.jpg)
อริยสัจธรรมข้อที่ 4 ทุกขะนิโรธะคามินีปฏิปะทา(มรรค8) : ข้อปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์

.jpg)
.jpg)
1.
ความหลงไปจากทางสัมมาอริยมรรค
-----
1. สัมมาทิฏฐิ วันนี้ แม้นักปราชญ์ นักบวช แม้สงฆ์สาวกนักบวชพุทธ ชาวพุทธก็ยังไม่บรรลุความเชื่อมั่น ไปสู่สัมมาทิฏฐิ เรื่องความเชื่อ ความเห็น หรือ เรื่องศาสนานั้นเอง ไม่มีสัมมาทิฏฐิที่ว่า ศาสนานั้น มีอยู่เพียงศาสนาเดียวในโลกนี้ คือศาสนาวิทยาศาสตร์ ศาสนาพุทธเท่านั้น นอกนั้นเป็นเพียง ทิฏฐิหนึ่ง ๆ เท่านั้นเองที่เป็นเพียงความเชื่อ ที่หาอริยสัจธรรมไม่ได้ เช่นเดียวกับในยุคพุทธองค์ มีทิฏฐิอยู่ถึง 62 ทิฏฐิที่เป็นเพียงความเชื่อ หาสัจธรรมไม่ได้เลย สัมมาทิฏฐิก็คือ เข้าใจศาสนา เข้าใจคำสอนของศาสนาอย่างถูกต้องเข้าใจคำสอนอย่างถูกต้อง เพื่อการช่วยเหลือตนเองผู้ปฏิบัติ และทั้งมวลหมู่มนุษย์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ได้จริง แต่ก็หาได้เข้าใจไม่ และยังกลับไปมีทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องเหมือนเดิมอีก เพราะความเขลาอวิชชา ไม่มีสัมมาทิฏฐินั่นเอง
2. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบไม่มี เพราะการดำริของคนทั้งหลายแม้พระสงฆ์สาวกยุคปัจจุบันนี้ ล้วนแต่มีความดำรินอกสัมมาสังกัปโป ทั้งสิ้น ดังจะพบว่า ล้วนแต่ดำริในเรื่องโลกธรรม 4 – 8 คือดำรินึกคิดไปแต่เรื่องลาภผล สมบัติ คือคิดแต่เรื่องการได้ลาภ ความอยากมีอยากได้ลาภปัจจัยสิ่งของ วัตถุนิยม เงินทองให้ไหลมาเทมา ทำอย่างไร ดำริเรื่อง ยศถาบรรดาศักดิ์ ตำแหน่งการปกครอง ให้ได้มาหาลาภต่อ ดำริแต่เรื่องทำอย่างไรคนจะมาใฝ่ใจสรรเสริญเรามาก ๆ ให้เงินลาภะไหลมาเทมา ตามความอยากมีอยากได้ ดำริเรื่องชื่อเสียงคำสรรเสริญเยิรยอ ทำอย่างไร ให้คนเข้าใจสรรเสริญศรัทธาตน จนกระทั่งอ้างตนเป็นพระอรหันต์ก็มี เป็นพระโพธิญาณโพธิสัตว์พระศรีอาริยเมตไตรยก็ยังมีแล้วมีแต่ดำริเรื่องลาภผล แล้วไปสู่ความสุขทางกาม จากคำชมสรรเสริญของคนทั้งหลาย ซึ่งล้วนเป็นการใฝ่แสวงหาสิ่งที่เป็นตัณหาทั้งสิ้น มีความดำริความวิตกกังกวลในมิจฉาสังกัปโป การคิดผิดไปเป็นเหตุให้เกิดการตกต่ำ อันเป็นการก่อเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น แทนที่จะเป็นเหตุแห่งการประพฤติที่ถูกต้องตรงอริยสัจจข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ กลับเป็นทางแห่งความเพิ่มทุกข์ไปอีก ตามสัจจธรรมที่ว่า ทุกขสมุทัย ที่ต้องสละเหตุแห่งทุกข์ไม่มีเหลืออยู่ จึงจะพ้นทุกข์ได้
