord's abandonment of lust, the Lord's abandonment of lust) has been completely clean.

This is the religion that teaches cause and effect. That has become a matter of the faith of scientists who begin to invent new, rational works of such things as aviation, weapons, vehicle building, electricity, astronomy and all these modern sciences. They all have ideas that come from searching or researching for the cause and effect of the work, believing and acting in an attempt to find the cause of various possibilities. until found, career progression and other things that are due to the reasoning that is consistent with the results or results that are consistent with the cause, find the research itself

Therefore, the cause of suffering in life can be confirmed that it comes from these three causes: kama tanha, bhava tanha, and this vibhava tanha, according to the Noble Truths, namely the 2 Noble Truths, Samuthai and the 3 Noble Truths, which the new generation will do by acting. according to the Buddha who cleansed all the lusts of suffering thus attaining Anuttara enlightenment Likewise, if all three desires are destroyed (by any means), they can attain enlightenment, the highest noble truth, to the gate of the Arahant.

and which the religion of Lord Buddha has many more teachings in telling the practice for overcoming suffering which for the common people For those who are not yet ready to use their wisdom to consider the truth in the Dhammacakkappavattana Sutta. in the Anatta Lakana Sutra In the Scriptures formula or even his short teachings, for example, he said to Angulimala that He had stopped, and you had not stopped. Only this allows Angulimala to attain arahatship, etc. Then there will be other teachings that are completely absent from the Eightfold Path, such as the trisikkha, morality, concentration, and wisdom, and the right mindfulness is the Anapanasati Sutta. and meditation There is also the matter of Kasin, Jhana, Vipassana as a practice to overcome this craving. which all things will come from the eightfold path, but for now We look at the Dhammacakkappavattana Sutta. Anatta Lakhana Sutra So I reached the Athit Priyamai Sutra. to be able to understand through all will be able to attain Arahant immediately as well There are no exceptions for that reason.

final chapter

final chapter

That should be understood a little further. What we can get from the Dhammacakkappavattana Sutta and the Anattalak while the Sutra and Athit explained that formula. is to attain the path through introspection or meditation. It is to consider, to consider, to consider, to consider, and to consider. Continuing without stopping to know the truth of Benjakhan's life If you know about suffering all the time knowing about the cause of suffering learned about Nirvana Nirodha Vimutti of the mind and about the world As he has shown about 3 rounds of 12 symptoms already. will be enlightened knowing the suffering of the people know about aging sickness and death and rebirth and then continue in the same endless cycle of sympathy, leading to boredom in life, seeing life and this world as a tedious, worthless, worthless thing, and will result in payment. Wash away the lust in your heart until it's completely gone as a result of boredom arising from the enlightenment of truth or the noble truth of suffering while listening or while reviewing the problem will be able to wash away all the lust in the soul will attain arahant immediately, which is the result of the destruction of the cause It is the destruction of all three causes of suffering and the purification of the mind. Panchawak Key who have listened intently to the Anatta Lakanasutta After listening to this, all 5 Arahants at the same time, as well as all 1003 Chadils, listened to the Athitta Pariya Sutta from the Lord Buddha. After that, there is displeasure in one's own body. Disillusionment goes to cleanse the inner desires. Therefore, the Arahant can be accomplished immediately and easily.

 

People in today's world can be easily accomplished as well because people in this era have many times more intelligence than people in the past. Just listen or read about it. Really understands the penultimately, constantly considers and considers it again and again. in the story of Dhammacakkappavattana Sutta Anattala Sutta and Athitta Pariya Sutra 3 This sutra, please read and understand until it's completely clear. until knowing the truth, enlightening the story of life It will cause dissipation. will suddenly have wisdom to destroy the desires in the heart able to attain arhat This is called by Vipassana Bhavana It is the use of intellect to follow up and contemplate it until it clears up any doubts whenever and wherever it is accomplished.

 

Epilogue

epilogue

If this method fails, then you will have to lay a foundation for other success methods. by laying the foundation for meditation to meditate to the highest level of concentration, which is level of meditation That means the state of mind that he was strong and strong as one When it reaches that level of concentration, it will be able to penetrate the world of nirvana successfully. but the way of meditation and other methods Others will be difficult and time consuming. and has built a long-standing basis for character But nonetheless, there is a way of the new era. to be able to meditate from their own daily life by taking work as a practice of dharma take home and work Self-farmers, offices, companies, their own organizations, temples, where knowledgeable people will continue to advise that meditation is truly a good creation. wonderfully From the way of working and working, this person's career is able to create wealth and use forever to be rich and rich in property Wealth is possible with the practice of attaining the Dharma as well. This would be something new for the world in the semi-Buddhist era. but as before Taken from the Dhammacakkappavattana Sutta Removed from the anatta while the formula. The type that was successful immediately can be used already. Especially for those who have developed wisdom in their normal life. Just read and understand every message and every word of the Lord Buddha. And then to the displeasure of life so it can be accomplished easily like here and now It's in the effort, diligence, not abandoning. and there is no laziness in my heart that can hope for success Phenomenon of precious things in this new era of technology.....

