ReadyPlanet.com


ผู้บริสุทธิ์ที่ต่อสู้เพื่อชาติถูกคุมขัง ตีตรวนมา8เดือนแล้วอย่างไร้เหตุผล มาร่วมสร้างกติกาประชาธิปไตย


กระบวนการยุติธรรมไทยน่าอดสูเพียงไหน อับอายไปทั่วโลก
คุมขังพวกเขาทำไม ? เขาเป็นสัตว์ร้ายหรือถึงต้องตีโซ่ตรวน ?

 



ผู้ตั้งกระทู้ บุษบา บุญเสฏฐ์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-17 20:23:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3280995)

กระบวนการยุติธรรมไทยน่าอดสูเพียงไหน อับอายไปทั่วโลก
คุมขังพวกเขาทำไม ? เขาเป็นสัตว์ร้ายหรือถึงต้องตีโซ่ตรวน ?

พวกเขาเพียงเรียกร้องให้ระบบไทยทั้งระบบ ทั้งประเทศดำเนินไปโดยวิถีทางประชาธิปไตย  ให้ละทิ้งวิถีทางเผด็จการเสีย  มาเป็นประชาธิปไตยกันเถิด  พวกเขามีแนวคิดประชาธิปไตยอยู่ในหัวแล้ว  ก็แปลว่า  ไร้ความรุนแรง  ประชาธิปไตยแปลว่าพูดคุยกันได้และแก้ไขปัญหาอย่างอหิงสาและสันติ ฉะนั้นพวกเขา ทุกผู้ทุกคน ผู้รักประชาธิปไตยในโลก ทั่วโลก ไม่เฉพาะแดงในแผ่นดินไทย จึงย่อมไม่มีแนวคิดรุนแรงอยู่ในแผนการประชาธิปไตยอยู่แล้ว  เพราะระบบประชาธิปไตยเป็นเช่นนั้น  และประชาชนแดงทั้งแผ่นดิน แดงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนแดงทั้งแผ่นดิน พวกเขาจึงไม่ได้คิดใช้กำลังเลย  แต่นั่นเป็นความพยายามที่จะยืนยันถึงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ จำนวนมหาศาล ที่น่าเพียงพอสำหรับฝ่ายบริหารจะรับฟัง  ในประเด็นที่ว่า เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อประเทศชาติทั้งระบบ เรียกว่าถือความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก  นี่ก็เป็นหลักการสำคัญของประชาธิปไตย พวกเขาทำถูกหลักการประชาธิปไตย แต่พวกคุณเป็นเผด็จการที่โง่เง่า ไม่เข้าใจอะไรดีอะไรชั่ว  อะไรจะเป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ  คุณเองต่างหากที่ทำตัวเหมือนไม่ใช่คน  เป็นสัตว์ร้าย  มีข้อเท็จจริงพิศูจน์ชัดเจนอยู่ ก็ในเหตุการณ์วันที่ 19 พ.ค.2553 นั่นเอง ไม่เห็นหรือ ?? 

แล้วคุณคุมขังพวกเขาทำไม  ?  เขาเป็นสัตว์ร้ายหรือถึงต้องตีโซ่ตรวน ?

ควรเข้าใจความดีของประชาธิปไตย  ประชาธิปไตยเป็นความหมายของมนุษย์ในสังคมทุกคน ทุกชนชั้น ที่อยู่กันอย่างมีความเสมอภาค  มีเสรีภาพ  และ ที่สุดก็เพราะประชาธิปไตยเป็นระบบพี่ ๆ น้อง ๆ  คือระบบภราดรภาพ  ฝรั่งใช้คำอยู่ 3 คำที่อธิบายประชาธิปไตยก็คือ  freedom  equality  และ fraternity  นี่เป็นความหมายของประโยชน์ของมนุษย์เอง  ทั่วโลก ที่จะสามารถกันอยู่อย่างสงบ ไร้ความรุนแรง  โลกจึงต้องการประชาธิปไตย