3. สัมมาวาจา ล้วนเป็นคำพูดคำโฆษณาตัวเอง ไปแทบไม่ตรงความจริง มีแต่การโฆษณาชวนเชื่อ อวดอ้างตนเองไปทังสิ้น มีการพูดคำหยาบ คำโกหกพกลม คำส่อเสียด และเพ้อเจ้อ ไร้เหตุผล อันมุ่งหมายไปอย่างผิด ๆ แบบไม่มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป มุ่งหาลาภหายศ หาความสรรเสริญ หาสุข โลกธรรม 4 นั้นเอง
4. สัมมากัมมันโต การประกอบการงาน หรือการกระทำใดใดอันตรงกับหน้าที่ของความเป็นความมีชีวิตอยู่ ที่เป็นธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ที่ตรงกับกฎเกณฑ์ทางวัฒนธรรม ทางกฎหมายของสังคมของประเทศ อาชีพการงานที่ตนมีความสามารถ มีหน้าที่ แต่บิดเบือนไปในเชิงการหลอกลวง เพื่อให้ได้มีได้เป็นในสิ่งที่เป็นอาหารการเลี้ยงดูเพิ่มเติมตัณหาอวิชชาไปทั้งสิ้นนั้น นั่นแหละ แทนที่จะก่อเหตุแห่งความพ้นทุกข์ กลับนำดิ่งลงไปสู่ทุกข์ไปอีก
5. สัมมาอาชีโว ไม่รู้หลักการเลี้ยงชีวิตที่ดี ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร รู้แต่การหาโลกธรรม 4 หา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มาอย่างไรก็ได้ ไม่คำนึงความถูกต้อง ทั้งทางกฎหมายและธรรมะทางศาสนา ยิ่งหาอาชีพที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ลาภเพราะเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ข่มขู่บีบบังคับเอาด้วยอำนาจเป็นธรรม ด้วยคนมียศใหญ่ตำแหน่งใหญ่บีบรัดเอาจากคนมียศน้อยตำแหน่งน้อย หรือคนธรรมดา ๆ นั้นแหละเป็นมิจฉาอาชีวะ หรือโจรกรรมนั่นเอง มีแต่จะเพิ่มตัณหาไปอีก
6. สัมมาวายาโม ความเพียรไม่มีเลย ความพยายามในการทำดี ละเว้นความชั่ว ใฝ่ในความประพฤติเป็นธรรม บริสุทธิ์แทบไม่มีเลย เป็นทาสของมารความเกียจคร้าน ตลอดไป เป็นมิจฉาวายาโม นั่นคือ เป็นทาสความเกียจคร้านไม่ยอมเดินทาง อยู่กับที่ตลอดไปนั้นเอง
7. สัมมาสติ มีแต่ความใฝ่ฝันในอนาคต ในวันพรุ่งนี้ กลับไม่เข้าใจว่าปัจจุบันนั่นเองเป็นทางไปสู่อนาคต เป็นเหตุของอนาคต หากปัจจุบันไม่ดีเสียแล้ว อนาคตก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน การมีสัมมาสติจึงหมายถึงการกระทำที่ดีในปัจจุบัน ณที่นี่ เวลานี้ เดี๋ยวนี้เอง ทำชีวิตชาตินี้แหละให้สำเร็จลงให้ได้ ไม่ต้องคิดเรื่องชาติหน้า ไม่คิดจะเอาดีชาติหน้า แต่ชาตินี้เอง และนั่นแหละ นำไปสู่อนาคต ความใฝ่ความหวังที่ดี นั้นเอง มาจากสัมมาสติที่รู้ดีรู้ชั่ว มีสติอยู่กับการกระทำในปัจจุบัน คือการกระทำขณะนี้เดี๋ยวนี้ เวลานี้ ว่าทำอะไรอยู่ รู้ว่าทำอะไร รู้ว่านี่แหละนำไปสู่อนาคตที่ดี นั้นเองมาจากรู้ตัว รู้ดี รู้ชั่ว มีสติอยู่กับการกระทำของปัจจุบันให้ชัดเจน แล้วก็ไม่กังวลกับอนาคตเลย ปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตก็เป็นเช่นนั้น