@Phra Khru Puttipongsanuwat Chief of Police, Maha Phuttaram Temple, Phra Aram Luang, Sisaket, 14 July 2021, 21.00

-----

-----

 




5..NWE.5..คำอธิบายสัจธรรมแห่งชีวิต เรื่องทุกข์ เรื่องอนิจจัง และเรื่อง อนัตตา ตามพระสูตรทุกถ้อยคำในพ

5.1..NWE.5..อนัตตา1..รูปัง ภิกขะเว อะนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สกัดวาทะประเด็นอริยมรรคโดยเฉพาะ ถวายจ.อ.วังหิน มรณภาพ
5.2..NWE.5..อนัตตา2..Alex Joy อนัตตะลักขณะสูตร วิวาทะธรรมพิจารณ์
5.3..NWE 5..อนัตตา3..พระพุทธเจ้าตรัสอะไรในอนัตตะลักขณะสูตร ? พาตามพุทธวาทะทุกคำในพระสูตร เรารู้อะไร จากอนัตตลักขณะสูตร ? เรารู้แล้วหรือยัง ?
5.4..NWE.5..อนัตตา4..อนัตตะลักขณะสูตร บทสรุป พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรในอนัตตลักขณสูตร?
5.5..NWE5..อนัตตา5..อัตตา-อนัตตา, นิจจัง –อนิจจัง, เป็นทุกขอริยสัจ มีมาจากเหตุคือสมุทัยอริยสัจ ความรู้แจ้งอย่างไรนำไปสู่มรรคผลนิพพานในทันทีทันใดได้?
6.1..NWE.5..ธัมมจักก1..ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ พาตามพุทธวาทะทุกคำในพระสูตร มาดูสาระสำคัญ ของการแสดงปฐมเทศนานี้
6.2..NEW 5..ธัมมจักก2..วันอาสาฬหบูชา วันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาแด่ปัญจวัคคีย์ สกัดวาทะประเด็นมรรคผลนิพพานโดยเฉพาะ
6.3..Nwe.5..ธัมมจักก3..ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จักรคือธรรมไม่มีจักรอื่นต้านทานได้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?ธรรมะคืออะไร?



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
----- ***** ----- โปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate นี่คือเวบไซต์คู่ www.newworldbelieve.com กับ www.newworldbelieve.net เราให้เป็นเวบไซต์ที่เสนอธรรมะหรือ ความจริง หรือ ความคิดเห็นในเรื่องราวของชีวิต ตั้งใจให้ธัมมะเป็นทาน ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แด่คนทั้งหลาย ทั้งโลก ให้ได้รู้ความจริงของศาสนาต่าง ๆในโลกวันนี้ และได้รู้ศาสนาที่ประเสริฐเพียงศาสนาเดียวสำหรับโลกยุคใหม่ จักรวาลใหม่ เราได้อุทิศเนื้อที่ทั้งหมดเป็นเนื้อที่สำหรับธรรมะทั้งหมด ไม่มีการโฆษณาสินค้า มาแต่ต้น นับถึงวันนี้ร่วม 14 ปีแล้ว มาวันนี้ เราได้สร้างได้ทำเวบไซต์คู่นี้จนได้กลายเป็นแดนโลกแห่งความสว่างไสว เบิกบานใจ ไร้พิษภัย เป็นแดนประตูวิเศษ เปิดเข้าไปแล้ว เจริญดวงตาปัญญาละเอียดอ่อน เห็นแต่สิ่งที่น่าสบายใจ ที่ผสานความคิดจิตใจคนทั้งหลายด้วยไมตรีจิตมิตรภาพล้วน ๆ ไปสู่ความเป็นมิตรกันและกันล้วน ๆ วันนี้เวบไซต์ สื่อของเราทั้งหมดนี้ ได้กลายเป็นแดนสนุกน่าท่องเที่ยวอีกโลกหนึ่ง ที่กว้างใหญ่ไพศาล เข้าไปแล้วได้พบแต่สิ่งที่สบายใจมีความสุข ให้ความคิดสติปัญญา และได้พบเรื่องราวหลายหลากมากมาย ที่อาจจะท่องเที่ยวไปได้ตลอดชีวิต หรือท่านอาจจะอยากอยู่ณโลกนี้ไปชั่วนิรันดร และซึ่งเป็นโลกหรือบ้านของท่านทั้งหลายได้เลยทีเดียว ซึ่งสำหรับคนต่างชาติ ต่างภาษาต่างศาสนา ได้โปรดใช้การแปลของ กูเกิล หรือ Google Translate แปลเป็นภาษาของท่านก่อน ที่เขาเพิ่งประสบความสำเร็จการแปลให้ได้แทบทุกภาษาในโลกมนุษย์นี้แล้ว ตั้งแต่ต้นปีนี้เอง นั้นแหละเท่ากับท่านจะเป็นที่ไหนของโลกก็ตาม ทั้งหมดโลกกว่า 8 พันล้านคนวันนี้ สามารถเข้ามาท่องเที่ยวในโลกของเราได้เลย เราไม่ได้นำท่านไปเที่ยวแบบธรรมดาๆ แต่การนำไปสู่ความจริง ความรู้เรื่องชีวิตใหม่ การอุบัติใหม่สู่ภาวะอริยบุคคล ไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปพ้นจากทุกข์ ทั้งหลายไปสู่โลกแห่งความสุขแท้นิรันดร คือโลกนิพพานขององค์บรมศาสดาพุทธศาสนา พระบรมครูพุทธะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ท่านโปรดใช้บริการการแปลของ Google Translate ท่านก็จะเข้าสู่โลกนี้ได้ทันทีพร้อมกับคน 8 พันล้านคนทั้งโลกนี้. ----- ***** ----- • หมายเหตุ เอาขึ้นเวบไซต์ แทนของเดิม ทั้ง 2 เวบ .net .com วันที่ 21 เม.ย. 2565 เวลา 07.00 น.