ถ้าเพียงคุณเข้าใจหลักการประชาธิปไตย  คุณก็จะละอายใจ ในการกระทำที่สั่งทหารล้อมฆ่าปราบปรามประชาชนมือเปล่า ๆ เหล่านี้  ที่คุมขังคนบริสุทธิ์ และตีโซ่ตรวนเขาอย่างกับเขาเป็นสัตว์ร้าย  นั่นเป็นการก่อเวรก่อกรรมอันหนักของคุณ   และเป็นเพราะคุณเขลาไม่เข้าใจประชาธิปไตย คุณไม่คิดดูย้อนหลังไปเลยเมื่อ 8 เดือนก่อนนั้น วันนั้น 19 พ.ค.2553  โทรทัศน์อัลจาชีรา (Aljazeera)มาทำข่าวอย่างละเอียด อ้างอิงได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งเรื่องสไนเปอร์ที่แอบบสังหารประชาชน  ประเด็นสำคัญที่ขออ้างอัลจาชีราก็คือรัฐบาลเองเป็นฝ่ายขอร้องให้แกนนำมอบตัว  แล้วพวกเขาก็มอบตัว เขาไม่สั่งให้ประชาชนฮือขึ้นก่อการร้ายทั่วประเทศ.... คุณลืมคำสัญญาของคุณหรืออย่างไร ???(ภาพนี้ถ่ายจากข่าวโทรทัศน์ เมื่อ 17 ม.ค.2554)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2011-01-17 20:24:46


ความคิดเห็นที่ 2 (3281033)

ประชาธิปไตยเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่จิตใจต้องสูงส่ง 

โปรดเข้าใจประชาธิปไตยว่าเป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนอะไรเลย  แต่เป็นระบบที่ง่าย ๆ  ใช้คำว่า simple ของฝรั่งชัดเจนดี คือง่าย ๆ   ไม่สลับซับซ้อนเลย  เรื่องสำคัญที่สุดของคนก็คือเรื่องอำนาจ ที่ใคร ๆ ก็อยากมีอำนาจ  ขอให้เรามาดูสัจธรรมเกี่ยวกับอำนาจ ว่ามนุษย์ใช้มันไม่ถูกต้องมาแต่ยุคดั้งเดิม  การอยากมีอำนาจ หมายถึงการอยากอยู่เหนือคน  นั่งบนหัวคนอื่นแล้วชี้นิ้วสั่งการคนอื่น เขาไม่ทำก็ใช้กำลังที่เหนือกว่า  กระทั่งใช้กองกำลังบังคับให้เขาทำตาม นั่นเป็นธรรมอย่างไร  ในเมื่อคนอื่นก็เป็นคนเหมือนกัน มีสองมือ สิบนิ้วเหมือนกัน  เราจงลืมเสีย เพราะนั่นแหละคือ ยุคทาส  ถ้าท่านอยากมีอำนาจ แสวงหาอำนาจนั่นก็คืออยากเอาคนอื่นมาเป็นทาส นั่นเอง  มันไม่เป็นธรรมใช่ไหม ???  ซึ่งยุคนี้โลกเขาเลิกทาสกันหมดแล้ว  ในอเมริกา ถึงต้องทำสงครามกลางเมือง  เพื่อปลดปล่อยระบบทาสทั้งแผ่นดินอันกว้างใหญ่ และพวกเขาเสรีชนอเมริกัน ก็ทำได้สำเร็จ  เพราะหลักการมีว่า เสรีชนย่อมไม่ยอมเป็นทาสใคร  แม้กระทั่งความเป็นทาสของพระเจ้า....อันเป็นความหมายของความเป็นมนุษย์  

แล้วเขาก็จัดการเรื่องอำนาจอย่างง่ายมาก  นั่นคือ ไม่ให้คนใดคนหนึ่งอยู่ในอำนาจไปชั่วนิรันดร  เหมือนคนยุคเก่า  ....  ทุกวันนี้คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ทำสิ่งที่ฝืนสัจธรรมของเสรีชนประชาธิปไตย  คืออยากอยู่ในอำนาจไปชั่วชีวิต   นี่คือความเขลา  ที่คิดกระทำในสิ่งที่ไม่อาจเป็นไปได้ ในยุคใหม่นี้     และนี่เป็นความคิดผิดมาตั้งแต่ สนธิ บุณยรัตกลิน มุสลิมชั่วร้ายทรยศต่อรัฐบาลประชาธิปไตย  โดยล้มล้างประชาธิปไตยไทยเสีย  ทำประเทศพระพุทธศาสนาให้แตกแยก