8. สัมมาสมาธิ เป็นเรื่องของจิตใจ และจิตใจย่อมเป็นนายกายเป็นบ่าว จึงต้องฝึกจิตอยู่ตลอดเวลา ให้จิตเราเข้มแข็ง ให้จิตเราเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ให้จิตเรารู้นิ่ง หนักแน่น คิดแก้ไขในสิ่งผิด ให้จิตมีพลัง เพิ่มพลังขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่าปล่อยให้จิตอ่อนแอ เป็นเด็กอ่อนไม่รู้จักโต ต้องฝึกจิต ฝึกสมาธินั้นเอง ให้สมาธิเจริญเติบโต ก้าวหน้าไปไม่หยุด มีพลัง นั้นเป็นมหาอำนาจจิตตนนั่นเอง หากจิตเราอ่อนแอ ก็มีแต่จะตกเป็นทาสของกิเลส กามตัณหา ภวะตัณหา วิภวะตัณหา อุปาทาน ไปทั้งสิ้น
นี่คือมรรค 8 ที่โลกต้องการ หากแต่ทุกวันนี้ คนทั้งหลาย แม้พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีหน้าที่ฝ่าโลกสู่อริยธรรม ก็ยังหาเข้าใจวิถีทางแห่งมรรค 8 ไม่ แล้ว จะบรรลุถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์ได้อย่างไร มีแต่จะพาหลงไปในกิเลส ตัณหาไปเรื่อยๆ และมีความสุขอยู่กับความเป็นทาสตัณหา ต่อไปในอนันตกาลนั่นเอง
คิดวิจัยชีวิตดูเถิด ไม่มีสัมมาทิฏฐิ มีแต่มิจฉาทิฏฐิ, ไม่มีสัมมาสังกัปโป มีแต่มิจฉาสังกัปโป, ไม่มีสัมมาวาจา มีแต่มิจฉาวาจา, ไม่มีสัมมาอาชีโว มีแต่มิจฉาอาชีโว,ไม่มีสัมมากัมมันโต มีแต่มิจฉากัมมันโต, ไม่มีสัมมาวายาโม มีแต่มิจฉาวายาโม, ไม่มีสัมมาสติมีแต่มิจฉาสติ, ไม่มีสัมมาสมาธิ มีแต่มิจฉาสมาธิ มันก็เสื่อมลงไปเรื่อย ๆ แบบที่คนโง่กลับคิดว่าเจริญก็มี เช่นสภาวะขณะนี้ของโลกยุคใหม่ ผู้ใดรู้จริง จึงย่อมทนอยู่ไม่ได้.
-----
*****
-----
2.
อริยสัจธรรมข้อที่ 4 ทุกขะนิโรธะคามินีปฏิปะทา(มรรค8):ข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์ 2. ความดำริชอบนั้นเองเป็นจุดเริ่มต้น
-----
เริ่มด้วยคนทั้งหลาย โดยเฉพาะคนมีสติปัญญา คนยุควิทยาศาสตร์ยุคนี้จะต้องใช้ปัญญา รู้จักคิดให้ถูกต้องตรงตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่องอริยสัจธรรม 4: ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค, เริ่มด้วยปัญญา, จากสัมมาสังกัปโป:ความดำริชอบ, ก่อนโดยต้องคิดให้ถูกเสียก่อน ว่าจะต้องคิดอย่างไร จึงเรียกว่าสัมมาสังกัปโป และสิ่งที่ต้องคิดให้ถูกให้ชอบก็คือ คิดตามอริยสัจ 4 ตามลำดับมา
ขณะนี้ก็คือ ความดำริชอบ: สัมมาสังกัปโป และ ความเห็นชอบ: สัมมาทิฏฐิ เสียก่อน