ขอให้เราจงกลับมาคิดเสียใหม่  คิดให้ถูกต้องตามหลักการประชาธิปไตย   เราจงมาเข้าใจเรื่องอำนาจกันก่อน  เราจงลงจากอำนาจเสีย และยินยอมให้คนอื่นขึ้นสู่อำนาจได้  โดยการรับรองของปวงประชาชน หรือประชาชนส่วนใหญ่   เราจะต้องจำกัดการอยู่ในอำนาจ  ไม่ให้เป็นการอยู่ไปตลอดชีพ มีตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่ใช่หรือ  ที่ประเทศตูนีเซีย อาฟริกา  ประธานาธิบดีเบนอาลีเป็นเผด็จการฉ้อฉลจะอยู่ในอำนาจไปตลอดกาล มีเลือกตั้งทีไรแกก็โกงเอาทุกวิถีทาง ชนะมาตลอด  ประชาชนได้แต่เก็บเอาความคั่งแค้น อยุติธรรมไว้ในอก ระยะหลังแกเห็นว่าไม่ค่อยดี ก็ทำโครงการประชาวิวัฒน์  เอาเงินทองโปรยซื้อเสียงจากประชาชน  เพื่อตัวเองอยู่ได้  เหมือนรัฐบาลอภิสิทธิ์ทำอยู่ขณะนี้เลย (นายอภิสิทธิ์ลอกกากนโยบายนี้มาทำต่อในประเทศไทยขณะนี้)    แล้วอย่างไร....  ประชาชนตูนีเซีย  ซึ่งเหมือนเสื้อแดงไทยไม่มีผิดเลย  ก็เหลืออด  ก็ลุกขึ้นพร้อม ๆ กันทำสิ่งที่เรียกว่า จัสมิน เรโวลูชั่น (jasmine revolution : การปฏิวัติอย่างนุ่มนวลเหมือนสวนผึ้งดอกมะลิ) คุกแตก คือมีประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย อย่างเมืองไทยยุค ศอฉ.ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณไม่มีผิด แหกคุกออกมา ร่วมมือกับประชาชน มีฆ่ากันตายเล็กน้อย รายงานเบื้องต้นว่า 61 คน ยังไม่เท่าประเทศไทย 19 พ.ค.2553 ที่ทหารทั้งกองทัพล้อมฆ่าคนมือเปล่า ๆ และโดยที่เขาไม่ต่อสู้เลย จึงตายถึง 92 ศพ ในตูนีเซียประธานาธิบดีเผ่นออกนอกประเทศหายไปตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2554 ไม่กี่วันมานี่เอง  ภายหลังครองอำนาจมา 23 ปี  คนประชาธิปไตยทั่วโลกโห่ร้องกันใหญ่ สมน้ำหน้านักเผด็จการ

ในระบอบประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ  ผู้ขึ้นสู่อำนาจก็คือผู้รับใช้ประชาชน  นี่จะต้องเข้าใจก่อน  และผู้ขึ้นสู่อำนาจ จะอยู่ไปชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น  เช่นอเมริกาเขาให้อยู่ได้ 2 สมัย  ถ้าเก่ง   ก็ 8 ปี   นี่ก็เป็นหลักการที่ง่าย ๆ มาก คือประชาธิปไตยไม่ยอมให้คุณอยู่ตลอดชีพ  ต้องเปิดโอกาสให้คนอื่นผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนขึ้นสู่อำนาจได้  พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องอำนาจไว้ว่า  หากอยู่ในอำนาจนานเกินไปก็จะหลงอำนาจ  เรื่องกิเลสมนุษย์ไม่พึงเสพจนติด  จะหลงและมัวเมา   ฉะนั้นเรื่องอำนาจจึงเป็นเรื่องสำคัญและเราต้องจัดการอำนาจนี้ให้ถูกต้อง