ทุกคนหากดำริ ให้ถูกให้ชอบแล้ว ก็จะเริ่มตั้งแต่ ความคิดเรื่องการพ้นทุกข์ไปอย่างสะเด็ดเด็ดขาด จะต้องคิดอย่างไร? ทำอย่างไร? นั้นหมายถึงทางพ้นทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่โลกุตตระ มรรคผล นิพพาน บรรลุพระอรหันต์ นั้นเอง เป็นสิ่งที่ทำได้ เป็นไปได้ สำหรับคนยุคใหม่ยุคไหนก็ตาม
โดยคำสอนเรื่องมรรค8 นี้เอง
แต่ต้องดำริให้ชอบ เป็น สัมมาสังกัปโป ไม่ใช่ มิจฉาสังกัปโป ในเรื่องความเป็นคนหรือมนุษย์ว่า จะต้องมีความเห็นชอบ หรือมีสัมมาทิฏฐิ: ความเห็นชอบเรื่องตัวเองเป็นที่พึ่งของตัวเอง ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ตามคำสอนหลักของความเป็นมนุษย์เสรีชนของพุทธศาสนาเสียก่อน ไม่มีใครอื่นจะอาจเป็นที่พึ่งหรืออาศัยไหว้วาน หรือการบันดาลจากเทพเจ้า พระเจ้า เจ้าพ่อเจ้าแม่ ทั้งหลายนั้น เป็นการเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิเสียตั้งแต่ต้น
นั่นคือจะต้องเริ่มจากความเห็นชอบ สัมมาทิฏฐิ ว่าการปฏิบัติธรรมให้พ้นทุกข์นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องทำเอาเอง ไปพึ่งคนอื่นไม่ได้ ไปพึ่งพระเจ้า เจ้าพ่อเจ้าแม่ไม่ได้ ทำเอาเองทุกคนๆและทุกคนๆ ก็จะต้องเข้าใจเช่นนี้ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ: ความเห็นชอบ ที่เป็นเหตุนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้
จะไปอ้อนวอนให้เทพเจ้า เทวดา พระเจ้า ให้ช่วยให้พ้นทุกข์เข้าสู่โลกุตรธรรมไม่ได้ ซึ่งนี้เองต้องเข้าใจแบบมีเหตุ มีผล ไม่ใช่เพียงความเชื่องมงายไปว่าว่าเทพเจ้า พระเจ้าจะช่วยได้ แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมศาสดา ก็ยังทรงบอกว่าพระองค์เองเป็นแต่เพียงการชี้ทางให้เดินไปเท่านั้น ตัวเราเองต่างหากที่จะต้องเดินไปเอง หากเราไม่ยอมก้าวเดินไป มันก็ไปไม่ถึง มันก็ไม่สำเร็จ ก็เท่านั้นเอง ฉะนั้นต้องไปเอง ตนแลเป็นที่พึ่งของตนเสมอไป แม้ในหลักการปกกครองคนยุคใหม่สมัยใหม่ประชาธิปไตยนั้นก็ได้มาจากหลักการพึ่งตนเอง การปกครองตนเองของประชาชนทั้งชาติที่สอดคล้องหลักพุทธธรรมนี้ นั้นเอง
นี่แหละ สัมมาทิฏฐิ ในเรื่องนี้จึงเป็นการเริ่มด้วยการที่ไม่มีพระเจ้า ต้องทำเอาเอง เพราะไม่มีใครอาจทำให้ได้ ฉะนั้นจึงต้องระวังเรื่องความเห็นผิดในทางความเชื่อ หรือศาสนาลัทธิต่างๆ ที่ทำให้ตกไปในเรื่องสัมมาทิฏฐิ และเรื่องนี้เองที่เราจะต้องดำริอยู่เสมอ ๆ ทบทวนอยู่เสมอ ๆ มีสัมมาสังกัปโป:ความดำริชอบอยู่เป็นประจำ มีความคิดพิจารณาดำริให้ชอบ ในเรื่องการที่ต้องพึ่งตนเองอยู่เสมอและมีการกระทำ หรือ สัมมากัมมันโต:การงานชอบ แบบที่ต้องพึ่งตนเองเสมอ จนกว่าจะพบความจริงและรู้สึกละอายอดสูใจในการไปคิดพึ่งสิ่งที่ไร้สาระเช่นเจ้าแม่ตะเคียนทอง เจ้าพ่อพญานาคใส้เดือน เป็นต้น