ฉะนั้น  ประการที่ 1 ก็คือ   อย่าให้อยู่ในอำนาจตลอดกาล  ให้อยู่แค่ 4 ปี 8 ปี  ก็ออกไปให้คนอื่นขึ้นสู่อำนาจแทนไป (ไทยมีบางพวกอยู่ได้ถึง 9 ปี มีเหตุผลอะไร ?)  หลักการนี้ก็ต้องใช้ในการเมืองทุกระดับนะครับ  แม้กระทั่งระดับชาวบ้าน ๆ  การจัดตั้งเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย เพื่อทำอะไรสักอย่างร่วมกันนี่  ก็ต้องระวังว่า  อยู่ใต้หลักการนี้เหมือนกัน  คืออย่าให้เป็นหัวหน้าเขาไปตลอดกาล (ระวังถึงเขาให้เป็นต่ออีกก็ต้องปฏิเสธ จะเหลิง ไปเป็นอย่างอื่นแทนเช่นนักวิชาการ นักวิจัย หรือที่ปรึกษา เป็นต้น)   ให้คนอื่นขึ้นแทนได้ เรายอมเขาเป็นหรือไม่  ถ้ายอมได้ นั่นแหละคือสปิริตของนักประชาธิปไตย และเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดในระบบอำนาจ  เพื่อให้มีการหมุนเวียนขึ้นสู่อำนาจเสมอ   ถ้ามิฉะนั้น   เกิดปัญหาอย่างแน่นอน     

เพราะฉะนั้น เราจงมาสู่การบริหารอำนาจแบบประชาธิปไตยกันเถิด  นั่นเป็นทางแก้ปัญหาของประเทศชาติ       การเลือกตั้ง ที่จริงไม่ใช่ทางเดียว  การเลือกตั้งใช้เมื่อขนาดใหญ่มโหฬารเกินไป เท่านั้น   ประชาธิปไตยสามารถตกลงกันเองได้ว่าใครจะขึ้นเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า  แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า  อย่าอยู่ไปตลอดกาล  ถึงเวลาต้องลงจากอำนาจ ให้คนอื่นขึ้นแทนบ้าง  เท่านั้นเอง  (ถึงจะเก่งก็ต้องลงจากอำนาจครับเมื่อถึงเวลา อย่างเช่นสิงคโปร์ อเมริกา อังกฤษดูนายกรัฐมนตรีโทนี่ แบลร์ เป็นตัวอย่าง)

และประการที่ 2  ระบบการเลือกตั้งเป็นเรื่องของประชาชน   ถ้าการเลือกตั้งไม่เรียบร้อย  เราก็เลือกใหม่  เลือกไป 2 ครั้ง ยังไม่ได้ตัว  มีปัญหา  ก็เลือกไป 3-4-5-6  ครั้งไป  ยอมลงทุนในเรื่องนี้  อย่าเสียดาย และเราต้องให้การเลือกตั้งแต่ละครั้งเป็นการเรียนรู้ไปอย่างใหญ่ทุกครั้ง  อย่างไรก็ตาม  ปัญหาของการเลือกตั้งก็คือการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม ต้องระวังว่าระบบจะต้องเป็นธรรม  หมายความว่ารัฐบาลอย่าเอาเปรียบประชาชน   อย่าให้เหมือนตูนีเซีย   ...........  และพม่า...นั่นก็คือประชาธิปไตยต้องการสปิริตอันสูงส่ง  นักประชาธิปไตยต้องจิตใจสูง เสมอ ๆ แม้นนักบวช  นั่นแหละจึงจะมาทำงานการเมืองแบบแฟร์เพลได้ เริ่มแต่การเข้าสู่อำนาจ   อย่าคิดอยากได้อำนาจโดยวิธีการที่ผิด  โดยการโกง เอารัดเอาเปรียบ หรือซื้อสิทธิ์ซื้อเสียงประชาชน  อย่าคิดครองอำนาจประชาชนไปจนวันตายของตัวเอง นั่นเป็นความคิดของคนบ้าในยุคประชาธิปไตย .

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2011-01-18 09:31:13


ความคิดเห็นที่ 3 (3281227)

คนบ้าอำนาจที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบธรรม  ในที่สุดก็จะก่อการร้ายๆเพื่อให้ตนเองอยู่ในอำนาจได้นานๆ และในที่สุดก็จะเป็นบ้าไปจริงๆ จนแยกไม่ออกว่าอะไรดีอะไรชั่ว  ดังเช่นการสังหารโหดประชาชนมือเปล่า 91 ศพเมื่อพฤษภาทมิฬ 2553 บาปหนักย่อมเกิดกับผู้กระทำไม่ช้าก็เร็ว ทำไมไม่ดูตัวอย่างจอมพลถนอม  กิตติขจร  ก่อนตายท่านพูดไว้ว่าท่านต้องตกเป็นจำเลยของสังคม ไปตลอดกาลเพียงเพราะความมักใหญ่ใฝ่สูง และความอัปยศนั้นยังเป็นมรดกบาปตกทอดไปสู่ลูกหลานวงศ์ตระกูลไม่จบสิ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น แมงกุดจี่ วันที่ตอบ 2011-01-19 16:11:31


ความคิดเห็นที่ 4 (3282360)

กติกาข้อต้น   การร่วมสร้างกติกาประชาธิปไตย 

ก็เกิดกติกาประชาธิปไตยขึ้นอย่างเงียบ ๆ ลึกซึ้งในจิตใจของเสรีชนทั้งปวง  ในเมื่อมารู้ความจริงของมนุษย์ข้อสำคัญเกี่ยวกับอำนาจ  และมนุษย์เห็นว่าความยุติธรรม และความอยุติธรรมในสังคมทั้งปวง เกิดจากการเข้าใจเรื่องอำนาจ  และเห็นความเป็นธรรม  และมนุษย์มาตกลงกันในใจเงียบ ๆ  ว่าไม่พึงมีผู้หนึ่งผู้ใดอยู่ในอำนาจตลอดกาล  การอยู่ในอำนาจจะต้องมีวาระ  จำกัดให้เป็นระยะเวลาที่เหมาะ เหมาะสมพอไม่ให้เกิดการเหลิงอำนาจ จนกระทั่งลืมสัจธรรมหลักการสำคัญ  นั่นคืออำนาจเป็นของประชาชน ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน  เพื่อประชาชน   และโดยประชาชน   ผู้ขึ้นสู่อำนาจ ขึ้นสู่อำนาจ และอยู่ในอำนาจได้ด้วยการอนุญาตของประชาชนเสมอ  และหน้าที่ของผู้ขึ้นสู่อำนาจการปกครองมีสถานเดียวคือ  ปกครองเพื่อการรับใช้ประชาชน ประชาชนย่อมเป็นนายของผู้ปกครอง  

และดูเหมือนว่าเราไม่จำเป็นต้องทำงานมากนัก เมื่อมีประเทศประชาธิปไตยเก่าแก่ทำตัวอย่างไว้แล้ว  เช่นการกำหนดกติกาการอยู่ในอำนาจให้เป็น 4 ปี  2 วาระ เป็นต้น   

นี่เป็นกติกาตรงกันของประชาชน เสรีชนทั่วโลก  และถูกจารเอาไว้ในเส้นเลือดของเสรีชน  ในจิตใจเบื้องลึกของประชาชน  และพวกเขารู้แจ้ง รู้กระจ่าง แล้วหวงแหนอำนาจไว้เพื่อให้เป็นของประชาชนตลอดกาลไป    พวกเขาเข้าใจตรงกันอย่างนี้โดยธรรมชาติ โดยธรรมดาของเสรีชน  โดยไม่จำเป็นต้องเขียนลงเป็ฯลายลักษณ์อักษรใด  เพราะมันถูกเขียนเอาไว้ในใจแล้ว

แล้วเรายังต้องระวังเรื่องอำนาจต่อไปอีก และปฏิบัติต่อมันอย่างรัดกุม  อุปมาอำนาจเหมือนสัตว์ใหญ่  ถ้าเราประมาทไม่จัดการมันอย่างถูกต้อง  อำนาจก็จะทำร้ายเรา ทำร้ายสังคมเราอย่างสาหัสฉกรรจ์  ดังตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในประเทศไทยเราเอง และประเทศต่าง ๆ ในทวีปอาฟริกาที่เริ่มมีตาสว่างเห็นเส้นทางประชาธิปไตของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนเหมือนเช่นเรา   มนุษย์จึงดำเนินการแยกซอยอำนาจลงไปอีกเป็น 3 อำนาจ ใหญ่ ๆ  เป็นสถาบันตัวแทนอำนาจของประชาชนทั้งมวล  ในบ้านเราเอาตามอย่างของประเทศที่ก้าวหน้าไปก่อนแล้ว คือประเทศตะวันตกและอเมริกา จึงแบ่งอำนาจออกเป็น 3 สถาบันอำนาจ  เรียกว่าอำนาจบริหาร 1   นิติบัญญัติ 1  และ  ตุลาการหนึ่ง   และระวังว่าโดยหลักการสำคัญก็เพื่อควบคุมอำนาจในระดับละเอียดและให้มั่นใจจริง ๆ ว่าเราจะสามารถควบคุมอำนาจไว้ได้และเอาไปใช้ประโยชน์แก่สังคมได้  ไม่เป็นอันตรายต่อสังคมนั่นเอง    ด้วยเหตุนี้จึงกำหนดว่าหน้าที่ของสามสถาบันอำนาจนี้   และหน้าที่สำคัญก็คือการถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจทั้ง 3 นั่นเอง    