และดำริ ใช้ความคิดตรึกตรองพิจารณา วิปัสสนา ถึงเหตุถึงผลของการที่จะพ้นทุกข์สู่โลกุตตระให้ได้ ก็โดยดำริเสมอ ๆ ตลอดเวลาว่า ต้องเป็นไปตามนี้ตามที่พระพุทธเจ้าบอก ตามที่พระองค์ปฏิบัติมาก่อนแบบ 3 รอบ 12 อาการ คือทรงบอกว่า จะต้องละเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไม่มีเหลือเลยเท่านั้น ไม่เหลือแม้ขนาดเท่าเม็ดทรายเม็ดฝุ่นก็ต้องให้หมดๆไปให้ได้
นั่นคือเรื่องกิเลส ตัณหา อุปาทาน ทุกอย่าง ที่สรุปลงเป็น กามตัณหา, ภวะตัณหา, วิภวะตัณหา, นั้นเอง จะต้องละให้หมดเกลี้ยงให้ได้ จะต้องสละโลกให้ได้ หากละไม่หมดเกลี้ยงอยู่ตราบใด แม้เหลือเพียงธุลีดินเท่านั้น แม้มาเกิดอีก ร้อย พัน หมื่น ล้านปี ล้านชาติ ก็ไม่อาจบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย แต่หากทันใดทันทีที่ละได้เกลี้ยง หมดจด ไม่เหลือแม้เท่าเม็ดธุลีดินแล้วก็สามารถบรรลุได้ในทันทีทันใด ตามเหตุ และ ผลนี้ นั้นเอง ดังเช่นปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 หรือชฏิล 1003 รูป บรรลุมาแล้ว และมีข้อยืนยันมาตลอดก็คือบรรดาพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า มาแต่ยุคสมัยเดิม ครั้นละกิเลส ตัณหา อุปาทานได้ ก็บรรลุอรหันตภาวะไปทั้งสิ้น ได้ในทันทีที่ละกิเลสได้สำเร็จ นั้นเอง เรื่องหลักธรรมการบรรลุนี้ จึงเป็นเหตุเป็นผลกันแบบวิทยาศาสตร์ และเป็น อกาลิโก ไม่จำกัดกาลเวลา มีการละตัณหาได้เมื่อไร ก็บรรลุได้เมื่อนั้น รวมทั้งยุคสมัยนี้เองที่คนมีปัญญามากย่อมบรรลุได้แน่นอน
นี่แหละสัมมาสังกัปโป: ความดำริชอบ ความคิด ความตรึกตรอง วิปัสสนา จึงเป็นเรื่องแรกที่จะต้องมีความดำริชอบเช่นนี้เสมอไปจนกว่าจะบรรลุอรหัตผลขึ้นมา
ความดำริชอบเช่นนี้ก็จะผลักดันมรรคข้ออื่นๆให้เกิดผลตามขึ้นมาได้โดยง่าย เช่น สัมมากัมมันโต:การงานชอบ, สัมมาอาชีโว:การเลี้ยงชีพชอบ ก็สำเร็จอรหันต์ขึ้นมาด้วยการนำของมรรคข้อที่ 2 สัมมาสังกัปโป:ความดำริชอบ และ ข้อที่ 1 สัมมาทิฏฐิ:ความเห็นชอบ นี้เอง ทำให้เกิดสภาวะทางจิตของตนมีสภาวะของความคิดอ่านความตรึกนึกคิดในจิตใจไม่ห่างไกลไปจากความดำริชอบเช่นนี้เลย เท่านี้เอง ก็บรรลุ มีปาฏิหาริย์แห่งปัญญา ความเห็นแจ้ง ความเบื่อหน่ายในกิเลสตัณหาอุปาทาน หรือมีนิพพิทาญาณเกิดขึ้น จิตก็ละไปได้เอง ก็ถึงการบรรลุพระอริยสัจธรรมสูงสุด พ้นทุกข์ได้นิรันดร.
-----
*****
-----