นั่นคือแต่ละอำนาจนั้นจะต้องมีอิสรภาพของตนเองภายใต้การรับใช้ประชาชน  หมายถึงมีศักดิ์ศรีของสถาบัน  เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนเอง  ไม่เอนเอียงไปเข้าข้างหนึ่งข้างใด หรือรับใช้สถาบันอื่น   เช่นตุลาการก็ต้องไม่เป้นตุลาการภิวัฒน์  ไม่เป็นตุลาการสองมาตรฐาน  และไม่เป็นตุลาการศรีธนญชัย  เป็นต้น   และอำนาจบริหาร ซึ่งเป็นอำนาจการวินิจฉัยสั่งการที่มีพร้อมด้วยเครื่องมือและทรัพยากรของชาติทั้งหมด จะต้องวางตัวเป็นผู้รับใช้ประชาชน มีวาจาสัตย์ คือแถลงนโยบายไว้อย่างไร  ก็รับผิดชอบต่อการแถลงนั้น ย่อมไม่โกหกพกลม  และทั้งต้องยอมรับว่าประชาชนมีสิทธิที่จะตรวจสอบได้อยู่ตลอดเวลา  และฝ่ายบริหารต้องยอมรับในการตรวจสอบของสถาบันอำนาจอื่น  ไม่แทรกแทรงอำนาจอื่น    หรือละเมิดอำนาจอื่น  ด้านนิติบัญญัติ ท่านอย่าเขียนกฎหมายโดยปราศจากการรับรู้ การเข้าใจของประชาชน  และท่านต้องยอมให้ประชาชนตีความกฎหมายที่สับสนได้  ฐานะของอำนาจทั้งสาม ไม่ว่าฐานะด้านใด ๆ แม้กระทั่งค่าตอบแทนจากเงินเดือน ที่ได้มาจากภาษีอากรของประชาชน ก็จะต้องเสมอกัน  และมีศักดิ์ศรีของสถาบันเสมอกัน 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2011-01-27 22:04:29


ความคิดเห็นที่ 5 (3282654)

 

กติกาประชาธิปไตยข้อต่อไป
ว่าไปตามสถานการณ์ 
 
มาทำความเข้าใจกัน ว่าเรื่องมันง่าย(simple)จริง ๆ จนคนทั่ว ๆ ไปขึ้นชื่อว่าคน แม้เด็ก ๆ ก็เข้าใจได้ไม่ยาก เมื่อฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าของพรรคการเมืองใด ได้อำนาจการบริหารแล้ว รัฐบาลต้องบริหารไปอย่างสุจริตสอดคล้องนโยบายที่ให้ไว้แด่ประชาชน นั่นคือก่อนการเลือกตั้งคุณพูดอะไรไว้ คุณก็ต้องทำตามที่พูด  นั่นคือหลักการว่าด้วยศีล(ขอที่ 4 ในพระพุทธศาสนาคือ อย่าโกหก ซึ่งชาวพุทธทั่วไปเขาถือและใช้ประมาณการณ์สถานการณ์และบุคคล) หากพบว่ารัฐบาลบริหารออกนอกแนวนโยบายที่เคยพูดไว้ต่อหน้าประชาชน แล้ว นั่นพึงเชื่อไว้ก่อนเลยว่า คือร่องรอยของรัฐบาลทุจริต คิดมิชอบต่อประชาชน    และเมื่อมีการแสดงหลักฐานสำคัญที่พิศูจน์ให้เชื่อได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว นั่นหมายถึงการขาดความชอบธรรม ขาดทั้งสิทธิที่ และทั้งคุณสมบัติจะอยู่เป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย   รัฐบาลก็ต้องพิจารณาตัวเอง ต้องออกไป
 
แต่ในความเป็นจริงของเหตุผลหลาย ๆ ด้าน ถึงแม้จะมีการทุจริตดังว่านั้นแล้ว แต่รัฐบาลที่หน้าด้านจะไม่ยอมลาออกไปง่าย ๆ อย่างเช่นรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัจจุบันนี้เลย เราต้องให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ไล่รัฐบาลแทนประชาชน ในการนี้ฝ่ายค้านจะต้องมีหน้าที่สำคัญคือการตรวจสอบแทนประชาชน สามารถตั้งกระทู้ถาม เพื่อตรวจสอบสิ่งที่น่าสงสัยได้ทุกอย่าง ทุกประการ ตลอดเวลา ตามความเหมาะสม สิ่งที่เราจะต้องมาทำความเข้าใจก็คือ สำนึกของฝ้ายค้าน ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลนั้น ก็คือหน้าที่ในการไล่รัฐบาลทุจริตออกไป   เมื่อพบว่ารัฐบาลทุจริตโดยเหตุผลที่ฝ่ายค้านได้พบ ท่านต้องว่าไปตามเหตุผล และบทสรุปคือ ต้องไล่รัฐบาลทุจริตออกไปให้ได้ อย่าเอาไว้  ต้องไม่ยอมเปิดโอกาสให้รัฐบาลกระทำการทุจริตได้อีกต่อไป นี่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ง่าย ๆ ว่าทำไมเราจึงต้องมาตั้งกติกา ให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมทั้งกติกาข้ออื่น ๆ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนขับไล่รัฐบาลทุจริตได้  
 
 
เมื่อมาคำนึงดู ก็จะได้พบว่าทางตะวันตกอเมริกาก็ได้แบบแผนนี้มาจากหลักการในพระปาฏิโมกข์นั่นเอง   เมื่อประยุกต์มาใช้ในทางการเมือง ก็พบว่ามีความผิดอยู่สำคัญ ๆ 4 ประการที่สามารถจะไล่รัฐบาลออกไป โดยกติกากำหนดให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล รวมทั้งกติกาสำหรับประชาชนที่จะขับไล่รัฐบาลได้โดยตรง
หลักการในพระปาฏิโมกข์ในประเด็นนี้ก็คือหลักพระวินัย ปาราชิก 4 เมื่อเปรียบเทียบหลักการพระปาฏิโมกข์กับหลักการประชาธิปไตยแล้ว ได้ปาราชิก 4 ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายรัฐบาล ดังนี้ (ลำดับแรก เป็นปาราชิกฝ่ายสงฆ์ ลำดับหลัง เป็นปาราชิกฝ่ายฆราวาส)
 
1   อนึ่งภิกษุใด ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลายแล้วไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้"
1.    รัฐบาลเสพสมกับพรรคการเมือง หรือกลุ่มบุคคลที่ชั่วร้ายทุจริต   เช่นรัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้ความเป็นรัฐบาลมาจากการเสพสมกับบุคคลเลว ๆ 4 ประเภทคือ ราบ 11 และพวกทหารเผด็จการอมาตยาธิปไตย,   ขบวนการโฆษณาชวนเชื่อพันธมิตรสนธิ-จำลอง-ประชาธิปัตย์ ที่นำโดยเจ๊กลิ้ม,   กระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน และพรรคการเมืองโสเภณี    ฯลฯ     
 
2     อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้   ด้วยส่วนแห่งความเป็นโขมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นโขมย ดังนี้   ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น   แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้"
2.    รัฐบาลบริหารการเงินการงบประมาณของชาติอย่างหละหลวม เปิดช่องให้เกิดการรั่วไหล มีการเปิดทางให้แก่นักการเมืองและคนภายนอกทำทุจริตหากินกับงบประมาณอย่างมากมายมหาศาล พบการทุจริตจากโครงการของรัฐบาลทุกโครงการ วันแล้ววันเล่า แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลและคนของรัฐบาลก็ยังหน้าด้านไม่อับอายสายตาประชาชน ปล่อยประชาชนให้ลำบากปากกัดตีนถีบไปตามยถากรรม
 
3.    อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราวุธอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตายด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่อย่างนี้    เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่าง อย่างนี้พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้"
3.    รัฐบาลที่ฆ่าคน สังหารประชาชน เห็นชัดเจนในเหตุการณ์ปี 2553 ตั้งแต่ต้นปี มาหลายครั้ง จนถึงครั้งใหญ่ 19 พ.ค.2553 ที่รัฐบาลล้อมปราบปรามประชาชน ตายถึง 91 ศพ   และฆ่าคนของมูลนิธิเพื่อการกุศลที่ปฏิบัติหน้าที่การกุศลอยู่ในเขตอภัยทาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา 6 ศพตายในวัดปทุมวนาราม กลางกรุงเทพ
 
4     อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้เฉพาะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น   อันผู้ใดผู้หนึ่งถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตาม ก็ตาม เป็นรอันต้องอาบัติแล้ว   มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น   ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น   ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ   แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก   หาสังวาสมิได้" (ศึกษาเพิ่มเติมจากเวบบอร์ดเรื่อง ศอฉ.สามารถจับพระสงฆ์สึกได้จริงหรือ???)
4.    รัฐบาลโอ้อวดผลงานของตนเกินความเป็นจริง เช่นรัฐบาลอภิสิทธิ์ ที่ไม่มีแม้แต่นโยบายของตนเอง เป็นนักลอกกากนโยบาย (เช่นลอกกากนโยบายประชาวิวัฒน์ของประธานาธิบดีเบน อาลี ประเทศตูนีเซีย ซึ่งบัดนี้โดนประชาชนอัปเปหิไปนอกประเทศเรียบร้อยแล้ว มาเป็นนโยบายประชาวิวัฒน์ 9 ข้อสำหรับประชาชนไทย เป็นต้น)   ไม่เคยแถลงนโยบายต่อหน้ามหาประชาชนก่อนการเลือกตั้ง และไม่เคยแถลงนโยบายในสภาผู้แทนราษฎร และไม่ปรากฏผลงานออกมาเลย ไม่ว่าตรงนโยบายหรือไม่ตรงนโยบาย และซ้ำยังออกนโยบายขัดความจริงตามเหตุตามผลที่ควรจะเป็นไปได้ตามสายตาประชาชน เช่นนโยบายชั่งกิโลไข่ขาย เป็นต้น    โดยมีการโอ้อวดเกินความจริงและการโกหกพกลมตลบตะแลงไปอย่างไม่หวั่นต่อคำครหานินทาและหน้าที่รับผิดชอบ ผ่านรายการของหัวหน้ารัฐบาลเช่น รายการเชื่อมั่นประเทศไทย   รายการเจิมสาก และเอเอสทีวี เป็นต้น 
 
ทั้ง 4 ประการนี้ ทำให้เกิดสิทธิอย่างสำคัญของฝ่ายค้านในรัฐสภา ที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้  ซึ่งในการนี้ฝ่ายค้านต้องพยายามพิศูจน์ให้เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลได้กระทำความผิดประการใดประการหนึ่งใน 4 ประการข้างต้น   ก็สามารถขับไล่ได้ 
 
ในสภาวะการณ์ทั่วไปในขณะนี้ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุคที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี  ไม่มีข้อไหนใน 4 ข้อที่รัฐบาลนี้ไม่ทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่รัฐบาลล้อมปราบปรามประชาชน 19 พ.ค.2553 นั่นเป็นหลักฐานชัดเจนอยู่แล้ว และหมายความว่ารัฐบาลปาราชิกต้องออกไปทันที  แต่ฝ่ายค้านคือพรรคเพื่อไทย อ่อนด้อย หรืออาจจะไม่รู้ในสิทธิและหน้าที่ของตน ก็ได้    ฉะนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจว่า ฝ่ายค้านจะต้องเข้าใจว่าหน้าที่สำคัญของตนเองมาถึงแล้ว จะเอารัฐบาลทุจริตเยี่ยงนี้ไว้ทำไมให้ทำลายชาติและประชาชน ? ถ้าเขาหน้าด้านนัก ประชาชนต้องมาร่วมใจกันขับไล่..เสมือนพระสงฆ์ต้องปาราชิก 4 ...นี่เป็นกติกาสากลธรรมชาติของประชาธิปไตย.
 
ผู้แสดงความคิดเห็น บุษบา บุญเสฏฐ์ วันที่ตอบ 2011-01-30 21:18:36


ความคิดเห็นที่ 6 (3285335)

โอ้โฮ  !!!    ลบหลู่ศาล   โอ้โฮ   !!!!    เป็นเทวดาหรือไง ????   

ที่แท้แค่      ศรีธนญชัย    โอ้โฮ ๆๆๆๆ  !!!

ผู้แสดงความคิดเห็น นพกล คนคิดไล่ศาล วันที่ตอบ 2011-02-21 19:20:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.